© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ประวัติศาสตร์อันยาวนานของหัวเมืองเหนือ ตลอดจนความเจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่งผลให้ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจ โดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรมอันงดงาม เราขอพาไปสัมผัสเรื่องราวของ 4 อาคารในจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ซึ่งถือเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมของเมืองไทยมาฝากกัน อาคารหย่งเชียง ที่ตั้ง: เลขที่ 2 – 4 ถนนวิชยานนท์ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ สถาปนิก/ผู้ออกแบบ : นายกิมยง (ต้นตระกูลตันกิมยง) บูรณะโดย : คุณธนกฤต เทียนมณี ผู้ครอบครอง : คุณสลิล ทิพย์ตียาภรณ์ ปีที่สร้าง : พ.ศ. 2447 บ้านโบราณ รถมุ่งหน้าสู่ถนนท่าแพ ผ่านสะพานนวรัฐ ผู้คนมากหน้าหลายตาขับรถสวนไปมาแทรกด้วยกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติขี่จักรยานเป็นระยะ จุดหมายของเราในครั้งนี้คือ อาคารหย่งเชียง ครั้งแรกที่เราได้ยินชื่ออาคารแห่งนี้ก็คาดเดากันไปต่างๆ นานาว่าจะต้องเป็นอาคารค้าขายสไตล์จีนแน่ๆ กระทั่งมายืนอยู่ตรงหัวมุมถนน เราได้พบตึกเก่าทาสีขาวสะอาดสลับกับไม้ระแนงสีน้ำตาลเข้มบนระเบียง เมื่อเข้าไปภายในก็พบกับ คุณธนกฤต เทียนมณี สถาปนิกผู้บูรณะและเป็นผู้ดูแลอาคารแห่งนี้ อาคารหย่งเชียงในภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “เตียหย่งเชียง” ส่วนภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “หลงชาง” หรือ “หลุงชาง” […]
มีคนเคยพูดว่า “ศิลปะเป็นสิ่งสากล ซึ่งอยู่เหนือกฎเกณฑ์ของศาสนา เชื้อชาติ และกาลเวลาเสมอ” บ้านหลังนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ช่วยยืนยันได้อย่างดี ด้วยรูปแบบการสร้างที่มีกลิ่นอารยธรรมทั้งจากตะวันตกและอิสลามผสมผสานกัน แสดงถึงลักษณะงานศิลปะในรัชสมัยรัชกาลที่ 4-6 อันเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของสถาปัตยกรรมในประเทศไทย เจ้าของ: คุณชัยรัตน์ – คุณนาตยา สมันตรัฐ บ้านไม้โบราณ หลังนี้เปี่ยมด้วยเรื่องราวความผูกพันอันยาวนานเกือบร้อยปี ซึ่งบอกเล่าโดยลูกหลานผู้สืบเชื้อสายมาจากหลวงโกชาอิศหาก ต้นสกุลของเจ้าของบ้านหลังนี้ “เดิมพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ซึ่งเป็นคุณพ่อรับราชการประจำอยู่ที่จังหวัดสตูล แต่มาซื้อที่และปลูกบ้านหลายหลังเพื่อให้ลูกหลานอยู่รวมกันได้เรียนหนังสือและใช้เป็นที่รับรองแขกในกรุงเทพฯ เลยได้วิ่งเล่นในบ้านหลังนี้มาตั้งแต่ยังเล็ก” ด้วยเชื้อสายที่เป็นชาวมุสลิมจากทางภาคใต้ ประกอบกับบ้านหลังนี้สร้างขึ้นในยุคล่าอาณานิคมของเมืองไทย จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีการใช้ลักษณะของศิลปะผสมผสานกันอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการใช้ไม้เป็นวัสดุหลักในการสร้างและตกแต่ง โดยการฉลุเป็นลวดลายแบบแขกมัวร์ (Mauresque Art) และแบบลายขนมปังขิง อันเป็นเอกลักษณ์งานไม้แห่งอิสลาม โดยเน้นลวดลายพรรณพฤกษาในกรอบทรงเรขาคณิตเป็นหลัก ติดตามบริเวณต่างๆรอบบ้าน ทั้งขอบกันสาดของส่วนที่ยื่นออกมาเหนือประตู หน้าต่าง แผ่นไม้ที่ติดระหว่างช่วงเสา ขอบชายคาโดยรอบบ้าน สันหลังคา หน้าจั่ว มุขหน้า ขอบลูกกรงระเบียง และส่วนกันแดดตอนบนของระเบียง ส่วนที่ติดเพดาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังเน้นเรื่องการถ่ายเทอากาศภายในบ้าน ด้วยการออกแบบโครงสร้างมีประตูหน้าต่างมากมาย และเจาะช่องลม ทั้งบริเวณใต้หลังคา ส่วนที่เป็นกรอบอยู่เหนือหน้างต่างประตู และตอนบนของผนังที่อยู่ใต้ฝ้าเพดานลงมา เพื่อให้ลมผ่านและช่วยระบายความร้อนใต้ฝ้าออกไป “การฉลุไม้ลวดลายแบบแขกมัวร์ (Mauresque Art) […]
บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นสำหรับครอบครัวขยายที่รีโนเวตและสร้างบ้านใหม่ต่อจากบ้านเดิม โดยออกแบบเผื่อลูกหลานมีครอบครัวของตัวเอง และอยู่ร่วมบ้านเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ได้ ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับ “เรือนหมู่” ของคนไทยโบราณ แต่ซ่อนรูปอยู่ในบ้านร่วมสมัยที่ออกแบบด้วยดีเทลและวัสดุสมัยใหม่ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Space Story Studio ครอบครัวขยายเป็นวิถีของคนไทยในทุกยุคสมัย แต่กาลก่อนเมื่อลูกสาวมีครอบครัว ฝ่ายชายจะย้ายมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง โดยปลูกเรือนเชื่อมต่อกับชานเรือนพ่อแม่ หรือปลูกเรือนอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีลักษณะแบบ “เรือนหมู่” ที่เดินไปมาหาสู่และพึ่งพากันได้สะดวก เช่นเดียวกับ บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น หลังนี้ ที่ดูภายนอกไม่ต่างจากบ้านทั่วไป แต่ภายในกลับซ่อนสเปซแบบเรือนหมู่ ซึ่งออกแบบเผื่อการมีครอบครัวของลูกหลานและรองรับการรวมญาติในแต่ละสัปดาห์ได้อย่างสะดวกสบาย จากครอบครัวเดี่ยวสู่ครอบครัวขยาย ภายในพื้นที่ 200 ตารางวานี้ เดิมมีบ้านสองชั้นอายุประมาณ 20 ปีซึ่งโครงสร้างหลักยังแข็งแรงดี แต่เมื่อครอบครัวที่มีคุณพ่อ คุณแม่ คุณตา คุณยาย และลูก 3 คน ที่เติบโตจนสำเร็จการศึกษาและพร้อมสร้างครอบครัวของตนเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำบ้านแบบครอบครัวขยาย โดยมีโจทย์สำหรับสถาปนิกคือ เป็นบ้านที่ทุกคนยังสามารถอยู่รวมกันได้ในบริเวณเดียวกัน โดยยังพื้นที่ส่วนตัวและดูแลบุคคลที่อยู่ร่วมกันภายในบ้านได้ทั่วถึง รวมทั้งรองรับญาติมิตรที่มาเยี่ยมเยียนได้อย่างเหมาะสมในทุกช่วงเวลา การแยกเพื่อรวมกัน บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น รูปตัวแอล (L) เปิดคอร์ตด้านหน้าเป็นสระว่ายน้ำ และเปิดโล่งถึงภายในบ้านที่มีทางเดินและชานเชื่อมอาคารสองหลังเข้าด้วยกัน คุณท็อป-พิพล ลิขนะไพศาล […]
เมื่อจะสร้างบ้านสำหรับครอบครัว จึงตั้งใจออกแบบพื้นที่ ให้ทุกคนในบ้านได้ใช้เวลาด้วยกันได้อย่างสะดวก มีพื้นที่เชื่อมถึงกัน และ ตกแต่งบ้านชั้นเดียว ได้อย่างน่าสนใจ ด้วยของตกแต่งที่ ออกแบบ และ ประดิษฐ์ ขึ้นมาใหม่ เพิ่มความน่าสนใจให้กับบ้านหลังนี้ เจ้าของ – ออกแบบ : คุณเชิงชาย ทิพย์สุข ไม่ง่ายนักที่เราจะเห็นบ้านชั้นเดียว ในกรุงเทพมหานครตอบสนองการใช้งาน ของสมาชิกทุกคนในครอบครัวได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง การ ตกแต่งบ้านชั้นเดียว ของครอบครัว “ทิพย์สุข” ขนาด 105 ตารางวา หลังนี้ นอกจากจะมีฟังก์ชันครบทุกการใช้งาน ยังเป็นสตูดิโอทํางานของเจ้าของบ้านอีกด้วย คุณเชิงชาย ทิพย์สุข ผู้คร่ําหวอดในวงการอีเว้นต์มากว่า 20 ปี ปัจจุบันผันตัวเองมาทํางานเป็น Brand Stylist กับโปรเจ็คท์แรกที่ประสบความสําเร็จอย่างไม่ต้องตั้งคําถาม คือ เพลินวาน หัวหินและ Mansion 7 Boutique Thriller Mal lมอลล์คอนเซ็ปต์ใหม่ในกรุงเทพฯ “ผมเคยอยู่บ้านตึกแถวมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วรู้สึกว่าพื้นที่แนวตั้งมันทําให้สมาชิกในครอบครัวไม่ค่อยได้เจอกัน ทุกคนใช้เวลาอยู่ชั้นใครชั้นมัน ดังนั้นตอนซื้อบ้านผมจึงเลือกบ้านชั้นเดียว เพราะทุกคนอยู่ในระดับเดียวกัน […]
รีโนเวตบ้านเก่า 30 ปีที่อยู่แล้วรู้สึกอึดอัดคับแคบเกินไปให้กลายเป็นบ้านหลังใหม่ ด้วยการเปลี่ยนแปลนบ้านใหม่ทั้งหมด พร้อมขยายพื้นที่ใช้สอยภายในให้กว้างขึ้น เปลี่ยนงานไม้สักสีเข้มจากยุคสมัยก่อนมาเป็นการใช้ไม้โทนสีสว่างผสมกับผนังขาวและกระจกใสที่เปิดรับแสงธรรมชาติเข้าบ้าน และยังเชื่อมต่อมุมมองภายในออกสู่ธรรมชาติสีเขียวภายนอกได้อย่างสบายตา DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Mutantx Architects เมื่อบ้านที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ 30 ปีก่อนเริ่มทำให้สมาชิกในบ้านรู้สึกอึดอัดคับแคบเกินไป เพราะห้องนั่งเล่นที่เคยกว้างสำหรับพ่อแม่ลูกกลับไม่เพียงพอเหมือนเก่า ห้องน้ำรวมของลูกๆ ที่เคยใช้ร่วมกันก็ขาดความเป็นส่วนตัว แม้แต่ห้องครัวที่เคยพอดีกลับดูรกตาไปหมด นั่นเพราะคนที่อยู่อาศัยเติบโตแต่ตัวบ้านยังมีพื้นที่ใช้สอยเท่าเดิม จึงต้องมีการ รีโนเวตบ้านเก่า เกิดขึ้น รีโ เพื่อไม่ให้ลูกๆ ต้องย้ายออกไปหาที่อยู่กันใหม่ คุณตั้ว – สืบสกุลและคุณอุ – อุดมพร พันธุ์แพทย์ จึงตัดสินใจ รีโนเวตครั้งใหญ่จากที่เคยปรับเปลี่ยนไปบ้างแล้วเมื่อสิบกว่าปีก่อน โดยปรึกษากับสถาปนิกคู่ใจ คุณซิม– พิสิฐ ถาวรอธิวาสน์ พร้อมๆ ไปกับซินแสที่นับถือ เพราะอยากให้บ้านมีพื้นที่ใช้งานที่ทันสมัย กว้างขวางขึ้น และอยู่ได้อย่างสบายกายสบายใจที่สุด รีโนเวตบ้านเก่า คุณซิมเล่าว่า “จริงๆ แบบบ้านครั้งแรกที่ปรับแก้กับซินแสเอาไว้ถึงฤกษ์ที่จะตอกเข็มกันแล้ว จู่ๆ ซินแสก็ขอให้ทิ้งแบบนั้นทั้งหมด และออกแบบขึ้นใหม่อีกครั้งก็เลยใช้เวลาเพิ่มจากเดิมอีกหลายเดือน ลดขนาดพื้นที่ใช้สอยลงจนเหลือราว 400 ตารางเมตรภายใต้ข้อแม้ว่าหลังคาจะต้องมียอดแหลมและเป็นผืนใหญ่ผืนเดียว แต่ฟังก์ชันสำคัญคือความต้องการหลักที่จะขยายพื้นที่ใช้สอยภายในเพื่อให้ทุกคนอยู่ได้สบายตัวขึ้น ผมจึงเปลี่ยนแปลนบ้านใหม่ทั้งหมด […]
บ้านปูนชั้นเดียว หลังเล็กขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร สร้างขึ้นจากวัสดุที่มีในพื้นถิ่นอย่างเรียบง่าย เพื่อประหยัดงบ แต่ได้บ้านที่อยู่สบาย ภายใน บ้านปูนชั้นเดียว หลังนี้ มีสมาชิกของบ้านประกอบด้วย คุณจ๊อบ – วัชรมน มหัทธนาสิงห์ และ คุณเก๋- กฤษณพร เรืองสุวรรณ คู่สามีภรรยาที่หันเหชีวิตจากเมืองฟ้าอมรอย่างกรุงเทพฯมาปักหลักปลูกบ้านหลังกะทัดรัดซึ่งรายรอบด้วยทิวทัศน์ของชนบท พร้อมด้วยมูมู่กับเมจิ บริวารสี่ขาผู้น่ารัก เมื่อปลูกบ้านแล้วพื้นที่ส่วนที่เหลือนั้น เจ้าของบ้านยังคงอนุญาตให้ชาวบ้านทำนากระเทียมในที่ดินผืนนี้ต่อไปได้ ตราบที่ยังไม่คิดจะทำอะไรกับพื้นที่ที่เหลือ “ตอนแรกมาเที่ยวปายแล้วรู้สึกชอบ สมัยนั้นที่นี่ยังเล็กและสงบไม่โด่งดังแบบทุกวันนี้ ก่อนหน้านั้นอยู่กรุงเทพฯ ทำธุรกิจส่งออก แต่พอถึงจุดหนึ่งก็รู้สึกอิ่มตัวและคงถึงคราวต้องเปลี่ยนด้วย” คุณจ๊อบเกริ่นถึงที่มาที่ไปให้เราฟัง มาเที่ยวแล้วเกิดติดใจ จึงหาลู่ทางมาเปิดร้านเล็กๆ ขายของที่ระลึกงานประดิษฐ์ งานไอเดียต่างๆ ขายให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ เพราะเราก็จบทางด้านศิลปะจากจุฬาฯ งานเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ ประกอบกับทุนที่ได้จากการทำธุรกิจเดิมทำให้ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ได้แบบสบาย พอหาที่ได้แล้วก็มีแนวคิดว่าจะปลูกบ้านที่เรียบง่ายและประหยัดที่สุด เพราะเราไม่ต้องการให้ดูแปลกแยกจากบ้านของชาวบ้านในแถบนี้เกินไป เจ้าของบ้านทั้งสองเป็นผู้ออกไอเดียเกี่ยวกับบ้านทั้งหมด ตั้งแต่การวางแปลน การออกแบบพื้นที่ใช้สอย รวมถึงหาของตกแต่ง มีเพียงรายละเอียดด้านโครงสร้างและงานระบบที่ต้องปรึกษารุ่นน้องซึ่งเป็นสถาปนิกแปลนบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวบ้านออกแบบให้มีช่องเปิดมากมายรับแสงสว่างและช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่มีการทำฝ้าเพดานทำให้บ้านหลังเล็กมีสเปซที่เปิดโล่งไม่อึดอัด นอกจากนี้ยังเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่ทั่วไปสามารถหาได้ในท้องถิ่น ทั้งอิฐ ไม้ กระเบื้องดินเผา […]
