© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
สวนป่าข้างบ้าน ในย่านลาดพร้าวที่มีหน้ากว้างเพียงแค่ 6 เมตร แต่กลับร่มครึ้มไปด้วยร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ มีลำธารเล็กๆ ให้บรรยากาศราวกับป่าธรรมชาติ
บ้านและสวนเดินทางไปประเทศศรีลังกา และมีโอกาสได้เยี่ยมชมบ้าน สวน และสถานที่สวยๆหลายต่อหลายแห่ง ที่หนึ่งที่เราประทับใจคือบ้านในสวนกว้างของสถาปนิกระดับปรมาจารย์ชาวศรีลังกาที่ชื่อ Geoffrey Bawa หลายท่านอาจเคยได้ยินชื่อเสียงและเห็นภาพผลงานของเขามาบ้างแล้ว ที่นี่ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวก่อนที่เขาจะกลายเป็นผู้ที่ทำให้สถาปัตยกรรมและการจัดสวนสไตล์บาหลีเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก สวนเมืองร้อน บาวาเติบโตในครอบครัวเลือดผสมในยุคที่ประเทศศรีลังกายังเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ เขาได้รับการเลี้ยงดูแบบผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกกับตะวันตก ดังนั้นความคิดความอ่านและมุมมองของเขาในเรื่องศิลปะวัฒนธรรมจึงกว้างขวาง แม้จะเรียนจบทางด้านกฎหมายในปี 1942 และเริ่มทำงานเป็นทนายความตามที่บิดาคาดหวังไว้ แต่หลังจากทำงานนี้ได้ไม่นานเขาก็เริ่มเบื่อหน่าย ในที่สุดบาวาก็ลาออกจากงานและไปท่องเที่ยวทวีปยุโรปในปี 1946 การเดินทางครั้งนี้ทำให้เขาหลงใหลในสุนทรียภาพของสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรมคลาสสิกของประเทศอิตาลี เขาได้เห็น “วิลล่า” หรือคฤหาสน์บนเขาที่มีสวนและทิวทัศน์โดยรอบที่เชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว เมื่อเดินทางกลับประเทศศรีลังกาในปี 1948 เขาได้ซื้อสวนยางพาราเก่าที่ปล่อยทิ้งร้างบนภูเขาในเมืองเบนโตตา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ และหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะแปลงโฉมที่ดินเสื่อมโทรมผืนนี้ให้กลายเป็นสวนสวยแบบที่เขาเคยเห็นในประเทศอิตาลี สวนยางแห่งนี้มีชื่อว่า “ลูนากังก้า” (Lunaganga) สวนสไตล์บาหลี บาวาพยายามออกแบบบ้านและจัดสวนด้วยตัวเอง แต่ก็ได้พบความจริงว่า เขามีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการออกแบบบ้านและสวนไม่มากพอ ในปี1951 เขาตัดสินใจหางานทำในสำนักงานสถาปนิกเพื่อหาประสบการณ์เพิ่มเติม และสมัครเข้าเรียนด้านสถาปัตยกรรมที่ Architectural Association สถาบันออกแบบที่มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ ขณะนั้นเขามีอายุ 34 ปี และกลายเป็นนักศึกษาปีหนึ่งที่มีอายุมากที่สุดในโรงเรียน สามสิบปีต่อมาบาวากลายเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของประเทศศรีลังกา ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อวงการออกแบบทั่วโลกในช่วงปลายศริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาได้รับการยกย่องให้เป็นนักออกแบบที่ผสมผสานสุนทรียภาพจากระเบียบแบบแผนในงานออกแบบของยุโรปให้เข้ากับศิลปะวัฒนธรรม และเสน่ห์การใช้ชีวิตของชาวเอเชียใต้ได้อย่างกลมกลืน นอกจากงานในประเทศแล้ว เขายังมีงานออกแบบในกลุ่มประเทศเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่ง โดยเฉพาะที่โรงแรมบนเกาะบาหลีซึ่งกลายเป็นต้นแบบของอาคารในประเทศเขตร้อนที่เราเรียกว่า “สไตล์บาหลี” […]
