บทความโดย บ้านและสวน - Page 32 of 43

รวมแบบบ้านไม้ใต้ถุนสูง อบอุ่น เย็นสบายสไตล์ไทยๆ

บ้านไม้ใต้ถุนสูง ยังคงเป็นรูปแบบบ้านที่ครองใจมหาชนชาวบ้านและสวนมาโดยตลอด อาจด้วยดีไซน์ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศเมืองไทย ซึ่งสามารถถ่ายเทอากาศได้ดี จึงช่วยระบายความร้อนและเปิดรับลมเย็นสบาย อีกทั้งยังเหมาะกับสภาพที่ตั้งที่มักถูกน้ำท่วมบ่อยๆ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ บ้านไม้ใต้ถุนสูง จะติดโผแบบบ้านยอดฮิต ครั้งนี้เราจึงได้รวบรวมแบบบ้านไม้ใต้ถุนสูงมาให้ชมกันอย่างจุใจอีกครั้ง เลื่อนชมบ้านหลังงามด้านล่างได้เลย บ้านไม้ใต้ถุนสูง บ้านไม้สีขาวใต้ถุนสูง ในวงล้อมของสวน เจ้าของ – ตกแต่ง  : คุณจาตุรงค์ ขุนกอง และคุณศิริวิทย์ ริ้วบำรุง บ้านไม้ใต้ถุนสูงสีขาวที่ตั้งอยู่กลางวงล้อมของสวนอังกฤษซึ่งรายรอบด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ตัวบ้านมีขนาดกะทัดรัดโดยสร้างจากเรือนไม้เก่าที่เจ้าของบ้านออกแบบให้มีหน้าตาที่ดูร่วมสมัยมากขึ้น ตกแต่งด้วยข้าวของสไตล์คลาสสิกที่ดูสวยหวาน >> อ่านต่อ  บ้านมะค่าโมง บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่มีลมโกรกตลอดทั้งปี เจ้าของ : คุณธีระศักดิ์-คุณชื่นประภา พรหมลา ออกแบบ : คุณธีระศักดิ์ พรหมลา แบบบ้านไม้ใต้ถุนสูง สุดแสนเรียบง่าย โดยข้างล่างทำหน้าที่เป็นทั้งห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก มุมดริปกาแฟเล็ก ๆ  และด้านบนที่มีเพียงห้องนอนกับห้องน้ำ เจ้าของบ้านเน้นให้อยู่สบาย ไม่ต้องดูแลรักษามากนัก ที่สำคัญคือต้องเป็นบ้านที่ไม่สร้างภาระ ไม่สร้างหนี้สิน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นบ้านอยู่สบายหลังนี้ >> อ่านต่อ  ใช้ชีวิตผ่อนคลายแบบพอดี ในเรือนพักหลองข้าว อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ สถานที่: วิลล่า […]

แบบบ้านปูนใต้ถุนสูง

บ้านปูนใต้ถุนสูงท่ามกลางธรรมชาติ

แบบบ้านปูนใต้ถุนสูง ในจังหวัดฉะเชิงเทราที่เจ้าของพัฒนาที่ดินจากสวนหมากและมะม่วงที่รกร้างกลายเป็นบ้านที่น่าอยู่ขึ้นทีละน้อย