บ้านปูนชั้นเดียวริมน้ำในจังหวัดเชียงรายที่มีการประยุกต์ใช้ข้อดีของบ้านสไตล์จีน ไทย และโมเดิร์นเข้าไว้ด้วยกัน กลายเป็นบ้านสไตล์เอเชียร่วมสมัยที่เข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี โดยวางแปลนอาคารแยกออกเป็นบ้านแฝดสองหลังที่มีขนาดและหน้าตาภายนอกเหมือนกันทุกอย่าง DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: JR CREATIA วันนี้เรามีโอกาสเดินทางมาเยี่ยมบ้านพักตากอากาศหลังน้อยตามคำชักชวนของ คุณเจมส์-จิตติพงศ์ จารุโรจน์ มัณฑนากรหนุ่มรุ่นใหม่ เมื่อมาถึงที่หมาย ภาพที่เห็นตรงหน้าไม่ทำให้เราผิดหวังเลยจริงๆ บ้านชั้นเดียวทรงจีนทั้งสองหลังดูสวยงามโดดเด่นด้วยการผสมผสานความเก่าและความร่วมสมัยไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัวและน่าสนใจ ตั้งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศเงียบสงบบนเนินเขาริมน้ำ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองจังหวัดเชียงรายมากนัก “บ้านหลังนี้เป็นบ้านพักตากอากาศหลังที่สองของครอบครัวครับ ผมตั้งใจสร้างบ้านหลังนี้ขึ้นหลังจากผมและครอบครัวเดินทางมาดูทำเลตรงนี้ตามคำชักชวนของเพื่อนคุณพ่อ เมื่อแรกเห็นพวกเราประทับใจมาก เพราะที่นี่มีบรรยากาศดี ติดริมน้ำ ร่มรื่นเย็นสบาย คงดีไม่น้อยถ้าจะสร้างบ้านพักในสไตล์เอเชียร่วมสมัย ณ ที่ตรงนี้” เมื่อถามถึงความต้องการและรายละเอียดด้านการออกแบบว่าเจ้าของบ้านอยากให้บ้านตากอากาศหลังนี้ออกมาสวยงามถูกใจอย่างไร คุณเจมส์เล่าให้ฟังว่า “ผมต้องการให้ภายนอกดูคล้ายบ้านจีนสไตล์ชิโน-โปรตุกีสที่พบเห็นได้ในจังหวัดภาคใต้ ออกแบบให้เป็นบ้านชั้นเดียวหลังคาทรงจั่ว ผนังด้านนอกฉาบปูนซีเมนต์ขาวไม่ทาสีทับ เพื่อให้เหมือนการสร้างบ้านในอดีต ส่วนผนังด้านในฉาบปูนขัดมันแบบโมเดิร์น แม้ทั้งสองส่วนจะดูขัดแย้งกัน แต่ก็กลมกลืนเข้ากันได้ดีด้วยโทนสีและการตกแต่งภายใน” เสน่ห์และความน่าสนใจของบ้านจีนหลังนี้อยู่ที่การประยุกต์ใช้ข้อดีของบ้านสไตล์จีน ไทย และโมเดิร์นเข้าไว้ด้วยกัน กระทั่งกลายเป็นบ้านสไตล์เอเชียร่วมสมัยที่เข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ด้านการออกแบบได้วางแปลนอาคารแยกออกเป็นสองหลังให้มีขนาดและหน้าตาภายนอกเหมือนกันทุกอย่าง กำหนดพื้นที่สวนขนาดเล็กไว้ตรงกลางเพื่อเป็นช่องดักลมให้ลมพัดผ่านเข้าภายในบ้านได้สะดวก เพิ่มความโปร่งโล่งด้วยช่องประตูหน้าต่างยาวตลอดแนว แม้ผนังข้างตัวบ้านวางตัวในทิศตะวันออก-ตะวันตกรับแสงแดดตรงๆ แต่บ้านกลับไม่ร้อนอย่างที่คิด เพราะสถาปนิกได้ออกแบบให้ผนังด้านนี้ทึบตลอดแนวเพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน ภายในแบ่งสัดส่วนอย่างลงตัว มีมุมมองที่น่าสนใจหลายมุม เช่น ซุ้มประตูทางเข้าออกแบบให้เป็นซุ้มประตูแบบบ้านจีน มีทางเดินปูนขนาบข้างด้วยบ่อน้ำเล็กๆให้ความรู้สึกราวกับกำลังเดินข้ามสะพานเข้าสู่ตัวบ้าน ได้อารมณ์เหมือนกำลังอยู่ในรีสอร์ต พื้นที่ภายในบ้านพักทั้งสองหลังออกแบบให้มีห้องโถงสูงใหญ่สามารถใช้งานได้หลากหลายตามความต้องการ บ้านหลังแรกออกแบบให้มีห้องพักผ่อน […]
บ้านรูปทรงเรียบง่ายแต่โดดเด่นหลังนี้ เป็น บ้านโมเดิร์นหน้าแคบ แม้ภายนอกจะดูทันสมัย แต่ภายในกลับมีความเป็นไทยที่เผยตัวตนของผู้อาศัยได้อย่างลงตัว
บ้านไม้ใต้ถุนสูง ยังคงเป็นรูปแบบบ้านที่ครองใจมหาชนชาวบ้านและสวนมาโดยตลอด อาจด้วยดีไซน์ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศเมืองไทย ซึ่งสามารถถ่ายเทอากาศได้ดี จึงช่วยระบายความร้อนและเปิดรับลมเย็นสบาย อีกทั้งยังเหมาะกับสภาพที่ตั้งที่มักถูกน้ำท่วมบ่อยๆ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ บ้านไม้ใต้ถุนสูง จะติดโผแบบบ้านยอดฮิต ครั้งนี้เราจึงได้รวบรวมแบบบ้านไม้ใต้ถุนสูงมาให้ชมกันอย่างจุใจอีกครั้ง เลื่อนชมบ้านหลังงามด้านล่างได้เลย บ้านไม้ใต้ถุนสูง บ้านไม้สีขาวใต้ถุนสูง ในวงล้อมของสวน เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณจาตุรงค์ ขุนกอง และคุณศิริวิทย์ ริ้วบำรุง บ้านไม้ใต้ถุนสูงสีขาวที่ตั้งอยู่กลางวงล้อมของสวนอังกฤษซึ่งรายรอบด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ตัวบ้านมีขนาดกะทัดรัดโดยสร้างจากเรือนไม้เก่าที่เจ้าของบ้านออกแบบให้มีหน้าตาที่ดูร่วมสมัยมากขึ้น ตกแต่งด้วยข้าวของสไตล์คลาสสิกที่ดูสวยหวาน >> อ่านต่อ บ้านมะค่าโมง บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่มีลมโกรกตลอดทั้งปี เจ้าของ : คุณธีระศักดิ์-คุณชื่นประภา พรหมลา ออกแบบ : คุณธีระศักดิ์ พรหมลา แบบบ้านไม้ใต้ถุนสูง สุดแสนเรียบง่าย โดยข้างล่างทำหน้าที่เป็นทั้งห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก มุมดริปกาแฟเล็ก ๆ และด้านบนที่มีเพียงห้องนอนกับห้องน้ำ เจ้าของบ้านเน้นให้อยู่สบาย ไม่ต้องดูแลรักษามากนัก ที่สำคัญคือต้องเป็นบ้านที่ไม่สร้างภาระ ไม่สร้างหนี้สิน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นบ้านอยู่สบายหลังนี้ >> อ่านต่อ ใช้ชีวิตผ่อนคลายแบบพอดี ในเรือนพักหลองข้าว อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ สถานที่: วิลล่า […]
แบบบ้านปูนใต้ถุนสูง ในจังหวัดฉะเชิงเทราที่เจ้าของพัฒนาที่ดินจากสวนหมากและมะม่วงที่รกร้างกลายเป็นบ้านที่น่าอยู่ขึ้นทีละน้อย
