© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านชั้นเดียวที่ผสมผสานการตกแต่งในสไตล์ล้านนา จีน และโคโลเนียล โอบล้อมด้วยไผ่ที่ปลูกเป็นแนวรั้วหนาทึบ ปิดล้อมตัวบ้านเอาไว้ ส่วนตัวบ้านสร้างแยกเป็น 3 เรือน วางผังเป็นรูปตัวยู (U) มีคอร์ตตรงกลางซึ่งทำหน้าที่เป็นสวนและสนามหญ้า สร้างบรรยากาศร่มรื่นและสดชื่นให้แก่ภายในบ้าน แบบบ้านชั้นเดียวมีระเบียง สถาปนิก : คุณวรวิทย์ ภู่ประเสริฐ บ้านในจังหวัดเชียงใหม่หลังนี้มีชื่อว่า “วิลล่าโบตั๋น” รอบที่ดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวลึกโอบล้อมด้วยไผ่ที่ปลูกเป็นแนวรั้วหนาทึบ ปิดล้อมตัวบ้านเอาไว้ จนมองจากด้านนอกแทบไม่เห็นตัวบ้านเลย ให้อารมณ์เหมือนบ้านตามชนบทไทยในอดีตที่พบเห็นได้ตามท้องไร่ปลายนา แบบบ้านชั้นเดียวมีระเบียง บริเวณด้านหน้าตัวบ้านจากประตูรั้วเว้นระยะห่างทำเป็นพื้นที่โล่งๆ พื้นโรยหินก่อสร้างเป็นลานซึ่งกว้างขวางมากพอจะจอดรถได้หลายคัน ถัดเข้าไปคือประตูทางเข้าซึ่งออกแบบเป็นซุ้มบ้านแบบโบราณ ปลูกเฮลิโคเนียล้อกันไปตลอดทั้งสองด้านของซุ้มสลับกับต้นหมากที่สูงชะลูดขึ้นไป ตัวบ้านสร้างแยกเป็น 3 เรือน วางผังเป็นรูปตัวยู (U) มีคอร์ตตรงกลางซึ่งทำหน้าที่เป็นสนามหญ้ามีทางเดินหลักให้เดินตรงยาวเข้าไป และแยกทางเดินรองเข้าไปสู่ตัวบ้าน เรือนแต่ละหลังมีกลิ่นอายโคโลเนียลที่ได้รับอิทธิพลจากสไตล์ไทยและจีนอย่างเห็นได้ชัด คุณวรวิทย์ ภู่ประเสริฐ สถาปนิกของบ้านหลังนี้บอกว่า สไตล์โคโลเนียลของเชียงใหม่นั้นมีการผสมผสานหลากหลายวัฒนธรรม สไตล์จีนเองก็มีความสัมพันธ์แนบแน่นไม่ด้อยไปกว่าสไตล์พม่าซึ่งเรามักเห็นในงานสถาปัตยกรรมล้านนา สำหรับบ้านนี้การวางแปลนบ้านแบบสมมาตรก็ได้ไอเดียจากสไตล์จีน แต่ปิดล้อมให้เกิดพื้นที่ว่างตรงกลางเสมือนลานบ้านไทย รวมถึงรูปทรงอาคารก็มีลักษณะคล้ายเรือนไทย เพียงแต่ไม่มีใต้ถุน นอกจากนี้หลังคายังเป็นทรงจั่วมุงกระเบื้องดินเผา ส่วนตามซุ้มประตูก็ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นของจีน ด้านซ้ายและขวาของซุ้มประตูเป็นเรือนนอนด้านละ 2 ห้อง บริเวณหน้าห้องมีระเบียงทางเดินซึ่งมีหลังคาคลุมต่ำลงมา ใช้เป็นส่วนนั่งเล่นได้ด้วย ทุกห้องนอนมีขนาดเท่ากัน […]
นำความรักความหลงใหลในต้นไม้มาจัด แต่งห้องเล็กด้วยไม้กระถาง เพื่อเปลี่ยนให้กลายเป็นห้องที่สุดแสนจะสดชื่นและรื่มรมย์
แบบบ้านชั้นครึ่งยกสูง สไตล์ร่วมสมัยที่ตั้งอยู่กลางทุ่งโล่งในอำเภอปาย เป็นบ้านชั้นครึ่งที่โปร่งโล่ง เพื่อให้มองออกไปเห็นทิวเขาและทุ่งนา
บนพื้นที่ขนาด 45 ตารางวา แม้จะไม่ได้กว้างขวางใหญ่โต แต่เมื่ออยู่กลางเมืองที่เอื้อต่อการเดินทางได้สะดวกสบายก็นับว่าเป็นทำเลดีๆ สำหรับการมีบ้านอยู่อาศัยสักหลัง และนั่นเป็นเหตุผลเริ่มต้นที่ นายแพทย์ชวรัฐ จรุงวิทยากร และแพทย์หญิงปภัสรินทร์ เกิดสิริโรจน์กุล เลือกซื้อบ้านตรงนี้เพื่อสร้างเป็น บ้านทรงจั่วมินิมัล ของครอบครัว บ้านทรงจั่วสีขาวมินิมัล เจ้าของ : นายแพทย์ชวรัฐ จรุงวิทยากร และแพทย์หญิงปภัสรินทร์ เกิดสิริโรจน์กุล บ้านทรงจั่วสีขาวมินิมัล สถาปนิก : Greenbox Design โดยคุณสุรัตน์ พงษ์สุพรรณ์ “เดิมทีเป็นบ้านแฝดที่เก่ามากราว 30 ปีแล้ว เราปรึกษาสถาปนิกแล้วก็ตัดสินใจกันว่าทุบทิ้งสร้างใหม่เลยดีกว่า เพราะโครงสร้างเดิมก็เก่าไปตามอายุการใช้งาน และเราอยากได้บ้านที่อยู่สบายไปได้อีกนานๆ ตอนนั้นไม่มีไอเดียอะไรเลยนอกจากภาพบ้านโปร่งๆ มีช่องแสง มี Volume และก็บ่อปลา เพราะผมชอบเลี้ยงปลา ส่วนภรรยาก็ขอแค่มีที่ดูซีรี่ส์สบายๆ เท่านั้นเอง” คุณหมอฝ่ายชายย้อนเล่าถึงจุดเริ่มต้นของบ้าน เมื่อโจทย์ที่ได้เป็นภาพกว้างๆ คุณจิ๊ฟ–สุรัตน์ พงษ์สุพรรณ์ สถาปนิกแห่ง Greenbox Design จึงใช้แนวทางการออกแบบโดยวิเคราะห์และศึกษาจากพฤติกรรมประจำวันของผู้อยู่อาศัย เพื่อกำหนดฟังก์ชันและผังห้องต่างๆ ของบ้านขึ้นมา รวมไปถึงยังมองภาพระยะยาวเรื่องการเติบโตของครอบครัวในอนาคต จากพื้นที่สำหรับดูแลลูกชายคนแรกที่เพิ่งคลอด ไปจนถึงพื้นที่การทำกิจกรรมร่วมระหว่างลูกชายที่กำลังโตกับคุณพ่อ […]
จากสีสันของพริกแกงและรูปลักษณ์ของครก นำมาสู่การตีความหมายให้งานสถาปัตยกรรมที่สะท้อนวิถีชิวิตอันคุ้นเคยของผู้อาศัย “บ้านพริกแกง” คืองานออกแบบชิ้นล่าสุดจาก BodinChapa Architects ที่พวกเขานำอิฐบล็อกและไม้เก่าจากอาคารเดิมก่อนรื้อสร้างใหม่ มาเติมชีวิตที่สองให้บ้านกึ่งโรงงานผลิตเครื่องแกงในจังหวัดสระบุรีหลังนี้ ที่เพียงแค่เห็นภาพเบื้องหน้าก็สัมผัสได้ถึงรูป รส กลิ่น เสียง ที่เกิดขึ้นทุกวี่วันในพื้นที่เหล่านั้น โดยที่ยังไม่ได้ก้าวขาย่างกายเข้าสู่ภายในบ้านเลยเสียด้วยซ้ำ
บ้านชั้นเดียวทรงจั่วสไตล์โมเดิร์น หลังคาทรงจั่ว นี้ออกแบบตามวิถีชีวิตที่มีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยของคนอีสาน โดยนำมาสร้างเป็นฟังก์ชันของชานขนาดกว้างที่โดดเด่นอยู่หน้าบ้านเพื่อรองรับญาติๆ ผสมกับรูปแบบของบ้านทรงจั่วที่ดูทันสมัย ด้านบนของหลังคาหน้าจั่วขนาดเล็กกรุหลังคาลอนใสเพื่อช่วยนำแสงธรรมชาติให้ส่องลงมาถึงด้านล่าง และสร้างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เจ้าของ : คุณวาทินี สุดตา บ้านชั้นเดียวทรงจั่วสไตล์โมเดิร์น ออกแบบ : S Pace Studio โดยคุณทวิชากร เหล่าไชยยงค์ และคุณปัณณพัฒน์ เพ็ชรจรัส วิศวกรโครงสร้าง : คุณบดินทร์ มหาราช ก่อสร้าง : P&House Engineering Construction Shop บ้านหลังนี้มีชื่อว่า “บ้านบุญโฮม” ซึ่งมีที่มาจากชื่อคุณแม่ของคุณวาทินี สุดตา ผู้เป็นเจ้าของบ้าน ตั้งอยู่ในอำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น ตามความตั้งใจเดิม เจ้าของบ้านอยากรีโนเวตบ้านครึ่งปูนครึ่งไม้หลังเก่าขนาด 2 ชั้น แต่เมื่อผู้ออกแบบจาก S Pace Studio ประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างและวัสดุต่าง ๆ แล้ว ได้แนะนำให้สร้างบ้านหลังใหม่บนที่ดินเดิมขึ้นแทน กระบวนการก่อสร้างจึงเริ่มจากการถมดินเพื่อปรับระดับความสูงให้เท่ากับถนน เพื่อช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขังที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งยามฝนตก แล้วจึงออกแบบเป็น บ้านชั้นเดียวทรงจั่วสไตล์โมเดิร์น […]
