© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านหน้าแคบ คือ หนึ่งในปัญหาที่ท้าทายสำหรับสถาปนิก ซึ่งจะต้องคิดหาหนทางการแก้ปัญหาให้เจ้าของบ้านได้มีพื้นที่ใช้สอยอย่างพอเพียง
แบบ บ้านไม้ ยกใต้ถุนสูง หลังนี้สร้างขึ้นด้วยแนวคิดการผสมผสานไม้เก่าเพื่อให้ได้บ้านไม้หลังใหม่ในงบประมาณที่ไม่สูงเกินไป
บ้านโครงสร้างเหล็กผสมคอนกรีต สไตล์โมเดิร์นรูปทรงกล่องกรุผนังด้วยกระจกใสและสัมผัสพื้นดินให้น้อยที่สุด บ้านจึงดูเบาเหมือนลอยจากพื้น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Swatt|Miers Architects หลายคนอาจคุ้นชื่อของ Silicon Valley กันดี เพราะที่นี่คือศูนย์รวมของบริษัทที่สร้างสรรคนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของโลกอย่าง Facebook, Apple Inc., Google, eBay, Yahoo ฯลฯ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอ่าวแซนแฟรนซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ที่นี่ก็ยังมีบ้านพักอาศัยสไตล์โมเดิร์นซึ่งอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างลงตัวจนคาดไม่ถึงอีกด้วย นั่นก็คือ บ้านโครงสร้างเหล็กผสมคอนกรีต หลังนี้ บ้านหลังนี้ปลูกสร้างบนเนินเขา เจ้าของบ้านคือหนึ่งในซีอีโอของบริษัทชื่อดังด้าน Networking ของโลก แต่ชื่นชอบและสนใจปรัชญาการใช้ชีวิตแบบตะวันออก ที่นี่ใช้เป็นบ้านสำหรับการพักผ่อนและทำงาน ภายใต้ร่มเงาของโอ๊กต้นใหญ่ซึ่งแผ่กิ่งก้านสาขาครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง รูปทรงสวยเรียบของ บ้านโมเดิร์นโครงเหล็กผสมคอนกรีต หลังนี้ไม่ได้สะท้อนแค่ความเท่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นงานออกแบบที่แก้ปัญหาเรื่องสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ลาดชันได้เป็นอย่างดี ผู้ออกแบบคือ Mr. Robert Swatt สถาปนิกเจ้าของบริษัท Swatt | Miers Architects และ Mrs. Connie Wong มัณฑนากรมืออาชีพ โดยนำแนวคิดเชิงปรัชญาของญี่ปุ่น “วาบิซาบิ” มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ […]
บ้านไม้ถอดประกอบที่คิดต่อยอดจากภูมิปัญญาของคนที่อยู่กับแหล่งไม้สัก ผสานเทคนิคงานไม้เข้ากับการรู้จักธรรมชาติของไม้สักอย่างถ่องแท้ เพื่อให้แต่ละส่วนของ บ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียว มีความสวยงามและใช้ไม้ได้อย่างคุ้มค่า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PREBUILT ASIA บ้านไม้ถอดประกอบอาจดูเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป ทั้งจากเรือนไทยโบราณและบ้านน็อกดาวน์ในสมัยนี้ แต่บ้านหลังนี้ซึ่งออกแบบโดย คุณปอย - ปวีณา ถือคำ แห่ง PREBUILT ASIA สถาปนิกสาวที่คิดต่อยอดภูมิปัญญางานไม้ที่มาจากกิจการโรงไม้ของครอบครัวในจังหวัดแพร่ มาสู่การออกแบบ บ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียว ที่เริ่มคิดจากธรรมชาติของไม้สัก ตั้งแต่การเลือกแหล่งปลูก อายุ ขนาด และวิธีการประกอบ เพื่อให้ใช้ไม้ประกอบเป็นแต่ละส่วนของบ้านอย่างคุ้มค่าที่สุด ปัจจุบันยังรับออกแบบและสร้างบ้านสำเร็จรูปและออกแบบตามบ้านตามความต้องการ โดยใช้ระบบคำนวณแบบ BOQ ด้วยภูมิประเทศของจังหวัดแพร่ที่เป็นภูเขาและมีป่าสักมาก ที่นี่จึงเป็นแหล่งไม้สักคุณภาพดีของประเทศ ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเกี่ยวกับไม้สัก และการได้คลุกคลีกับวัตถุดิบมานานจากรุ่นสู่รุ่น จึงเข้าใจธรรมชาติของไม้ในแต่ละช่วงอายุว่าเหมาะกับการนำมาใช้งานอย่างไร อีกทั้งยังรู้จักการเลือกไม้คุณภาพดี การเตรียมไม้ก่อนนำมาใช้ และมีช่างที่มีความชำนาญ ดังนั้นเมื่อคุณปอยเรียนจบจึงคิดออกแบบบ้านไม้สักระบบกึ่งสำเร็จรูปให้เป็นบ้านไม้สไตล์เอเชียร่วมสมัย ซึ่งมีจุดเด่นตรงการใช้พื้นที่ต่อเนื่องร่วมกัน โดยไม่แบ่งเป็นห้อง ๆ ขาดจากกัน นอกจากจะมีพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนรวม มีพื้นที่ภายนอกและภายในแล้ว ยังมีพื้นที่ก้ำกึ่ง (Semi Space) ที่ใช้เชื่อมพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น ชาน เฉลียง และทางเดิน อย่างบ้านนี้มีพื้นที่เฉลียงและชาน 18 ตารางเมตร และภายในบ้าน 36 ตารางเมตร จึงออกแบบให้เดินเข้ามาเจอชานที่เปิดโล่งก่อน แล้วจึงเดินขึ้นมาบนเฉลียงที่มีหลังคาคลุม เป็นการค่อยๆปรับความรู้สึกจากพื้นที่โล่งไปยังพื้นที่ปิดล้อม จากนั้นจึงค่อยขึ้นไปบนบ้านซึ่งเป็นห้องมีผนังปิดล้อมโดยออกแบบเป็นโถงโล่ง มีระยะระหว่างเสา 3 x 3 เมตร ซึ่งคิดจากการใช้พื้นที่ที่เมื่อยืนอยู่แล้วพอจะเอื้อมไปรอบๆได้ง่าย และสัมพันธ์กับความยาวไม้มาตรฐานที่ยาว 3 - 4 เมตร โดยคิดเป็นยูนิต และนำแต่ละยูนิตมาต่อกัน แม้อยู่เฉลียงภายนอกบ้านก็ยังมองเห็นหรือพูดคุยกับคนในบ้านได้เพราะพื้นที่ภายในกับภายนอกต่อเนื่องกัน การก่อสร้างบ้านให้ทำฐานรากคอนกรีตหล่อในที่ แล้วยกส่วนประกอบบ้านเป็นชิ้นๆ หรือเป็นแผงมาประกอบกันที่หน้างาน เลือกใช้ไม้สักป่าปลูกอายุ 20 ปี ซึ่งเป็นอายุที่คุ้มค่าที่สุด คือเนื้อไม้มีความแข็งแรงพอ สามารถปลูกทดแทนได้เร็ว และเลือกแปรรูปไม้จากส่วนต่างๆ แล้วนำไปใช้งานให้เหมาะกับความแข็งแรง อย่างแก่นไม้ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดจะนำมาทำโครงสร้าง ส่วนที่ไม่ได้รับน้ำหนักใช้ไม้ที่แข็งแรงน้อยกว่า หรือใช้ไม้อายุน้อยกว่าได้ อีกทั้งออกแบบโครงสร้างประหยัดไม้ โดยใช้ไม้ขนาดเล็ก หน้าตัด 3 x 3 นิ้ว 4 ท่อนมาประกอบเป็นเสาบ้านให้มีช่องว่างห่างกันแล้วดามจุดต่อ 3 จุด คือตรงหัวเสา ฐานเสา และกลางเสา เพื่อช่วยรับแรง อีกทั้งยังมีข้อดีที่สามารถนำคานมาเสียบเข้าช่องว่างระหว่างเสาได้เลย