© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านริมนา ที่ค่อยๆพัฒนาจากทุ่งหญ้ารกร้าง ขุดบ่อเก็บน้ำ ทำนา จนอยากใช้เวลาอยู่ที่ตรงนี้ให้นานขึ้น จึงมาปลูกบ้านหลังนี้
ผนังบล็อกแก้ว เป็นอีกหนึ่งวัสดุคลาสสิกสำหรับบ้านพักอาศัยในไทย นอกจากจะเพิ่มลูกเล่นที่น่าสนใจให้ผนังแล้ว ยังช่วยเพิ่มแสงธรรมชาติให้ภายในบ้าน
สำหรับใครชอบดูรูปบ้านสวยหลากหลายสไตล์ ดีไซน์ที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นคันทรี โมเดิร์น ทรอปิคัล มินิมัล ลอฟต์ ติดตามที่ Instagram บ้านและสวน ได้เลย
ประกาศ 10 บ้านสวย น่าอยู่ ที่มียอดเข้าชมสูงสุดในเว็บไซต์บ้านและสวน และก็ไม่ผิดจากที่คาด เมื่อเหล่าบ้านไม้พาเหรดเข้ามายึดครองความนิยม
บ้านหลังนี้โดดเด่นด้วยการสร้างพื้นที่ส่วนตัวในแบบ พื้นที่สีเขียว ซึ่งมีต้นไม้และช่องเปิดสำหรับแสงธรรมชาติอยู่ภายใน การออกแบบพื้นที่ใช้สอยจากพื้นที่เล็กๆให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยยังเชื่อมโยงกับธรรมชาติโดยรอบ จึงเป็นตัวอย่างที่ดีมากอีกหลังหนึ่งของการอยู่อาศัยในเขตเมืองอย่างเช่นกรุงเทพในทุกวันนี้ และผู้ที่ออกแบบบ้านหลังนี้ก็คือ TOUCH ARCHITECTS นั่นเอง เจ้าของ: คุณกายแก้ว อัมพรวิวัฒน์ และคุณสิริยศ ภูนุชออกแบบ: TOUCH ARCHITECT ความเป็นส่วนตัวที่ยังเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ด้วยความที่เดิมทีบ้านหลังนี้เป็นบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรค์ ที่ดินของบ้านแต่ละหลังจึงค่อนข้างอยู่ติดกันไปเสียหมด การออกแบบพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัว จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปิดกั้นพื้นที่ภายในจากพื้นที่ภายนอกเสีย แต่หากปิดกั้นไปเสียหมดแล้วก็จะทำให้รู้สึกอึดอัด ขาดการรับรู้ถึงบริบท และคงทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยภายในรู้สึกไม่ดีเป็นแน่ การออกแบบ facade skin หรือเปลือกอาคาร จึงเป็นสร้างองค์ประกอบที่จะช่วยพรางตาและสร้างความเป็นส่วนตัวได้โดยที่ผู้ที่อยู่ภายในยังรู้สึกสัมผัสกับธรรมชาติและบริบทรอบด้านได้อยู่ ผู้ออกแบบ เลือกที่จะใช้ระแนงเหล็กกล่องเพื่อพรางตาและสร้างความเป็นส่วนตัว แสงธรรมชาติที่ลอดผ่านซี่ระแนงนั้นยังคงทำให้ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนไปของบริบทโดยรอบอยู่นั่นเอง นอกจากนี้ การใช้ระแนงโลหะเป็นเปลือกอาคารยังทำให้ผู้ที่อยู่ภายนอกไม่สามารถมองเห็นผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่อยู่ภายในยังสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวบ้านได้โดยทั่วเช่นเดิม พื้นที่จตุรัส ใช้งานได้คุ้มค่า สำหรับบ้านพื้นที่น้อย พื้นที่ของบ้านหลังนี้นั้นตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 