โควิด – บ้านและสวน

Rapid Antigen Test Kit ตรวจโควิดใช้งานอย่างไร

เพื่อการตรวจหาเชื้อโควิด-19 อย่างเร่งด่วนในสถานการณ์ปัจจุบัน เราจึงต้องเรียนรู้ว่า Rapid Antigen Test Kit ใช้งานอย่างไร เมื่อไรที่จะพบเชื้อ ยี่ห้อไหนที่อย.รับรอง และอ่านผลอย่างไรให้ถูกต้อง   Rapid Antigen Test คือการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ โดยหาส่วนประกอบของเชื้อไวรัสที่มีอยู่ภายในโพรงจมูกหรือลำคอ ซึ่งการตรวจแบบนี้ใช้ได้กับทั้งผู้ที่ฉีดวัคซีนมาแล้วและผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน เป็นการตรวจที่ทราบผลอย่างรวดเร็วได้ด้วยตัวเอง มีความต่างจากการเจาะเลือดหา Antibody ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากภูมิของผู้ที่ได้รับวัคซีนมาแล้วได้ การตรวจโดยใช้ชุดตรวจโควิดแบบรวดเร็วนี้ จะตรวจพบเชื้อไวรัส หลังจากรับเชื้อมาประมาณ 3-5 วัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่แสดงอาการหรือไม่แสดงอาการ (ดีที่สุดในช่วง 5-14 วัน จากนับจากวันรับเชื้อ) หากพ้นระยะ 14 วันและหายป่วยแล้วก็จะไม่สามารถตรวจหาเชื้อเจอ   วิธีตรวจโควิด Rapid Antigen Test ด้วยตัวเอง ก่อนอื่นเตรียมพื้นที่ซึ่งไม่มีการปนเปื้อน ล้างมือให้สะอาด หากมีน้ำมูกควรเคลียร์จมูกก่อน ตรวจสอบวันหมดอายุของชุดตรวจ แกะบรรจุภัณฑ์ออก โดยปกติชุดตรวจจะประกอบด้วย ก้านสำลีสำหรับ Swab หลอดใส่น้ำยาตัวอย่าง ฝาหยด ตลับทดสอบ และเอกสารกำกับ ทำการอ่านเอกสารกำกับอย่างถี่ถ้วน แต่ละยี่ห้ออาจมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง […]

ข้อปฏิบัติสำหรับการแยกรักษาตัวที่บ้านแบบ Home Isolation

Home Isolation คือ การแยกรักษาตัวที่บ้าน เป็นอีกแนวทางในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลเพียงระยะสั้น ๆ แล้วไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานที่รัฐจัดให้ ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการน้อยส่วนใหญ่จะค่อยๆดีขึ้นจนหายสนิท มาดูเกณฑ์การพิจารณาและการปฏิบัติตัวเมื่อต้องแยกรักษาตัวที่บ้านกัน ระยะการแพร่เชื้อ Home isolation คือ การแยกรักษาตัวที่บ้าน ซึ่งผู้ป่วยโควิด-19 จะเริ่มแพร่เชื้อก่อนมีอาการประมาณ 2-3 วัน ไปจนถึงสิ้นสุดสัปดาห์แรกของการเจ็บป่วยนับจากวันที่เริ่มมีอาการ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการน้อยหรืออาการดีขึ้นแล้ว อาจจะยังมีเชื้อไวรัสที่ยังแพร่ไปสู่ผู้อื่นอยู่ในน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยเป็นระยะเวลาประมาณ 10 วัน หลังจากเริ่มป่วย ดังนั้น ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จึงจำเป็นต้องแยกตัวเองจากผู้อื่นขณะอยู่ที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มป่วย หากครบ 14 วัน แล้วยังมีอาการควรแยกตัวจนกว่าอาการจะหายไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง เพื่อลดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น ทั้งนี้สามารถปรึกษาแพทย์ได้หากไม่มั่นใจระยะเวลาที่เหมาะสมในการหยุดแยกตัว หลังจากนั้น แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยและระมัดระวังสุขอนามัยส่วนบุคคลต่อไปตามมาตรฐานวิถีใหม่ (new normal) แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือมีอาการหนักในช่วงแรก อาจจะแพร่เชื้อได้นานถึง 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล เมื่ออาการดีขึ้นจนกลับบ้านได้แล้วมักจะพ้นระยะแพร่เชื้อแล้วจึงไม่ต้องแยกตัว ผู้ที่อยู่ในช่วงระยะที่แพร่เชื้อได้ […]

