© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านตู้คอนเทนเนอร์ อยู่ได้จริง เป็นบ้านสวยที่อยู่อาศัยได้สะดวกสบายเหมือนบ้านทั่วไป คลิกชมไอเดียได้เลย
การสร้างแหล่งอาหารได้จากในบ้านของตัวเองทำให้เราสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน บ้านสวยทั้ง 5 หลังที่เรานำมาให้ชมกันนี้เป็นตัวอย่างของการออกแบบบ้านให้มีแปลงผักส่วนตัว บางหลังยังเลี้ยงสัตว์อย่างไก่ ปลา กุ้ง เพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารในครัวเรือนกันด้วย ซึ่งการเปลี่ยนบ้านให้เป็นฟาร์มไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นบ้านในชนบทเท่านั้น แม้แต่ทาวน์เฮ้าส์ในเมืองก็สามารถมีแหล่งอาหารเป็นของตัวเองได้ ลองเลื่อนชมไอเดียของบ้านแต่ละหลังกันได้เลย บ้านฟาร์มปลูกผักกินเอง 1. ชีวิตธรรมดาในบ้านไม้ใต้ถุนสูง เจ้าของ : คุณสายันต์ ทิพย์แสง และคุณอารมณ์ วิรัชศิลป์ บ้านฟาร์มปลูกผักกินเอง สถาปนิก : Studio Miti โดยคุณประกิจ กัณหา ตกแต่งภายใน : บริษัทเอเดค อินทีเรียส์ จำกัด บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่ออยู่อาศัยอย่างเรียบง่าย รูปทรงของบ้านยังได้แรงบันดาลใจจากบ้านทรงไทยมอญของชุมชนใกล้เคียงมาปรับใช้ เพื่อเลี่ยงปัญหาพื้นที่น้ำท่วมถึง พร้อมๆ ไปกับวางแผนทำเกษตรกรรมแบบพอเพียงในพื้นที่รอบๆ บ้าน ตามทฤษฎีของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตั้งแต่จัดแบ่งพื้นที่สำหรับทำบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้และเลี้ยงปลา 30 เปอร์เซ็นต์ ปลูกข้าว 30 เปอร์เซ็นต์ ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ 30 เปอร์เซ็นต์ และเป็นที่อยู่อาศัย 10 เปอร์เซ็นต์ […]
บ้านหลังใหญ่ทรงสี่เหลี่ยมให้กลิ่นอายของบ้านริมทะเล ทว่ากลับตั้งอยู่บนพื้นที่ 1 ไร่ที่แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับการปลูกพืชผักไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ รวมทั้งขยับขยายไปถึงการเลี้ยงไก่ไข่และกุ้งก้ามแดงหรือที่เรียกกันว่าล็อบสเตอร์น้ำจืด จึงมีผลผลิตพร้อมให้เก็บกินได้ทุกวัน ในอนาคตยังตั้งใจให้ที่นี่เป็นพื้นที่ที่ช่วยถ่ายทอดส่งต่อแรงบันดาลใจในเรื่อง “เกษตรแบบง่ายๆ ไม่มีทฤษฎีแต่ได้ผลดี” ที่เปิดให้เด็กๆและครอบครัวเข้ามาเรียนรู้ธรรมชาติอีกด้วย เกษตรในเมือง เจ้าของ : คุณอรรถกานท์ พิมพ์วงศ์ คุณเบญจมาศ อ่อนกล่ำผล และเด็กชายในศีล พิมพ์วงศ์ เกษตรในเมือง เกษตรในเมือง บ้านหลังใหญ่ทรงสี่เหลี่ยมกินพื้นที่ไม่มากเมื่อเทียบกับพื้นที่สวนภายในรั้วเดียวกัน คุณเจ๋ง – อรรถกานท์ พิมพ์วงศ์ คุณเบญ – เบญจมาศ อ่อนกล่ำผล และน้องโอเซน – เด็กชายในศีล พิมพ์วงศ์ เจ้าของบ้านต้อนรับพวกเราแต่เช้าด้วยรอยยิ้ม และพาพวกเราเดินเที่ยวชมสวนพร้อมกับลูกสมุนอีกหลายตัวที่วิ่งตามอยู่ไม่ห่าง บนพื้นที่ 1 ไร่แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับการปลูกพืชผักไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ มีทั้งแปลงที่ปลูกผักไว้หลากหลายชนิด อย่างผักคอส เรดโอ๊ค กรีนโอ๊ค กวางตุ้ง คะน้า และมีอีกหลายแปลงที่เตรียมดินไว้รอการลงเมล็ด อีกฝั่งยังมีพืชผักสวนครัวอีกมากมายอย่างพริก แตงกวา มะเขือ มะละกอ เรียกได้ว่าพร้อมให้เก็บกินได้ทุกวัน โดยคุณเจ๋งบอกว่าเป็นหลักในการปลูกคืออยากกินอะไรก็ปลูกเลย “ตอนแรกที่นี่เป็นสวนมะม่วง สวนผลไม้ พอมีลูกก็เริ่มคิดว่าเราอยากหาอะไรให้เขาเล่นให้เขาได้อยู่กับธรรมชาติ […]
ชมงานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นแบบญี่ปุ่นเที่น้อยแต่มาก ซึ่งเป็นไอเดียการออกแบบ บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น เหล่านี้กันได้เลย
เชื่อว่าหลายคนเคยมีความคิดอยากมี บ้านขนาดเล็กอยู่สบาย สักหลังที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติมองไปทางไหนก็เห็นแต่สีเขียว ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น
บ้านวัยเกษียณ เมื่ออายุมากขึ้นผู้สูงอายุจะมีสุขภาพถดถอยและสภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม หลายคนจากที่เคยทำงานก็ต้องมาอยู่บ้านเฉยๆ ลูกหลานในบ้านจึงต้องดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ
แม้ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะรุ่มรวยด้วยวัฒนธรรมเก่าแก่ และมีทรัพยากรธรรมชาติงดงามมากเพียงใด หากแต่ในแง่ของการออกแบบสถาปัตยกรรมแล้ว บ้านสไตล์อีสานมีการนำเสนอให้เห็นไม่มากเท่าที่ควร ด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่ายตามขนบธรรมเนียมของคนท้องถิ่น ทำให้รูปแบบของเฮือนอีสานหรือเรือนไทยอีสานดูเรียบง่ายกว่าเรือนไทยภาคกลางที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย แต่ถึงอย่างไรก็เปี่ยมด้วยคุณค่าทางศิลปะพื้นถิ่นอย่างงดงาม เหมือนเช่นบ้านทั้ง 4 หลังที่เรานำมาให้ชม แม้ไม่ใช่รูปแบบของเรือนอีสานดั้งเดิม ทว่าก็มีแนวคิดและกลิ่นอายบางประการมาผสมผสานให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน กลายเป็นบ้านที่น่าอยู่และทำให้ผู้อยู่อาศัยได้ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติเหมือนเช่นที่เคยเป็นมา บ้านไม้อีสานอยู่สบาย สงบร่มรื่นในบ้านไทยอีสาน เจ้าของ : คุณศักดา – คุณอรพินท์ ศรีสังคม ออกแบบ : อาศรมสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม สถาปนิกที่ปรึกษา : คุณธีรพล นิยม สถาปนิกโครงการ : คุณศักดิ์ชาย โกมลโรจน์ และคุณอรพิมพ์ ตันติพัฒน์ ตกแต่งภายใน : คุณศักดิ์ชาย โกมลโรจน์ ด้วยความที่เจ้าของบ้านชื่นชอบบ้านเรือนไทยมาตั้งแต่เด็ก บวกกับได้รับอิทธิพลมาจากคุณพ่อซึ่งหลงรักวัฒนธรรมอีสาน ผู้ออกแบบจึงนำลักษณะที่สำคัญของการปลูกเรือนอีสานมาประยุกต์ให้เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ เช่น การออกแบบพื้นที่ชั้นล่างให้เป็นเหมือนใต้ถุนโล่ง เพื่อให้ได้ใกล้ชิดธรรมชาติรอบตัว โดยเฉพาะทุ่งปอเทืองหน้าบ้าน มีชานหลังคายื่นออกไปเป็นพื้นที่อเนกประสงค์และรับแขกได้ บ้านหลังนี้มีลักษณะคล้ายเรือนสามหลังที่มีชานแดดผูกติดกันตรงกึ่งกลาง เพื่อให้ลมพัดผ่านได้สะดวกทุกพื้นที่ เรือนแต่ละหลังมีชายคายื่นยาวเพื่อป้องกันแดดและฝน ชั้นล่างใช้ผนังดินอัดเพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนหน่วงความร้อนให้บ้านเย็นลงในช่วงกลางวัน ส่วนหลังคาไม้ก็ปรับไปใช้หลังคาไม้ซีดาร์ วัสดุส่วนใหญ่เลือกใช้ไม้เพราะมีความเป็นธรรมชาติ ซึ่งดูดและคายความร้อนได้รวดเร็ว >>> […]