และยังสามารถซ่อนไฟไว้ในเสาแทนการใช้โคมไฟได้ด้วย ที่สำคัญเป็นการลดการใช้ทรัพยากร เพราะการใช้เสาต้นใหญ่จะต้องใช้ไม้ที่มีอายุมากขึ้น หากพินิจดูแต่หน้าตาของบ้าน อาจจะดูพิเศษกว่าบ้านไม้อื่นๆ ที่มีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่เมื่อได้รู้แนวความคิดที่เริ่มจากต้นทางของไม้ นำมาสู่การออกแบบที่พอดี ก็ทำให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านสวยที่ไม่ธรรมดาเลย เรื่อง : ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์ ภาพ : ธนาวุฒิ โชติประดิษฐ สไตล์ : ธัญญานันท์ ศรีชัยวรรณ “บ้านชุมดวง” การคืนชีวิตบ้านไม้ 100 ปี ใกล้พัง ใน 97 วัน บ้านมะค่าโมง บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่มีลมโกรกตลอดทั้งปี บ้านในใจ…บ้านหน้าจั่วที่กลั่นความในใจสู่บ้านสุดอบอุ่น
บ้านไม้เก่าย่อมทรุดโทรมไปตามกาลเวลา น่าเสียดายหากจะปล่อยให้เสื่อมสลายไป ด้วยความผูกพันและความชอบงานช่างไม้ไทยในสายเลือดของ คุณบาส – โสภณ ปลูกสร้าง ซึ่งย้ายจากการเป็นคนเมืองกรุงกลับมายังบ้านเกิดที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย จึงริเริ่มนำบ้านไม้โบราณหลายหลังมาปรังปรุงให้คืนชีวิตอีกครั้ง หนึ่งในนั้นคือ บ้านชุมดวง หลังนี้ที่เคยเป็นเรือนแพอยู่ในแม่น้ำยม ซึ่งได้รับบูรณะให้เป็นอย่างที่เห็นด้วยเวลาเพียง 97 วันเท่านั้น เจ้าของ คุณโสภณ ปลูกสร้าง FB : สิบสองหน่วยตัด งานช่างอยู่ในสายเลือด “ก่อนนั้นทำงานด้านธุรกิจโรงแรมและเครื่องสำอางที่กรุงเทพฯ แล้วจึงย้ายกลับมาอยู่บ้านเกิดเมื่อ 4 ปีก่อน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานด้านนี้ เนื่องจากคุณปู่เป็นช่างไม้และสืบทอดมาถึงคุณพ่อ จึงเติบโตและซึมซับงานช่างไม้ไทยมาตั้งแต่เด็ก โดยเริ่มจากความชอบที่ผูกพันคือ บ้านไม้เก่า และทุกอย่างที่เกี่ยวกับบ้านไม้ และส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจนี้ก็มาจาก นิตยสาร บ้านและสวน ซึ่งที่บ้านสะสมหนังสือและติดตามมาตั้งแต่สมัยยังเด็ก” บ้านไม้เก่าสืบทอดสู่เจ้าของใหม่ การหา บ้านไม้เก่า สำหรับคุณโสภณมี 2 แหล่ง คือ ดูในเพจที่รักและชื่นชอบงานไม้ก็จะได้ข้อมูลแลกเปลี่ยนกัน และการเข้าไปพูดคุยกับเจ้าของบ้านโดยตรง “บ้านไม้โบราณแต่ละหลังเป็นมรดกตกทอดของแต่ละครอบครัว เราจึงต้องแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนว่า เราตั้งใจนำมาอนุรักษ์ไว้ อย่างบ้านชุมดวงหลังนี้ซึ่งเป็นบ้านของตระกูลใหญ่ในจังหวัดสุโขทัย การเข้าไปเจรจาจึงต้องมีความชัดเจนว่าเราอยากนำบ้านบูรณะให้อยู่คู่กับเมืองสวรรคโลกต่อไป เจ้าของบ้านจึงยินดีส่งต่อบ้านมาให้เราดูแล และใช้ชื่อว่า “บ้านชุมดวง” ตามชื่อสกุลเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าของเดิม” อดีตคือเรือนแพในแม่น้ำยม […]