ข้อควรปฏิบัติกับสัตว์เลี้ยง เมื่อท่านป่วยด้วยโรค COVID-19

มีคำถามมากมายว่าเมื่อเจ้าของติดเชื้อ COVID-19 สัตว์เลี้ยงจะอยู่อย่างไร ที่ไหน ใครจะดูแล จะปล่อยทิ้งไว้ที่บ้าน หรือสถานพยาบาลจะรับดูแลให้หรือไม่ และอีกสารพัดคำถามมากมายที่ข้องใจ บ้านและสวน Pets หาคำตอบมาให้แล้วค่ะ สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย The Veterinary Practitioner Association of Thailand (VPAT) ให้ข้อมูลที่ควรปฏิบัติกับสัตว์เลี้ยง เมื่อท่านป่วยด้วยโรค COVID-19 รวมถึงสถานพยาบาลสัตว์และที่รับฝากสัตว์เลี้ยง มาดังนี้ กรณีที่ 1 ที่ท่านเป็นเจ้าของคนเดียว และจำเป็นต้องนำสัตว์เลี้ยงไปฝากที่สถานพยาบาลสัตว์ 1.ให้ผู้ป่วย COVID-19 หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยง เช่นลูบหัว กอดหรือจูบตัวสัตว์ เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อไปยังสัตว์เลี้ยง 2.ให้โทรติดต่อสถานพยาบาลสัตว์ที่สามารถรับฝากดูแลสัตว์เลี้ยงได้ในกรณีที่ท่านต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล สถานพยาบาลสัตว์ที่พร้อมรับฝากสัตว์เลี้ยงในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้จะส่งเจ้าหน้าที่พร้อมชุดอุปกรณ์ป้องกันมารับตัวสัตว์เลี้ยงไปที่สถานพยาบาลสัตว์ โดยผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปที่สถานพยาบาสสัตว์ด้วยตนเอง 3.ผู้ป่วยสามารถให้เพื่อน หรือญาติที่มิได้ป่วยด้วยโรค COVID-19 นำสัตว์เลี้ยงไปสถานพยาบาลสัตว์แทนได้ โดยให้ผู้ที่นำสัตว์เลี้ยงไปสถานพยาบาลสัตว์สวมเครื่องป้องกันที่เหมาะสม ได้แก่ ถุงมือและหน้ากากอนามัย และแจ้งให้สถานพยาบาลสัตว์รับทราบก่อนล่วงหน้า   กรณีที่ 2 ท่านมีสมาชิกในบ้านท่านอื่น ๆ ที่มิได้ป่วยด้วยโรค COVID-19 1.ให้ผู้ป่วย COVID-19 หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยง […]

บ้านยุค New Normal มีกิน ปลอดโควิด เราต้องรอด!

