© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
วิธี คำนวณจำนวนกระเบื้อง สำหรับมุงหลังค่าอย่างง่าย โดยคิดพื้นที่ของหลังคาออกมาเป็นตารางเมตร สำหรับนำไปคุยกับช่างและเตรียมงบประมาณได้ถูกต้อง วิธี คำนวณจำนวนกระเบื้อง เป็นสิ่งที่มีผู้อ่านถามกันเข้ามามากพอดูเหมือนกัน เพราะต้องการที่จะคำนวณราคาว่าบ้านของเรานั้น หากจะเปลี่ยนไปใช้หลังคาหนึ่ง ๆ ควรจะต้องเตรียมงบประมาณเอาไว้เท่าไรกัน? และในการคำนวณพื้นที่หลังคาอย่างง่ายนี้ก็ช่วยให้การพูดคุยกับช่างเป็นไปได้โดยเข้าใจตรงกันอีกด้วย สามารถทำให้คิดพื้นที่ของหลังคาออกมาเป็นตารางเมตรได้ไม่ยากเลย ในการ คำนวณจำนวนกระเบื้อง นั้นเราจำเป็นที่จะต้องรู้พื้นที่หลังคาก่อน โดยที่ในการคำนวณพื้นที่หลังคานั้นจะใช้สูตรการหาพื้นที่ 3 สูตร สูตรการหาพื้นที่▯ สูตรการหาพื้นที่ △ ด้านเท่า สูตรการหาพื้นที่ △ ด้านไม่เท่า จะเห็นได้ว่าที่จริงแล้ว เราสามารถหาพื้นที่ของหลังคาโดยพิจารณาให้หลังคาเป็น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และในกรณีที่หลังคาเป็นรูปทรงอิสระ ก็สามารถนำมาแตกองค์ประกอบเป็นสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมด้านไม่เท่าได้ สูตรของการหาพื้นที่ทั้งหมดมีดังนี้ สูตรที่ 1 (สูตรการหาพื้นที่▯) ให้นำด้านยาว และ ด้านกว้าง ของสี่เหลี่ยมมาคูณกันตามสูตร พื้นที่ ▯ = กว้าง x ยาว = X x Y (ตามภาพ) สูตรที่ 2 (สูตรการหาพื้นที่ […]
ท่อน้ำรั่วซึม เป็นปัญหาสามัญประจำบ้านที่คอยกวนใจเจ้าของบ้านก็ว่าได้ หากเป็นห้องน้ำชั้นล่าง ก็ยังพอจะปล่อยผ่าน แต่หากเป็นชั้น 2 เมื่อไหร่ รับรองว่ามีปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกเยอะเป็นแน่นอน เพื่อเป็นตัวช่วยให้คุณลองมาดู วิธีแก้ท่อน้ำรั่วซึม เบื้องต้นกันครับ ขั้นตอนการทำงาน วิธีแก้ท่อน้ำรั่วซึม 1.ก่อนอื่นต้องรื้อฝ้าเพดานออกมา เพื่อดูจุดที่มีการรั่วซึม (ในกรณีที่ไม่มีช่องเซอร์วิส) ซึ่งอาจเกิดจากท่อน้ำดีชำรุดหรือท่อน้ำทิ้งรั่ว 2.หากเป็นการรั่วประเภทนี้ก็ซ่อมแซมท่อน้ำตามปกติ แต่หากเป็นการรั่วจากรอยต่อระหว่างโถสุขภัณฑ์กับพื้น หรือยาแนวกระเบื้องพื้นชั้นบนเสื่อม ก็แก้ไขโดยการขูดร่องยาแนวรวมถึงกระเบื้องที่เสียหายออกให้หมด 3.จากนั้นทาผลิตภัณฑ์กันซึมให้ทั่วบริเวณพื้น และควรทาเลยมาที่ผนังรอบห้องน้ำให้สูงจากพื้นประมาณ 20-30 เซนติเมตรด้วย รอให้แห้งสนิทแล้วทาผลิตภัณฑ์กันซึมทับอีกชั้นหนึ่ง 4.