© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ไอเดียจัดสวน สำหรับผู้ที่ชอบสวนแต่ไม่มีเวลาดูแล....ชอบต้นไม้แต่ไม่อยากรดน้ำ....อยากได้สวนดูแลง่ายและสวยตลอดทั้งปี
วิธี การขยายพันธุ์แคคตัส ทำได้หลายวิธี ทั้งการเพาะเมล็ด การปักชำ การต่อยอด และการผสมเกสร วิธีเหล่านี้เราสามารถทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก
แคคตัสด่าง ที่หลายๆคนอยากมีไว้ดูแล ทั้งสวยและน่าหลงใหล และบางสายพันธุ์หายากอีกด้วย บางสายพันธุ์ห้ามจำหน่ายอีกด้วยนะ
“การประกวดพรรณไม้” ในงานบ้านและสวนแฟร์ 2022 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ช่วงระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน 2565 แบ่งออกเป็นพรรณไม้ 5 ประเภท ได้แก่ กำหนดการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
คุณหมอเอ-จิราภรณ์ เฟื่องทวีโชค แพทย์หญิงในจังหวัดอุดรธานี คือนักสะสมแคคตัสและไม้อวบน้ำที่เริ่มแรกนั้นเธอแทบไม่มีความรู้เรื่องต้นไม้มาก่อนเลย เพียงแต่ต้องการทำงานอดิเรกในช่วงที่ว่างเท่านั้น โดยมีจุดเริ่มต้นจากแคคตัสหนึ่งถาดที่วางทิ้งในโรงเรือนที่แทบไม่ได้ใช้งาน จนกลายมาเป็นงานอดิเรกแสนรักที่ปลุกความสนุกในการทดลองอะไรใหม่ ๆ พร้อมกับโรงเรือนที่ตั้งใจออกแบบมา เพื่อให้คนได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกับต้นไม้ได้อย่างสะดวกสบาย เริ่มต้นจากแค่อยากมีโรงเรือน แรกเริ่มเดิมทีคุณหมอเอเป็นเพียงคนที่ชื่นชอบ การแต่งบ้านและอยากมีบ้านในฝันสไตล์อเมริกันคันทรี ในที่สุดก็เริ่มวางผังและออกแบบบ้านหลังใหม่ขึ้นองค์ประกอบหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือโรงเรือนเพาะชำต้นไม้ที่เธอมองว่าในวันหนึ่งอาจใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมในวัยเกษียณ เช่น ปลูกต้นไม้ ทว่าต้นไม้ส่วนใหญ่ในประเทศไทยก็สามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่จำเป็นต้องปลูกในโรงเรือน ในที่สุดก็ไม่ค่อยได้ใช้งานจริงสักเท่าไร วันหนึ่งน้องชายของคุณหมอเอ ซึ่งชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์ รวมถึงการปลูกต้นไม้ ได้นำแคคตัสมาให้ 1 ถาด ตอนแรกเธอนำไปวางทิ้งไว้ในโรงเรือนโดยไม่ได้สนใจ กระทั่งเมื่อเดินมาดูอีกที แคคตัสในถาดเจริญเติบโตได้ดี จึงเปลี่ยนนำมาใส่กระถางดินเผาและค่อย ๆ ตั้งวางเรียงรายในโรงเรือน จาก 1 ถาดเป็น 2 ถาด และต่อยอดไปอีกหลาย ๆ ต้นในเวลาต่อมา ทำให้คุณหมอเอกลับมาใช้งานโรงเรือนมากขึ้น เธอทดลองปลูกเลี้ยงทั้งแคคตัสและไม้อวบน้ำ โดยหาความรู้จากหลากหลายช่องทาง จนกลายเป็นงานอดิเรกที่ทำให้เธอมีความสุขและรู้สึกผ่อนคลาย “หลังจากโรงเรือนหลังแรกเต็ม เราก็มาทำเพิ่มอีกหลังเพื่อขยายพันธุ์ใหม่มากขึ้น