ชายหนุ่มคนรุ่นใหม่ที่ละทิ้งการใช้ชีวิตแบบคนเมือง กลับไปปรับปรุงบ้านพักคนงานขนาด 9 x 9 เมตร ในสวนลำไยของพ่อ จนกลายเป็นบ้านสุดชิคในงบประมาณเพียง 350,000 โดยกว่า 80% เป็นการก่อสร้างและปรับปรุงด้วยสองมือของเขา ซึ่งเกิดจากความรักที่มีต่อถิ่นเกิดและบริบทแวดล้อมที่หล่อหลอมให้เป็นเขาในวันนี้ เจ้าของ : คุณพิทักษ์ บุญปั๋น และ คุณณิชาพัฒน์ โกสลากร ออกแบบ-จัดสวน : คุณพิทักษ์ บุญปั๋น วิถีชีวิตแบบคนในเมืองที่อยู่บ้านจัดสรร รั้วบ้านติดกัน จอดรถขวางประตู เสียงสุนัขเห่าก็เกิดเรื่องผิดใจกัน และการตื่นมาทำกิจวัตรแบบซ้ำๆ วนไปมา ทำให้ คุณแม๊ก-พิทักษ์ บุญปั๋น เกิดความเบื่อหน่าย จึงชักชวนภรรยา คุณณิชาพัฒน์ โกสลากร กลับไปปรับปรุงบ้านพักคนงานในสวนลำไยของพ่อ เมื่อเห็นพ้องต้องกัน คุณแม๊กก็เริ่มร่างแบบฝันและลงมือปรับปรุงบ้านพักคนงานที่เก่าผุพังให้กลายเป็น บ้านชั้นเดียวสีขาว สุดชิค ด้วยงบประมาณเพียง 350,000 บาทเท่านั้น ลงมือทำเองจากวัสดุที่มี เมื่อเห็นตัวเลขของงบประมาณเชื่อว่าหลายคนคงประหลาดใจ คุณแม๊กเล่าว่า “ผมชอบงานออกแบบแต่จบเกษตร (หัวเราะ) ชอบดูงานออกแบบในอินเทอร์เน็ตจาก Pinterest เลยเก็บตัวอย่างที่ชอบคุยกับช่างและให้เพื่อนช่วยเขียนแบบให้ งบประมาณนี้ส่วนใหญ่จึงเป็นค่าแรงและค่าวัสดุต่างๆ ผมเลือกใช้พร๊อบจากงานแต่งงานของตัวเองซึ่งเป็นไม้เก่าที่เป็นไม้เนื้อแข็งทั้งหมด […]
ในยุคที่โควิด – 19 ระบาด ออกไปไหนก็ลำบาก ไหนจะเศรษฐกิจฝืดเคือง การมีแหล่งอาหารในบ้านกลายเป็นสิ่งที่คนไทยเริ่มมองหา นอกจากการปลูกผักสวนครัวแล้ว การเลี้ยงไก่ไว้กินไข่ก็กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากไข่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี และวัตถุดิบคู่ครัวไทย อีกทั้งไก่บางสายพันธุ์เองก็เป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักน่าเอ็นดู สร้างความเพลิดเพลินได้ไม่น้อย “เล้าไก่” จึงกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สามารถออกแบบให้ล้อรับไปกับดีไซน์ของบ้าน หรือเป็นส่วนหนึ่งของบ้านได้อย่างไม่ขัดเขินอีกต่อไป เล้าไก่สวยๆ สามารถออกแบบได้ตามความต้องการของเจ้าของบ้าน แต่มีสิ่งหนึ่งที่อาจทำให้เจ้าของบ้านหลายคนกังวลใจ นั่นคือกลิ่นเหม็นของมูลไก่ แต่รู้หรือไม่การวางตำแหน่งเล้าไก่ในทิศที่เหมาะสม ช่วยลดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นได้ ตำแหน่งการสร้างเล้าไก่หรือโรงเรือนเลี้ยงไก่มีความสำคัญมาก เพราะส่งผลต่อการออกไข่ของไก่ หากโรงเรือนตั้งอยู่ในทิศทางที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้เกิดการถ่ายเทอากาศ ลดอุณหภูมิ ลดความชื้น ลดปริมาณฝุ่นละออง ที่สำคัญคือลดกลิ่นได้ด้วย พื้นโรงเรือนไม่อับชื้นหรือเป็นที่สะสมของสิ่งสกปรก