รวมบ้านรีโนเวต ที่เปลี่ยนความพังเป็นความสวย

หลายครั้งที่เจ้าของบ้านเลือกแนวทางการรีโนเวตแทนการสร้างใหม่ ก็เป็นเพราะผูกพันหรือรักในบรรยากาศเดิมๆของบ้าน เหมือนเช่นเจ้าของบ้านทั้ง 5 หลังนี้ ที่เลือกเปลี่ยนความพังขั้นสุดของบ้าน โดยรีโนเวตให้บ้านกลับมาสวยปัง แต่ยังคงเปี่ยมด้วยความรู้สึกอบอุ่นเช่นเดิม บ้านรีโนเวท เปลี่ยนบ้านพักคนงานพังๆ เป็นบ้านชั้นเดียวสีขาวสุดชิค เจ้าของ : คุณพิทักษ์ บุญปั๋น และคุณณิชาพัฒน์ โกสลากร ออกแบบ-จัดสวน : คุณพิทักษ์ บุญปั๋น บ้านชั้นเดียวสุดชิคที่ปรับปรุงจากบ้านพักคนงานขนาด 9 x 9 เมตร ในสวนลำไย ภายใต้งบ 350,000 บาท โดยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นการก่อสร้างและปรับปรุงด้วยสองมือของเจ้าของบ้าน ซึ่งเกิดจากความรักที่มีต่อถิ่นเกิดและบริบทแวดล้อมที่หล่อหลอมให้เกิดเป็นตัวตนของผู้เป็นเจ้าของ >> อ่านต่อ  “บ้านชุมดวง” การคืนชีวิตบ้านไม้ 100 ปี ใกล้พัง ใน 97 วัน เจ้าของ: คุณโสภณ  ปลูกสร้าง บ้านไม้สักทองทั้งหลังอายุ 90 -120 ปีโดยประมาณ ซึ่งเป็นบ้านของตระกูลใหญ่ในจังหวัดสุโขทัย ที่คุณบาส – […]

บ้านหน้าแคบ

รวม 8 บ้านหน้าแคบ แต่ภายในแอบแซ่บ

บ้านหน้าแคบ คือ หนึ่งในปัญหาที่ท้าทายสำหรับสถาปนิก ซึ่งจะต้องคิดหาหนทางการแก้ปัญหาให้เจ้าของบ้านได้มีพื้นที่ใช้สอยอย่างพอเพียง

