© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
อาคาร NATURA Building ของกลุ่มสถาปนิก Diez+Muller Arquitectos จากประเทศเอกวาดอร์ เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์อาคารสำนักงานแบบมิกซ์ยูสที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างสิ่งแวดล้อม เพื่อการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพนักงาน ออกแบบสถาปัตยกรรม: Diez+Muller Arquitectos ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม : Clemencia Echavarria ที่ตั้งของอาคาร Natura Building นั้น อยู่ห่างจากกีโต เมืองหลวง เป็นระยะทาง 24 กิโลเมตร และเป็นพื้นที่ที่กำลังพัฒนาเป็นแถบที่อยู่อาศัย โจทย์ทางบริบทที่สำคัญของอาคารแห่งนี้จึงอยู่ที่สภาพภูมิอากาศแบบพิเศษอันเนื่องมาจากพื้นที่ตั้งที่อยู่ในเขตภาคพื้นดินที่เป็นภูเขาซึ่งมีระดับต่ำกว่าตัวเมือง และรูปแบบการใช้ชีวิตที่ต้องเดินทางจากบ้านมาถึงที่ทำงาน ซึ่งมีความยากทั้งในเรื่องระยะทาง รูปแบบการเดินทาง มลภาวะ จำนวนผู้คนในชุมชนขยาย ซึ่งส่งผลไปสู่การขาดแคลนบริการที่จำเป็น โจทย์จึงอยู่ที่การทำให้อาคารแห่งนี้เป็นทั้งบ้านและที่ทำงานในพื้นที่เดียวกัน รวมทั้งข้อสำคัญคือ ต้องใกล้ชิดธรรมชาติ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเมือง จากสภาพแวดล้อมของผืนที่ดินเดิมอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณดั้งเดิมของพื้นที่ที่อยู่มาหลายทศวรรษ ตัวอาคาร 3 ชั้น ขนาด 2,500 ตารางเมตร แห่งนี้ จึงพยายามออกแบบให้กลมกลืนกับบรรยากาศของพื้นที่เดิม ให้ความเคารพกับต้นไม้เดิมในพื้นที่ และยังมองไปเผื่ออนาคตหากมีเพื่อนบ้านรายล้อมด้วยการใช้อาคารเป็นตัวกำหนดขอบเขตอย่างชัดเจนให้กับที่ดิน บริบทอีกประการที่สำคัญของผืนที่ดินคือ ระดับของที่ดินแบบสโลปตามแนวยาวของรูปแบบที่ดิน ตัวอาคารจึงเล่นระดับตามธรรมชาติของพื้นที่ นัยหนึ่งเพื่อรักษาความเป็นธรรมชาติของพรรณไม้เก่าแก่ ไปพร้อมกับการสร้างประสบการณ์การใช้พื้นที่ภายในอาคารที่แตกต่างจากปกติ ส่วนหน้าสุดของอาคารเปิดต้อนรับด้วยบันไดและฟาซาดระนาบแนวนอน ทำหน้าที่ต้อนรับผู้คนเข้าไปสู่พื้นที่ภายในอาคารส่วนแรกซึ่งเป็นลานกว้าง ทำหน้าที่เป็นส่วนกลางเชื่อมต่อทุกพื้นที่ของอาคารเข้าไว้ด้วยกัน […]
ภายใต้รูปลักษณ์ บ้านโมเดิร์นสีขาว ทรงเหลี่ยม ดูเรียบง่ายหลังนี้ ได้ซ่อนสวนสีเขียวที่ใช้พรรณไม้เขตร้อนชื้นไว้ในคอร์ต ซึ่งเป็นหัวใจของบ้านที่ออกแบบมาทั้งเพื่อเปิดรับแสงธรรมชาติให้เข้ามาสร้างชีวิตชีวาในบ้าน และทั้งเป็นการป้องกันความร้อนจากแสงแดดด้วยการปิดและพรางตามแนวคิด Modern Tropical Design เรื่องการยกใต้ถุนสูงให้ลมผ่าน และการใช้วัสดุอย่าง หน้าต่างบานเกล็ด หรืออิฐช่องลม