ไก่จะไม่เจ็บป่วยและออกไข่ได้ดี การสร้างโรงเรือนควรตั้งตามแนวยาวทิศตะวันออก – ตะวันตก หากตั้งโรงเรือนขวางแสงอาทิตย์จะทำให้มีพื้นที่สำหรับให้ไก่หลบความร้อนจากแสงแดดได้น้อย ทำให้เสียเนื้อที่โดยเปล่าประโยชน์เมื่อแสงแดดส่องในตอนบ่าย ตัวโรงเรือนอาจตั้งเฉียงออกจากแนวทิศตะวันออก – ตะวันตกได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรเกิน 7 องศาตามแนวทิศตะวันออกไปทางทิศใต้ ทริคเล็กๆ ที่ใช้ได้ผลในการดับกลิ่นมูลไก่คือการทำความสะอาดและเก็บมูลไก่ไปเป็นปุ๋ยให้พืชผัก หรือจะแก้ด้วยการใช้สาร EM โรยที่ฟางรองพื้นก็ช่วยลดกลิ่นได้ดีเช่นกัน เรามีตัวอย่างบ้านน่าอยู่ที่ออกแบบให้มี เล้าไก่สวยๆ อยู่ภายในบริเวณบ้าน มาให้ชมเป็นไอเดียกัน ดังนี้ บ้านไร่ไออรุณ … […]
บ้านปูนสองชั้นที่ออกแบบมาจากชีวิตของผู้อยู่อาศัย ที่ลงลึกไปถึงรายละเอียดความชอบของสมาชิกแต่ละคน นำไปสู่การหาจุดร่วมที่เหมือนกัน นั่นคือทุกคนมีความคุ้นเคยกับเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าและของใช้สมัยก่อน ซึ่งทำให้เกิดบรรยากาศอันแสนอบอุ่นในบ้าน และมีส่วนทำให้คนในครอบครัวมีความสุขมากๆ ที่ได้อยู่ในบ้านหลังนี้ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Volume of Love Architect การได้มาพูดคุยกับคนที่รักบ้านหรือรักในสิ่งที่เขาเป็นอยู่ เหมือนการได้นั่งเครื่องย้อนเวลากลับไปมีความรู้สึกร่วมกับภาพในอดีต นอกจากเรื่องดีๆที่พรั่งพรูออกมาพร้อมรอยยิ้ม ยังสัมผัสได้ถึงหัวใจที่พองโต พร้อมจะสูบฉีดความปีติให้ออกมาท่วมท้นทุกความรู้สึก ซึ่ง คุณชัช – ชัชวาลและคุณเล็ก – อุไรวรรณ เกษรมาลา ได้ร่วมกันเก็บเกี่ยวทุกความผูกพันและคลุกเคล้าให้เข้ากันใน บ้านปูนสองชั้น ที่อบอุ่นหลังนี้ ครั้งแรกที่ได้มาเยือนบ้านหลังนี้เป็นช่วงเย็นในวันอากาศดี นอกจากจะเห็นบ้านปูนผนังสีเหลืองที่ตกแต่งด้วยไม้เก่าดูอบอุ่นแล้ว เรายังเห็นรอยยิ้มต้อนรับจากเจ้าของบ้านและ อาจารย์เบิร์ด – อัครพงศ์ อนุพันพงศ์ สถาปนิกและอาจารย์ประจำสาขาสถาปัตยกรรม ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่กำลังนั่งคุยกันบนระเบียงไม้หน้าบ้านที่มีลมพัดโชยเอื่อยๆพอสบายตัว หลังจากทักทายและเดินชมบ้านสองชั้นที่เน้นการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์เก่าและของสะสมแล้ว วงสนทนาขนาดย่อมก็เริ่มขึ้นภายในห้องรับประทานอาหารที่อยู่ถัดจากระเบียงไม้หน้าบ้าน มีตู้ไม้เก่าหลายใบที่ใช้เก็บของและโชว์ของสะสม ทั้งชุดจานแก้วซึ่งมารู้ภายหลังว่าเป็นของขวัญวันแต่งงานของคุณพ่อคุณแม่ หรือภาพวาดฝีมือ น้องเถาทอง เกษรมาลา ลูกชายของคุณชัชและคุณเล็ก “ในช่วงแรกที่ดินสำหรับสร้างบ้านเป็นที่ดินหน้าแคบเพียง 11 เมตร พื้นที่ 55 ตารางวา […]