ปูกระเบื้องกลับตามเดิมให้เรียบร้อย แล้วยาแนวใหม่ด้วยยาแนวสูตรป้องกันราดำ หากยังไม่แน่ใจว่าห้องน้ำด้านบนที่ซ่อมแซมนั้นยังมีการรั่วซึมอยู่หรือไม่ ก็อาจยังไม่ต้องทำฝ้าเพดานใหม่ที่ห้องด้านล่าง รอสักหนึ่งเดือนหรือสองเดือนให้แน่ใจก่อนแล้วค่อยทำก็ได้ TIPS วิธีการตรวจสอบว่าท่อน้ำทิ้งหรือท่อน้ำดีรั่วหรือไม่ ทำได้โดยการนำกระดาษทิชชูไปพันรอบข้อต่อหรือจุดที่คาดว่าจะมีการรั่วซึม แล้วใช้งานตามปกติ (กดชักโครกหรือราดน้ำลงพื้น) ปล่อยทิ้งไว้สัก 15-30 นาที จากนั้นก็ตรวจสอบกระดาษทิชชู หากมีความชื้นหรือเปียกน้ำแสดงว่าบริเวณนั้นมีการรั่วซึม เรื่อง : คันยิก้า ภาพประกอบ : เอกรินทร์ พันธุนิล แฟนเพจ “บ้านและสวน” ห้องน้ำกับงานระบบที่ควรรู้ ปัญหากาวยาแนวในห้องน้ำเสื่อมสภาพ กันซึมไม่ดีเจ้าของบ้านได้แต่นั่งซึม
ลด ปัญหาบ้านร้าว พัง รั่ว เปื้อน ด้วย Basic Details ง่ายๆแต่ได้ผล ซึ่งสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของปัญหาได้ด้วยดีเทลเล็กๆ ในระหว่างก่อสร้าง พื้นส่วนต่อเติม หากมีการทำพื้นแยกโครงสร้างกัน เช่น พื้นส่วนต่อเติม ไม่ควรปูวัสดุทับรอยต่อ แนะนำให้ทำร่องของรอยต่อให้เป็นแนว เมื่อเกิดการแตกร้าว รอยร้าวจะอยู่ในแนวที่ทำไว้ ไม่ลามไปส่วนอื่น มีตัวอย่างดีเทลรอยต่อพื้นดังนี้ ปัญหาบ้านร้าว รอยต่อพื้นส่วนต่อเติมระดับเดียวกัน ควรเว้นช่องประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วยาแนวด้วยวัสดุยืดหยุ่น เมื่อพื้นส่วนต่อเติมทรุดก็จะไม่ทำให้พื้นบ้านเสียหายลุกลาม รอยต่อพื้นส่วนต่อเติมต่างระดับ ให้เว้นระยะพื้นภายนอกกับพื้นบ้าน 15-20 เซนติเมตร แล้วโรยกรวดตกแต่ง หากพื้นทรุดตัวไม่เท่ากันก็จะไม่เห็นรอยแตก มุมผนัง ป้องกันมุมผนังหรือมุมเสาเสียหายจากการกระแทกด้วยการลบมุมให้มนหรือเอียง 45 องศา หรือจะที่อาจมีการกระแทกให้ครอบมุมด้วยวัสดุทนทาน เช่น เหล็กฉาก รอยต่อผนัง รอยต่อของวัสดุเป็นจุดที่เสียหายได้ง่าย แต่ละวัสดุสามารถดีไซน์ลดความเสียหายได้ เช่น ปูน ทรายล้าง หินล้าง เซาะร่องทุกระยะ 3-4 เมตร ลดปัญหาพื้นผิวแตกร้าวจากการขยายตัวของวัสดุ ไม้ การต่อไม้แบบ “เข้าลิ้น” […]
นอกจาก รูปทรงของหลังคา แบบต่าง ๆ ที่ควรรู้จักแล้ว วัสดุมุงหลังคา ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณาเลือกให้เหมาะสม ซึ่งตามท้องตลาดมีเเบบให้เลือกหลากหลาย โดยวัสดุทำหลังคาเเต่ละประเภทจะมีความสัมพันธ์ต่อรูปทรง น้ำหนัก และองศาความลาดเอียงของหลังคาบ้านด้วย จะเลือก วัสดุมุงหลังคา ชนิดใด แต่ละแบบเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร ลองไปทำความรู้จักคุณสมบัติของแต่ละแบบกันเลย กระเบื้องเซรามิก เป็น วัสดุมุงหลังคา ที่พบเห็นได้ทั่วไป หลักในการผลิตกระเบื้องเซรามิกคือ ดินขาว ซึ่งต้องผ่านกระบวนการอบแห้งเพื่อไล่น้ำและความชื้นออก จนได้ผงดินเป็นวัตถุดิบขั้นต้นในการผลิต จากนั้นจึงค่อยผสมกับส่วนผสมอื่นที่ช่วยให้มีเนื้อเรียบเนียน และน้ำหนักเบาก่อนจะนำไปผ่านความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส กระเบื้องเซรามิกจึงจะมีความแข็งแรงทนทาน มีขนาดเท่ากันทุกแผ่น น้ำหนักเบา