บ้านเหล็กสีดำ สไตล์โมเดิร์นที่มีแนวหลังคาตัดเฉียงกั้นปิดด้วยรั้วเหล็กสีดำหลังนี้อาจดูดุดัน น่าเกรงขาม และแฝงด้วยความลึกลับอยู่ในที แต่ถ้าสังเกตให้นานอีกสักหน่อยคุณจะเริ่มเห็นเส้นโค้งที่อ่อนโยนซ่อนตัวอยู่บริเวณประตูทางเข้าบ้านเล็กๆ นั้น ซึ่งพอจะทำให้สัมผัสได้ว่าภายใต้โทนสีดำที่แสนเข้มขรึมนี้อาจไม่ได้ดุดันอย่างภาพที่เห็นก็เป็นได้ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Spaceman Studio เพราะเมื่อรั้วเหล็กสีดำยาวได้เลื่อนเปิดออกแล้วเดินเข้าไปใน บ้านเหล็กสีดำ สไตล์โมเดิร์น ผ่านลานจอดรถก็จะได้พบกับคอร์ตโปร่งหน้าบ้านที่มีต้นเหลืองเชียงรายตั้งอยู่โดดเด่นชวนให้แหงนหน้าขึ้นไปมองจนเจอกับเส้นกรอบสี่เหลี่ยมของผนังบ้านที่ล้อมรอบคอร์ตนี้ไว้กลายเป็นมุมสวยๆ โดยมีท้องฟ้าสดใสเป็นฉากหลัง คุณโป้ง-วริศว์ สินสืบผล สถาปนิกผู้ออกแบบเล่าถึงที่มาของการสร้าง บ้านเหล็กสีดำสไตล์โมเดิร์น หลังนี้ไว้ว่า “เรามองเรื่องความเป็นส่วนตัวให้เจ้าของบ้านผสมไปกับความต้องการใช้วัสดุที่เน้นเนื้อแท้ ไม่ต้องการผนังฉาบปูนทาสีเพื่อไม่ต้องคอยทาสีบ่อยๆ ผมก็เลยใช้โครงสร้างเป็นเหล็กทั้งหมด แล้วตกแต่งผนังด้วยทรายล้างซึ่งเป็นวัสดุที่ทนแดดทนฝนได้ดี ไม่ต้องดูแลรักษามาก ส่วนสีดำก็คล้ายกับเป็นการอำพรางความเป็นบ้านที่อบอุ่นและโปร่งสบายซึ่งซ่อนตัวอยู่ด้านใน” ด้วยที่ดินขนาด 100 ตารางวานี้มีลำรางธรรมชาติอยู่ด้านหลัง ตามกฎหมายแล้วต้องมีระยะถอยร่นเข้ามาไม่น้อยกว่า 6 เมตร ทำให้เหลือพื้นที่ในบ้านไม่มาก เจ้าของบ้านจึงต้องการใช้พื้นที่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ถึงกระนั้นก็ยังให้ความสำคัญกับพื้นที่สีเขียวและการเปิดช่องแสงธรรมชาติเข้าบ้านเป็นหลักด้วย ด้วยเหตุผลนี้สถาปนิกจึงออกแบบพื้นที่สวนกว้างๆ ไว้หลังบ้านซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สร้างบรรยากาศผ่อนคลายให้เกิดขึ้น เพราะมีการเชื่อมต่อสเปซภายนอกเข้ามาสู่ภายในส่วนนั่งเล่นซึ่งเปิดโปร่งด้วยเพดานสูงแบบ Double Volume สำหรับรับแสงธรรมชาติเข้ามาภายในให้มากที่สุดผ่านผนังกระจกบานสูงจากพื้นจรดเพดาน และวางผังชั้นล่างให้เป็น Open Plan เพื่อให้เจ้าของสามารถใช้พื้นที่ส่วนกลางได้สบาย ทั้งพักผ่อนส่วนตัว สังสรรค์กับเพื่อน และซ้อมดนตรี โดยวางตำแหน่งครัวหนักไว้หลังบ้านให้เชื่อมต่อไปสู่พื้นที่สวนด้านหลังได้ “การจัดโซนนิ่งในบ้านเป็นไปตามการใช้งานเลย เพราะบ้านนี้ค่อนข้างเปิดรับเพื่อนๆ จนเหมือนเป็นศูนย์กลางที่หลายคนเข้าถึงได้ ส่วนนั่งเล่นจึงต้องกว้างและเปิดโล่งที่สุด […]
