© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
สถาปนิกภาคอีสาน ทั้ง 5 บริษัทนี้ มีผลงานการออกแบบที่สวยงาม เจ้าของบ้านแถบภาคอีสาน ที่กำลังมองหาสถาปนิกฝีมือดี ลองเก็บเข้าลิสต์ไว้
หากใครถูกใจงานอิฐ และกำลังมองหาสถาปนิกที่น่าสนใจ เรารวม 8 ดีไซเนอร์ ที่มีผลงานการออกแบบโดยใช้ " อิฐ " เป็นองค์ประกอบหลัก
จะดีแค่ไหนถ้าการ ออกแบบบ้าน สักหลัง สามารถทำให้เราเข้าถึงความรู้สึกของการได้พักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม วันนี้ room Design Tips ขอนำความรู้เรื่อง “ทิศทางแดด-ลม” และ “รูปทรง” ของบ้าน ที่มีศักยภาพในการเปิดรับแสง-ลมได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานในการออกแบบบ้านที่จะมีผลต่อการวางผังการใช้งานว่าจะทำอย่างไรให้บ้านมีสภาวะน่าสบาย เหมาะกับการอยู่อาศัย เพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถใช้เวลาและใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างมีความสุข วางผังบ้านให้ถูกทิศแดดและลม ทิศเหนือ เป็นทิศที่ร่มเย็นที่สุดตลอดวัน เหมาะกับเป็นพื้นที่พักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ ทิศตะวันออก เป็นทิศที่ได้รับแสงในตอนเช้า ไม่สะสมความร้อนช่วงบ่าย ทำให้ตอนกลางคืนเย็นสบาย เหมาะจะทำเป็นห้องนอน ทิศตะวันตก-ใต้ เป็นทิศที่ได้รับปริมาณแสงแดดมากตลอดทั้งวัน แต่มีลมพัดผ่าน จึงเหมาะเป็นห้องครัว ห้องน้ำ หรือส่วนบริการอื่น ๆ ที่ต้องการแสงแดด และการระบายอากาศที่ดี ทิศตะวันตก เป็นทิศที่ค่อนข้างร้อนตลอดวัน จึงควรจัดสรรเป็นพื้นที่ที่ต้องการแดดและลม เช่น ทางเดินระเบียง เพื่อกันไม่ให้พื้นที่ใช้งานภายในบ้านได้รับความร้อนโดยตรง ทิศทางลมแต่ละฤดู ฤดูร้อน เดือนมีนาคม – พฤษภาคม ลมพัดมาทางทิศใต้ช่วยคลายร้อน ฤดูฝน เดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน ลมพัดจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูหนาว เดือนธันวาคม […]
มาดู 15 ไอเดีย ที่ใช้การ ออกแบบบ้าน เพิ่มฟังก์ชั่น รองรับการใช้งานสำหรับพื้นที่ภายในบ้านให้กับบ้านของคุณ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ Multi-Function การ ออกแบบพื้นที่ให้ใช้งานได้มากกว่าหนึ่ง ฟังก์ชัน , Hide Design การออกแบบปิดซ่อนของในบ้านให้ดูเป็นระเบียบ, Storage Idea ไอเดียการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บของให้มุมต่างๆ ในบ้าน ออกแบบบ้าน Multi-Function Space Multi-Function Space เป็นการออกแบบพื้นที่ใช้งานในบ้านให้หนึ่งพื้นที่ใช้งานได้หลายอย่างในพื้นที่เดียว หรือเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานเป็นรูปแบบต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ตอบโจทย์ความต้องการใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่ขนาดไม่ใหญ่นักรวมถึงคอนโดมิเนียม เพราะจะได้ใช้พื้นที่ได้เต็มที่มากที่สุด การออกแบบพื้นที่แบบ Multi-Function Space มีหลายรูปแบบ จะขอแนะนำไอเดียเป็นตัวอย่าง 5 แบบ ที่น่าสนใจดังนี้ ใช้ม่านแบ่งพื้นที่ การใช้ม่านแบ่งพื้นที่เป็นวิธีหนึ่งในการใช้งานห้องโดยแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ โดยไม่ต้องสร้างผนังแบบทึบ หรือใช้สร้างความเป็นส่วนตัวให้พื้นที่ต่างๆ ภายในบ้าน สามารถช่วยบังสายตาได้ เป็นฉากกั้อุณหภูมิจากเครื่องปรับอากาศไม่ให้ออกไปยังอีกส่วนได้ แต่ไม่กันเรื่องเสียงทะลุผ่านห้อง นอกจากนี้ผ้าม่านยังใช้เป็นส่วนตกแต่งห้องได้ เลือกสี เนื้อผ้า […]
วัสดุ กระดาษ BCG ! เปลี่ยนวงจรมลพิษจากการ "เผา" สู่งานออกแบบใหม่จากเศษเหลือทิ้งทางอุตสาหกรรมเกษตร การเวียนใช้เศษเหลือทางอุตสาหกรรมเกษตร