50 ตารางวา หลังจากรื้อถอนบ้านเดิมออกแล้ว การออกแบบเพื่อตอบสนองการใช้งานใหม่จึงต้องมีการจัดวางผังเสียใหม่ ผู้ออกแบบเลือกวางผังบนกริดตารางแบบสี่เหลี่ยมจตุรัส เพื่อให้แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นพื้นที่ต่างๆได้ครบถ้วนกว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้า(ในขนาดพื้นที่เดียวกันที่ดินแบบจตุรัสจะใช้งานได้มากกว่าแบบผืนผ้า) โดยที่เลือกให้ห้องรับแขกนั้นอยู่ด้านในจากหน้าบ้านเข้ามา และแบ่งพื้นที่ด้านหน้าออกเป็นห้องทำงานแบบ WFH ที่ต่อไปจะใช้เป็นห้องนอนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในอนาคต และพื้นที่ชั้นสองที่เป็นห้องนอนทั้งสองฝั่ง การเลือกให้ห้องนั่งเล่นอยู่ด้านในของตัวบ้านนั้นก็เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวจากถนนหน้าบ้านด้วยเช่นกัน โดยที่ห้องนั่งเล่นนี้จะสามารถเปิดออกไปยังชานหลังบ้านและรับกับสวนกลางบ้านได้พร้อมๆกัน ด้วยความที่บ้านหลังนี้มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด พื้นที่สัญจรภายในบ้านจึงเลือกที่จะหยิบยืมเอาจากพื้นที่ใช้งานต่างๆ […]
ปี 2020 กำลังโบกมือลา เป็นธรรมเนียมประจำของทุกปีที่ บ้านและสวน จะรวบรวมสถิติบ้านที่มียอดผู้ชมสูงสุด 10 อันดับมาให้รับชมกัน แต่ละหลังบอกได้เลยว่าสวยปั๊วะปัง แถมยังอยู่สบายมากๆ ด้วยนะ! บ้านสวยอยู่สบาย ที่นำมาให้ชมกันนี้ส่วนใหญ่เป็นแบบบ้านชั้นเดียวและแบบบ้านพื้นถิ่นที่มีกลิ่นอายความเป็นไทย ซึ่งเหตุผลที่มีผู้ชื่นชอบกันมากเป็นพิเศษนั้นอาจเพราะเป็นบ้านที่ดูเรียบง่าย ดูแลง่าย ทั้งยังเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นแบบบ้านเรา ยิ่งเมื่อตัวบ้านตั้งอยู่ในทำเลที่มีต้นไม้ใบหญ้าขึ้นเขียวครึ้ม ก็ช่วยให้บรรยากาศโดยรวมดูเพลินตาเพลินใจ สะท้อนว่าคนเรานั้นยังคงโหยหาความเป็นธรรมชาติอยู่ทุกขณะจิต ไปชมพร้อมๆ กันเลยว่า มีหลังไหนเข้าวินบ้าง 1. บ้านชั้นเดียว เรียบง่ายที่สร้างสุขสงบกลางธรรมชาติ ออกแบบสถาปัตยกรรม: Anonym โดยคุณพงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ์ และคุณปานดวงใจ รุจจนเวท ออกแบบภูมิสถาปัตรยกรรม : P do Landscape Studio บ้านชั้นเดียวที่เน้นบรรยากาศเงียบสงบ สามารถนั่งมองธรรมชาติอันเรียบง่ายรอบตัวที่มุมระเบียงไม้โปร่ง บรรยากาศเหมือนนั่งอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเกียวโต ก่อให้เกิดเเรงบันดาลใจจนนำมาสู่การออกแบบบ้านชั้นเดียว ที่สร้างความสุขอันลึกล้ำและกลายเป็นช่วงเวลาแห่งความประทับใจ >> อ่านต่อ 2. บ้านชั้นเดียว แบบโมเดิร์นล้านนากลิ่นอายแบบญี่ปุ่น เจ้าของ : คุณวิภาดา หว่างจ้อย – คุณปกรณ์ อยู่ดี สถาปนิก :INLY STUDIO Co.,Ltd […]