ช่วงปลายปีอย่างนี้ หลายคนมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปเที่ยวและสัมผัสบรรยากาศลมหนาว โฮมสเตย์กลายเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่อยากสัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่ายแบบคนในพื้นที่ และ 3 โฮมสเตย์ที่เรานำมาให้ชมกันนี้ออกแบบสร้างจากหลองข้าวเก่าได้อย่างสวยงามลงตัว เป็น ที่พักเชียงใหม่ สไตล์ไทย ที่น่าลองไปพักผ่อนกันดูสักที หลองข้าวหรือเรือนยุ้งข้าวนั้นถือเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของบ้านล้านนา ซึ่งจะต้องมีสถานที่ไว้สำหรับเก็บข้าวเปลือกไว้กินตลอดทั้งปี ลักษณะเป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง ยิ่งหลองข้าวมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งสะท้อนความมั่งคั่งของบ้านหลังนั้นได้ ปัจจุบันมักนำมาดัดแปลงเป็นที่พักอาศัยที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นจากสัมผัสที่เป็นธรรมชาติของเนื้อไม้ ที่พักเชียงใหม่ สไตล์ไทย จำนวนไม่น้อยจึงได้นำมาออกแบบเป็นเรือนพัก เพื่อมอบประสบการณ์ในการพักแบบใหม่ที่อาจทำให้ใครหลายคนประทับใจ จนอยากมีหลองข้าวเป็นของตัวเองก็ได้นะ ใช้ชีวิตผ่อนคลายแบบพอดี ในเรือนพักหลองข้าว อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ สถานที่: วิลล่า มัชฌิมา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จากหลองข้าวเก่ามาสู่เรือนพักผ่อนที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติอันร่มรื่นท่ามกลางบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัวในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของตั้งใจเก็บสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและสามารถใช้งานได้จริง โดยตั้งชื่อไว้ว่า “วิลล่า มัชฌิมา” เพื่อบอกถึงการใช้ชีวิตตามหลักทางสายกลาง ตัวเรือนพักประกอบขึ้นมาจากหลองข้าวเก่า 2 หลัง มีซุ้มทางเดินเชื่อมอยู่ตรงกลาง แต่ละหลังจึงแบ่งเป็นห้องพักอย่างละหนึ่งห้องนอน พร้อมระเบียงไม้ขนาดกว้าง และมีลานนั่งเล่นส่วนกลางใช้จิบน้ำชากาแฟหรือเอนหลังอ่านหนังสือได้สบาย ส่วนใต้ถุนของทั้งสองหลังปรับให้เป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนกลางซึ่งประกอบด้วยมุมนั่งเล่น มุมรับประทานอาหาร มุมอ่านหนังสือ และห้องครัวซึ่งมีอุปกรณ์สำหรับทำอาหารไว้อย่างครบครัน แต่เสน่ห์ของโฮมสเตย์ในรูปแบบเรือนไทยนี้อาจไม่ครบสมบูรณ์ หากขาดความร่มรื่นทางธรรมชาติ เจ้าของจึงได้บรรจงปลูกและเติมแต่งไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ใหญ่ที่คอยให้ร่มเงา ไม้ทรงพุ่มให้ความรื่นรมย์ในระดับสายตา หรือไม้กระถางน้อยใหญ่มาเติมเต็มพื้นที่สีเขียวรอบๆ ถ้าต้องการจะมาดื่มด่ำธรรมชาติและความสงบสบายของที่นี่ ขอแนะนำให้ติดต่อนัดหมายพูดคุยกันล่วงหน้ากันก่อน เพื่อให้เจ้าบ้านเตรียมตัวพร้อมต้อนรับและยังอาจมีเวลาแนะนำที่เที่ยวแนวธรรมชาติที่ซุกซ่อนอื่นๆ ภายในชุมชนให้อีกด้วย >>> […]