ส่วนใหญ่มักทำสี และเคลือบผิว จึงไม่ต้องการการดูแลมากนัก กระเบื้องคอนกรีต หรือกระเบื้องโมเนีย (Monier) แข็งแรงทนทาน แต่มีน้ำหนักมาก หลังคาที่จะมุงด้วยวัสดุชนิดนี้ จำเป็นต้องทำโครงสร้างให้แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของแผ่นกระเบื้องได้ กระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีตมีให้เลือกใช้ทั้งแบบลอนโค้ง และลอนกาบกล้วย ขนาด 33 × 42 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ยแผ่นละ 4 กิโลกรัม ใช้มุงหลังคาในมุมลาดเอียงประมาณ 17 – 18 องศาขึ้นไป บริเวณหัวกระเบื้องมีรูเจาะไว้(ไม่ต้องเจาะรูนำ) สำหรับใช้ตะปูเกลียวยึดติดกับแปเพื่อความแข็งแรง ด้านข้างมีรางลิ้นเพื่อให้ซ้อนกันสนิท ช่วยป้องกันการรั่วซึมระหว่างแผ่น ส่วนปลายกระเบื้องจะทำเป็นขอบบัวดักน้ำเพื่อป้องกันน้ำฝนไหลย้อนกลับ […]
งานรื้อถอน เป็นอีกงานที่มองข้ามไม่ได้ในงานสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะสร้างบ้าน หรือก่อสร้างอาคารใด ๆ โดยเฉพาะงานรีโนเวตที่จะต้องเข้าไปจัดการกับสภาพเดิมของพื้นที่ งานรื้อถอน จึงเป็นขั้นตอนเริ่มเเรก ก่อนจะลงมือทำการก่อสร้างตามแบบต่อไป แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่า งานรื้อถอน มีราคาค่าจ้างอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ บ้านและสวนจึงไม่รอช้ามาเฉลยคำตอบให้คุณแล้ว เช่นเดียวกับงานก่อสร้าง งานรื้อถอน สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามแต่ละส่วนประกอบของบ้าน โดยราคานี้เราหามาจาก หนังสือบัญชีราคาค่าวัสดุและค่าแรงงานปี 2567 (อ้างอิงตามบัญชีค่าแรงงาน กรมบัญชีกลาง) โดยกลุ่มออกแบบและก่อสร้าง สำนักอำนวยการ สำนักงานคณกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ในความเป็นจริงอาจจะแพงกว่าราคานี้อยู่ที่ 10-40% ขึ้นอยู่กับความยากง่าย ทำเลที่ตั้ง และการตกลงเรื่องการขนทิ้งกองเศษวัสดุอย่างไร ซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้รื้อถอนจะรวมกองเศษวัสดุไปขายต่อเอง หากเจ้าของต้องการจัดการกับเศษวัสดุเอง ก็ต้องตกลงกันเป็นกรณีพิเศษไป *อย่างไรก็ตาม ขอให้ใช้ข้อมูลนี้เพื่อเป็นตัวตั้งต้นในการประเมินงบประมาณ ทางที่ดีคือต้องสอบถามราคาและเปรียบเทียบจากช่างรับเหมารื้อถอนโดยตรง งานรื้อถอนโครงสร้าง งานรื้อถอนโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก : 200-250 บาท/ลูกบาศก์เมตร งานรื้อถอนโครงสร้างไม้ : 150-250 บาท/ตารางเมตร งานรื้อถอนหลังคา งานรื้อถอนโครงหลังคา : 25-30 บาท/ตารางเมตร งานรื้อถอนวัสดุมุงหลังคา : 5-8 บาท/ตารางเมตร […]
หลังคาฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป หรือที่ใครๆก็เรียกกันว่า หลังคาปิงปอง หลังคาแซนด์วิช กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เดิมทีหลังคาและผนังฉนวนกันความร้อนประเภทนี้ มีไว้สำหรับใช้ในการกักเก็บอุณหภูมิของห้องเย็น แต่ปัจจุบันได้เริ่มมีผู้นำมาใช้กับหลังคา นับว่าได้ผลดีทีเดียว หลังคาฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป แต่เหล่า หลังคาฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป เหล่านี้ มีอยู่หลายประเภทให้เลือกใช้ เเถมยังมีความแตกต่างกันไป ทั้งราคาและคุณสมบัติ เราจึงอยากพาท่านผู้อ่านมารู้จักกับประเภท คุณสมบัติ และข้อควรรู้เกี่ยวกับหลังคาฉนวนกันความร้อน ก่อนตัดสินใจนำมาใช้งานให้ถูกต้องตามจุดประสงค์ จำเป็นต้องติดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาเมทัลชีทหรือไม่ ประเภทของหลังคาฉนวนกันความร้อน หลังคาฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูปมักใช้เมทัลชีท หรือพลาสติกในการขึ้นรูปลอน ก่อนจะเเทรกชั้นของเเผ่นฉนวนไว้ด้านใน แล้วปิดท้ายด้วยวัสดุป้องกันฉนวนเสียหายอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำแผ่นฉนวนกันความร้อนนั้น มักมีความเเตกต่างหลากหลายกันออกไป เพื่อให้เหมาะกับการนำไปใช้งาน เราสามารถเเบ่งประเภทได้ดังนี้ 1. แผ่นฉนวนกันความร้อน EPS (Expanded Polystyrene) EPS ย่อมาจาก Expanded polystyrene Foam ผลิตขึ้นจากแผ่นโฟมพอลิสไตรีน หรือที่เรียกกันติดปากว่า “โฟมขาว” โดยนำมารีดผนึกติดกันด้วยกาวพอลิยูรีเทน มีค่าความเป็นฉนวนดี แต่ด้อยกว่า PU เเละมีราคาที่ย่อมเยากว่า 2. แผ่นฉนวนกันความร้อน XPS (Extruded Polystyrene) XPS ย่อมาจาก […]
ย้อนไปสักสิบปีก่อนอาจยังไม่ค่อยได้เห็นบ้านไหนในเมืองไทยติดตั้ง หลังคาโซล่าเซลล์ เท่าไรนัก อาจเนื่องด้วยต้นทุนที่สูง หรือการคืนทุนที่ไม่คุ้มเท่าไหร่กับเงินที่เสียไป แต่ปัจจุบันทางรัฐบาลได้มีนโยบายให้ประชากรหันมาสนใจมากขึ้นด้วยการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ บวกกับกระแสรักษ์โลกที่ผู้คนหันมาสนใจเรื่องพลังงานสะอาด จนหลายๆ บ้านเริ่มมีการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์กันแพร่หลายมากกว่าเมื่อก่อน แต่การติดตั้ง ‘ หลังคาโซล่าเซลล์ ’ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะเรียกช่างมาแล้วจบเลยทีเดียว เพราะต้องใช้ช่างเฉพาะทางและเราต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพื่อความคุ้มค่าที่จะได้รับกลับคืนมา ครั้งนี้เราจึงมีข้อควรรู้ไว้ก่อนลงมือติดตั้งโซลาร์เซลล์มาให้ศึกษากันอย่างละเอียดก่อน ทำความรู้จักโซลาร์เซลล์กันก่อน หลังคาโซลาร์เซลล์ หรือ หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดที่รับมาจากแสงอาทิตย์และเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ด้วยกระบวนการ Photovoltaic Effect จากนั้นส่งไปยังอินเวอร์เตอร์ เพื่อเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ นำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน ช่วยลดค่าไฟฟ้าในบ้านและการลงทุนในระยะยาว ซึ่งระบบแผงโซลาร์เซลล์แบ่งออกเป็น 3 ระบบ ระบบออนกริด (On-Grid System) ระบบที่ต่อเชื่อมสายส่งการไฟฟ้า มีแผงโซลาร์เซลล์ต่อเข้ากับกริดไทอินเวอร์เตอร์ จากนั้นเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงมาเป็นกระแสสลับให้ใช้งานในบ้านได้ ซึ่งระบบนี้จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงเป็นระบบที่หลายบ้านนิยมติดตั้งกัน เพราะสามารถขายคืนให้การไฟฟ้าฯ ได้ แต่ก่อนติดตั้งต้องขออนุญาตก่อนเสมอ ระบบไฮบริด (Hybrid) ข้อแตกต่างระบบนี้อยู่ที่มีแบตเตอรี่มาสำรองพลังงาน สำหรับใช้งานในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และกรณีที่ผลิตกระแสไฟฟ้ามากพอเกินกว่าการใช้งานแล้ว ระบบจะนำกระแสไฟฟ้าชาร์ตเข้าแบตเตอรี่ เพื่อนำไปใช้งานต่อในเวลาอื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อบ้านไหนที่ไฟตกบ่อยก็สามารถดึงเอาไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาใช้งานไดh ระบบออฟกริด (Off-Grid […]
การติดตั้งฉนวนที่หลังคานิยมติดตั้งใต้วัสดุมุงหลังคาและเหนือฝ้าเพดาน โดยแนะนำให้ป้องกันความร้อนตั้งแต่ชั้นหลังคา ก็จะลดความร้อนได้ดีกว่าการติดตั้งฉนวนเหนือฝ้าเพดาน เพราะความร้อนที่ผ่านหลังคาลงมาจะน้อยลงและมีโอกาสระบายออกทางช่องระบายอากาศก่อนลงมาถึงฝ้าเพดาน หรืออาจติดตั้งหลายตำแหน่งก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนได้ดียิ่งขึ้น มีฉนวนกันความร้อนที่นิยมใช้ 4 ชนิด ได้แก่ ฉนวนไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) เรียกง่ายๆ ว่าฉนวนใยแก้ว ได้จากการนำแก้วมาหลอม แล้วปั่นให้เกิดเส้นใยจำนวนมาก จนเกิดเป็นโพรงอากาศเพื่อเก็บกักความร้อน หุ้มด้วยวัสดุที่สะท้อนความร้อนอย่างอะลูมิเนียมฟอยล์ เพื่อหน่วงความร้อนก่อนเข้าสู่ภายในบ้าน มีให้เลือกทั้งแบบม้วนและแบบแผ่น เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่ใต้หลังคามาก และมีฝ้าเพดานปิด และระวังอย่าให้ฟอยล์ที่หุ้มฉนวนฉีกขาด ความชื้นจะทำให้ฉนวนยุบตัวจนประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนลดลง ราคาฉนวนกันร้อน เริ่มต้นตารางเมตรละ 250 บาท ฉนวนพอลิยูรีเทน (PU Foam) เป็นฉนวนที่ป้องกันความร้อนเข้ามาในบ้านได้ดีเยี่ยม มีน้ำหนักเบา และด้วยพื้นผิวที่นุ่ม มีรูพรุน จึงดูดซับเสียงได้ดีอีกด้วย ติดตั้งโดยใช้วิธีฉีดพ่นใต้หลังคาและบนฝ้าเพดาน สามารถพ่นได้หลายความหนา ยิ่งหนามากก็ยิ่งกันความร้อนได้ดี แต่หากถูกเผาไหม้จะเกิดควันและก๊าซที่เป็นอันตราย เหมาะกับบ้านที่โชว์โครงสร้างหลังคา