เมื่อวิถีชีวิตเข้าสู่ New Normal การออกแบบบ้านจึงเปลี่ยนไป ซึ่งไม่เพียงเฉพาะการปรับตัวเรื่องสุขอนามัย ยังรวมถึงวิถีชีวิตอื่นๆ ของคนยุคนี้ คนที่มีบ้านเดิมก็เพียงปรับเปลี่ยนฟังก์ชันตามพื้นที่ที่มีอยู่ แต่สำหรับบ้านสร้างใหม่ สิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นมาตรฐานใหม่ในการออกแบบบ้านในอนาคต ป้องกันเชื้อโรคตั้งแต่หน้าบ้าน มาตรการป้องกันโควิด และป้องกันโรคติดต่อที่ดีที่สุดคือ การรักษาสุขอนามัยของร่างกาย โดยการทำความสะอาดตั้งแต่การล้างมือ การฆ่าเชื้อ จนถึงการชำระล้างร่างกาย  ซึ่งการออกแบบบ้านตามวิถีเดิมนิยมทำห้องน้ำไว้หลังบ้าน แต่ในเมื่อสุขอนามัยกลายเป็นเรื่องสำคัญ จึงมีความเป็นไปได้ที่โถงทางเข้าบ้านในอนาคตจะมีโซนทำความสะอาดร่างกาย เพื่อรักษาภายในบ้านให้เป็นโซนปลอดเชื้อ แต่สำหรับบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว ก็นำไปเป็นไอเดียไปปรับใช้กันได้ 1.ล้างมือก่อนเข้าบ้าน ทำอ่างล้างมือที่หน้าบ้านและจัดวางให้เข้ากับสวน 2.ถอดรองเท้าไว้นอกบ้าน โดยมีที่นั่งและตู้เก็บรองเท้า 3.ฆ่าเชื้อทุกสิ่ง มีพื้นที่ทำความสะอาดสิ่งของที่จะนำเข้าภายในบ้านด้วยวิธีต่างๆ โดยทำเป็นพื้นที่โล่งสำหรับวางของ หรือเป็นตู้แบบปิดมิดชิด 4.ลดการนำสิ่งของไม่จำเป็นเข้าบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงการนำเชื้อโรคเข้าบ้าน โดยทำตู้ ชั้นและราวสำหรับเก็บของใช้ที่ไม่จำเป็นต้องนำเข้าไปในบ้าน หรือจะต้องใช้ในวันถัดไป เช่น เสื้อคลุม กระเป๋าผ้า 5.เปลี่ยนเสื้อผ้า มีตู้เก็บเสื้อผ้าที่เตรียมไว้สำหรับเปลี่ยน และช่องหน้าต่างเชื่อมกับส่วนซักรีด/ซักล้างที่วางตะกร้าสำหรับใส่เสื้อผ้าใช้แล้ว 6.ใกล้ส่วนซักรีด/ซักล้าง หากไม่สามารถจัดส่วนซักรีด/ซักล้างควรให้อยู่ใกล้ห้องน้ำได้ อาจแค่วางตะกร้าแบบมีฝาปิดสำหรับใส่เสื้อผ้าใช้แล้วในห้องน้ำก็ได้ 7.ทำความสะอาดร่างกาย ออกแบบห้องน้ำที่เมื่อก่อนมักทำไว้หลังบ้านให้มาอยู่ใกล้ทางเข้า สำหรับสมาชิกที่กลับมาจากไปข้างนอกได้ทำความสะอาดร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้า อีกทั้งเป็นห้องน้ำสำหรับแขกซึ่งจะไม่ต้องเดินเข้าไปด้านในบ้าน 8.ใส่รองเท้าสำหรับในบ้าน สำหรับแขกและคนที่ไม่ได้ทำความสะอาดร่างกาย ควรใส่รองเท้าสำหรับในบ้าน 9.จำกัดโซน ออกแบบพื้นภายในบ้านให้สูงกว่าพื้นโถงทางเข้า 10-15 […]

กรมการแพทย์แผนไทยฯ ชี้ ผลวิจัย“ฟ้าทะลายโจร” ช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ระยะ 2

เมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่กระทรวงสาธารณสุข พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ รักษาราชการอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงความคืบหน้าการวิจัยฟ้าทะลายโจรป้องกันโรคโควิด-19 ว่า การวิจัยฟ้าทะลายเพื่อหวังผลในการป้องกันโรคโควิด-19 สรรพคุณทางยาของฟ้าทะลายโจร ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ต้านไวรัส-ป้องกันไวรัสเข้าเซลล์-ยับยั้งการแบ่งตัวเพิ่มจ านวนของไวรัส ฤทธิ์ต้านอักเสบ ด้วยหลายกลไก ที่ส าคัญคือช่วยลดไซโตไคน์ (cytokines) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ ฤทธิ์ลดไข้   เผยการทดลองในหลอดทดลอง คือ พบว่าสารแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและยังยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์จากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงไม่แนะนำให้รับประทานเพื่อการป้องกัน แต่สามารถยับยั้งไวรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างติดตามเก็บตัวอย่างในคนให้ขึ้น โดยร่วมโรงพยาบาลสมุทรปราการ ซึ่งดูแลผู้ป่วย จากนอกประเทศในสถานที่ที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ผลการศึกษาเบื้องต้นในผู้ป่วยที่รับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ป่วยทุกรายมีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่สามของการได้รับสารสกัดดังกล่าว โดยหากแยกรายละเอียดอาการ จะพบว่า อาการไอ, เจ็บคอ, มีเสมหะ, มีน้ำมูก, ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ มีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยไม่มีอาการข้างเคียง ค่าการทำงานของตับและไต อยู่ในเกณฑ์ปกติ การเปลี่ยนแปลงของ Pro-inflammatory cytokines ในเลือดก่อนและหลังรับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจร และสารชีวโมเลกุล อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล […]

สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไรในวันนี้ คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ คุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้