บ้านทรงไทย จากหลองข้าวเก่ามาสู่เรือนพักผ่อนที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติอันร่มรื่นท่ามกลางบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัวในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของตั้งใจเก็บสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและสามารถใช้งานได้จริง โดยตั้งชื่อไว้ว่า “วิลล่า มัชฌิมา” เพื่อบอกถึงการใช้ชีวิตตามหลักทางสายกลาง สถานที่: วิลล่า มัชฌิมา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ บ้านไม้ใต้ถุนสูงสไตล์ล้านนา สันกำแพงเป็นอำเภอที่อยู่ทางตะวันออกของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใช้เวลาเดินทางออกมาจากกลางเมืองเพียงครึ่งชั่วโมงก็สัมผัสได้ถึงธรรมชาติและความสงบเงียบแบบชนบท และที่นี่ยังมีโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางแมกไม้น้อยใหญ่ ด้วยถนนขนาดเล็กด้านหน้าเป็นเหมือนปราการช่วยกั้นไม่ให้ความวุ่นวายและเสียงรบกวนจากรถยนต์ขนาดใหญ่เข้ามาถึง ภายในจึงสงบเงียบจนได้ยินเสียงใบไม้ไหวตามแรงลมและเสียงนกน้อยเจื้อยแจ้วอย่างชัดเจน เมื่อแหงนหน้าขึ้นมองฟ้าจึงเห็นเรือนไม้ไทยโบราณอยู่ด้านหลังแนวรั้วต้นไม้สีเขียวครึ้ม ดูจากลักษณะที่ตั้งของเรือนไทยเก่าพอจะบอกได้ว่าที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนขนาดเล็กซึ่งอยู่กันแบบเรียบง่าย จึงไม่มีการกั้นรั้วสูงจนมองไม่เห็นเพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่อาศัยต้นไม้เป็นขอบเขตธรรมชาติทางสายตา และที่นี่เองที่เป็นโฮมสเตย์ในชื่อ วิลล่า มัชฌิมา ที่พักสำหรับคนโหยหาธรรมชาติและความสงบในทางสายกลางที่พอดีกับจิตใจ คุณปู- ชยสิริ วิชยารักษ์ ผู้หญิงซึ่งเคยเป็นที่รู้จักในฐานะเจ้าแม่อาคารโบราณ ผู้ปลุกปั้นบ้านเก่าทิ้งร้างกว่า 20 ปีริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กลายเป็น “พระยา พาลาซโซ” โรงแรมบูติกสุดสวย เธอมาเจอเรือนไม้เก่าหลังนี้ที่กำลังบอกขาย ด้วยความเสียดายไม่อยากให้สถาปัตยกรรมไทยโบราณต้องถูกรื้อทิ้งแยกส่วนขายเป็นชิ้นไม้เก่า ก็เลยตัดสินใจขอซื้อและลงมือลงแรงบูรณะทั้งหมดขึ้นใหม่ เพื่อปรับปรุงหลองข้าวเก่าของชาวเหนือให้กลายเป็นเรือนพักที่แสนสบาย “ด้วยความที่เป็นหลองข้าวเก่ามีโครงสร้างเป็นไม้แต่ก็มีสเกลใช้งานเล็กๆ ที่ไม่เหมือนบ้าน เมื่อเรานำมาปรับปรุงให้เป็นบ้าน บางอย่างก็ต้องเติม อย่างการเพิ่มสัดส่วนความสูงของพื้นที่ในห้องน้ำ บางอย่างก็ต้องรื้อออกเช่นรายละเอียดที่มากเกินไป อย่างน้อยก็ถือว่าได้เก็บสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและสามารถใช้งานได้จริง โดยตั้งชื่อไว้ว่า ‘วิลล่า มัชฌิมา’ เพื่อบอกถึงการใช้ชีวิตด้วยทางสายกลาง คือมีทั้งธรรมชาติและความสะดวกสบายแบบพอดี” ตัวเรือนพักประกอบขึ้นมาจากหลองข้าวเก่า […]
