โต๊ะรับประทานอาหาร – บ้านและสวน
renovate-dinning table

แปลงโฉมโต๊ะกินข้าว เปลี่ยนมื้อเดิมๆ ให้เป็นมื้ออร่อย

แปลงโฉมโต๊ะกินข้าว คืนความสดใสและเพิ่มชีวิตชีวาด้วยสีสัน ด้วยเทคนิดการแต่ง เสริม เติม ซ่อม ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง หรือจ้างใหช่างช่วยทำให้ได้อย่างไม่ยุ่งยาก สร้างบรรยากาศของมื้ออาหารแสนอร่อยที่ได้แรงบันดาลใจจากความจัดจ้านของอาหาร ประกาศให้รู้ว่าบ้านนี้มีแม่ครัวฝีมือเด็ด! แปลงโต๊ะโทรมให้กลายเป็นโต๊ะสวย แปลงโฉมโต๊ะกินข้าว ด้วยการย้อมผิวใหม่ โต๊ะเก้าอี้ไม้เก่าทรงสวยที่มีผิวทรุดโทรมจากการใช้งาน นำมาปรับปรุงให้กลับมาสวยงามได้อารมณ์ใหม่ๆ แต่ยังคงความงามของลายไม้ดั้งเดิม โดยขัดวัสดุเคลือบผิวเดิมออก ฟอกสีให้เสมอกัน แล้วทาน้ำยาเคลือบผิวชนิดด้านให้ดูนุ่มนวลน่าใช้ หรือทำผิวขัดเสี้ยนให้ลายไม้เด่นขึ้น ก็ดูเป็นธรรมชาติกลมกลืนไปกับการตกแต่งห้อง หาเก้าอี้ที่เข้ากัน แต่ไม่จำเป็นต้องเข้าคู่ก็ได้ โดยการมองหาเก้าอี้เดี่ยวสักสองสามตัวที่มีสไตล์บางอย่างร่วมกันกับชุดเดิม เช่น วัสดุ ยุคสมัย หรือเทคนิคที่ไม่ต่างกันมากนัก จับมาผสมผสาน ก็กลายเป็นโต๊ะเก่าอารมณ์ใหม่ที่ให้ความรู้สึกเป็นกันเองได้ แปลงโฉมโต๊ะกินข้าว ให้ดูเท่จากการผสมผสานเฟอร์นิเจอร์หลากแบบ แต่ให้ความรู้สึกที่ลงตัว ด้วยการเลือกใช้วัสดุไม้เพื่อให้ดูเป็นส่วนเดียวกับบ้านและเคาน์เตอร์ครัว อ่านต่อ>> เปลี่ยนโคมไฟ เพิ่มสีสันให้มื้ออาหาร หลอดไฟ ใช้โทนแสงสีวอร์มไวท์หรือคูลไวท์ จะทำให้อาหารสวยงามน่ากินมากขึ้น และช่วยสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ส่วนปริมาณแสงของหลอดไฟนั้นขึ้นอยู่กับว่าต้องการสร้างบรรยากาศให้ดูสลัวโรแมนติก หรือสว่างหน่อยเพื่อสร้างบรรยากาศสดใส โดยความสว่างที่เหมาะสมคือ 200-500 ลูเมนต่อตารางเมตร เพื่อให้ได้แสงสว่างที่ไม่จ้าจนเกินไป รูปแบบโคมไฟ เปลี่ยนโคมไฟดาวน์ไลต์ที่ส่องแสงสว่างเท่ากันทั่วบริเวณ มาเป็นโคมไฟส่องสว่างเฉพาะจุด ห้อยยาวลงมาที่กลางโต๊ะ จะช่วยกำหนดทิศทางแสงและสร้างเสน่ห์ให้กับโซนรับประทานอาหารได้ ความสูงที่เหมาะสม ระหว่างตัวโคมไฟและโต๊ะอาหารควรสูงห่างกันประมาณ 60-90 […]

