© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ด้วยคอนเซ็ปต์หลักคือ “พื้นที่” สำหรับ “นั่ง” โดยไม่ต้องมีโต๊ะ หรือเก้าอี้ มาขวางหูขวางตา การรวมเฟอร์นิเจอร์ วัสดุ และพื้นที่ใช้งานของร้านกาแฟให้กลายเป็นสิ่งเดียวกัน จึงได้ผลลัพธ์เป็นร้านกาแฟที่ดูแปลกตาแห่งนี้
Maggie’s Leeds Centre คลินิกรักษาโรคมะเร็ง ภายในวิทยาเขตของโรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยเซนต์เจมส์ ในเมืองลีดส์ ทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษ ภายใต้โจทย์ที่ไม่เหมือนสถาบันรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยมะเร็งทั่วไป เพื่อให้สถานที่แห่งนี้มีส่วนช่วยสร้างกำลังใจเเละความหวังระหว่างการรักษาให้แก่ผู้ป่วยหายจากอาการ
KIENTRUC O OFFICE ออฟฟิศสถาปนิกที่ออกแบบสอดคล้องกับภูมิอากาศเวียดนาม ไร้เส้นแบ่งภายในและภายนอก เปิดรับธรรมชาติอย่างเต็มอิ่ม
Bó Mon Preschool เป็นโรงเรียนเล็ก ๆ ในแถบชนบทของเวียดนาม ที่สร้างขึ้นด้วยงบประมาณอันจำกัด โดยความร่วมมือและสนับสนุนขององค์กรไม่แสวงผลกำไร “MT Community” และโครงการระดมทุน “Pay It Forward Fund” โดยมีสำนักงานสถาปัตยกรรม “KIENTRUC O” เป็นทีมผู้ออกแบบ
"TORIGUCHI SANCI" คือบ้านและ seitai clinic ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารที่พัฒนาขึ้นใหม่ใน Tama New Town ล้อมรอบด้วยอาคารซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกันด้วยการกรุวัสดุภายนอกที่มีความมันวาว หน้าต่างรูปแบบคล้าย ๆ กันทั้งหมด เนื่องจากสร้างโดยซัพพลายเออร์ผู้ผลิตบ้านสำเร็จรูปตามข้อกำหนดและกลไกของราคาในตลาดในพื้นที่
ขอฉันนั่งทำงานเงียบ ๆ ได้ไหมเนี่ย? สิทธิ์นั้นจะเป็นของคุณทันที หากมาใช้บริการที่ “Think Lab Shiodome” เพราะที่นี่คือพื้นที่ทำงานแบบ Solo-Work Space แห่งแรกซึ่งตั้งอยู่ที่ Caretta Shiodome อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่บริษัท Dentsu ในประเทศญี่ปุ่น
จากสาขาดั้งเดิมที่ฮิกาชิยามะในเกียวโต ก่อนมาถึงสาขาล่าสุดในไทยที่ไอคอนสยาม ขอพาย้อนไปดูอีกหนึ่งสาขาของ % ARABICA ที่สร้างภาพจำของความน้อยนิ่งและเรียบหรูให้เกิดขึ้นในคูเวตมาก่อนหน้านี้กันบ้าง
RICCO BURGER ร้านเบอเกอร์ ที่ใช้เวลาในการทำเพียง 4 เดือน ด้วยงบประมาณและเวลาก่อสร้างอันจำกัด สถาปนิกถึงพยายามใช้โครงสร้างและสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มากที่สุด ผู้ออกแบบให้ความสำคัญกับความเชื่อมต่อของพื้นที่หน้ ร้านเบอเกอร์ RICCO BURGER ซึ่งเป็นถนนและสวนสาธารณะด้านหลัง ตัวอาคารของร้านจึงทำหน้าที่เป็นตัวประสานพื้นที่ทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยให้ร้านเปรียบเสมือน “ตัวกรอง” มลภาวะเเละความวุ่นวายทางสายตาต่าง ๆ ออกไป บรรยากาศของพื้นที่ฝั่งสวนสาธารณะใช้โครงเหล็กและบันไดที่จะนำไปสู่พื้นที่ร้านอาหารชั้น 1 และเมื่อเข้ามาในร้าน ลูกค้าจะได้รับความรู้สึกเหมือนกำลังนั่งกินเบอเกอร์อยู่ในห้องน้ำ ด้วยผนังกรุกระเบื้องแผ่นเล็กของห้องน้ำเดิมยังคงอยู่โดยถูกดัดแปลงให้กลายเป็นส่วนของห้องครัว