บ้านอิฐบล็อก หลังนี้ คือบ้านบนที่ดินที่มีพื้นที่ในลักษณะยาวและแคบ ทำให้ผู้ออกแบบต้องแก้ปัญหาพื้นที่แคบและลึกของที่ดินแปลงดังกล่าว ด้วยการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเบิ้ลเป็นสองเท่า บดบังสายตาจากภายนอกด้วยการออกแบบตัวอาคารด้านนอกให้ทึบแต่โปร่งใน ช่วยแก้ปัญหาเขตรั้วชิดบ้านเรือนเคียงให้เกิดความเป็นส่วนตัวอย่างชาญฉลาด ด้วยที่ตั้งของ บ้านอิฐบล็อก Mipibu House ซึ่งอยู่ในเมืองเซา เปาโล ประเทศบราซิล มีมูลค่าของที่ดินที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทีมออกแบบจาก Terra e Tuma | arquitetos associados จึงต้องเน้นการสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีสำหรับเจ้าของบ้าน เพื่อให้พื้นที่ใช้สอยทุกตารางนิ้วเป็นไปอย่างคุ้มค่าสูงสุด เห็นได้จากการจัดสรรพื้นที่ใช้งานขนาดแคบแค่เพียง 5.6 x 30 เมตร ให้ยกระดับพื้นที่ด้านหน้าขึ้นเล็กน้อย เพื่อตัดการรบกวนจากอาคารรอบ ๆ ในระยะประชิด ประกอบกับความท้าทายของทีมออกแบบที่ต้องพบกับโปรแกรมมากมายสำหรับพื้นที่แห่งนี้ แต่ท้ายที่สุดพวกเขาก็กำหนดพื้นที่ใช้งานออกมาได้มากถึง 170 ตารางเมตรเลยทีเดียว เมื่อพิจารณาถึงบริบทในแนวดิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากที่ตั้งของที่ดินนั้นรายล้อมไปด้วยบ้านเรือนของเพื่อนบ้าน บ้านหลังนี้จึงออกแบบโดยตั้งต้นจากภายใน เปิดพื้นที่ให้โปร่งโล่ง แล้วปิดล้อมด้วยกำแพงอิฐบล็อกให้ทึบสนิทที่สุด สร้างคอร์ตยาร์ดสองจุดกลางบ้านเพื่อให้แสงสว่างที่จำเป็นส่องผ่านมายังพื้นที่ภายในอาคารอย่างทั่วถึง เพื่อการระบายอากาศที่ดี รวมถึงเพื่อเป็นตัวกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างเป็นสัดส่วนและมีคุณภาพที่เหมาะกับการใช้งานจริง แต่การตัดสินใจของผู้อาศัยที่สถาปนิกไม่คาดคิดอีกหนึ่งสิ่ง ก็คือการเลือกวางตำแหน่งของห้องนอนไว้ที่ชั้นล่าง แทนที่จะยกขึ้นไปไว้บนชั้นสองตามปกติทั่วไป ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นส่วนตัวและเงียบสงบ โดยตำแหน่งของห้องนอนได้ถูกวางให้เชื่อมกับคอร์ตยาร์ดที่ออกแบบให้เกิดเป็นบ่อน้ำเล็ก ๆ เพิ่มความเย็นให้กับบ้าน ส่วนคอร์ตยาร์ดอีกจุดหนึ่งได้วางตำแหน่งให้เชื่อมต่อกับครัว เป็นมุมพักผ่อนกลางแจ้งที่สามารถยกเก้าอี้ไปนั่งพักผ่อนได้จริง […]