บ้านไม้สักชั้นเดียว อบอุ่น โปร่งสบาย

บ้านไม้ถอดประกอบที่คิดต่อยอดจากภูมิปัญญาของคนที่อยู่กับแหล่งไม้สัก ผสานเทคนิคงานไม้เข้ากับการรู้จักธรรมชาติของไม้สักอย่างถ่องแท้ เพื่อให้แต่ละส่วนของ บ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียว มีความสวยงามและใช้ไม้ได้อย่างคุ้มค่า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PREBUILT ASIA บ้านไม้ถอดประกอบอาจดูเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป ทั้งจากเรือนไทยโบราณและบ้านน็อกดาวน์ในสมัยนี้ แต่บ้านหลังนี้ซึ่งออกแบบโดย คุณปอย - ปวีณา ถือคำ แห่ง PREBUILT ASIA สถาปนิกสาวที่คิดต่อยอดภูมิปัญญางานไม้ที่มาจากกิจการโรงไม้ของครอบครัวในจังหวัดแพร่ มาสู่การออกแบบ บ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียว ที่เริ่มคิดจากธรรมชาติของไม้สัก ตั้งแต่การเลือกแหล่งปลูก อายุ ขนาด และวิธีการประกอบ เพื่อให้ใช้ไม้ประกอบเป็นแต่ละส่วนของบ้านอย่างคุ้มค่าที่สุด ปัจจุบันยังรับออกแบบและสร้างบ้านสำเร็จรูปและออกแบบตามบ้านตามความต้องการ โดยใช้ระบบคำนวณแบบ BOQ ด้วยภูมิประเทศของจังหวัดแพร่ที่เป็นภูเขาและมีป่าสักมาก ที่นี่จึงเป็นแหล่งไม้สักคุณภาพดีของประเทศ ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเกี่ยวกับไม้สัก และการได้คลุกคลีกับวัตถุดิบมานานจากรุ่นสู่รุ่น จึงเข้าใจธรรมชาติของไม้ในแต่ละช่วงอายุว่าเหมาะกับการนำมาใช้งานอย่างไร อีกทั้งยังรู้จักการเลือกไม้คุณภาพดี การเตรียมไม้ก่อนนำมาใช้ และมีช่างที่มีความชำนาญ ดังนั้นเมื่อคุณปอยเรียนจบจึงคิดออกแบบบ้านไม้สักระบบกึ่งสำเร็จรูปให้เป็นบ้านไม้สไตล์เอเชียร่วมสมัย ซึ่งมีจุดเด่นตรงการใช้พื้นที่ต่อเนื่องร่วมกัน โดยไม่แบ่งเป็นห้อง ๆ ขาดจากกัน นอกจากจะมีพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนรวม มีพื้นที่ภายนอกและภายในแล้ว ยังมีพื้นที่ก้ำกึ่ง (Semi Space) ที่ใช้เชื่อมพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น ชาน เฉลียง และทางเดิน อย่างบ้านนี้มีพื้นที่เฉลียงและชาน 18 ตารางเมตร และภายในบ้าน 36 ตารางเมตร จึงออกแบบให้เดินเข้ามาเจอชานที่เปิดโล่งก่อน แล้วจึงเดินขึ้นมาบนเฉลียงที่มีหลังคาคลุม เป็นการค่อยๆปรับความรู้สึกจากพื้นที่โล่งไปยังพื้นที่ปิดล้อม จากนั้นจึงค่อยขึ้นไปบนบ้านซึ่งเป็นห้องมีผนังปิดล้อมโดยออกแบบเป็นโถงโล่ง มีระยะระหว่างเสา 3 x 3 เมตร ซึ่งคิดจากการใช้พื้นที่ที่เมื่อยืนอยู่แล้วพอจะเอื้อมไปรอบๆได้ง่าย และสัมพันธ์กับความยาวไม้มาตรฐานที่ยาว 3 - 4 เมตร โดยคิดเป็นยูนิต และนำแต่ละยูนิตมาต่อกัน แม้อยู่เฉลียงภายนอกบ้านก็ยังมองเห็นหรือพูดคุยกับคนในบ้านได้เพราะพื้นที่ภายในกับภายนอกต่อเนื่องกัน การก่อสร้างบ้านให้ทำฐานรากคอนกรีตหล่อในที่ แล้วยกส่วนประกอบบ้านเป็นชิ้นๆ หรือเป็นแผงมาประกอบกันที่หน้างาน เลือกใช้ไม้สักป่าปลูกอายุ 20 ปี ซึ่งเป็นอายุที่คุ้มค่าที่สุด คือเนื้อไม้มีความแข็งแรงพอ สามารถปลูกทดแทนได้เร็ว และเลือกแปรรูปไม้จากส่วนต่างๆ แล้วนำไปใช้งานให้เหมาะกับความแข็งแรง อย่างแก่นไม้ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดจะนำมาทำโครงสร้าง ส่วนที่ไม่ได้รับน้ำหนักใช้ไม้ที่แข็งแรงน้อยกว่า หรือใช้ไม้อายุน้อยกว่าได้ อีกทั้งออกแบบโครงสร้างประหยัดไม้ โดยใช้ไม้ขนาดเล็ก หน้าตัด 3 x 3 นิ้ว 4 ท่อนมาประกอบเป็นเสาบ้านให้มีช่องว่างห่างกันแล้วดามจุดต่อ 3 จุด คือตรงหัวเสา ฐานเสา และกลางเสา เพื่อช่วยรับแรง อีกทั้งยังมีข้อดีที่สามารถนำคานมาเสียบเข้าช่องว่างระหว่างเสาได้เลย และยังสามารถซ่อนไฟไว้ในเสาแทนการใช้โคมไฟได้ด้วย ที่สำคัญเป็นการลดการใช้ทรัพยากร เพราะการใช้เสาต้นใหญ่จะต้องใช้ไม้ที่มีอายุมากขึ้น หากพินิจดูแต่หน้าตาของบ้าน อาจจะดูพิเศษกว่าบ้านไม้อื่นๆ ที่มีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่เมื่อได้รู้แนวความคิดที่เริ่มจากต้นทางของไม้ นำมาสู่การออกแบบที่พอดี ก็ทำให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านสวยที่ไม่ธรรมดาเลย เรื่อง : ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์ ภาพ : ธนาวุฒิ โชติประดิษฐ สไตล์ : ธัญญานันท์ ศรีชัยวรรณ “บ้านชุมดวง” การคืนชีวิตบ้านไม้ 100 ปี ใกล้พัง ใน 97 วัน บ้านมะค่าโมง บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่มีลมโกรกตลอดทั้งปี บ้านในใจ…บ้านหน้าจั่วที่กลั่นความในใจสู่บ้านสุดอบอุ่น