การรีโนเวตตึกแถว 3 คูหากลางเมือง ให้มีสเปซแบบบ้านเดี่ยว โดยเปิดคอร์ตกลางบ้านซึ่งแม้จะเสียพื้นที่ใช้สอย แต่สิ่งที่ได้กลับมานั้นแสนคุ้มค่า พร้อมแก้ปัญหาพื้นบ้านต่ำกว่าถนน และออกแบบฟาซาดเท่ๆ ที่ใครผ่านไปมาก็ต้องสะดุดตา DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: ID Architect ใครจะนึกว่าตึกแถวสองชั้นครึ่งอายุ 35 ปี ในย่านอารีย์สัมพันธ์ ที่ทั้งเคยอยู่ต่ำกว่าระดับถนนมีน้ำท่วมและอยู่ในบริบท “เมือง” จะกลายร่างเป็นบ้านที่มีสเปซแบบบ้านเดี่ยวแต่อยู่ในโครงสร้างตึกแถวเดิม บ้านเท่ๆ หลังนี้เป็นของ คุณอิษ – อิษฎาและคุณอ้อน – อรณา แก้วประเสริฐ ซึ่งตั้งใจ รีโนเวทตึกแถว ให้เป็นเรือนหอ ด้วยฝีมือการออกแบบของคุณอิษที่เป็นทั้งสถาปนิกเจ้าของ ID Architect และคุณพ่อป้ายแดง ซึ่งไม่เพียงดูแลการก่อสร้างเองเพื่อควบคุมให้อยู่ในงบประมาณ แต่ยังใช้วัสดุเดิมมาออกแบบผสมผสานความเก่าและใหม่ให้อยู่ด้วยกันแบบไร้กรอบของคำจำกัดความใดๆ รีโนเวตตึก แต่ไม่ทิ้งวิถีชีวิตเดิม ตึกแถวเป็นอาคารที่ออกแบบมาให้ตอบรับระบบอุตสาหกรรมและสังคมในยุคก่อน จึงมีระบบโครงสร้างซ้ำๆ กัน มีช่วงเสาไม่กว้าง เน้นการใช้สอยเต็มพื้นที่ และมีทำเลติดถนนเพื่อให้ค้าขาย เป็นทั้งกรอบจำกัดและเสน่ห์แบบวิถีคนเมือง และเป็นความท้าทายสำหรับสถาปนิกในการ รีโนเวตตึกแถว และทลายกรอบเหล่านั้น “ตึกแถวนี้เดิมเป็นบ้านของครอบครัวภรรยาซึ่งใช้อยู่อาศัยสองคูหาและให้เช่าหนึ่งคูหา เมื่อจะแต่งงานจึงมองหาเรือนหอ แต่ด้วยภรรยาอยู่กับคุณพ่อคุณแม่มาตลอดและเป็นลูกคนเดียว จึงคิดว่าเราไม่ควรละทิ้งวิถีชีวิตเดิม และคิดถึงอนาคตถ้าเรามีลูก […]
หลายครั้งที่เจ้าของบ้านเลือกแนวทางการรีโนเวตแทนการสร้างใหม่ ก็เป็นเพราะผูกพันหรือรักในบรรยากาศเดิมๆของบ้าน เหมือนเช่นเจ้าของบ้านทั้ง 5 หลังนี้ ที่เลือกเปลี่ยนความพังขั้นสุดของบ้าน โดยรีโนเวตให้บ้านกลับมาสวยปัง แต่ยังคงเปี่ยมด้วยความรู้สึกอบอุ่นเช่นเดิม บ้านรีโนเวท เปลี่ยนบ้านพักคนงานพังๆ เป็นบ้านชั้นเดียวสีขาวสุดชิค เจ้าของ : คุณพิทักษ์ บุญปั๋น และคุณณิชาพัฒน์ โกสลากร ออกแบบ-จัดสวน : คุณพิทักษ์ บุญปั๋น บ้านชั้นเดียวสุดชิคที่ปรับปรุงจากบ้านพักคนงานขนาด 9 x 9 เมตร ในสวนลำไย ภายใต้งบ 350,000 บาท โดยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นการก่อสร้างและปรับปรุงด้วยสองมือของเจ้าของบ้าน ซึ่งเกิดจากความรักที่มีต่อถิ่นเกิดและบริบทแวดล้อมที่หล่อหลอมให้เกิดเป็นตัวตนของผู้เป็นเจ้าของ >> อ่านต่อ “บ้านชุมดวง” การคืนชีวิตบ้านไม้ 100 ปี ใกล้พัง ใน 97 วัน เจ้าของ: คุณโสภณ ปลูกสร้าง บ้านไม้สักทองทั้งหลังอายุ 90 -120 ปีโดยประมาณ ซึ่งเป็นบ้านของตระกูลใหญ่ในจังหวัดสุโขทัย ที่คุณบาส – […]