© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
การเลือกทำเลบ้านที่ดีและปลอดภัย ควรพิจารณาเรื่อง แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ตำแหน่งหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่ใกล้บ้าน และการเว้นระยะให้ปลอดภัยกับตัวอาคาร ใครจะรู้ว่าสิ่งที่มองไม่เห็นและอยู่ใกล้ตัวอย่าง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จึงเป็นที่มาการศึกษาผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อผลกระทบด้านสุขภาพของ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ซึ่งนำไปสู่การเลือกทำเล สร้างบ้าน ที่ดีและปลอดภัยสำหรับบ้านยุคปัจจุบัน ซึ่งนอกจากข้อพิจารณาพื้นฐานอย่าง การจราจร อาคารข้างเคียง และสาธารณูปโภคแล้ว ก็ควรพิจารณาเรื่อง แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ตำแหน่งหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่ใกล้บ้านซึ่งมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการเว้นระยะให้ปลอดภัยกับตัวอาคาร มาดูกันว่ามีข้อควรระวังอะไรบ้าง ระวัง! ต้องเว้นระยะห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูง แน่นอนว่าระบบจำหน่ายไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เราต้องการ แต่เราทราบหรือไม่ว่า การเลือกทำเลที่ตั้งและ สร้างบ้าน ควรต้องคำนึงถึงระยะห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูงด้วย โดยการไฟฟ้านครหลวงมีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นตัวบ้านหรือระเบียงส่วนยื่นไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร และระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับตัวบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานที่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือกลทุกชนิด จะต้องอยู่ห่างจากส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่า 3.90 เมตร (อ้างอิงขนาดแรงดันไฟฟ้าของสายไฟฟ้าแรงสูง 230,000 โวลต์) ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยเราควรหลีกเลี่ยงการเลือกบ้านหรือทำเลอาคารที่อยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง สายส่งไฟฟ้า หรือหม้อแปลงไฟฟ้าเหล่านี้ มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยระหว่างสิ่งปลูกสร้างกันสายไฟฟ้าแรงสูง ระยะห่างระหว่างสายไฟฟ้าแรงสูงกับอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง/ป้ายโฆษณา หมายเหตุ : […]
เมื่อคนเลือก Work From Home กันมากขึ้น แล้วบ้านของเราปลอดภัยจริงๆ แล้วหรือยัง การอยู่บ้านนานๆ ก็อาจทำให้ป่วยด้วยสาเหตุอื่นอย่างไม่รู้ตัวได้ มาดูวิธีทำให้บ้านปลอดภัยต่อสุขภาพทั้งกายและใจกัน
ทุกคนอยากทำบ้านให้ ”โล่ง โปร่ง สบาย” แต่จะทำ ความสูงฝ้าเพดาน เท่าไรจึงรู้สึกว่าโปร่งโล่ง คนส่วนใหญ่ใช้ความรู้สึก แต่เรามีคำตอบที่มาจากหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาโดย ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) หน่วยงานที่ใส่ใจเรื่องสุขภาวะในการอยู่อาศัย ได้พบคำตอบว่า ความสูงฝ้าเพดาน 2.70 เมตร ทำให้รู้สึกไม่อึดอัด และฝ้าเพดานสูง 3.40 เมตร ทำให้รู้สึก โล่ง โปร่ง สบาย มาดูที่มาของคำตอบนี้กัน การรับรู้ของมนุษย์ ก่อนจะเข้าใจว่าทำไมคนเราจึงรู้สึก “โล่ง โปร่ง สบาย” เพื่อมากำหนด ความสูงฝ้าเพดาน ต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า มนุษย์จะเกิดความรู้สึกตามสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง กลิ่น รส อุณหภูมิหรือการสัมผัส ถ้าไม่อยู่ใน “เขตการรับรู้” จะไม่เกิดความรู้สึก เขตการรับรู้จึงเป็นเสมือนเส้นแบ่งระหว่างความรู้สึกกับความไม่รู้สึก และจาก “กฎของเฟชเนอร์” (Fechner’s law) […]