รวมบ้านน่าอยู่ที่มีเล้าไก่เจ๋งๆ ไว้เก็บผลผลิตกินเอง

ในยุคที่โควิด – 19 ระบาด ออกไปไหนก็ลำบาก ไหนจะเศรษฐกิจฝืดเคือง การมีแหล่งอาหารในบ้านกลายเป็นสิ่งที่คนไทยเริ่มมองหา นอกจากการปลูกผักสวนครัวแล้ว การเลี้ยงไก่ไว้กินไข่ก็กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากไข่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี และวัตถุดิบคู่ครัวไทย อีกทั้งไก่บางสายพันธุ์เองก็เป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักน่าเอ็นดู สร้างความเพลิดเพลินได้ไม่น้อย “เล้าไก่” จึงกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สามารถออกแบบให้ล้อรับไปกับดีไซน์ของบ้าน หรือเป็นส่วนหนึ่งของบ้านได้อย่างไม่ขัดเขินอีกต่อไป เล้าไก่สวยๆ สามารถออกแบบได้ตามความต้องการของเจ้าของบ้าน แต่มีสิ่งหนึ่งที่อาจทำให้เจ้าของบ้านหลายคนกังวลใจ นั่นคือกลิ่นเหม็นของมูลไก่ แต่รู้หรือไม่การวางตำแหน่งเล้าไก่ในทิศที่เหมาะสม ช่วยลดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นได้ ตำแหน่งการสร้างเล้าไก่หรือโรงเรือนเลี้ยงไก่มีความสำคัญมาก เพราะส่งผลต่อการออกไข่ของไก่ หากโรงเรือนตั้งอยู่ในทิศทางที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้เกิดการถ่ายเทอากาศ ลดอุณหภูมิ ลดความชื้น ลดปริมาณฝุ่นละออง ที่สำคัญคือลดกลิ่นได้ด้วย พื้นโรงเรือนไม่อับชื้นหรือเป็นที่สะสมของสิ่งสกปรก ไก่จะไม่เจ็บป่วยและออกไข่ได้ดี การสร้างโรงเรือนควรตั้งตามแนวยาวทิศตะวันออก – ตะวันตก หากตั้งโรงเรือนขวางแสงอาทิตย์จะทำให้มีพื้นที่สำหรับให้ไก่หลบความร้อนจากแสงแดดได้น้อย ทำให้เสียเนื้อที่โดยเปล่าประโยชน์เมื่อแสงแดดส่องในตอนบ่าย ตัวโรงเรือนอาจตั้งเฉียงออกจากแนวทิศตะวันออก – ตะวันตกได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรเกิน 7 องศาตามแนวทิศตะวันออกไปทางทิศใต้ ทริคเล็กๆ ที่ใช้ได้ผลในการดับกลิ่นมูลไก่คือการทำความสะอาดและเก็บมูลไก่ไปเป็นปุ๋ยให้พืชผัก หรือจะแก้ด้วยการใช้สาร EM โรยที่ฟางรองพื้นก็ช่วยลดกลิ่นได้ดีเช่นกัน เรามีตัวอย่างบ้านน่าอยู่ที่ออกแบบให้มี เล้าไก่สวยๆ อยู่ภายในบริเวณบ้าน มาให้ชมเป็นไอเดียกัน ดังนี้ บ้านไร่ไออรุณ … […]