เราชอบแคคตัสสกุลยิมโนคาไลเซียม (Gymnocalycium) เพราะสนุกกับการผสมพันธุ์ให้เกิดสีสันและลวดลายที่มีความเฉพาะตัวในแบบของเราเอง รู้สึกเหมือนได้เป็นศิลปินที่รังสรรค์ให้เกิดสีสันที่เป็นเอกลักษณ์สวยงามบนแคคตัสของเราเอง” โครงสร้างและวัสดุทำโรงเรือน คุณหมอเอใช้งบประมาณส่วนใหญ่ในการเปลี่ยนหลังคาของโรงเรือนหลังเดิมที่มีปัญหารั่วซึม จนทำให้แคคตัสที่ตั้งในบริเวณที่้ำหยดเริ่มประสบปัญหารากเน่าและตายในที่สุด โดยเปลี่ยนมาใช้แผ่นอะคริลิกใสที่แข็งแรงและทนทานสามารถใช้งานได้เป็นระยะเวลานาน มีซาแรนสีขาวที่ช่วยกรองแสงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และยังใช้โครงสร้างเหล็กทาสีขาวอมเทาเช่นเดียวกับสีที่ทาในบ้าน คลุมด้วยผนังมุ้งลวดและผ้าใบพลาสติกใสโดยรอบ สามารถดึงขึ้นเพื่อเปิดโล่ง และดึงลงมาคลุมเพื่อป้องกันความชื้นหรือศัตรูพืชภายนอก พื้นปูไม้เทียมแผ่นยาวเช่นเดียวกับพื้นระเบียงบ้านเพื่อให้ความรู้สึกเชื่อมถึงตัวบ้าน โดยมีร่องสำหรับระบายน้ำรอบด้าน เมื่อรดน้ำจึงไม่เกิดน้ำท่วมขังและเป็นอันตรายกับคนที่ใช้งาน อีกทั้งยังทำให้อากาศในโรงเรือนแห้งและไม่เกิดโรคจากความชื้น ซึ่งพบได้บ่อยในแคคตัสและไม้อวบน้ำ เทคนิคการดูแลต้นไม้ “สำหรับแคคตัสสกุลยิมโนคาไลเซียมจะชื่นชอบแสงรำไรถึงแดดจัด อากาศถ่ายเท ยิ่งอากาศเปลี่ยนจากกลางวันร้อนและกลางคืนเย็นยิ่งดี สีสันที่ได้จะยิ่งสวย ยิ่งมีสีที่สวยอย่างสีชมพูอ่อนปรากฏ ต้นนั้นก็จะโตช้ากว่าต้นที่มีสีเขียวเยอะ รากจะเดินช้ามาก ดังนั้นเราจึงต้องใช้การต่อตอเพื่อให้แคคตัสสายพันธุ์ที่รากเดินเร็วกว่าช่วยหาสารอาหารให้ ซึ่งปกติก็จะใช้แคคตัสสามเหลี่ยมมาเป็นตอ แต่สำหรับเราอยากทดลองอะไรใหม่ ๆ ก็จะมีตออื่นที่มีความสวยงามมากขึ้น เช่น ตอหนามดำ ทำให้ดูน่ามองมากกว่า” เช่นเดียวกับภาชนะปลูก คุณหมอเอเลือกใช้กระถางดินเผาที่ดูสวยน่ามองกว่ากระถางพลาสติกที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กัน แม้กระถางดินเผาจะอมความชื้นที่ไม้อวบน้ำไม่ชอบ แต่การใช้วัสดุปลูกอย่างดินภูเขาไฟกับดินก้ามปูที่ร่อนเอาแต่เนื้อดินในอัตราส่วนเท่ากันก็ช่วยระบายอากาศได้ดี ร่วมกับการรดน้ำเพียงสัปดาห์ละครั้ง ก็ทำให้วัสดุปลูกไม่ชื้นจนเกินไป แล้วบำรุงด้วยการใส่ปุ๋ยละลายช้าสูตร 3 […]
กลายเป็นอีกหนึ่งความบันเทิงในช่วงเวลานี้ สำหรับความน่ารักของน้องบองหรือตุ๊กตากระบองเพชรพูดได้ ซึ่งมีที่มาจากนักแสดงสาวแจ็คกี้ ชาเคอลีน มึ้นช์ได้ทำการไลฟ์สดและทำคลิปคู่กับตุ๊กตาตัวนี้อย่างสนุกสนานจนกลายเป็นไวรัลในโลกโซเชียลเพียงชั่วข้ามคืน บ้านและสวนจึงขอหยิบเอาลักษณะความน่ารักของตัวน้องบองมาลองจินตนาการดูว่าหากเจ้ากระบอกเพชรตัวนี้มีตัวตนอยู่จริงแล้ว