ทำไมผู้สูงอายุจึงชอบอยู่บ้านที่ปูพื้นไม้ และรู้ไหม พื้นไม้ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่ป่วยง่าย บ้านผู้สูงอายุ บางคนอาจมีประสบการณ์ตรงที่ตอนวัยรุ่นชอบพื้นกระเบื้อง พื้นหิน เพราะอากาศร้อนจึงชอบพื้นเย็นๆ แต่พออายุมากขึ้นกลับมาชอบพื้นไม้ นอกจากเรื่องสไตล์ส่วนตัวแล้ว ก็เป็นเพราะการรับความรู้สึกร้อน-หนาวของผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดย ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใส่ใจเรื่องสุขภาวะในการอยู่อาศัย ได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังและมีคำตอบมาไขข้อสงสัย เพื่อให้ลูกหลานเตรียมพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม บ้านผู้สูงอายุ ความรู้สึกร้อน-หนาวเกิดจากอะไร ความรู้สึกร้อนหรือหนาวนั้นเกิดจากประสาทสัมผัส โดยภายใต้ผิวหนังของเรามีเซลล์ประสาทหลายชนิด ทำหน้าที่ “รับสิ่งเร้า” และเซลล์ประสาทเหล่านี้ยังแบ่งออกเป็นกิ่งก้านย่อยๆจำนวนมาก เพื่อนำความรู้สึกที่ได้รับไปสู่สมองในการรับสัมผัสทางผิวหนังนั้น เชื่อกันว่าร่างกายมีจุดรับสัมผัสจำนวนมาก โดยมีปลายประสาท 4 ชนิดกระจายอยู่ทั่วไป และแต่ละจุดจะมีหน้าที่รับความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ได้แก่ การรับสัมผัสทางผิวหนัง การรับความเจ็บ การรับอุณหภูมิร้อน การรับอุณหภูมิเย็น โดยอุณหภูมิปกติของร่างกายเราอยู่ที่ 36.4 – 37.7 องศาเซลเซียส และเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิของห้อง พื้นผิว และสภาพแวดล้อม โดยร่างกายจะพยายามรักษาอุณหภูมิภายในไว้ที่แกนร่างกาย แต่ผิวของร่างกายภายนอกจะเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับตัวมากน้อยต่างกันตามช่วงอายุ บ้านผู้สูงอายุ อุณหภูมิส่งผลกับร่างกายอย่างไร เมื่ออุณหภูมิรอบตัวมีการเปลี่ยนแปลง ร่างกายจะปรับตัวเพื่อรักษาสมดุล และเกิดการตอบสนองในแบบต่างๆกัน […]
บ้านเพื่อสุขภาพ อาจแก้ปัญหาที่ว่า ทำไมเมื่ออายุมากขึ้น ยิ่งนอนหลับยาก ตื่นง่าย ซึ่งกำลังกลายเป็นปัญหาเพิ่มมากขึ้น
ใครซึมเศร้า เบื่ออาหาร หน้าหมอง แสบตา เวียนหัว โดยไม่รู้สาเหตุ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและเด็ก ให้ลองสังเกต 10 จุดในบ้านต่อไปนี้ที่อาจเป็นต้นเหตุให้ป่วยแบบเรื้อรัง ซึ่งเป็นข้อมูลดีๆจาก ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ที่ใส่ใจสุขภาวะของการอยู่อาศัย มาสำรวจตัวเองและบ้านไปพร้อมๆกันเลย 1.สีทาบ้าน ทำให้แสบตา แสบจมูก วิงเวียน ถ้าอยู่ในบ้านเฉยๆ ก็รู้สึกแสบตา แสบจมูก วิงเวียน บางทีอาจมีสาเหตุจากสีทาบ้านก็เป็นได้ เพราะส่วนประกอบของสีทาบ้านจะมีค่าสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compound) หรือ VOCs หากเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระบบภูมิคุ้มบกพร่อง ระบบประสาทถูกทำลาย เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหน้ามืด แสบตา หายใจลำบาก และหากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้หมดสติ แต่ถ้าสะสมในร่างกายเป็นเวลานานจะทำให้เยื่อหุ้มปอดถูกทำลายในที่สุด wellness การเลือกใช้สีที่ดีต่อสุขภาพ ต้องมีส่วนผสมที่ลดปริมาณสิ่งปนเปื้อนจากวัสดุประสาน (Adhesive) วัสดุยาแนว (Sealant) รองพื้น สี และวัสดุเคลือบผิวภายในอาคารที่มีกลิ่นแรง สร้างความรำคาญ และเป็นผลร้ายต่อสุขอนามัย ควรเลือกใช้วัสดุที่มีการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายต่ำ […]
ใครจะสร้างบ้านหรือปรับปรุงบ้าน อย่าลืมคิดถึงคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย หรือตอนที่เราเองกลายเป็นคนสูงวัยที่ร่างกายมีความเสื่อมถอย ทำให้ใช้ชีวิตในบ้านลำบากขึ้น มาดูการศึกษาเรื่องการปรับบ้านรับวัยเกษียณ ของศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุในบ้าน และยิ่งไปกว่านั้นคือ ทำให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตง่ายขึ้นและมีความสุขมากขึ้น โดยปรับเปลี่ยนบ้านเพียงเล็กๆ น้อยๆ เข้าใจการเสื่อมถอย 4 ด้าน หากสังเกตว่าคุณปู่คุณย่าทำกิจวัตรประจำวันลำบากขึ้น จนบางท่านเกิดอาการท้อแท้ หดหู่ เพราะต้องพึ่งพาลูกหลานมากขึ้นทุกวัน ลูกหลานอย่าเพิ่งรำคาญ เพราะทั้งหมดนี้เกิดจากการเสื่อมถอยของร่างกาย 4 ด้านหลักๆ คือ การมองเห็น การได้ยิน ฮอร์โมนและอารมณ์ และการเคลื่อนไหว ซึ่งถ้าเข้าใจสิ่งเหล่านี้แล้ว ก็จะปรับ บ้านผู้สูงอายุ ให้ท่านใช้ชีวิตได้สะดวกและมีความสุขได้ การเคลื่อนไหว ผู้สูงอายุมีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ระยะก้าวเดินสั้นลง การเคลื่อนไหวช้าลง สะดุดหกล้มง่าย นอกจากนั้น ผู้สูงอายุยังมีระยะการเอื้อมมือและแขนลดลง กล้ามเนื้อมืออ่อนแรงลงจากเดิม ทำให้ความแข็งแรงในการจับ หมุนหรือบิดลดลง การมองเห็น ผู้สูงอายุมีความเสื่อมทางสายตา ทำให้มองไม่ชัด […]
รู้หรือไหม เสียงไล่งู มีจริง วิถีชีวิตดั้งเดิมของไทยมีภูมิปัญญาที่ซ่อนไว้ ช่วยให้งูไม่ค่อยกล้าที่จะมารบกวนพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์