ผนังที่เหลือถูกกระเทาะออกทั้งหมด เหลือไว้เพียงพื้นไม้เดิมที่ยังคงเก็บรักษาไว้ อีกหนึ่งรูปแบบที่เชื่อมพื้นที่ทั้งหมดเข้าด้วยกันคือขนาดของวัสดุ 20×20 เซนติเมตร ทั้งในส่วนของกระเบื้องสีขาว แผ่นปูพื้น และบล็อกแก้ว ส่วนพื้นที่ที่ทำขึ้นมาใหม่ของร้านนี้ ก็คือส่วนของเคาน์เตอร์เตรียมอาหาร และที่นั่งแบบหล่อในที่ ฝ้าเพดานถูกรื้อออกหมด เพื่อโชว์โครงสร้างเผยผิววัสดุตามเเบบที่เรียกว่าสัจวัสดุ ซึ่งตรงกับคอนเซ็ปต์ของร้านที่ว่าใช้วัตถุดิบเรียบง่ายเป็นธรรมชาติ และเน้นไปที่กระบวนการเตรียมอาหาร พื้นที่ในร้านชั้น 1 และทางเท้าเลือกใช้วัสดุปูพื้นชนิดเดียวกัน เพื่อเชื่อมพื้นที่ให้ดูลื่นไหล ต่อเนื่อง ผนังด้านหน้าและหลังร้านกั้นด้วยบล็อกแก้วที่ใช้โครงสร้างเหล็ก ด้วยคุณสมบัติของบล็อกแก้วที่ยอมให้แสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ในร้าน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่ภายใน อีกทั้งช่วยสร้างเอฟเฟ็กต์ของแสงสียามค่ำคืน สร้างความน่าสนใจสำหรับใครที่ผ่านไปมา ออกแบบ : BLOCO Arquitetos ภาพ : […]
สังกะสี ไม้แดง ลวดตะแกรง และฉากเหล็ก เมื่อพูดถึงวัสดุเหล่านี้ขึ้นมา หลายคนคงนึกถึงบ้านพักชั่วคราวของคนงานในไซต์ก่อสร้าง แต่ด้วยฝีมือการออกแบบของ Shunri Nishizawa เขากลับสามารถนำวัสดุที่กล่าวถึงไปข้างต้น มาออกแบบเป็นบ้านดีไซน์สุดล้ำ ที่ก้าวผ่านนิยามที่เเสนธรรมดาเเบบที่เราเคยคุ้นชินไปได้ไกลหลายปีแสงเลยทีเดียว
The Nắng Suites ที่พักเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ที่สถาปนิกตั้งใจออกแบบบรรยากาศให้อยู่สบายเเหมือนอยู่บ้าน ไม่ว่าจะมาพักในระยะสั้น หรือระยะยาว โดยหัวใจสำคัญของที่นี่คือคอร์ตกลางอาคารที่เปิดโล่งจากชั้นแรกทะลุถึงท้องฟ้า เกิดเป็นพื้นที่เปิดโล่งและวิวของที่พัก ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องแสงธรรมชาติและความอึดอัดของตึกที่มีลักษณะเป็นอาคารสูงแคบได้อย่างดี ที่พักเมืองดานัง แห่งนี้พื้นที่ทั้ง 4 ชั้น ถูกแบ่งออกเป็น 2 โซนหลัก ๆ คือ พื้นที่พักผ่อนแบบไพรเวตในชั้นบนจำนวน 8 ห้อง และพื้นที่ส่วนกลางที่ประกอบด้วยพื้นที่นั่งเล่น ห้องครัว ส่วนรับประทานอาหาร เล้านจ์ ห้องสมุด ห้องดูหนัง ห้องซักรีด และที่จอดรถ ในส่วนของฟาซาด สร้างจังหวะให้กับอาคารด้วยแผงไม้ และหน้าต่างเต็มบานที่มีความสูงจากพื้นจรดฝ้าเพดาน สร้างความรู้สึกทั้งปิดทึบและปลอดโปร่งด้วยเเสงสว่าง โดยแผงไม้ทำเป็นรูปแบบของไม้สาน ช่วยในการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในเเละระบายอากาศ ทั้งยังช่วยกรองแสงแดดได้ในตัว และเมื่อคุณเดินเข้ามาจะเจอกับคอร์ตตรงกลางทำหน้าที่เสมือนสะพานเชื่อมระหว่างพื้นที่ภายในกับภายในเข้าด้วยกัน การตกแต่งภายในได้แรงบันดาลใจมาจากยุค 1960s และทำให้ดูร่วมสมัยสไตล์คอนเทมโพรารี โดยใช้คีย์สีหลักอย่าง แดง เขียว และน้ำเงิน เพิ่มความอบอุ่นด้วยไม้วอลนัทสีเข้มที่ทำเพียงเคลือบใสเพื่อเผยผิวธรรมชาติ เพิ่มผิวสัมผัสความเป็นธรรมชาติด้วยหินขัดในส่วนของห้องน้ำ และเพื่อเป็นการเชื่อมโยงกับบริบทโดยรอบที่เป็นภูเขา จึงยกไม้แบบทรอปิคัลมาไว้ในส่วนต่าง ๆ ของที่พัก ไม่ว่าจะเป็นระเบียงด้านหน้า หรือคอร์ตด้านใน นอกจากจะเพิ่มความสดชื่นแล้ว […]