น่าจะมีร่างจริงเหมือนกระบองเพชรหรือแคคตัสชนิดใดได้บ้าง? กระบองเพชร สกุลเทอโรแคคตัส Pterocactus ลักษณะทั่วไปมีรากเป็นโขดไว้สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน ลำต้นเป็นกิ่งยาวทรงรีหรือเป็นตุ้มกลมสั้น ปกคลุมด้วยหนามเล็กๆ กระจุกเป็นกลุ่มหรือแผ่ไปรอบๆ แบบไม่เป็นระเบียบ ดอกใหญ่ออกที่ปลายกิ่ง แต่ละชนิดพันธุ์มีดอกสีสันต่างกัน พบในภาคตะวันตกและตอนใต้ของประเทศอาร์เจนตินา ตั้งแต่ความสูง 0-3,050 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีการสืบพันธุ์ที่ประหลาด คือ ฤดูหนาวจะสลัดกิ่งที่ยาวออกเพื่อให้ลมพัดพากิ่งไปตกยังที่อื่น ก่อนกลายเป็นต้นใหม่ กระบองเพชร สกุลอิชินอปซิส Echinopsis ลักษณะทั่วไป ทรงกลมแป้น เมื่ออายุมากขึ้นอาจเป็นทรงกระบอก บางชนิดเป็นต้นไม้ลำสูง พบได้ทั้งเป็นต้นเดี่ยวและแตกเป็นกอ ลำต้นเป็นสัน ดอกรูปแตร ก้านยาว บานเพียงวันเดียว มีหลายสี ส่วนใหญ่จะมีสีขาวและชมพูอ่อน บานตอนกลางคืนและโรยตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ส่วนชนิดที่มีสีสันสดใสจะบานตอนกลางวัน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ แถบโบลิเวีย เปรู อาร์เจนตินา บราซิล พบตามซอกหินหรือบริเวณดินทราย ระบายน้ำได้ดี กระบองเพชร สกุลซีรีอุส Cereus ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ลำขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 12 […]
ปฏิเสธไม่ได้ว่า กระบองเพชร หรือ แคคตัส เป็นหนึ่งในไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เพราะมีราคาถูก หน้าตาสวยแปลก มีเอกลักษณ์ แถมยังเลี้ยงง่าย
บ้านหลังนี้เป็น บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส และออกแบบให้มีสวนล้อมรอบ โดยมีหน้าบ้านเป็นพื้นที่สวนทะเลทรายกับโรงเรือนแคคตัส เพราะรับแดดได้ดี ส่วนหลังบ้านที่มีร่มเงาจึงปลูกไม้เขตร้อนชื้นแนวสวนป่า รงเรือนแคคตั เชื่อว่าความฝันของคนเมืองหลายคนนั้นอยากสร้างพื้นที่สีเขียวไว้ในบ้านตัวเอง เช่นเดียวกับ บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส ของ คุณอนุภาพ พงษ์นะเมตตา ที่หนีจากห้องบนตึกสูงมาอยู่กับบ้านบนพื้นดิน เพราะอยากทำสวนปลูกต้นไม้ในวันว่างนอกเวลางาน จนเป็นที่มาของบ้าน “GREEN HOUSE” ที่เขียวชอุ่มไปด้วยพรรณไม้กับโรงเรือนแคคตัส “บ้านหลังนี้ผมตั้งใจปลูกต้นไม้และแต่งสวนอย่างจริงๆจังๆ หลังจากต้องทนปลูกต้นไม้ริมระเบียงแคบๆในห้องคอนโดอยู่พักใหญ่ พอย้ายมาปลูกบ้านหลังใหม่ที่พอมีบริเวณบ้าง จึงตั้งใจออกแบบให้มีสวนเต็มพื้นที่ และปรับเปลี่ยนแปลนบ้านให้สัมผัสสวนได้ทั้งภายในและภายนอก” บ้านหลังนี้มีพื้นที่ 145 ตารางวา จึงออกแบบให้มีสวนล้อมรอบ โดยจัดวางตำแหน่งตามธรรมชาติของทิศทางแสงแดด