จัดพื้นที่กลางให้คุณตาคุณยาย

พื้นที่นั่งเล่น เป็นที่รวมของสมาชิกทุกคนในบ้าน เป็นมุมนั่งเล่นของคุณตาคุณยาย เป็นมุมเอกเขนกของเด็กๆ และเป็นมุมเย็บปักถักร้อยของคุณๆ แม่บ้าน ในบ้านที่มีพื้นที่ไม่มากมาย พื้นที่ส่วนนี้มักรวมกับส่วนรับประทานอาหารไว้ด้วย มาดูไอเดียการจัดพื้นที่กัน 01.มุมเก็บของ คนแต่ละวัยมีความสะดวกในการจัดเก็บของต่างกัน คือ ชั้นล่าง เหมาะกับสมาชิกวัยเด็กใช้เก็บของเล่น เพราะหยิบง่าย เก็บสะดวก ชั้นสูงระดับเอว เหมาะกับคุณตาคุณยาย เพราะไม่ต้องก้ม ไม่ต้องเอื้อม ชั้นสูงกว่าระดับเอว เหมาะกับการเก็บของทั่วไป ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจใช้เก็บหนังสือและของอื่นๆ ที่ไม่อยากให้ลูกๆ รื้อค้น 02.มุมเด็กเล่น ควรจัดไว้ด้านในสุด เพื่อความเป็นส่วนตัว ควรเตรียมชั้นวางของ กล่องหรือตะกร้าใส่ของไว้ให้พร้อม 03.มุมทำการบ้าน เลือกโต๊ะกลางขนาดใหญ่ ให้เด็กได้ใช้เป็นโต๊ะทำการบ้านหรือทำงานอดิเรก เช่น วาดรูป ปั้นดินน้ำมัน 04.มีพื้นที่สำหรับรถเข็น เผื่อพื้นที่ว่างให้รถเข็นของคุณตาคุณยายได้เข้าถึงทุกพื้นที่ โดยไม่มีสิ่งกีดขวางและควรทำพื้นให้เรียบเสมอกัน 05.โต๊ะอาหารพร้อมหน้า วางโต๊ะอาหารให้มีพื้นที่รอบโต๊ะให้รถเข็นผ่านได้สะดวก และเผื่อพื้นที่ให้คุณตาคุณยายเข็นรถมานั่งรับประทานอาหารพร้อมหน้ากันได้ 06.เคานเตอร์หรือแพนทรี ควรออกแบบแพนทรีให้คุณตาคุณยายที่นั่งรถเข็นใช้ได้สะดวก โดยทำเคานเตอร์สูง 75 เซนติเมตร มีพื้นที่ว่างใต้เคานเตอร์สูงไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และลึกอย่างน้อย 40 เซนติเมตรเพื่อให้รถเข็นสอดเข้าได้ Note: * […]

มุมเน่า เรารักษา (Ep.2)

หากพูดถึง มุมเน่า ในบ้านว่ามีมุมไหนบ้าง เชื่อว่าคงมีหลายคำตอบพรั่งพรูออกมา หรือแรงที่สุดก็คือ “เน่าทั้งบ้าน” อย่าปล่อยให้บ้านเน่าจนเกินเยียวยา

เปลี่ยน มุมเก่า ในบ้านให้สวยปัง! (ตอน 1 ห้องครัวและมุมรับประทานอาหารนอกบ้าน)

แปลงโฉม มุมเก่า ในบ้านให้กลับมาสวยงามและน่าใช้งานอีกครั้ง เรายกตัวอย่างมาให้ชมกัน 3 รูปแบบ ได้แก่ ครัวและมุมรับประทานอาหารนอกบ้าน ห้องนอนสำรอง และห้องรับแขก

ไอเดียการจัดโต๊ะรับประทานอาหาร

ไอเดียการจัดโต๊ะรับประทานอาหารในแบบที่คุณสามารถตกแต่งตามได้ นอกจากจะช่วยให้โต๊ะรับประทานอาหารดูดีขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการรับประทานอาหารได้อีกด้วย