- Page 4 of 6
ออกแบบ: NEXT architects (https://www.nextarchitects.com/en/) ภาพ: Ossip van Duivenbode

HOUSE BUIKSLOTERHAM บ้านตึกแถวที่ซ่อนตึก 4 ชั้นไว้ภายใน

นี่คือบ้านที่ทลายความเป็นตึกแถวทิ้งไปโดยสิ้นเชิง ด้วยไอเดียการแบ่งซอยชั้นส่วนพักอาศัยแยกย่อยออกจากโครงสร้างปกติ แล้วเลือกใช้โครงสร้างไม้เป็นโครงสร้างหลักคล้ายกับการเติมแกนกลางของตึกขึ้นใหม่ แยกพื้นและผนังอิสระออกจากพื้นและผนังของตึกแถวเดิมบางส่วน แต่ก็ไม่ทำให้ภาพรวมของบ้านดูอึดอัดหรือคับแคบลงมาแต่อย่างใด

GLASS BLOCK HOUSE เปลี่ยนบ้านโทรมเป็นบ้านเรืองแสงด้วย “บล็อกแก้ว”

บ้านเก่าขนาดกะทัดรัด ที่มีพื้นที่ใช้สอยเพียง 60 ตารางเมตร ในเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ได้รับการ รีโนเวตบ้าน ใหม่โดยสถาปนิกจาก ROOM+ Design & Build ให้เป็นทั้งหน้าร้านขายกระเป๋าหนัง และที่อยู่อาศัยขนาด 2 ห้องนอน เเต่ด้วยข้อจำกัดของอาคาร โดยเฉพาะเรื่องความมืดทึบแสงเข้าไม่ทั่วถึง สถาปนิกจึงแก้ปัญหานี้ผ่านการ รีโนเวตบ้าน ด้วยการเลือกใช้วัสดุอย่าง “บล็อกแก้ว” มาแทนที่ผนังอิฐเดิม โดยผนังบล็อกแก้วได้ถูกแทนที่ในส่วนของผนังฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ ช่วยให้แสงธรรมชาติสามารถเข้าสู่พื้นที่ภายในได้อย่างทั่วถึง ขณะเดียวกันเมื่อมองมาจากด้านนอกก็ยังคงความเป็นส่วนตัวอยู่ มองเผิน ๆ ตัวอาคารดูแนบเนียนไปกับบริบทโดยรอบในเวลากลางวัน แต่พอถึงช่วงเวลาค่ำคืน ที่นี่จะกลายเป็นโคมไฟขนาดย่อมกลางซอย จากเเสงไฟที่เปิดภายในบ้านทะลุผ่านผนังบล็อกแก้วออกมา   ตัวอาคารปิดทับด้วยฟาซาดที่ออกแบบเป็นแผงสำหรับให้ไม้เลื้อยเกาะเกี่ยวไปตามช่องสี่เหลี่ยมที่มีขนาดช่องละ 19×19 เซนติเมตร ล้อไปกับรูปทรงและขนาดของบล็อกแก้ว นอกจากเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว ยังช่วยกรองความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้านโดยตรง แถมสร้างความเป็นส่วนตัวให้อีกชั้น ในฝั่งของทิศตะวันตกซึ่งเป็นทิศที่รับแดดจัดในช่วงบ่าย สถาปนิกเลือกวางตำแหน่งของห้องน้ำไว้ตรงทิศนี้เพื่อลดความอับชื้น เเละวางแนวบันไดเป็นตัวคั่นพื้นที่ไม่ให้ความร้อนมาปะทะกับมุมพักผ่อน ส่วนบานหน้าต่างก็มีหลากหลายขนาดติดตั้งเเบบกระจายตำเเหน่ง เพื่อหลีกเลี่ยงมุมมองจากเพื่อนบ้าน พื้นที่ชั้น 1 จัดเป็นหน้าร้านขายกระเป๋าหนังที่มีบล็อกแก้วเป็นชั้นวางสินค้าไปในตัว ร่วมด้วยพื้นที่ห้องครัว เเละห้องซักรีด โดยมีบานสไลด์เลื่อนเปิด-ปิดเพื่อความเรียบร้อยสวยงาม ชั้น 2 บรรจุห้องนอนแบบคอมแพ็กต์ที่รวมเตียงนอน […]

STAIRWAY HOUSE บ้านขั้นบันไดเส้นสายเฉียบเรียบโดย NENDO

บ้านขั้นบันไดทะลุกระจกหลังนี้ อาจดูแปลกตาจากบ้านใกล้เรือนเคียงไปสักเล็กน้อย แต่นั่นได้สะท้อนถึงความชาญฉลาดในการแบ่งตำแหน่งชั้นที่พักออกจากกันชัดเจน เพื่อความเป็นส่วนตัวของสมาชิกในบ้าน แต่ก็ยังประนีประนอมให้สามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวระหว่างกันและกันของสองครอบครัวได้