คุยกับนายกสมาคมสถาปนิกสยามในวันที่มีรายรับเป็นศูนย์

สมาคมสถาปนิกสยาม กับการก้าวผ่าน “วิกฤตโควิด-19” ที่ทำให้สมาคมฯ ไม่สามารถจัดงานสถาปนิกได้ “การรื้ออาคารที่มีคุณค่า” เป็นปัญหาที่กำลังรอการแก้ไข และ “การติดอาวุธ” เพิ่มศักยภาพให้กับสถาปนิกไทยเป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุน วันนี้ สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไร คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ จะมาพูดคุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้ วิกฤตโควิด-19 กับสถาปนิกจิตอาสา หลังจากคุณโอ๋-ชนะ สัมพลัง ได้รับเลือกเข้ามาเป็นนายกสมาคมฯ และเริ่มรับตำแหน่งในช่วงต้นปี 2563 ก็เกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ทำให้แนวนโนบายของสมาคมฯ ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ จากการเน้นไปที่ตัวสมาชิกด้านวิชาชีพ การเกิดสถานการณ์โรคระบาดทำให้สถาปนิกหลาย ๆ ท่าน เข้ามาเป็นจิตอาสาคอยช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาล คุณชนะเล่าถึงการทำงานในช่วงดังกล่าวให้ฟังว่า คุณชนะ : “ในฐานะที่เป็นนายกสมาคมฯ และเป็นสถาปนิกคนหนึ่ง ช่วงที่ Work from Home ก็เชิญชวนทุก ๆ คนที่เป็นสมาชิก หรือคนที่รู้จัก ไปช่วยโรงพยาบาลทางภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ใครอยู่ทางไหนก็ไปช่วยโรงพยาบาลแถวนั้น กลายเป็นว่าอาชีพของเราสามารถช่วยเหลือคนอื่น […]

รถขายของเคลื่อนที่ เพื่อไปหาคุณแม้ต้องข้ามเขาหรือฝ่าโควิด โดย Muji(Japan)

รถขายของเคลื่อนที่ แบบกระบะสี่ล้อเล็กแขวนของพะรุงพะรังอาจเป็นภาพชินตาของชาวไทยเรา บ้างก็เรียกรถพุ่งพวง บ้างก็เรียกรถขายผักขายหอย ตามแต่ของที่หามาขาย เมื่อไม่นานมานี้ อ่าน : บ้านมินิมัลในแบบมูจิที่สนทนากับธรรมชาติและผู้สูงอายุ ที่ประเทศญี่ปุ่น ด้วยความร่วมมือกันระหว่างเมือง Sakata ในจังหวัด Yamagata และ Muji แบรนด์มินิมัลขวัญใจคนชอบความน้อยแต่มากสัญชาติญี่ปุ่นได้กำเนิด Sakata Project ขึ้น เพื่อลดภาระการต้องเดินทางไปซื้อหาของใช้จำเป็น ตั้งแต่เดือน กรกฏาคมที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวเมืองที่เป็นผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่ประกอบกับพื้นที่ซึ่งเป็นเขตภูเขาของเมือง การนำรถสี่ล้อเล็กออกไปพบปะชาวเมืองจึงนับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกที่น่ารัก ซึ่งแนวคิดนี้ก็เกิดขึ้นมาจากการลงพื้นที่ศึกษากลุ่มผู้บริโภคในโครงการ “Lifestyle Organizing School” นั่นเอง มากกว่านั้น ด้วยภาวะการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ญี่ปุ่นก็ยังไม่ใคร่ปลอดภัยนัก การมีข้าวของเครื่องใช้และสินค้าต่างๆมาจำหน่ายถึงหน้าบ้านก็เป็นสิ่งดีๆที่ทำให้ผู้คนยิ้มแย้มได้มากกว่าเดิม และมากกว่านั้น จากปากคำของพนักงานที่ขับรถพุ่มพวงเหล่านี้ “มันทำให้เราได้เชื่อมโยงเข้าหาผู้คนมากขึ้น เราได้รู้จักพวกเขา ได้เห็นบ้านเรือนและชีวิตของพวกเขา เราไม่ใช่แค่พนักงานขายอีกต่อไป” ก็เป็นมุมน่ารักที่รถคันเล็กๆเหล่านี้ทำให้เกิดขึ้น แม้ว่าจะดูเชยๆไปบ้างกับการขับรถเร่ขายของ แต่จริงๆแล้วเราสามารถเช็คได้ตลอดว่ารถเหล่านี้กำลังมุ่งหน้าไปที่ใดบ้าง ตารางการเดินทางเป็นอย่างไร หรือแม้แต่รีเควสได้เสียด้วยซ้ำกับสินค้าที่ต้องการก็เป็นสิ่งที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยประสานความสะดวกให้กับวิธีการเดิมๆได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างน่าสนใจ อยากให้มีรถ Muji วิ่งขายของในไทยตามต่างจังหวัดบ้างเหมือนกันนะ อาจเป็นของ OTOP ปลาเค็ม หม่ำ แหนม อะไรก็ว่าไป […]