บ้านขนาดเล็ก ของคนรักต้นไม้ กับการออกแบบพื้นที่พักอาศัยโดยผนวกสวนเเละฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน ภายในบ้านบรรยากาศโปร่งสบายเเบบดับเบิ้ลสเปซ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: STUDIO LOCOMOTIVE บ้านขนาดเล็ก หลังนี้ เริ่มต้นจากความชื่นชอบต้นไม้ และรักสัตว์ ของ คุณปริม-ปาริชาติ พัดบุรี อีกทั้งยังมีเป้าหมายที่อยากสร้างบ้านแบบไม่เป็นหนี้ในจังหวัดภูเก็ตบ้านเกิด แต่ด้วยข้อจำกัดทั้งงบประมาณและขนาดที่ดิน คุณโปร-คุณธนาฒย์ จันทร์อยู่ สถาปนิกแห่ง Studio Locomotive จึงออกแบบโดยมุ่งความสำคัญไปที่การตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตพื้นฐานเป็นเรื่องแรก เช่น เรื่องความปลอดภัย พื้นที่เพื่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการวางแผนเกี่ยวกับขั้นตอนและความซับซ้อนด้านการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับงบประมาณ ไปพร้อม ๆ กับการช่วยประหยัดพลังงานระหว่างวัน ซึ่งทั้งหมดได้กลายเป็นเป้าหมายของการออกแบบบ้าน ให้เป็นจุดเริ่มต้นของคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างที่คู่สามีภรรยาต้องการ บ้านหลังนี้มีลักษณะด้านหน้าเเคบเเละยาวลึกเข้าไปด้านใน ดูคล้ายกับรูปแบบของอาคารพาณิชย์ แต่ด้วยการตั้งอยู่ในที่ดินของตัวเอง เจ้าของจึงสามารถเปิดช่องด้านข้างอาคารได้ เพื่อให้เเสงเเละอากาศถ่ายเทได้ดี สว่างปลอดโปร่ง ไม่ร้อน โดยได้เลือกทำช่องเปิดด้านหน้า ด้านหลัง และกลางบ้าน โดยเฉพาะช่องเปิดที่กลางบ้าน ซึ่งมีเเสงธรรมชาติส่องเข้ามาจากบนหลังคาที่ยกสูงขึ้น ช่วยให้ความร้อนลอยตัวออกสู่ภายนอกได้ และช่องเปิดนี้ยังใช้หลังคาเเบบใส แสงจึงส่องเข้ามาถึงพื้นที่ใช้สอยทุกส่วนในบ้านได้ ขณะที่บันไดและทางเชื่อมห้องนอนยังทำมาจากเหล็กตะแกรง แสงสามารถลอดผ่านลงมาถึงชั้นล่างอย่างทั่วถึง เหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ซึ่งเป็นคอร์ตสวนอยู่ในบ้าน บ้านหลังนี้ยังเลือกใช้วัสดุและเทคนิคในการก่อสร้างโดยอิงจากความเข้าใจและความสามารถพื้นฐานของช่างในพื้นที่ […]
บ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์นมีเสน่ห์ด้วยมุมสวนพักผ่อนกลางบ้าน พร้อมพื้นที่อเนกประสงค์โปร่งโล่งขนาดใหญ่ ภายใต้หลังคาทรงปั้นหยาที่เหมาะกับภูมิอากาศทั้งเเดดเเละฝนของบ้านเรา
บ้านแค่ชั้นเดียวที่กะว่าจะอยู่ยาวไปจนเกษียณ อยากให้เป็นบ้านที่ดูเรียบง่ายธรรมดา ไม่มีสเต็ป ภายในโล่งๆ อยู่สบาย และทุกห้องสามารถหันหน้าออกไปชมสวนได้หมด
เพราะความผูกพันต่อสถานที่ที่เรียกว่า “บ้าน” ซึ่งอยู่อาศัยร่วมกันมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่แต่งงานกันใหม่ๆ กลายเป็นมรดกล้ำค่าทางความรู้สึก และทำให้ คุณกานต์ เฮงสวัสดิ์ คนรุ่นลูกก็ไม่ได้รู้สึกอยากย้ายที่อยู่ไปสร้างบ้านหลังใหม่ของตัวเอง
COURTYARD หมายถึง พื้นที่ที่เกิดจากการปิดล้อมด้วยกำแพง หรืออาคารอย่างน้อย 3 ด้าน โดยไม่มีหลังคาปกคลุม