ออกแบบให้หน้าบ้านเป็นพื้นที่สวนทะเลทรายและเรือนกระจกสำหรับแคคตัส เพราะรับแดดได้ดี ส่วนหลังบ้านที่มีร่มเงาตัวบ้านมากจึงปลูกไม้เขตร้อนชื้นแนวสวนป่า ส่วนโครงสร้างบ้านเดิมที่กั้นห้องไว้เป็นห้องเล็กห้องน้อยทำให้รู้สึกอึดอัด จึงรื้อผนังห้องและกำแพงบางส่วนออก แล้วติดกระจกบานใหญ่เติมผนังรอบบ้านเพื่อเปิดมุมมองสวนเข้าสู่ตัวบ้าน รวมไปถึงห้องครัวและห้องน้ำก็ยังจัดสวนเล็กๆแทรกไว้ด้วย เรียกได้ว่ามีพื้นที่สีเขียวไปเสียทุกจุด ทำให้แม้อยู่ในบ้านก็รู้สึกถึงความร่มรื่นตลอดเวลา ไม่เพียงแต่การเปิดมุมมองสวนเท่านั้น บ้านหลังนี้ยังเปิดมุมมองในแนวตั้ง โดยเจาะฝ้าเพดานเหนือมุมรับแขกกลางบ้านให้ทะลุเชื่อมกับช่องรับแสงธรรมชาติจากผนังกระจกด้านบน ทำให้ภายในบ้านสว่าง โปร่งโล่ง มองเห็นท้องฟ้า ส่วนห้องนอนเปิดมุมมองด้วยบานกระจกขนาดใหญ่ ทำให้มองเห็นสวนจากมุมบน แล้วแยกส่วนอาบน้ำไปบนระเบียงเอ๊าต์ดอร์ เรียกได้ว่าให้ความรู้สึกกลมกลืนกับธรรมชาติไปเสียทุกจุด “เพื่อนชอบแซวว่าบ้านผมจะกลายเป็นสวนพฤกษชาติไปแล้ว เพราะเก็บสะสมพรรณไม้แปลกๆไว้เยอะมาก ทั้งไม้เขตร้อน เขตร้อนชื้น กล้วยไม้พันธุ์ต่างๆ แต่นี่ถือว่าน้อยแล้ว เพราะไม่ได้สะสมแบบนักวิชาการ […]
นี่เป็นอีกครั้งที่ผมเดินทางมาที่จังหวัดเชียงใหม่ ผมจึงเริ่มหาข้อมูลเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับคนรักต้นไม้ที่น่าสนใจประเภท สวนพฤกษศาสตร์ หรือเส้นทางท่องเที่ยวธรรมชาติที่หลายคนยังไม่เคยไปเยือนมาก่อน ทำให้ผมได้ทราบว่านอกจากสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์และโครงการหลวงต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ยังมี สวนพฤกษศาสตร์ อีกที่หนึ่งที่คนเชียงใหม่คุ้นเคยเป็นอย่างดีอย่าง สวนทวีชล ไม่แปลกใจที่คนเชียงใหม่จะรู้จักที่นี่เป็นอย่างดี เพราะที่นี่ได้เปิดให้บริการมาตั้งแต่พ.ศ. 2548 และยังคงปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์อยู่เสมอ โดยสวนพฤกษศาสตร์ทวีชล หรือที่คนเชียงใหม่เรียกกันสั้นๆว่า สวนทวีชล ตั้งอยู่ริมถนนสายเชียงใหม่-ดอยสะเก็ด หลักกิโลเมตรที่ 10-11 บนพื้นที่ทั้งหมด 302 ไร่ ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่โรงแรม Horizon Village & Resort ซึ่งนอกจากจัดเป็นสวนสำหรับพักผ่อนหย่อนใจที่ดูสวยงามแล้วยังเป็นสถานที่ที่เปิดให้จัดกิจกรรมอื่นอีกมากมาย อาทิ ขึ้นบอลลูน จัดเลี้ยง รับประทานอาหาร สนามเด็กเล่น สวนสัตว์ขนาดเล็ก ปั่นจักรยานและเรียนรู้เรื่องพรรณไม้ไปด้วยในตัว ซึ่งเหมาะมากกับการพาเด็กๆหรือคนเป็นหมู่คณะเข้ามาทำกิจกรรมและเรียนรู้ตามฐานต่างๆทั่วโครงการ ผมมีโอกาสได้ทำความรู้จักและพูดคุยกับผู้ก่อตั้งสถานที่แห่งนี้คือ คุณทวีศักดิ์ เสสะเวช อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในวัย 84 ปี แต่ท่านยังแข็งแรงและได้เล่าถึงที่มาของสวนแห่งนี้ว่า “ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ก็มักเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน ไปท่องเที่ยว หรือตีกอล์ฟ ผมไม่ใช่คนแบบนั้น ผมชอบอะไรที่เรียบง่าย เพราะผมอยู่กับเกษตรกรมาก่อน มันน่าจะมีพื้นที่หนึ่งสำหรับทำสวนเพื่อเป็นแปลงสาธิต จุดประสงค์ของสวนทวีชลเราคือศูนย์เรียนรู้ ในชีวิตการทำงานและดำรงตำแหน่งมากมายอย่างยาวนาน ผมตั้งปณิธานชีวิตไว้ว่าเมื่อผมเกษียณแล้ว เรายังจะสามารถทำอะไรให้สังคม […]
ตัวร้านออกแบบเป็นเรือนกระจก ใช้เศษไม้เก่า เศษกระจก บานหน้าต่างเก่าที่เหลือจากงานก่อสร้างมาประกอบเป็น โรงเรือนแคคตัส หลังย่อม ผนัง ช่องเปิดต่าง ๆ
ได้เวลาเปลี่ยนกระถางต้นไม้ หากต้นไม้ที่บ้านเติบโตเกินขนาดกระถาง กิ่งก้านใบไม้เริ่มยื่นออกเกินขนาดกระถาง หรือรากล้นกระจายออกมานอกกระถาง
ก่อนจะมาเป็นนักเลี้ยงแคคตัสหรือ กระบองเพชร ที่มีผลงานเป็นหนังสือแคคตัสฉบับสมบูรณ์ ที่สุดในไทยด้วยความหนาเกือบ 400 หน้า คุณ โอห์ม-ภวพล ศุภนันทนานนท์ ยังเคยเป็นนักเลี้ยง แอฟริกันไวโอเลต กล้วยไม้ และสับปะรดสีมาก่อนด้วย เพราะชอบต้นไม้มาตั้งแต่เด็ก จึงหัดเลี้ยงต้นนั้นต้นนี้มาเรื่อย รู้ตัวอีกที โอห์ม-ภวพล ศุภนันทนานนท์ ก็หลงรักบรรดา กระบองเพชร และต้นไม้เหล่านี้ กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงาน หนังสือไม้ประดับกับสำนักพิมพ์บ้านและสวนอยู่หลายเล่ม แม้จะบอกว่าทำเป็นงานอดิเรก แต่เมื่อ ได้ทำสิ่งที่หลงรักอย่างเต็มที่โดยไม่คิดถึงปลายทาง ผลลัพธ์มักเหนือความคาดหมายเสมอ เหมือนอย่างที่เขากำลังทำหนังสือไม้อวบน้ำที่สมบูรณ์แบบไม่แพ้หนังสือแคคตัสให้เหล่าสาวก ได้ติดตามกัน เพื่อนใหม่ที่รู้จักกันตอน ป.5 และกลายเป็นเพื่อนสนิทจนปัจจุบัน “จำได้ว่าตอนเด็กๆ เห็นคุณตาเลี้ยงต้นโป๊ยเซียนโดยที่ผมเป็นลูกมือคอยช่วยหยิบกระถางหยิบดินให้มาตลอด จนโต มาช่วงป. 5 -ป. 6 ก็เริ่มอยากปลูกต้นไม้เองบ้าง เลยลองซื้อต้น แอฟริกันไวโอเลตซึ่งเป็นที่นิยมในยุคนั้นมาเลี้ยงดู ผมชอบรูปทรงของต้นไม้และชอบสีของดอกไม้ที่ดูพิเศษ พอช่วงจังหวะที่ย้ายมาอยู่บ้านใหม่ซึ่งมีพื้นที่กว้างขึ้น ผมก็เริ่มซื้อกล้วยไม้มาเลี้ยงเพิ่มเติม” ช่วงแรกที่คุณโอห์มหัดเลี้ยงต้นไม้ยังไม่มีแหล่งข้อมูลแบ่งปันทางอินเทอร์เน็ต จึงต้องอาศัยการซักถามจากผู้ขายบ่อยๆ จน คุ้นเคยและได้ความรู้สะสมมาเรื่อยๆ ความสนุกในการเลี้ยงต้นไม้ จึงเริ่มขยายต่อไปถึงพรรณไม้อื่นอย่างสับปะรดสีและกระบองเพชร ทำให้ตัดสินใจเลิกเลี้ยงแอฟริกันไวโอเลตไป เพราะไม่มีเวลาเพียงพอที่จะดูแล “ผมว่าเป็นเรื่องธรรมดานะที่เวลาเราเลี้ยงอะไรแล้วมัน อาจไม่ประสบความสำเร็จ […]