© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
กฎหมายอาคาร ปรับปรุงเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2563 คือ กฎกระทรวงฉบับที่ 68 (พ.ศ.2563) เพื่อปรับปรุงและเพิ่มเติม กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) มีสาระสำคัญที่มีผลกับการออกแบบและก่อสร้าง 6 หัวข้อ โดยสรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ 1.กำหนดให้การวัด “แนวอาคาร” คือ วัดที่ขอบนอกสุดของอาคาร กฎหมายอาคาร มีการให้คำจำกัดความของ “แนวอาคาร” ที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งแต่ก่อนไม่มีการระบุ จึงเกิดการตีความแตกต่างกัน (เราใช้แนวอาคารอ้างอิงในการขออนุญาตก่อสร้างหลายจุด เช่น ระยะถอยร่นของตัวอาคารกับเขตที่ดิน) โดยระบุไว้ว่า “แนวอาคาร” หมายความว่า แนวผนัง เสา หรือบันไดที่อยู่ด้านนอกสุดของอาคาร ยกเว้นบันไดหนีไฟภายนอกอาคารที่มีลักษณะโปร่ง” 2.บล็อกแก้วถือเป็นผนังทึบได้ เป็นการผ่อนปรนให้กับตึกแถวและบ้านที่ทำผนังใกล้เขตที่ดิน จึงกำหนดให้บล็อกแก้วถือเป็นผนังทึบได้เมื่อมีลักษณะตามที่กำหนด โดยระบุไว้ว่า “ผนังทึบ” หมายความว่า ผนังที่ไม่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศ หรือช่องแสง และให้หมายความรวมถึงผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้วหนาไม่น้อยกว่า 9 เซนติเมตร โดยบล็อกแก้วต้องอยู่สูงกว่าระดับพื้นของห้องไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ทั้งนี้ผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้วต้องมีพื้นที่รวมกันไม่เกินร้อยละสิบของพื้นที่ผนังแต่ละชั้นในด้านนั้น ๆ” 3.การวัดความสูงอาคาร ไม่คิดรวมสิ่งที่ตั้งอยู่บนอาคาร […]
ใครว่าเรื่อง กฎหมายอาคาร เป็นเรื่องยากเกินเข้าใจ และไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าของบ้านที่ต้องรู้เพราะมีสถาปนิกเป็นผู้ออกแบบบ้านและคำนึงถึงข้อกฎหมายต่างๆ ให้แล้ว ความคิดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง หนังสือ สร้างและต่อเติมบ้านอย่างรู้กฎหมาย เหตุที่บอกว่าการรู้ กฎหมายอาคาร เป็นเรื่องจำเป็นนั้น เมื่อเราได้แบบบ้านจากสถาปนิก ขั้นตอนต่อมาคือการยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างต่อสำนักงานเขต เมื่อผ่านการอนุญาตก่อสร้างจึงเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาสร้างบ้านที่จะต้องก่อสร้างตามแบบที่สถาปนิกออกแบบไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้มักจะมีความผิดเพี้ยนจากที่ออกแบบไว้ ทั้งมาจากการพยายามลดต้นทุนก่อสร้างของผู้รับเหมา ร่นระยะเวลาให้เร็วขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ตัวเจ้าของบ้านเองต้องตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและควรรู้ข้อกฎหมายก่อสร้างหากมีกรณีที่ผู้รับเหมาสร้างบ้านไม่ตรงแบบที่วางไว้ ซึ่งหากบ้านที่กำลังสร้างอยู่นี้กลายเป็นบ้านที่ผิดกฎหมายอาคาร จะเกิดปัญหายืดยาวตามมาอย่างแน่นอน 10 ข้อกฎหมายเบื้องต้นสำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้านต้องรู้มีอะไรบ้าง ไปดูกัน •ดาวน์โหลดกฎหมายควบคุมอาคารฉบับเต็มได้ที่นี้ •กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร 1 | สร้างบ้านชิดรั้วบ้านได้แต่ผนังบ้านรั้วต้องปิดทึบ กรณีแรกที่เหมือนจะเป็นปัญหากับเพื่อนบ้านอยู่เสมอคือการที่มีบ้านอีกหลังใดหลังนึงต่อเติมหรือสร้างบ้านจนมาชิดรั้วบ้านเรา ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่จะสร้างบ้านแบบนี้ เจ้าของบ้านต้องได้รับการยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ผนังบ้านจะต้องไม่มีหน้าต่าง ช่องลม ช่องแสงใดๆ เป็นเด็ดขาด แน่นอนว่ากรณีนี้ย่อมเกิดปัญหาวุ่นวายทีหลังเพราะเป็นธรรมดาว่าเพื่อนบ้านย่อมไม่ปรารถนาเช่นนั้น ซึ่งหากไม่อยากให้เรื่องยืดยาว ให้เว้นระยะห่างตัวบ้านจากรั้วบ้านหรือแนวดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตรแต่ยังคงต้องเป็นผนังทึบเช่นเดิม และอย่าลืมติดตั้งรางน้ำฝนให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันน้ำไหลลงฝั่งเพื่อนบ้านที่จะเป็นเหตุให้วิวาทกันภายหลังหลังด้วย 2 | ผนังบ้านที่มีประตูหน้าต่างต้องมีระยะห่างจากแนวรั้วอย่างน้อย 2 เมตร ในกรณีที่ผนังบ้านมีประตูหน้าต่าง ให้รู้ไว้เลยว่าตัวบ้านชั้น 1 และชั้น 2 จะต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 2 เมตร หากเป็นบ้าน 3 […]
เพื่อให้การ อยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน ด้วยความเป็นมิตรที่ดีต่อกันไปนาน ๆ การเอาใจเขามาใส่ใจเราน่าจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ด้วย 10 วิธีที่เรานำมาฝาก
ปัญหาโลกแตกกับการหาที่จอดรถไม่ได้ ทั้งๆ ที่เป็นทางสาธารณะ เพราะเหลียวซ้ายแลขวาก็เจอกรวย แผงเหล็ก ไม่ก็เก้าอี้ พร้อมป้ายประกาศ "กรุณาอย่าจอดรถขวางประตู"
ปัญหาเพื่อนบ้านต่อเติมจนชิด เป็นปัญหาที่เรามักพบได้บ่อย แบบไหนถูก-ผิดกฎหมาย หาคำตอบพร้อมๆกัน
เห็นข่าวทะเลาะกันของ เพื่อนบ้าน นับวันตามเนื้อข่าวยิ่งทวีความขัดแย้งมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าในทางปฏิบัติใช้ไม่ได้ผล ต้องแก้ปัญหาทางกฎหมายกันค่ะ
เป็นเรื่องชวนปวดหัวมากในการที่เราจะเข้าใจกฏหมายต่างๆเกี่ยวกับบ้าน เราจึงได้คัดสิ่งที่ควรรู้ไว้เพียงไม่กี่ข้อให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างง่ายก่อนจะทำผิด กฎหมายบ้าน
กฎหมาย รีโนเวต ศึกษาให้ถูกต้องก่อนลงมือ เพื่อจะได้ดัดแปลงได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
เมื่อคนหมู่มากมาอาศัยอยู่รวมกัน คงไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะมีเรื่องน่าหงุดหงิดใจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องรู้จักวิธีจัดการปัญหาและ รับมือกับเพื่อนบ้าน
เกือบๆทุกบ้านนั้นมักจะมีการ ต่อเติม เพื่อเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้แก่บ้านและอาคาร แต่ทราบหรือไม่ว่าการต่อเติมอาคารอย่างถูกกฎหมาย-แบบใดไม่จำเป็นต้องขออนุญาต
“บ้านและสวน” จะมาไขข้อข้องใจ 9 ปัญหายอดฮิตเกี่ยวกับกฎหมายการสร้างบ้านซึ่งหลายคนสงสัยและมักเข้าใจผิด มีอะไรบ้างมาดูกัน
ปัญหายอดฮิต "เพื่อนบ้าน" ไม่เสียงดัง ไม่เกรงใจกัน จนนำมาซึ่งความบาดหมางมากมาย my home ขอยกเคสปัญหามาตอบให้พอทราบถึงสิทธิ ที่เราสามารถทำได้ค่ะ