เมืองในอนาคต ผู้คนจะมีบุคลิกและแนวคิดแบบไหนกันบ้าง และคุณเป็นคนแบบไหนใน 6 แบบ เพื่อรู้จักตัวเอง มาร่วมทำแบบทดสอบกัน เป็นปกติที่การออกแบบบ้านจะปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตและบริบทของยุคสมัย ยิ่งปัจจุบันที่สิ่งรอบตัวเปลี่ยนไปเร็วจนอาจไร้ทิศทาง มีปัญหาทั้งเรื่องใกล้ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมรอบบ้าน และเรื่องไกลตัวที่หนีไม่พ้นในระดับชุมชน และระดับเมือง จนรู้สึกว่าเรามีชีวิตในเมืองที่อยู่ยากขึ้นทุกวัน แต่เราสามารถออกแบบบ้านและสร้าง เมืองในอนาคต ให้น่าอยู่ขึ้นได้ บ้านและสวน จึงขอเชิญชวนทุกคนกลับมาสำรวจตัวเองว่า เราจัดอยู่ในคนกลุ่มใด คาดหวังให้เมืองในอนาคตเป็นไปในทิศทางไหน และเทรนด์การออกแบบบ้าน อสังหาริมทรัพย์ในอนาคตเป็นอย่างไร เพื่อเตรียมตัว รองรับการเปลี่ยนแปลง และก้าวเดินไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมาพูดคุยกับ คุณโจ้ง-ปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ (Baramizi Lab Director) ซึ่ง ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ เป็นผู้จัดทำ ASA WOW Thematic Pavilion ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ อมรินทร์กรุ๊ป และพันธมิตร และบรรยายใน Future Lab Forum 2022 หัวข้อ Xperience Design […]
รวมวิธีสร้างบ้านให้ใช้พื้นที่ดินได้คุ้มค่าสูงสุด ไม่เปลืองที่ ลดงบประมาณการก่อสร้าง บ้านประหยัดงบ เมื่อเริ่มต้นสร้างบ้าน เจ้าของบ้านส่วนใหญ่คงต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะใช้พื้นที่อย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งความคุ้มค่านี้ไม่ได้หมายถึงการสร้างให้ประหยัดที่สุดหรือมีราคาถูกที่สุด แต่คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามที่คุ้มค่ากับพื้นที่ที่มีอยู่ รวมถึงการวางแผนใช้พื้นที่ให้มีประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น พื้นที่ใต้บันได พื้นที่ใต้พื้นบ้าน ที่เก็บของ ก็จะไม่เปลืองงบประมาณที่ต้องมาทำเพิ่มภายหลัง มาดูกันว่า บ้านประหยัดงบ มีข้อควรพิจารณาอะไรก่อนลงมือก่อสร้างบ้าง 1. วางแผนงบประมาณก่อนสร้างบ้าน การสร้างบ้านไม่ได้มีเฉพาะค่าก่อสร้างตัวบ้านเท่านั้น ยังมีค่าใช้จ่ายอีกหลายอย่างซ่อนอยู่ บางอย่างตัดได้ บางอย่างตัดไม่ได้ มาดูกันว่าเราต้องเตรียมกระเป๋าให้หนากันแค่ไหน เพื่อจะได้สร้างบ้านให้สมดุลกับงบประมาณ บ้านประหยัดง สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน 66% งานก่อสร้างบ้าน (งานโครงสร้าง สถาปัตยกรรม ไฟฟ้า และสุขาภิบาล) 22% งานตกแต่งภายใน 4% งานตกแต่งสวน 5% ค่าออกแบบสถาปัตยกรรม วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมไฟฟ้า และสุขาภิบาล 2% ค่าออกแบบตกแต่งภายใน 0.5% ค่าออกแบบสวน 0.5% งานยื่นขออนุญาตสร้างอาคาร งานขอน้ำ ไฟฟ้า เลขที่บ้าน หมายเหตุ : สัดส่วนนี้คิดจากบ้านราคา […]
รู้จักแนวทางการออกแบบโดยผสมผสานระหว่าง วิธีธรรมชาติ และการใช้เครื่องกล เพื่อออกแบบ บ้านเย็นวิถีธรรมชาติ ช่วยลดการใช้พลังงาน แนวทางการออกแบบบ้านให้เย็นสบายมี 2 วิธี คือ การออกแบบโดยอาศัยธรรมชาติ (Passive Cooling Design) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศ ทิศทางแสงแดดและลม อีกวิธีเป็นการออกแบบโดยใช้เครื่องกล (Active Cooling Design) ซึ่งจะช่วยในสภาวะที่สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติไม่เอื้ออำนวย โดยควรใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน เพราะเมื่อออกแบบโดยอาศัยธรรมชาติได้ดีแล้ว แม้จะใช้เครื่องกลก็จะลดการใช้พลังงานได้ในระยะยาว แบบ บ้านเย็นวิถีธรรมชาติ มีแนวทางการออกแบบ ดังนี้ 1. วางแปลนบ้านถูกทิศให้หลบแดด รับลม วางแปลนบ้านตามทิศเหนือ-ใต้ จุดเริ่มต้นของ บ้านเย็น ที่อยู่สบาย คือ การวางตำแหน่งบ้านให้ถูกต้อง ด้วยการวางตัวบ้านขนานแนวโคจรของดวงอาทิตย์ ให้ด้านแคบของบ้านหันไปทิศตะวันออกและตะวันตกซึ่งมีแดดแรง แล้วหันด้านยาวของบ้านไปทางทิศเหนือและใต้ซึ่งได้รับแดดน้อยกว่า และทำช่องหน้าต่างเปิดรับลมธรรมชาติให้มากที่สุด โดยมีทิศทางลมและแสงแดดดังนี้ ทิศทางลมประจำฤดู คือ ลมที่พัดผ่านเป็นประจำและมีทิศทางแน่นอนมี 2 ทิศทางคือ a.