หรือบ้านที่มีพื้นที่เหนือฝ้าน้อยมาก ต้องใช้การฉีดพ่นตามช่องว่างเหนือฝ้าเพดานแทน ราคาฉนวนกันร้อน เริ่มต้นตารางเมตรละ 400 บาท ฉนวนพอลิเอทีลีน (PE Foam) เป็นการผสานแผ่นสะท้อนความร้อนกับพอลิเอทีลีนโฟม จึงมีน้ำหนักเบา และทนความชื้นได้ดี สามารถป้องกันความร้อนก่อนเข้าสู่ภายในบ้านได้ในระดับหนึ่ง และระวังหากเพลิงไหม้จะเกิดควันและก๊าซที่เป็นอันตราย ติดตั้งง่าย […]
ไปรู้จัก แบบหลังคา ทรงหลังคา หลังคาปั้นหยา หลังคาจั่ว หลังคาแบน และแบบต่างๆ ที่เหมาะสำหรับบ้านในเมืองไทย เลือกใช้ให้เหมาะสมกับบ้าน
แผ่นหลังคาโพลีคาร์บอเนต ยังคงเป็นที่นิยมใช้ในงานต่อเติมหลังคา ด้วยคุณสมบัติที่เบา ทำให้ไม่เปลืองโครงสร้าง และสะดวกในการติดตั้ง
ระบบกันซึม เป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการก่อสร้างบ้าน โดยเฉพาะส่วนห้องน้ำและพื้นดาดฟ้า แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร เราควรเลือกใช้แบบไหน ไปดูกัน ระบบกันซึม แบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ น้ำยากันซึมแบบผสมในคอนกรีต น้ำยากันซึมแบบเหลวใช้ทา และ ระบบกันซึมแบบแผ่น ไปดูกันว่าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร น้ำยากันซึม แบบผสมในคอนกรีต ใช้เทเป็นโครงสร้างหรือเอามาฉาบผิวเพื่อกันซึม แต่สำหรับที่มักพูดกันหรือเขียนในแบบก่อสร้างว่า “คอนกรีตผสม น้ำยากันซึม ” ตัวนั้นเป็นแค่เคมีที่ช่วยลดน้ำในคอนกรีตเพื่อหวังผลให้น้ำในคอนกรีตน้อยลงจนทำให้คอนกรีตหนาแน่นมากขึ้น แล้วจะกันน้ำได้มากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงใช้งานไม่ได้เพราะป้องกันน้ำซึมไม่ได้เลย จึงไม่แนะนำให้ใช้ระบบนี้ ส่วนที่ใช้งานได้ดีคือการใช้สารประเภท Crystalline ที่เมื่อผสมในคอนกรีตแล้วจะทำให้คอนกรีตทำปฏิกิริยากับน้ำจนก่อเป็นผลึกขนาดจิ๋ว อุดตามช่องว่างภายในคอนกรีตจนสนิท ทำให้คอนกรีตทึบน้ำจนกันน้ำกันซึมได้ดี ระบบนี้ใช้ได้ทั้งแบบใช้ผสมในคอนกรีตก่อนเทหรือพ่นที่ผิวคอนกรีตก็ได้ ข้อดี ทำงานง่าย ราคาถูก ข้อจำกัด ควบคุมคุณภาพยาก เพราะสารเคมีนี้ใสมากและไม่มีสี ทำให้ยากที่จะตรวจสอบว่าพ่นหรือผสมในคอนกรีตแล้วหรือไม่ และผสมในปริมาณที่ถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ยังใช้ได้กับคอนกรีตเท่านั้น ใช้กับวัสดุอื่น เช่น โลหะ กระเบื้อง ปูนฉาบ ไม่ได้เลย น้ำยากันซึม แบบเหลวใช้ทา (Liquid Applied) มีลักษณะเป็นของเหลวใช้ทาหรือพ่นที่ผิวที่ต้องการใช้กันซึม จะป้องกันคอนกรีตไม่ให้โดนความชื้นหรือสารเคมีจากด้านนอก สมัยก่อนนิยมใช้เป็นสารพวกยางมะตอย […]
แม้ว่าหลังคาจั่วจะเป็นที่นิยมในเมืองไทย แต่รู้หรือไม่ว่าหลังคาโค้ง สามารถป้องกันน้ำฝนได้ดีกว่าหลังคาจั่วที่เราคุ้นเคย เพราะอะไรนั้น ไปหาคำตอบกันเลย