ทุกเรื่องสถาปัตยกรรมหลังโควิด-19 ในงาน ACT FORUM ’20 Design + Built

งานประชุมนานาชาติทางสถาปัตยกรรม และแสดงเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ก่อสร้างแห่งปี ที่จัดเป็นประจำทุกปีโดยสภาสถาปนิก ร่วมกับ บริษัท อารยะ เอ็กซ์โป จำกัด เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในวิชาชีพไปพร้อม ๆ กับการนำเสนอเทคโนโลยีด้านก่อสร้างและนวัตกรรมสำหรับคนรักบ้าน โดยในปีนี้มาใน Concept ที่พิเศษหน่อยในชื่อว่า “สถาปนิกปันสุข” เพื่อตอบรับกับสถานการณ์ยุค COVID-19 เพราะฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ที่อยู่ในวงการออกแบบ หรือเป็นผู้ที่สนใจงานออกแบบ ขอบอกว่า ห้ามพลาดเป็นอันขาด!! อย่างที่ได้เกริ่นไปว่า งาน ACT FORUM ’20 Design + Built ได้ขนเอานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ตอบรับกับยุค New Normal มาอย่างครบครัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของการอยู่อาศัยไม่ว่าจะในสถานการณ์เช่นใด และนี่ก็คือส่วนหนึ่งของ New Normal Technologies ที่เราคัดมาเล่าให้คุณฟังก่อนจะไปพบได้อีกมากมายในงานปลายปีนี้ นวัตกรรมเพื่อความสะอาด (Hygiene) บอกลาเชื้อแบคทีเรียด้วย กระเบื้อง HEALTHY TILES จาก DURAGRES CERGRES เพราะกระเบื้องนี้สามารถต้านแบคทีเรียได้ถึง 99% เลยทีเดียว ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.actforumexpo.com/virtual/product/anti-bacteria-tiles-series […]

โรงพยาบาลผู้สูงอายุ

โรงพยาบาลผู้สูงอายุ ที่ออกแบบสอดรับกับบริบทชายทะเล

DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ : Dymaxion Studio Co., Ltd. และ Architects 110 โรงพยาบาลผู้สูงอายุ สถานพยาบาลกายภาพและบำบัดแห่งใหม่นี้มีชื่อว่า “โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน” ก่อตั้งโดย สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่ 35 ไร่ ริมถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล นอกจากจะทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลสำหรับบริการบุคคลทั่วไปแล้ว ยังเป็นโรงพยาบาลที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการพักฟื้นของผู้สูงอายุ พรั่งพร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางการเเพทย์ที่ทันสมัย เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลเเละให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักเวชศาสตร์ เมื่อกล่าวถึงโรงพยาบาล หลาย ๆ ท่านอาจนึกถึงสถานที่ที่เป็นอาคารซึ่งแน่นขนัดไปด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ กลิ่นยาคละคลุ้ง และบรรยากาศที่ตึงเครียด แต่สำหรับโรงพยาบาลแห่งนี้ได้มีการออกแบบให้สอดประสานไปกับบริบทลมทะเลของพื้นที่บางขุนเทียน เปิดรับธรรมชาติและสร้างพื้นที่ซึ่งเอื้อต่อการหย่อนใจ เพื่อให้การมาโรงพยาบาลเหมือนการได้มาพักผ่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่พวกท่านจะได้เปลี่ยนบรรยากาศมาพบเจอคนวัยเดียวกัน ไม่ใช่การมาเพราะความป่วยไข้อีกต่อไป รวมแนวทางการสร้าง “บ้านเพื่อผู้สูงอายุ” ปัจจุบันจากการที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เราจึงพบเห็นการบริการ ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับประชากรกลุ่มวัยดังกล่าว เช่นเดียวกับโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับความต้องการเหล่านั้น นอกจากความพิเศษของงานออกแบบเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะแล้ว งานออกแบบสถาปัตยกรรมของโรงพยาบาลฯยังมีพิเศษไม่แพ้กัน เพราะได้คุณเหวิ่น – ปฤษฐ ชุมสาย ณ อยุธยา แห่ง Dymaxion Studio Co., Ltd. […]