ช่วงกลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนกุมภาพันธ์ มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดพาอากาศหนาวมา และช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงลมเปลี่ยนทิศจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ b.ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดพาฝนและความชื้นมา ทิศทางแดด c.ช่วงเดือนมีนาคม […]
การออกแบบบ้านเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องมีสถาปนิกและวิศวกรออกแบบ แปลนห้อง เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางโครงสร้างและการใช้งานทั้งภายในบ้านและพื้นที่โดยรอบให้ถูกกฎหมาย แต่เมื่อถึงคราวต้องสร้างบ้าน เรามักไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ตัวเองต้องการให้สถาปนิกเข้าใจ หรือเมื่อเห็นผังพื้น (Plan) ก็นึกไม่ออกว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะเป็นอย่างไร เราจึงทำคู่มือการออกแบบและวางแปลนบ้านด้วยตัวเองฉบับพื้นฐาน เพื่อทำความรู้จักระบบการออกแบบอย่างง่ายที่จะช่วยให้เจ้าของบ้านเข้าใจระบบของสถาปนิกมากขึ้น หรือเพื่อวางแปลนบ้านเองแล้วส่งต่อสถาปนิกให้ออกแบบบ้านได้อย่างที่ต้องการ หรือถ้าใครจะปรับเปลี่ยนบ้านโดยไม่กระทบโครงสร้าง ก็สามารถวาด แปลนห้อง แล้วให้ช่างมาทำเองก็ได้เช่นกัน 1 | วิธีกำหนดเฟอร์นิเจอร์ หลายคนถามว่าจะมีวิธีกำหนดจำนวนและขนาดเฟอร์นิเจอร์อย่างไร คำตอบคือให้ดูผู้ใช้งานและพื้นที่เป็นเกณฑ์ ได้แก่ ผู้ใช้งานคือใคร เด็ก ผู้สูงอายุ หรือวัยทำงาน จำนวนเท่าไร ทำกิจกรรมอะไรบ้างและช่วงเวลาในการใช้พื้นที่ ซึ่งเป็นคำถามที่เราต้องตอบเองและวางแผนเผื่ออนาคต ถ้ายิ่งมีความชัดเจนก็จะกำหนดเฟอร์นิเจอร์และพื้นที่ได้ง่ายและประหยัดงบประมาณเพราะไม่ต้องเผื่อมากเกินจำเป็น 2 | รู้จักขนาดเฟอร์นิเจอร์ (Furniture Scale) ก่อนวางแปลนควรทราบขนาดเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลักที่จะวางในห้อง เพื่อออกแบบการจัดวาง การเว้นช่องทางเดิน ก็จะรู้ขนาดห้อง หรือในทางกลับกัน ถ้ามีขนาดห้องแล้วก็จะได้กำหนดขนาดเฟอร์นิเจอร์ให้เข้ากับห้องได้พอดี ยกตัวอย่างขนาดเฟอร์นิเจอร์เช่น โซฟา 3 ที่นั่ง ขนาด 2.00 x 0.80 m อาร์มแชร์และสตูลวางเท้า ขนาด 0.75 x 1.27 m โต๊ะสี่เหลี่ยมผืนผ้า […]
เมื่อพูดถึงบ้านเหล็ก หลายๆคนมักจะนึกไปถึงบ้านสไตล์ Industrial, Loft หรือจะเป็นบ้านที่ออกแนว Rustic ไปเลยเสียด้วยซ้ำ แต่วันนี้ เรามีบ้านเหล็กที่ออกแบบอย่างชาญฉลาดในการที่จะกระชับพื้นที่ให้มีสภาวะที่น่าสบายคล้ายบ้านไทยเลยทีเดียว
ดีไซน์บ้านอย่างไรให้ถูกใจไลฟ์สไตล์ของเจ้าของหลายๆ คน เป็นโจทย์ที่แม้จะท้าทาย แต่ทุกสิ่งสร้างสรรค์ได้ด้วยงานออกแบบ เราจึงมีอีกหนึ่งผลงานโปรเจ็กต์ออกแบบภายในคอนโดมิเนียม Supalai Wellington ของครอบครัวซึ่งประกอบด้วยคุณแม่และลูกสาว
แม้บ้านจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่ทุกชีวิตในบ้านมีการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนที่เคลื่อนย้ายอยู่ รวมถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง บ้านหลังนี้จึงออกแบบเพื่อตอบโจทย์นั้น