บ้านดีไซน์อบอุ่นเรียบง่าย เชื่อมโยงทุกคนด้วย คอร์ตกลางบ้าน บรรยากาศเเบบสวนญี่ปุ่น พร้อมมุมมองที่เปิดโล่งเย็นสบาย สัมผัสใกล้ชิดกับธรรมชาติตามวิถีเเห่งเซน
บ้านโมเดิร์นลอฟต์ ทรงกล่องที่ออกแบบจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ตัดทอนองค์ประกอบให้ดูโมเดิร์น และจัดสรรพื้นที่ภายในสลับฟังก์ชัน
บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย ผ่านการออกแบบให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นเรือนปักษ์ใต้ร่วมสมัยที่เชื่อมโยงคนสามรุ่นไว้ด้วยกัน DESIGNER DIRECTORY : ออกแบบ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และ อรวี เมธาวี / ก่อสร้าง : บุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต / เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด บ้านไม้ หลังนี้เริ่มต้นมาจากการที่คุณพ่อปรีชา และคุณแม่สมทรง รอดสุด คุณพ่อคุณแม่ของคุณวิวัฒน์ รอดสุด ผู้ทำหน้าที่จัดการการสร้างบ้านหลังนี้ คิดที่จะสร้างบ้านเพื่อเป็นที่ระลึกเเด่คุณตาคุณยายจากไม้เก่าที่เหลือจากการรื้อบ้านเดิม เชื่อมโยงเเละส่งต่อความผูกพันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน จนเป็นที่มาของการตั้งชื่อบ้านว่า “เรือนพินรัตน์” ซึ่งเป็นชื่อของคุณตาวิรัตน์ และคุณยายพิน ศิริธร นั่นเอง ฉะนั้นเรือนหลังนี้จึงเป็นเสมือนบ้านส่วนกลางของครอบครัวสำหรับเหล่าลูกหลานเมื่อได้มาที่พัทลุงก็มักจะมาพักอาศัยที่เรือนหลังนี้ได้ โดยมีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว โดยเจ้าของวางแผนไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อาจจะปรับเปลี่ยนที่นี่ทำเป็นโฮมสเตย์ต่อไป แต่ในปัจจุบัน “เรือนพินรัตน์” ยังคงทำหน้าที่เป็นเรือนรับรองของครอบครัวรอดสุด ที่ทุกคนต่างมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเยือนเเละพักผ่อนร่วมกัน แกะรอยความทรงจำ ก่อนหน้าที่จะเริ่มขั้นตอนออกแบบ คุณวิวัฒน์ได้มีการเก็บข้อมูลภาพรูปแบบบ้านพื้นถิ่นของพัทลุงไว้ ซึ่งมีทั้งแบบเก่าและแบบร่วมสมัย เพื่อนำมาใช้เป็นโจทย์ตั้งต้น […]
แจกแบบบ้านผู้สูงอายุ เหมาะสำหรับสร้างอยู่ในวัยเกษียณ หรือสร้างที่ต่างจังหวัด ทั้งแบบบ้านชั้นเดียวและบ้านสองชั้น มีพื้นที่รองรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว
บ้านชั้นเดียว แบบโมเดิร์นล้านนาที่เรียบง่ายแฝงกลิ่นอายความญี่ปุ่น ออกแบบโดยคุณปกรณ์ อยู่ดี แห่ง INLY STUDIO เด่นด้วยการเป็นบ้านชั้นเดียวที่ตั้งใจออกแบบก้อนอาคารสลับกับสวนและคอร์ตยาร์ด เพื่อเปิดให้ธรรมชาติแทรกซึมเข้าสู่ทุกส่วนของบ้าน
ที่นี่เป็นพื้นที่ให้คนกลับมาหาศิลปะการใช้ชีวิต ให้สมดุล สอนเรื่องการจัดการที่ดินและทำเกษตรอย่างยั่งยืน ทักษะเหล่านี้ ทั้งทำ บ้านดิน ปลูกข้าวเกี่ยวข้าว