สวนนี้เป็นการผสมผสานกลิ่นอายของบรรยากาศสวนชนบทในหมู่บ้านของฝรั่งเศส ด้วยการเลือกใช้พรรณไม้ที่มีสีสัน รูปทรง และความร่มรื่นแบบสวนเมืองร้อน
รวมแบบสวนสวย จาก 4 นักจัดสวน 4 สไตล์ คือ สาโรช โสภณางกูร ,คุณวรวุฒิ แก้วสุก คุณศิริวิทย์ ริ้วบํารุง และคุณจาตุรงค์ ขุนกอง จาก Little Tree และบริษัทกิ่ง ก้าน ใบ จำกัด
คอนเซ็ปต์ของ สวนเมืองร้อน นี้คือการซ่อนความงามไว้ด้านใน เปิดตัวด้วยลานคาร์เป็ตสโตนที่นิ่งเรียบ แล้วทิ้งจุดไฮไลต์ไว้ตรงกลางหรือช่วงท้าย
การจัด สวนมอสส์ นี้ได้แรงบันดาลใจจากป่าดิบเขาสูง (Upper MontaneRain Forest) ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของป่าในเขตร้อนชื้นบริเวณระดับสันเขาที่สูงทั่วทั้งประเทศ
สวนป่า บ่อปลา น้ำตกในสวน ในบ้านใจกลางกรุงหลังนี้มีต้นแบบมาจาก “กิ่วแม่ปาน” ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
สวนเมืองร้อนกลิ่นอายไทย เพราะด้วยวัสดุอย่างกระเบื้องดินเผา อิฐมอญ ไม้หมอนรถไฟ และหินธรรมชาติ อีกทั้งสวนที่ร่มรื่น มีมุมนั่งเล่นที่เดินเข้าไปแล้วรู้สึกสงบ
การผสมผสานความต่างของสองสไตล์อย่างลงตัวระหว่างพรรณไม้ที่เหมาะกับสวนเมืองร้อนและการตกแต่งสวนสไตล์ยุโรป กลายเป็นรูปแบบที่เข้ากันได้อย่างลงตัว ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของ คุณม่วย – อุบลรัตน์ สุวรรณโพธิ์ศรี ที่ต้องการบรรยากาศของสวนที่ร่มรื่น ดูโปร่ง ไม่ปิดทึบจนรู้สึกอึดอัด แต่ยังให้ความเป็นส่วนตัวเวลาใช้งานในสวน “ก่อนหน้านี้บ้านกับสวนมีสภาพเก่าทรุดโทรมมาก ต้นไม้ใหญ่ขึ้นเบียดเสียดอยู่ในพื้นที่เดียวกันจนแสงแดดส่องลงมาไม่ถึงสนามหญ้ากับไม้พุ่มเล็กที่อยู่ด้านล่าง ทำให้หญ้าและต้นไม้ส่วนใหญ่แห้งตาย มีบ่อเลี้ยงปลาที่ใช้หินกั้นทำเป็นขอบบ่อซึ่งเจ้าของเดิมทำไว้ เวลาฝนตกน้ำจะพาเอาดินที่ชะล้างไหลซึมเข้าในบ่อ เป็นสาเหตุให้น้ำขุ่นและปลาในบ่อทยอยตาย จึงตัดสินใจนำปลาที่เหลือไปปล่อยลงบึงธรรมชาติใกล้บ้าน ปัญหาใหญ่ของที่นี่คือเรื่องดินทรุดจนเกิดเป็นโพรงใต้บ้าน กลัวจะกลายเป็นที่อยู่ของสัตว์เลื้อยคลาน จึงติดต่อให้นักจัดสวนเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งถมดินตรงบ่อน้ำเก่าเพื่อใช้เป็นที่ปลูกต้นไม้แทน ส่วนรูปแบบสวนเราให้โจทย์ผู้ออกแบบ คุณปุ้ย – เฉลิมศักดิ์ บุญทวี และ คุณอ๊อบ – ภาณุยศปริกสุวรรณ จาก P_do Landscape Studio ไปว่าต้องการสวนและพรรณไม้ที่ดูแลง่าย มีต้นไม้ใหญ่บ้าง โดยเก็บต้นเดิมเอาไว้บางส่วน และอยากได้กลิ่นอายความเป็นสวนยุโรปนิดหน่อย เห็นช่วงนี้เขากำลังฮิตกัน” เจ้าของบ้านพูดพลางหัวเราะไปด้วย คุณอ๊อบอธิบายถึงการแก้ปัญหา แนวทางการออกแบบ รวมถึงฟังก์ชันการใช้งานในสวนให้ฟังว่า “ของเดิมดินอยู่ในระดับต่ำกว่านี้มากเห็นเป็นโพรงใต้บ้านเลย ผมจึงใช้วิธีขุดหลุมลึกประมาณ 70 – 80 เซนติเมตร วางแผ่นคอนกรีตสำเร็จแนบชิดกับผนังรอบบ้าน ก่อนใช้ปูนเชื่อมติดเป็นผืนเดียวกันอีกครั้ง ลดปัญหาดินสไลด์ใต้โพรงบ้าน บรรเทาเรื่องการทรุดตัวของดินได้พอสมควร จากนั้นนำดินมาถมเพิ่มให้ได้ระดับความสูงที่ต้องการและเผื่อดินยุบตัวในอนาคต […]