นี่คือ อาคารเรียน ในหมู่บ้านที่พระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดย Orient Occident Atelier สำนักงานออกแบบจากฮ่องกงต้องการให้ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงอาคารเรียนแบบเน้นการบรรยายทั่วไป แต่ใช้สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการออกแบบ ก่อสร้าง รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในระหว่างกระบวนการก่อสร้างนั้นเด็ก ๆ จะได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับทีมสถาปนิกด้วย อาคารเรียน มีลักษณะสองชั้น ชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่เเบบใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวกัมพูชา โดยประยุกต์เป็นห้องเรียนแบบเปิดโล่งสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนและวิวท้องนารอบ ๆ ที่จะใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้ เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชาวบ้านให้ได้รับรู้ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ทั้งยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ ได้ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกเคอะเขิน พื้นที่ชั้นสอง ออกแบบเป็นห้องสองฝั่งแบบโอเพ่นสเปซ สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น โดยมีผนังที่เรียกว่า “Griddy” ผนังโครงเหล็กสองชั้นกรุด้วยแผ่นไม้สลับกับแผ่นพอลิคาร์บอเนตทำหน้าที่เป็นทั้งผนังอาคาร ล็อกเกอร์ และชั้นวางของ โครงสร้างอาคารแบบยกสูง นอกจากจะเกิดเป็นพื้นที่ใช้งานแบบใต้ถุนแล้ว ยังช่วยป้องกันเรื่องน้ำท่วม และเป็นการเก็บรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการอยู่อาศัยไว้ ในส่วนของกระบวนการก่อสร้าง สถาปนิกได้เลือกใช้วิธีการและวัสดุแบบท้องถิ่น อย่างการใช้อิฐและไม้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ซึ่งเป็นการประหยัดค่าก่อสร้าง ทั้งยังแป็นวัสดุที่ช่างพื้นถิ่นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในแง่ของการออกแบบใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมแบบ Bottom-up ทำให้อาคารที่ออกมายังสะท้อนถึงบริบทของชุมชน เพราะทีมผู้ออกแบบเชื่อว่าอาคารเรียนที่ดีต้องเกิดจากความร่วมมือของครูผู้สอน เด็กนักเรียน และคนในชุมชนร่วมกับผู้ออกแบบ ถึงจะได้พื้นที่ใช้งานที่ทั้งถูกต้องและถูกใจ […]
บ้านคอนกรีตสุดเท่หลังนี้ตั้งอยู่ในประเทศเม็กซิโก เป็น บ้านทรงกล่อง ที่ออกแบบให้มีดาดฟ้าเป็นมุมนั่งเล่นตากอากาศ เคล้าบริบทที่แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่และบ้านใกล้เรือนเคียง ที่สำคัญคือมีความเป็นส่วนตัวสูงและฟังก์ชนตอบโจทย์เจ้าของบ้าน ซึ่งผ่านกระบวนการคิดเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีจากทีมสถาปนิกมากฝีมือนั่นเอง