บ้านปูนทรงกล่องที่เต็มไปด้วยของสะสม

บ้านปูนสองชั้นที่ออกแบบมาจากชีวิตของผู้อยู่อาศัย ที่ลงลึกไปถึงรายละเอียดความชอบของสมาชิกแต่ละคน นำไปสู่การหาจุดร่วมที่เหมือนกัน นั่นคือทุกคนมีความคุ้นเคยกับเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าและของใช้สมัยก่อน ซึ่งทำให้เกิดบรรยากาศอันแสนอบอุ่นในบ้าน และมีส่วนทำให้คนในครอบครัวมีความสุขมากๆ ที่ได้อยู่ในบ้านหลังนี้ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Volume of Love Architect การได้มาพูดคุยกับคนที่รักบ้านหรือรักในสิ่งที่เขาเป็นอยู่ เหมือนการได้นั่งเครื่องย้อนเวลากลับไปมีความรู้สึกร่วมกับภาพในอดีต นอกจากเรื่องดีๆที่พรั่งพรูออกมาพร้อมรอยยิ้ม ยังสัมผัสได้ถึงหัวใจที่พองโต พร้อมจะสูบฉีดความปีติให้ออกมาท่วมท้นทุกความรู้สึก ซึ่ง คุณชัช – ชัชวาลและคุณเล็ก – อุไรวรรณ เกษรมาลา ได้ร่วมกันเก็บเกี่ยวทุกความผูกพันและคลุกเคล้าให้เข้ากันใน บ้านปูนสองชั้น ที่อบอุ่นหลังนี้ ครั้งแรกที่ได้มาเยือนบ้านหลังนี้เป็นช่วงเย็นในวันอากาศดี นอกจากจะเห็นบ้านปูนผนังสีเหลืองที่ตกแต่งด้วยไม้เก่าดูอบอุ่นแล้ว เรายังเห็นรอยยิ้มต้อนรับจากเจ้าของบ้านและ อาจารย์เบิร์ด – อัครพงศ์ อนุพันพงศ์ สถาปนิกและอาจารย์ประจำสาขาสถาปัตยกรรม  ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม   สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่กำลังนั่งคุยกันบนระเบียงไม้หน้าบ้านที่มีลมพัดโชยเอื่อยๆพอสบายตัว หลังจากทักทายและเดินชมบ้านสองชั้นที่เน้นการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์เก่าและของสะสมแล้ว วงสนทนาขนาดย่อมก็เริ่มขึ้นภายในห้องรับประทานอาหารที่อยู่ถัดจากระเบียงไม้หน้าบ้าน มีตู้ไม้เก่าหลายใบที่ใช้เก็บของและโชว์ของสะสม ทั้งชุดจานแก้วซึ่งมารู้ภายหลังว่าเป็นของขวัญวันแต่งงานของคุณพ่อคุณแม่ หรือภาพวาดฝีมือ น้องเถาทอง เกษรมาลา ลูกชายของคุณชัชและคุณเล็ก “ในช่วงแรกที่ดินสำหรับสร้างบ้านเป็นที่ดินหน้าแคบเพียง 11 เมตร พื้นที่ 55 ตารางวา […]

รวมแบบบ้านหลังเล็ก สวยน่ารัก ตอบโจทย์คนรักสันโดษ

ชม แบบบ้านหลังเล็กอยู่สบาย 4 สไตล์ ที่แม้จะเป็นบ้านไซส์เอส (S) ดู "คับที่" แต่ในด้านดีไซน์และการใช้งานนั้นจัดได้ว่า "คับแก้ว" จิ๋วแต่แจ๋ว

บ้านไม้ใต้ถุนสูงสีขาว

บ้านไม้ สีขาวใต้ถุนสูง ในวงล้อมของสวน

บ้านไม้ ใต้ถุนสูงสีขาว ที่ตั้งอยู่กลางวงล้อมของสวนอังกฤษซึ่งรายรอบด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ตัวบ้านมีขนาดกะทัดรัดโดยสร้างจากเรือนไม้เก่าที่เจ้าของบ้านออกแบบให้มีหน้าตาที่ดูร่วมสมัยมากขึ้น ตกแต่งด้วยข้าวของสไตล์คลาสสิกที่ดูสวยหวาน

