วิธีทำให้บ้านเย็น – บ้านและสวน

บ้านร้อนทํายังไง ให้บ้านเย็น จังหวะนี้ต้องมีตัวช่วย !

วันนี้ บ้านและสวน เลยมี 6 วิธีคลายร้อนทําบ้านให้เย็นสบายมาแนะนำ แก้ บ้านร้อนทำยังไง ? แบบง่าย ๆ มาฝากกัน

ฉนวน

เทียบคุณสมบัติฉนวนกันความร้อน อะไรดีกว่ากัน

การติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน เป็นการลงทุนที่จะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ในระยะยาว ไปทำความรู้จักฉนวนแต่ละชนิดก่อนเลือกใช้กัน ดูเหมือนอุณหภูมิในฤดูร้อนของบ้านเราจะพุ่งสูงขึ้นทุกปี หลายคนจึงอาจกำลังหาวิธีทำให้บ้านเย็นสบายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้รอบบ้าน ติดตั้งกันสาดบังแดด หรือกระทั่งติดตั้งเครื่องปรับอากาศ อีกวิธีหนึ่งที่เราอยากแนะนำคือการติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งในบ้านเก่าและบ้านใหม่ ช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ดี จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว การติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ซึ่งจะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ในระยะยาว บ้านและสวน ขอพาไปทำความรู้จักกับ ฉนวนกันความร้อน ชนิดต่างๆ กันให้มากยิ่งขึ้น ก่อนเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบ้านของคุณ รูปแบบการติดตั้งฉนวนกันความร้อน ส่วนใหญ่แล้วฉนวนกันความร้อนมักติดตั้งบริเวณหลังคา เพื่อป้องกันความร้อนโดยตรงจากแสงแดด แต่ก็สามารถติดตั้งตรงผนังบ้านได้เช่นกัน เพื่อช่วยกันความร้อนจากผนัง เก็บความเย็นภายในบ้าน รวมถึงช่วยดูดซับเสียงรบกวนจากภายนอกด้วย ฉนวนมีทั้งแบบหน่วงให้ความร้อนผ่านไปช้าลง และแบบสะท้อนความร้อนออก โดยการติดตั้งบริเวณหลังคามีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับฉนวนแต่ละประเภท ดังนี้ ติดตั้งเหนือฝ้าเพดาน – ฉนวนที่ติดตั้งเหนือฝ้าจะช่วยหน่วงความร้อนเอาไว้ไม่ให้ลงมายังห้องด้านล่าง โดยพื้นที่ใต้หลังคาควรมีช่องระบายอากาศด้วย เพื่อถ่ายเทความร้อนออกสู่ด้านนอกไม่ให้สะสมใต้หลังคามากเกินไป ฉนวนที่ติดตั้งเหนือฝ้ามีหลายรูปแบบ มีทั้งแบบแผ่นและแบบม้วนเพื่อให้ง่ายต่อการวางเหนือฝ้า และบางชนิดก็ติดมาพร้อมกับแผ่นฝ้าในตัว ติดตั้งใต้แผ่นหลังคา – ฉนวนที่ติดตั้งใต้แผ่นหลังคาสามารถกันความร้อนได้ดีที่สุด เพราะช่วยป้องกันความร้อนจากด้านบนไม่ให้ลงมาสะสมอยู่บริเวณใต้หลังคาบ้าน ฉนวนบางชนิดที่ติดตั้งใต้แผ่นหลังคาจะมีข้อจำกัดคือ ต้องติดตั้งไปพร้อมๆ กับการก่อสร้างหลังคา แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถติดตั้งบริเวณช่องแป รวมทั้งมีแบบฉีดพ่น ซึ่งสามารถติดตั้งในภายหลังได้ ติดตั้งบนผิวหลังคา […]