บ้านมะค่าโมง แบบ บ้านไม้ใต้ถุนสูง ที่หยิบเอาความทรงจำในวันเด็กมาสร้างให้เป็นจริง ภายใต้งบประมาณ 300,000 บาทในเวลาเพียง 8 เดือน
ชม แบบบ้านหลังเล็กอยู่สบาย 4 สไตล์ ที่แม้จะเป็นบ้านไซส์เอส (S) ดู "คับที่" แต่ในด้านดีไซน์และการใช้งานนั้นจัดได้ว่า "คับแก้ว" จิ๋วแต่แจ๋ว
บ้านไม้ ใต้ถุนสูงสีขาว ที่ตั้งอยู่กลางวงล้อมของสวนอังกฤษซึ่งรายรอบด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ตัวบ้านมีขนาดกะทัดรัดโดยสร้างจากเรือนไม้เก่าที่เจ้าของบ้านออกแบบให้มีหน้าตาที่ดูร่วมสมัยมากขึ้น ตกแต่งด้วยข้าวของสไตล์คลาสสิกที่ดูสวยหวาน
บ้านพักผ่อนสไตล์โคโลเนียลที่มีเพียง 1 ห้องนอน 1ห้องนั่งเล่น โดยออกแบบให้พื้นห้องมีระดับต่างกัน เพื่อเป็นการแยกสัดส่วนแทนการทำกำแพง จึงได้ความรู้สึกเหมือนว่าทั้งบ้านมีห้องเดียว บ้านชั้นเดียวสไตล์โคโลเนียล เจ้าของ-ออกแบบตกแต่ง : คุณสุริยา เสาร์หมื่น เมื่อถึงคราวต้องออกแบบบ้านของตัวเอง คุณสุริยา เสาร์หมื่น สถาปนิกลูกล้านนาโดยกำเนิด ผู้มีพื้นเพอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่ กลับต้องคิดให้มากยิ่งกว่าการออกแบบให้ผู้อื่น บ้านชั้นเดียวสไตล์โคโลเนียล “หลายคนติดภาพว่าผมถนัดการออกแบบสไตล์ล้านนา เลยพลอยคิดว่าผมทำเป็นแต่สไตล์นี้เท่านั้น จริงๆแล้วนั่นเป็นเพียงโอกาสหนึ่งที่ทำให้เราได้ทำงานตรงนั้น และก็กลายเป็นเหตุผลหนึ่งซึ่งทำให้ผมอยากจะเลี่ยงงานแบบนั้นเมื่อทำบ้านของตัวเอง ไม่ใช่ว่าไม่ชอบ แต่ผมอยากได้บ้านที่เป็นบ้านของผมเอง” นอกจากออกแบบบ้านให้ตัวเองแล้ว คุณสุริยายังต้องทำเผื่อเพื่อนอีกสามคนด้วย เพราะทั้งสี่คนร่วมกันซื้อที่ดินผืนหนึ่งกลางทุ่งนาในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และแบ่งสร้างเป็นบ้าน 4 หลัง อีกส่วนหนึ่งสร้างเป็นโรงแรมขนาดเล็กชื่อว่า “at Villa Sansai” โดยออกแบบสิ่งก่อสร้างทั้งหมดให้กลมกลืนกัน บ้านทั้งสี่หลังเป็นบ้านชั้นเดียว มีขนาดและรูปทรงภายนอกใกล้เคียงกัน ส่วนภายในจะแตกต่างกันไปตามบุคลิกของเจ้าของบ้านแต่ละคน “ผมออกแบบบ้านหลังนี้โดยเริ่มต้นจากการคิดถึงพื้นที่ภายในก่อน เพราะมีประสบการณ์จากบ้านหลังเดิมที่กั้นแต่ละส่วนเป็นห้องเล็กๆ ทำให้รู้สึกอึดอัดเหมือนอยู่ในกล่อง ผมอยากให้พื้นที่เกือบทุกส่วนในบ้านหลังนี้เปิดถึงกัน ดังนั้นจึงออกแบบให้พื้นห้องมีระดับต่างกัน เพื่อเป็นการแยกสัดส่วนแทนการทำกำแพง จึงรู้สึกเหมือนว่าทั้งบ้านมีห้องเดียว” บ้านหลังนี้มีทางเข้าสองด้าน ทางเข้าหลักอยู่ด้านหน้าออกแบบเป็นซุ้มประตูยื่นออกมาจากตัวบ้าน บานประตูเป็นไม้เก่าจากประเทศอินเดียแกะลายอย่างละเอียดลออ บริเวณนี้ยังทำม้านั่งปูนหล่อไว้ด้วย ส่วนทางเข้าอีกด้านเป็นทางเดินขนานกับโรงรถ ต้องเดินผ่านซุ้มประตูซึ่งมีลักษณะคล้ายซุ้มเรือนแก้ว ทางเข้านี้นำไปสู่ชานพื้นปูนด้านหลังบ้าน ภายในบ้านแบ่งพื้นที่เป็นสองส่วนใหญ่ๆ […]