1 ห้องนอนกลางทุ่งนา ในบ้านชั้นเดียวสไตล์โคโลเนียล

บ้านพักผ่อนสไตล์โคโลเนียลที่มีเพียง 1 ห้องนอน 1ห้องนั่งเล่น โดยออกแบบให้พื้นห้องมีระดับต่างกัน เพื่อเป็นการแยกสัดส่วนแทนการทำกำแพง จึงได้ความรู้สึกเหมือนว่าทั้งบ้านมีห้องเดียว  บ้านชั้นเดียวสไตล์โคโลเนียล เจ้าของ-ออกแบบตกแต่ง : คุณสุริยา เสาร์หมื่น เมื่อถึงคราวต้องออกแบบบ้านของตัวเอง คุณสุริยา เสาร์หมื่น สถาปนิกลูกล้านนาโดยกำเนิด ผู้มีพื้นเพอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่ กลับต้องคิดให้มากยิ่งกว่าการออกแบบให้ผู้อื่น  บ้านชั้นเดียวสไตล์โคโลเนียล “หลายคนติดภาพว่าผมถนัดการออกแบบสไตล์ล้านนา เลยพลอยคิดว่าผมทำเป็นแต่สไตล์นี้เท่านั้น จริงๆแล้วนั่นเป็นเพียงโอกาสหนึ่งที่ทำให้เราได้ทำงานตรงนั้น และก็กลายเป็นเหตุผลหนึ่งซึ่งทำให้ผมอยากจะเลี่ยงงานแบบนั้นเมื่อทำบ้านของตัวเอง ไม่ใช่ว่าไม่ชอบ แต่ผมอยากได้บ้านที่เป็นบ้านของผมเอง” นอกจากออกแบบบ้านให้ตัวเองแล้ว คุณสุริยายังต้องทำเผื่อเพื่อนอีกสามคนด้วย เพราะทั้งสี่คนร่วมกันซื้อที่ดินผืนหนึ่งกลางทุ่งนาในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และแบ่งสร้างเป็นบ้าน 4 หลัง อีกส่วนหนึ่งสร้างเป็นโรงแรมขนาดเล็กชื่อว่า “at Villa Sansai” โดยออกแบบสิ่งก่อสร้างทั้งหมดให้กลมกลืนกัน บ้านทั้งสี่หลังเป็นบ้านชั้นเดียว มีขนาดและรูปทรงภายนอกใกล้เคียงกัน ส่วนภายในจะแตกต่างกันไปตามบุคลิกของเจ้าของบ้านแต่ละคน “ผมออกแบบบ้านหลังนี้โดยเริ่มต้นจากการคิดถึงพื้นที่ภายในก่อน เพราะมีประสบการณ์จากบ้านหลังเดิมที่กั้นแต่ละส่วนเป็นห้องเล็กๆ ทำให้รู้สึกอึดอัดเหมือนอยู่ในกล่อง ผมอยากให้พื้นที่เกือบทุกส่วนในบ้านหลังนี้เปิดถึงกัน ดังนั้นจึงออกแบบให้พื้นห้องมีระดับต่างกัน เพื่อเป็นการแยกสัดส่วนแทนการทำกำแพง จึงรู้สึกเหมือนว่าทั้งบ้านมีห้องเดียว” บ้านหลังนี้มีทางเข้าสองด้าน ทางเข้าหลักอยู่ด้านหน้าออกแบบเป็นซุ้มประตูยื่นออกมาจากตัวบ้าน บานประตูเป็นไม้เก่าจากประเทศอินเดียแกะลายอย่างละเอียดลออ บริเวณนี้ยังทำม้านั่งปูนหล่อไว้ด้วย ส่วนทางเข้าอีกด้านเป็นทางเดินขนานกับโรงรถ ต้องเดินผ่านซุ้มประตูซึ่งมีลักษณะคล้ายซุ้มเรือนแก้ว ทางเข้านี้นำไปสู่ชานพื้นปูนด้านหลังบ้าน ภายในบ้านแบ่งพื้นที่เป็นสองส่วนใหญ่ๆ […]

บ้านปูนเปลือยชั้นเดียว

5 แบบ บ้านปูนเปลือยชั้นเดียว สำหรับเป็นไอเดียในการสร้างบ้านในต่างจังหวัด

นอกจากความสวยเท่ที่โชว์พื้นผิวของวัสดุแบบดิบๆแล้ว เสน่ห์ของ บ้านปูนเปลือยชั้นเดียว ยังอยู่ที่การดูแลรักษาง่าย