เอาใจคนรักบ้านสไตล์ล้านนา ด้วยไอเดียการแต่งบ้านไม้ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของภาคเหนือ แต่มีการผสมผสานฟังก์ชันการใช้งาน และความทันสมัยให้สอดรับกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบบ้านมีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นให้ภายในบ้านมีการระบายอากาศที่ดี และมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบบ้าน เพื่อให้คนในบ้านอยู่อาศัยได้อย่างอบอุ่น สบายกายและสบายใจ 1.บ้านตถตา บ้านไม้บนรอยเท้าของชาวล้านนา เจ้าของ : แพทย์หญิงจิตราภรณ์ ความคนึง และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร บ้านล้านนาอยู่สบาย สถาปัตยกรรม: บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด โดยคุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์ ออกแบบภายใน : คุณปรียชนัน สายสาคเรศ ผู้รับเหมา: คุณวันไชย หงษ์แก้ว (สล่าเก๊า) ผู้ควบคุมงาน : ยางนาสตูดิโอ และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร บ้านพื้นถิ่นประยุกต์ที่เลือกเฟ้นไม้เก่าจากบ้านในจังหวัดน่านมาออกแบบใหม่ โดยไม่ทิ้งงานฝีมือเชิงช่างของล้านนา ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านสนใจ นอกจากนี้ผู้ออกแบบยังกำหนดให้ภายในบ้านมีพื้นที่เชื่อมโยงกัน โดยรวมใต้ถุนกับชานเป็นส่วนเดียวกัน สามารถนั่งรับลมได้ภายใต้บรรยากาศที่เสมือนโอบล้อมด้วยป่าใหญ่ ส่วนภายในบ้านก็มีความโปร่งโล่ง สามารถมองเห็นกันและกันได้ในทุกพื้นที่ อีกทั้งการเปิดพื้นที่ส่วนต่างๆ เพื่อรับลมก็ยังเหมาะสมกับภูมิอากาศของเมืองไทยด้วย อ่านต่อ 2.บ้านน้อยบนดอยที่มีวิวภูเขาโอบล้อม 360 องศา เจ้าของ-ออกแบบ : คุณณชนก […]
ที่พักซึ่งดัดแปลงมาจากเรือนยุ้งข้าว ปลูกสร้างในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ สถานที่ : ยุ้งข้าวล้านนา ซอยเวียงกุมกาม 7 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 08-9633 – 2573 โฮมสเตย์ไม้ ออกแบบ – ตกแต่ง : Lanna Architect Ltd. โดยอาจารย์อดุลย์ เหรัญญะ อาจารย์อดุลย์ เหรัญญะ เจ้าของและผู้ออกแบบ ยุ้งข้าวล้านนา ตั้งชื่อที่พักแห่งนี้ได้อย่างน่ารักและสะท้อนภาพความเป็นท้องถิ่นได้ชัดเจน โดยตัวอาคารที่พักนั้นดัดแปลงมาจากเรือนไม้พื้นถิ่น แน่นอนว่าต้องมีเรือนยุ้งข้าวรวมอยู่ด้วย เรือนเหล่านี้เป็นเรือนของชาวบ้านในอดีต ซึ่งนับวันมีแต่จะหายไปจากวิถีชีวิตคนล้านนา เรือนทุกหลังปลูกสร้างในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้โครงสร้างไม้ทั้งหมด มีการตั้งเสายกพื้นสูงทำให้มีบริเวณใต้ถุนตามแบบอย่างบ้านโบราณ และจัดวางกลุ่มเรือนใหม่ แต่ละเรือนออกแบบเป็นที่พักแบบ 2 ห้องนอนหรือ 3 ห้องนอน มีชานไม้และทางเดินเชื่อมต่อกันทุกเรือน นอกจากนี้ยังมีเรือนที่เปิดโล่งไม่มีห้อง ใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ โดยเฉพาะการจัดงานแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ สำหรับห้องพักมีทั้งหมด 20 […]
หลายคนฝันไว้ว่าอยากมี บ้านกลางทุ่ง ที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มองออกไปเป็นทุ่งนาเขียวขจี บ้านและสวนจึงได้รวบรวมบ้านสวยกลางทุ่งนา ที่ใครได้อยู่หรือแค่เพียงได้เห็นรูปก็มีความสุขแล้ว มาฝากกัน...