SHOEI HOUSE บ้านโทนอุ่นของสถาปนิกญี่ปุ่นจาก HEARTH ARCHITECTS

SHOEI HOUSE บ้านโทนอุ่นของสถาปนิกญี่ปุ่นจาก HEARTH ARCHITECTS

ที่นี่คือบ้านที่มีชื่อว่า Shoei House ของ Yoshitaka Kuga สถาปนิกจาก HEARTH ARCHITECTS ตั้งอยู่บนที่ดินแปลงหนึ่งในจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น

ACULCO HOUSE บ้านน้อยกลมกลืนธรรมชาติกลางทุ่งกว้าง

บ้านน้อยท่ามกลางทุ่งใหญ่ในเม็กซิโก ที่ปกคลุมด้วยกอหญ้าครึ้มเขียวและต้นไม้สูงตระหง่าน ตัดกับลำแสงสีทองของดวงอาทิตย์ที่สาดส่องลงมายามเช้า โดย PPAA Pérez Palacios Arquitectos Asociados

OMA

GALLERIA IN GWANGGYO มองห้างเป็นก้อนหิน ชั้นดิน หรือประติมากรรม แล้วแต่คุณจะจินตนาการ

มองห้างเป็นก้อนหิน ชั้นดิน หรือประติมากรรม แล้วแต่คุณจะจินตนาการ เพราะ Galleria สาขาที่ 6 นั้นเป็นอาคารทรงลูกบาศก์ที่มองดูคล้ายก้อนหินขนาดใหญ่ ละม้ายชั้นดินที่ซ่อนอยู่ในเปลือกโลก หรือจะว่าไปก็คล้ายคลึงงานประติมากรรมขนาดยักษ์ที่แกะสลักออกมาได้อย่างงดงาม

CASA MARTINA ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหวด้วยบ้านคอนกรีตบล็อก

บ้านคอนกรีตบล็อกแยกส่วนขนาดพอดี เชื่อมรอยต่อระหว่างความเป็นส่วนตัวกับพื้นที่ส่วนกลางด้วยลานหินกรวด ผลงานออกแบบจาก Pérez Palacios Arquitectos Asociados เพื่อฟื้นฟูบ้านเรือนจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเม็กซิโก

Potato Head Studios, Bali Kevin Mak, courtesy of OMA

POTATO HEAD STUDIOS รีสอร์ตเสรีทางสังคมแห่งการอยู่ร่วมระหว่างผู้มาพักกับชาวบาหลี

Potato Head Studios ที่พักบาหลี ริมชายหาดเซมินยัค งานออกแบบชิ้นแรกในบาหลีของ OMA สตูดิโอชั้นนำจากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งหมายมุ่งจะเป็นโรงแรมสำหรับชุมชนท้องถิ่นที่พร้อมเปิดโอกาสให้มีการจัดกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมได้อย่างเต็มที่

KITE อาร์มแชร์ที่ NENDO ออกแบบมาเพื่อผู้อยากนั่งสบายแต่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัด

KITE อาร์มแชร์ที่ NENDO ออกแบบมาเพื่อผู้อยากนั่งสบายแต่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัด

Kite อาร์มแชร์จากแบรนด์ STELLAR WORKS คอลเล็กชั่นล่าสุดในปี 2020 ที่ nendo ออกแบบมาเพื่อผู้ที่อยากนั่งสบายแต่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัด

TWIN HOUSE เชื่อมบ้านสามชั้นด้วยระเบียงสีเขียวและสวนลอยฟ้า

ทาวน์เฮ้า แฝดหลังนี้ตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อรองรับหนุ่มสาววัยทำงาน ที่เพิ่งเริ่มเก็บเงินและต้องการที่อยู่อาศัยในราคาสมเหตุสมผลและจับต้องได้ โดย ทาวน์เฮ้าส์ แฝดขนาดสามชั้นนี้ มีหน้ากว้างเพียง 6 เมตร ลึก 18 เมตร ดังนั้นเพื่อให้เกิดการใช้งานที่คุ้มค่า บ้านทั้งสองหลังจึงใช้พื้นที่บางส่วนร่วมกัน ได้แก่ พื้นที่สำหรับแม่บ้านที่เข้าได้จากด้านหลัง และบันไดภายในบ้าน ซึ่งยังคงความเป็นส่วนตัวอยู่ บรรยากาศภายในดูโปร่งโล่งด้วยช่องเปิดที่ช่วยดึงแสงธรรมชาติให้เข้ามาสู่พื้นที่ด้านใน ประกอบกับการแบ่งชั้นของบ้านออกเป็นชั้น ๆ ให้เหลื่อมกันระหว่างบ้านทั้งสองหลัง จึงพอมีช่องว่างให้แสงแผ่กระจายไปได้อย่างทั่วถึง โครงสร้างเน้นใช้เหล็กเป็นหลัก เพราะสามารถออกแบบให้มีความบางแต่เเข็งเเรง ขณะเดียวกันก็ยังช่วยประหยัดทั้งพื้นที่ ระยะเวลาการก่อสร้าง เเละงบประมาณ ด้านการออกแบบตกแต่งเลือกใช้สีขาวเป็นธีมสีหลัก เพื่อช่วยให้พื้นที่ภายในบ้านดูกว้างเเละสว่าง เข้ากันดีกับพื้นและเฟอร์นิเจอร์ไม้สีน้ำตาลอ่อน ส่วนของระเบียงที่เห็นหน้าบ้าน นอกจากทำหน้าที่เป็นฟาซาดแล้ว ยังเป็นทางเชื่อมในแนวตั้งที่แต่ละบ้านสามารถใช้เข้าถึงแต่ละชั้นของบ้านตัวเองได้ และยังทำหน้าที่เป็นสวนลอยฟ้าขนาดเล็ก สำหรับปลูกไม้กระถางไว้เพิ่มความสดชื่น และกรองความร้อนที่จะเข้าสู่ภายในบ้านไปในตัว ออกแบบ : Tetawowe Atelier (www.tetawowe.com) ภาพ : Heart Patrick อ่านต่อ ไอเดียการจัดสวนระเบียงพร้อมต้นไม้ที่เหมาะสม

The Tiing

THE TIING บูติกรีสอร์ตบนเกาะบาหลีที่ตื่นมาก็ได้เห็นทะเลกับภูเขาอยู่เบื้องหน้า

“ที่พักสุดสงบในบาหลีที่ตื่นมาก็ได้เห็นทะเลกับภูเขาอยู่เบื้องหน้า” The Tiing เป็นบูติกรีสอร์ตที่ฝังตัวอยู่ในบริบทท้องถิ่นบนชายฝั่งทางตอนเหนือของเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ที่นี่ได้รับการออกแบบให้เป็นเหมือน 'รางวัลสำหรับผู้หาญกล้า'

THE RED ROOF บ้านเวียดนามที่มุงหลังคาบ้านด้วยแปลงผักสวนครัว

แบบบ้านเล็ก ที่มีพื้นที่ใช้สอยเพียง 80 ตารางเมตร แต่กลับมีฟังก์ชันที่หลากหลายได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะการนำแปลงผักเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน ซึ่งที่นี่ตั้งอยู่ในจังหวัดกว๋างหงาย ประเทศเวียดนาม แบบบ้านเล็ก หลังนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดที่ผู้คนส่วนใหญ่ยังคงยึดอาชีพเกษตรกรรมและทำนากันอยู่ เเต่มีอุปสรรคด้านสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างร้อนเเละเเห้งเเล้ง หน้าฝนทิ้งช่วงนาน และมีน้ำหลากในบางฤดู ดังนั้นการจะปลูกพืชผักบนดินอย่างพื้นที่ทั่วไปอาจไม่ได้ผลผลิตที่เต็มที่นัก ผู้ออกแบบจึงคิดหาวิธีเเก้ไขโจทย์ข้อนี้ ด้วยการยกแปลงผักขึ้นไปไว้บนหลังคาบ้านเสียเลย! พร้อมกันนั้นยังได้ออกแบบคอร์ตยาร์ดไว้หลาย ๆ จุดในระดับความสูงที่ต่างกัน ซึ่งสัมพันธ์ไปกับโครงสร้างของบ้าน แปลงผักนี้จึงทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนไม่ให้เเสงเเดดส่องกระทบเข้ามาในบ้านได้โดยตรง อีกทั้งยังช่วยให้แสงธรรมชาติและลมเข้าสู่ตัวบ้านผ่านช่องว่างระหว่างหลังคาแปลงผัก ภายในบ้านจึงรู้สึกปลอดโปร่งตลอดทั้งวัน ส่วนด้านบนของหลังคาปูด้วยกระเบื้องดินเผา เข้ากับตัวบ้านที่ทาสีแดงอิฐ เพื่อเชื่อมโยงกับวัสดุพื้นถิ่นดั้งเดิมของเวียดนามที่ขึ้นชื่อเรื่องการใช้วัสดุธรรมชาติอย่างอิฐดินเผา นอกจากเจ้าของบ้านจะมีผักไว้รับประทานตลอดทั้งปีแล้ว ยังมีเหลือพอที่จะแบ่งให้กับเพื่อนบ้านอีกด้วย กลายเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี และก่อเกิดเป็นคอมมูนิตี้ใหม่ในหมู่บ้านแบบแยบยล ออกแบบ : TAA DESIGN (www.taadesign.com ) เรียบเรียง : Woofverine ภาพ : TAA DESIGN อ่านต่อ ไอเดียปลูกผักสวนครัวแบบฉบับคนเมือง