บ้านไม้ชั้นเดียว เกี่ยวหัวใจให้ผ่อนคลาย

บ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูงแสนสงบที่แทรกตัวอยู่กลางธรรมชาติริมฝั่งแม่น้ำนครนายกหลังนี้ เป็นที่พักกายพักใจจากชีวิตวุ่นวายในเมืองหลวง จะมีก็เพียงเสียงของธรรมชาติและสายน้ำที่อยู่เบื้องหน้าเท่านั้นที่เห็นเมื่อไรก็ชวนให้หัวใจรู้สึกสดชื่นรื่นรมย์อยู่เสมอ บ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง เจ้าของ – ออกแบบ : คุณหนุ่ม  บ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง บางครั้งเมื่อเราเบื่อชีวิตในเมือง การได้ออกมาใช้ชีวิตในต่างจังหวัดที่ไม่มีทั้งทีวี วิทยุ หรือโทรศัพท์ อาจช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและสามารถเติมเชื้อไฟให้คุณกลับมามีแรงลุยงานใหม่ได้อีกครั้ง คุณหนุ่ม เจ้าของบ้านไม้แห่งนี้ มีความคิดว่าอยากมีบ้านริมน้ำมานานแล้ว จนวันหนึ่งมีโอกาสได้มาพบที่ดินที่เขาต้องการ ซึ่งบางคนไม่แน่ใจว่าจะนำมาสร้างบ้านดีหรือไม่ เพราะมีที่ดินติดกับวัด ตั้งห่างจากถนนหลักร่วมกิโล แถมถนนทางเข้ายังเป็นฝุ่นดินลูกรังอีกต่างหาก แต่เมื่อมาเห็นบรรยากาศริมน้ำที่ร่มเย็นและอัธยาศัยไมตรีที่น่ารักของเพื่อนบ้าน ทำให้เขาตัดสินใจซื้อที่ดินผืนนี้และเริ่มสร้างบ้านในฝันทันที บ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 200 ตารางเมตร วางแปลนแบ่งออกเป็นสองส่วน มีระเบียงรอบๆบ้านเพื่อความใกล้ชิดธรรมชาติเรือนหลังแรกใช้เป็นบ้านพักส่วนตัวสำหรับพักผ่อนและใช้เวลาว่างอ่านหนังสือเงียบๆ ส่วนอีกหลังใช้เป็นที่รับรองแขกผู้มาเยือน ต่อเนื่องกับระเบียงกว้างยื่นสู่แม่น้ำใช้เป็นที่สังสรรค์ยามค่ำคืน ออกแบบบ้านให้ยกพื้นสูงประมาณ 1-2 เมตร โดยไล่ระดับจากถนนทางเข้ามาจนถึงริมตลิ่ง เพื่อป้องกันน้ำท่วมในช่วงหน้าน้ำและเพื่อคงสภาพดินตามธรรมชาติไว้ เรือนไม้ทั้งสองหลังนั้นซื้อต่อมาจากบ้านเก่าที่กำลังรื้อทิ้งแล้วขนส่งนำชิ้นส่วนมาประกอบตกแต่งใหม่ตามความต้องการและเงื่อนไขของโครงสร้างเดิม โดยไม่ได้ตกแต่งผิวไม้เลยทำให้ได้บ้านที่มีบรรยากาศย้อนยุคพร้อมผิวสัมผัสอบอุ่นของไม้เก่าในสภาพเดิมจริงๆ ภายในบ้าน คุณหนุ่มตกแต่งด้วยของเก่าที่หาซื้อได้ในตลาดละแวกบ้าน และใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ดูเรียบง่ายผสมผสานกับวัสดุธรรมชาติและวัสดุเหลือใช้ที่ได้จากงานรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานที่คุณหนุ่มเคยทำมาก่อน เมื่อนำทั้งหมดมาบวกเข้ากับไอเดียสนุกๆก็สามารถสร้างสรรค์พื้นที่เฉพาะตัว อย่างห้องครัวเรือนไม้ ห้องน้ำเปิดโล่ง หรือของตกแต่งอย่างโคมไฟประดิษฐ์ ที่ทั้งหมดล้วนสวยงามแปลกตา แต่ก็แฝงไว้ด้วยความสมถะแบบชาวบ้าน ทำให้บ้านดูร่มรื่นเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร มองไปมุมไหนก็ดูผ่อนคลายสบายตา เห็นแล้วคงทำให้หลายๆคนอยากทำบ้านในฝันของตัวเองให้เป็นจริงบ้างเหมือนกันใช่ไหม เรื่อง : […]