“กรุงเทพฯ นั้น เต็มไปด้วยรถรา มองไปทางไหนก็มีแต่ตึกรามบ้านช่อง มีป่าคอนกรีตขึ้นแทนต้นไม้ การได้พบเจอธรรมชาติเป็นสิ่งที่ผมโหยหา จึงได้เป็น สวนเมืองร้อน อย่างที่เห็น” นั่นคือความในใจที่เจ้าของบ้านหลังนี้บอกกับเรา สวนเมืองร้อน บนเนื้อที่ประมาณ 225 ตารางวา แบ่งเป็นที่พักอาศัย 100 ตารางวาที่เหลือใช้เป็นพื้นที่จัดสวน แม้เทรนด์การจัดสวนจะมีให้เลือกหลากหลาย ทว่า “สวนเมืองร้อน” ยังคงได้รับความนิยมอยู่เสมอบรรยากาศรอบตัวที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติของต้นไม้และสายน้ำ มีลมพัดโชยมาตลอดเวลา ชวนให้รู้สึกน่าพักผ่อน จึงเป็นความต้องการหลักของเจ้าของบ้าน คุณไห – ทินกร ศรีวัฒนะธรรมา ผู้ออกแบบสวนเล่าว่า “ตอนผมเข้ามาจัดสวนนี้ เจ้าของบ้านอยู่อาศัยมาได้ประมาณ 6 ปีแล้ว จึงพอมีพื้นที่สวนอยู่บ้าง ความต้องการหลักคืออยากได้อารมณ์แบบสวนป่า มีธารน้ำตก ศาลานั่งเล่น และพื้นที่กิจกรรมของสมาชิกในครอบครัว ผมออกแบบให้ทั้งบ้านและสวนมีความต่อเนื่องกัน เริ่มจากเพิ่มร่มเงาให้บริเวณหน้าบ้านที่ต้องโดนแดดตลอดทั้งวัน โดยปลูกปาล์มหางกระรอก ไม้ทรงสูงฟอร์มสวยงาม ดูแลง่าย ที่สำคัญใบไม่ร่วงมาก ตลอดแนวรั้วเลือกปลูกคริสตินาเพื่อบังสายตาจากภายนอก สร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัวให้ผู้ใช้งานในสวน ตบท้ายด้วยการปลูกไม้พุ่มและไม้คลุมดินอย่างหมากผู้หมากเมีย พุดศุภโชค เข็มชมพู คล้า และเฟินใบมะขาม ให้มีความต่อเนื่องกัน บริเวณนี้เคยเป็นสนามหญ้า นอกจากต้องคอยตัดแต่งเป็นประจำแล้ว ในช่วงฤดูฝนยังค่อนข้างเฉอะแฉะ […]
วันนี้เรามีนัดกับ คุณบอย – สุรพงค์ โอวรารินท์ นักจัดสวนจาก Scenery Concept Landscape Design & Contractor ที่บ้านหลังหนึ่งในย่านปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เราเดินทางมาถึงก่อนเวลานัดหนึ่งชั่วโมงเพื่อสัมผัสความสดชื่นของสวนในยามเช้า ประจวบเหมาะกับช่วงเวลานั้นระบบรดน้ำอัตโนมัติทำงานพอดี บรรยากาศรอบตัวจึงเหมือนมีฝนตกพรำๆ อากาศเย็นและชื้น มองเห็นละอองน้ำเกาะพราวอยู่ตามใบไม้ การได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่ ฟังเสียงนกร้องคลอไปกับเสียงน้ำไหล นี่แหละคือสวรรค์ของคนรักธรรมชาติอย่างแท้จริง “ผมอยากได้สวนอารมณ์แนวป่าๆ มีต้นไม้เยอะ ดูเขียวๆ ร่มรื่น เห็นแล้วสบายตา” คุณหมี – สกนธ์ ตันโชติกุล เจ้าของบ้านกล่าว ก่อนจะเล่าต่อว่า “น้ำตกกับบ่อปลาเพิ่งมาเพิ่มทีหลัง เนื่องจากกังวลว่าตัวเองจะไม่ค่อยมีเวลาดูแลมากนัก เลยขอให้คุณบอยทำเป็นลานสนามหญ้าไปก่อน ซึ่งเขาก็แนะนำเราตั้งแต่ทีแรกแล้วว่าบริเวณนี้เป็นพื้นที่ร่ม แสงอาจไม่เพียงพอสำหรับหญ้า แต่ขอเขาไว้ว่าลองดูก่อน ผลปรากฏว่าอยู่ได้แค่ไม่กี่เดือนก็ตายเรียบ (หัวเราะ) ครั้งที่สองคุณบอยเลยเสนอทางเลือกให้ว่าอยากเปลี่ยนเป็นอะไร ระหว่างพื้นกรวด ลานกิจกรรม หรือบ่อปลา คิดอยู่สักพัก ไหนๆ จะทำทั้งที ขอทำในสิ่งที่ตัวเองชอบก็แล้วกัน ตัดสินใจเลือกทำบ่อปลาแทน ผู้ออกแบบก็ทำออกมาได้สอดรับกับแนวสวนของเรามาก เป็นน้ำตกสองชั้นคล้ายลำธารไหลต่อเนื่องไปยังมุมศาลานั่งเล่น” คุณบอยกล่าวเสริมว่า “ศาลากับผนังน้ำตกเป็นของแถมมาพร้อมกับบ้าน ที่เหลือรื้อออกหมด แต่เก็บไม้ใหญ่อย่างคูนและชงโคไว้สองต้น […]
หลายคนคงได้ยินข่าวคราวของ “โครงการป่าในกรุง” โดย ปตท. ผ่านสื่อหลายแขนงกันมาพอสมควร บางคนอาจกำลังตัดสินใจว่าควรไปชมดีหรือไม่ ครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีที่ผมได้ไปเยือนและเก็บภาพรวมของโครงการดังกล่าวมาฝากคุณผู้อ่านทุกท่านกันครับ โครงการป่าในกรุงตั้งอยู่บนถนนสุขาภิบาล 2 ในเขตชานเมืองของกรุงเทพมหานคร บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกป่าตามวิถี ปตท. ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการปลูกป่า 1 ล้านไร่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ให้แก่ประชาชนทั่วไปและนักศึกษาที่สนใจ ทันทีที่เข้ามาภายในโครงการผมรู้สึกได้ถึงความเย็นสบายจากพื้นดินชุ่มน้ำใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ แตกต่างกับความร้อน จากไอแดดของถนนคอนกรีตด้านนอก พื้นทางเดินหญ้าสีเขียวทอดนำไปสู่ทางเดินที่ขนาบด้วยนิทรรศการเมล็ดพันธุ์แห่งป่าที่จัดวางตลอดแนวผนังดินบดอัดสีสวย ก่อนนำไปสู่อาคารนิทรรศการที่จัดแสดงนิทรรศการน่าสนใจมากมาย ตั้งแต่บอกเล่าถึงสภาพป่าเดิมในกรุงเทพมหานคร อันเป็นที่มาของชื่อย่านต่างๆ ไปจนถึงห้องฉายภาพยนตร์ปลุกจิตสำนึกเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมในเมือง อาคารแห่งนี้ยังมีพื้นที่ดาดฟ้าซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันความร้อนให้เข้าสู่ตัวอาคารน้อยลง และยังเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนและชมวิวทิวทัศน์ของโครงการอีกจุดหนึ่งด้วย ส่วนพื้นที่ภายนอกจัดเป็นสวนป่าเลียนแบบระบบนิเวศเดิมของพื้นที่บริเวณนี้คู่กับบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่จัดให้มีระบบหมุนเวียนน้ำและความลึกในระดับต่างกัน เพื่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ริมน้ำ ป่าน้ำตก เขาหินปูน ป่าดิบลุ่มไปจนถึงป่าเบญจพรรณ โดยเราสามารถศึกษาระบบนิเวศต่างๆ ในป่าได้จากการเดินบนทางเดินชมเรือนยอด (skywalk) อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและน่าสนใจไม่น้อยคือลักษณะและรูปแบบการสร้างป่านิเวศตามแนวคิดของ ศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ ซึ่งใช้เวลาเพียง 2 – 3 ปีในการสร้างป่าที่สมบูรณ์ มีหลักการง่ายๆ ที่สามารถทำตามได้ไม่ยาก เริ่มต้นจากการสร้างเนินดินและเตรียมดิน โดยดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวที่มีความเป็นกรดเล็กน้อย จากนั้นถมดินชนิดเดิมแต่ผสมทรายขี้เป็ดในอัตราส่วน […]