“บ้านหิ่งห้อย” เป็นชื่อที่สถาปนิกตั้งให้บ้านหลังคาทรงจั่วสีขาวที่ผสมผสานความเป็นไทยและโมเดิร์นหลังนี้ ซึ่งโดดเด่นด้วยหลังคาอะลูมิเนียมเจาะรูให้โปร่ง แล้วออกแบบไฟแสงสว่างไว้ภายในหลังคาให้เรืองแสงในยามค่ำคืน แต่ภายใต้รูปทรงที่ดูเรียบง่ายนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบที่สอดคล้องกับภูมิอากาศเขตร้อนชื้นและความเป็นธรรมชาติซึ่งเป็นหัวใจที่ทำให้บ้านอยู่สบาย บ้านไทย Designer directory : ออกแบบ EAST architect www.eastarchitects.com บ้านไทย เจ้าของ คุณธนวัสส์ ยงค์สงวนชัย จุดบรรจบของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก เมื่อความ “ต่างขั้ว” ถูกตีความให้เป็นทั้งความย้อนแย้ง การผสมผสาน และความงาม โดยเผยตัวตนและแฝงความนัยอยู่ภายใต้บ้านรูปทรงจั่วสีขาวโมเดิร์นและไทยเดิมสองหลังที่วางแนวแกนตัดกันอยู่กลางที่ดิน โดยไม่อิงกับแนวถนนหรือแนวขอบเขตที่ดิน แต่อิงกับทิศทางแสงแดดและลมเพื่อให้บ้านอยู่สบายตามธรรมชาติ เป็นหลักการออกแบบพื้นฐานของสถาปนิกที่ให้คำจำกัดความตัวเองว่า “สถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สยาณี วิโรจน์รัตน์ แห่ง EAST architect ที่ออกแบบบ้านทรอปิคัลโมเดิร์นหลังนี้ให้เป็นจุดบรรจบของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ในมิติของภูมิปัญญาดั้งเดิมและความโมเดิร์น บ้านหลังใหม่ที่แยกจากครอบครัวใหญ่ ก่อนจะสร้างบ้านนี้เจ้าของบ้านอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อพื้นที่บ้านเดิมเริ่มไม่เพียงพอกับสมาชิก คุณแม่จึงยกที่ดิน 2 ไร่แปลงนี้สำหรับปลูกบ้านใหม่ และด้วยเจ้าของบ้านเป็นแฟนนิตยสาร บ้านและสวน จึงได้พบและชื่นชอบบ้านของอาจารย์พิรัสที่ลงในนิตยสาร อาจารย์พิรัสได้เล่าย้อนไปเมื่อเริ่มออกแบบบ้านว่า “เจ้าของบ้านได้บอกเล่าความต้องการเป็นจดหมายเล่าเรื่องว่า เมื่อเข้ามาในบ้านแล้วอยากพบเจออะไร ชอบอยู่แบบใกล้ชิดธรรมชาติ มีความโปร่งสบายเย็นโดยไม่ต้องเปิดแอร์ […]
บ้านตู้คอนเทนเนอร์ อยู่ได้จริง เป็นบ้านสวยที่อยู่อาศัยได้สะดวกสบายเหมือนบ้านทั่วไป คลิกชมไอเดียได้เลย
การสร้างแหล่งอาหารได้จากในบ้านของตัวเองทำให้เราสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน บ้านสวยทั้ง 5 หลังที่เรานำมาให้ชมกันนี้เป็นตัวอย่างของการออกแบบบ้านให้มีแปลงผักส่วนตัว บางหลังยังเลี้ยงสัตว์อย่างไก่ ปลา กุ้ง เพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารในครัวเรือนกันด้วย ซึ่งการเปลี่ยนบ้านให้เป็นฟาร์มไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นบ้านในชนบทเท่านั้น แม้แต่ทาวน์เฮ้าส์ในเมืองก็สามารถมีแหล่งอาหารเป็นของตัวเองได้ ลองเลื่อนชมไอเดียของบ้านแต่ละหลังกันได้เลย บ้านฟาร์มปลูกผักกินเอง 1. ชีวิตธรรมดาในบ้านไม้ใต้ถุนสูง เจ้าของ : คุณสายันต์ ทิพย์แสง และคุณอารมณ์ วิรัชศิลป์ บ้านฟาร์มปลูกผักกินเอง สถาปนิก : Studio Miti โดยคุณประกิจ กัณหา ตกแต่งภายใน : บริษัทเอเดค อินทีเรียส์ จำกัด บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่ออยู่อาศัยอย่างเรียบง่าย รูปทรงของบ้านยังได้แรงบันดาลใจจากบ้านทรงไทยมอญของชุมชนใกล้เคียงมาปรับใช้ เพื่อเลี่ยงปัญหาพื้นที่น้ำท่วมถึง พร้อมๆ ไปกับวางแผนทำเกษตรกรรมแบบพอเพียงในพื้นที่รอบๆ บ้าน ตามทฤษฎีของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตั้งแต่จัดแบ่งพื้นที่สำหรับทำบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้และเลี้ยงปลา 30 เปอร์เซ็นต์ ปลูกข้าว 30 เปอร์เซ็นต์ ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ 30 เปอร์เซ็นต์ และเป็นที่อยู่อาศัย 10 เปอร์เซ็นต์ […]
บ้านหลังใหญ่ทรงสี่เหลี่ยมให้กลิ่นอายของบ้านริมทะเล ทว่ากลับตั้งอยู่บนพื้นที่ 1 ไร่ที่แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับการปลูกพืชผักไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ รวมทั้งขยับขยายไปถึงการเลี้ยงไก่ไข่และกุ้งก้ามแดงหรือที่เรียกกันว่าล็อบสเตอร์น้ำจืด จึงมีผลผลิตพร้อมให้เก็บกินได้ทุกวัน ในอนาคตยังตั้งใจให้ที่นี่เป็นพื้นที่ที่ช่วยถ่ายทอดส่งต่อแรงบันดาลใจในเรื่อง “เกษตรแบบง่ายๆ ไม่มีทฤษฎีแต่ได้ผลดี” ที่เปิดให้เด็กๆและครอบครัวเข้ามาเรียนรู้ธรรมชาติอีกด้วย เกษตรในเมือง เจ้าของ : คุณอรรถกานท์ พิมพ์วงศ์ คุณเบญจมาศ อ่อนกล่ำผล และเด็กชายในศีล พิมพ์วงศ์ เกษตรในเมือง เกษตรในเมือง บ้านหลังใหญ่ทรงสี่เหลี่ยมกินพื้นที่ไม่มากเมื่อเทียบกับพื้นที่สวนภายในรั้วเดียวกัน คุณเจ๋ง – อรรถกานท์ พิมพ์วงศ์ คุณเบญ – เบญจมาศ อ่อนกล่ำผล และน้องโอเซน – เด็กชายในศีล พิมพ์วงศ์ เจ้าของบ้านต้อนรับพวกเราแต่เช้าด้วยรอยยิ้ม และพาพวกเราเดินเที่ยวชมสวนพร้อมกับลูกสมุนอีกหลายตัวที่วิ่งตามอยู่ไม่ห่าง บนพื้นที่ 1 ไร่แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับการปลูกพืชผักไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ มีทั้งแปลงที่ปลูกผักไว้หลากหลายชนิด อย่างผักคอส เรดโอ๊ค กรีนโอ๊ค กวางตุ้ง คะน้า และมีอีกหลายแปลงที่เตรียมดินไว้รอการลงเมล็ด อีกฝั่งยังมีพืชผักสวนครัวอีกมากมายอย่างพริก แตงกวา มะเขือ มะละกอ เรียกได้ว่าพร้อมให้เก็บกินได้ทุกวัน โดยคุณเจ๋งบอกว่าเป็นหลักในการปลูกคืออยากกินอะไรก็ปลูกเลย “ตอนแรกที่นี่เป็นสวนมะม่วง สวนผลไม้ พอมีลูกก็เริ่มคิดว่าเราอยากหาอะไรให้เขาเล่นให้เขาได้อยู่กับธรรมชาติ […]
ชมงานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นแบบญี่ปุ่นเที่น้อยแต่มาก ซึ่งเป็นไอเดียการออกแบบ บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น เหล่านี้กันได้เลย
เชื่อว่าหลายคนเคยมีความคิดอยากมี บ้านขนาดเล็กอยู่สบาย สักหลังที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติมองไปทางไหนก็เห็นแต่สีเขียว ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น