REFRACTION HOUSE บ้านผนังบล็อกแก้ว ช่วยกันร้อนและกระจายแสงให้บ้านโปร่ง

โปรเจ็กต์การทดลองจาก RAD + ar กับการตั้งคำถามถึงวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างบ้าน ที่จำเป็นต้องหันหน้าเผชิญกับแสงแดดจากทิศตะวันออกและตะวันตก ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านออกมาสวยงามน่าอยู่ พร้อม ๆ กับการปกป้องพื้นที่ด้านในจากความร้อนของแสงแดด นำมาสู่การเลือกใช้ “บล็อกแก้ว” มาออกแบบเป็นองค์ประกอบของเปลือกอาคารขนาดใหญ่ จากปัญหาตำแหน่งที่ตั้งซึ่งขวางอยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก แน่นอนว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศอินโดนีเซีย ย่อมต้องเจอะเจอกับแสงแดดจัดจ้าและความร้อนตลอดทั้งวัน ไม่อำนวยต่อการเปิดรับแสงธรรมชาติโดยตรงสักเท่าไหร่นัก จึงต้องคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้การออกแบบผนังส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สามารถป้องกันแสงแดดและลดความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติของ บล็อกแก้ว ที่ช่วยหักเหแสง กันความร้อน กันเสียง และไม่ทำให้บ้านทึบ วัสดุชนิดนี้จึงกลายเป็นคำตอบเพื่อให้บรรลุถึงความยั่งยืน   ด้วยการนำบล็อกแก้วมาออกแบบเป็นผนังทั้งส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สำหรับทำหน้ากันแสงแดดและลดความร้อนให้บ้าน โดยยังยอมให้แสงสว่างส่องลึกเข้าไปยังตัวบ้านด้านในได้ ทั้งนี้พื้นที่ระหว่างเปลือกอาคารบล็อกแก้วกับพื้นที่ใช้งานภายในบ้าน สถาปนิกได้ออกแบบให้มีระเบียงขนาดใหญ่คั่นอยู่ตรงกลางเพื่อใช้พักผ่อน โดยการเว้นสเปซดังกล่าวนี้ เผื่อไว้ในเวลากลางคืนที่ความร้อนจะถูกปล่อยออกมาจากบล็อกแก้ว จึงไม่กระทบกับการอยู่อาศัยมากนัก ขณะเดียวกันห้องต่าง ๆ ที่หันหน้าไปยังหน้าบ้าน ก็จะรับแสงสว่างได้อย่างเพียงพอในช่วงกลางวัน จนแทบไม่ต้องเปิดไฟใด ๆ เลย    ขยับเข้ามายังพื้นที่ใช้งานด้านใน ออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง โอบล้อมด้วยผนังบล็อกแก้วทั้งสามด้าน สร้างความร่มรื่นด้วยการปลูกไม้ฟอร์มสวยอย่าง ต้นแปรงล้างขวด ซึ่งมีดอกสีแดง และกิ่งก้านห้อยระย้า ช่วยสร้างเส้นสายพลิ้วไหว ตัดกับความดิบกระด้างของวัสดุ และโครงสร้างของบ้านได้อย่างดี โดยที่แสงธรรมชาติจากคอร์ตยอร์ดยังส่องผ่านไปยังผนังบล็อกแก้ว ช่วยให้พื้นที่บ้านชั้นในดูสว่างขึ้นได้อีกทาง  นับเป็นการออกแบบบ้านที่ทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมของที่ตั้งได้อย่างแยบยล […]

บ้านประหยัดพลังงานกลางสวนมะม่วง และมองเห็นวิวดอยสะเก็ดได้จากภายในบ้าน

ดึงวิวธรรมชาติสวยๆ เข้ามาสู่มุมพักผ่อนในบ้าน โดยคำนึงถึงแนวคิด บ้านประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประกอบกัน เพื่อนำพาไปสู่วิถีชีวิตอันยั่งยืนต่อไป

บ้านโปร่งสบาย

เปลี่ยนบ้านร้อนอุดอู้ให้เป็น บ้านโปร่งสบาย ด้วยธรรมชาติ

บ้านโปร่งสบาย หลังนี้ออกแบบจากรูปแบบอาคารที่เรียกว่า “Building Block” ซึ่งอาจคิดว่าอาคารอุดอู้แบบนี้ ไม่น่าจะสบาย แต่จริงๆแล้วอยู่สบายมาก

บ้านน่าอยู่ โอบล้อมด้วยขุนเขา

เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณปวริศร์ – คุณสุรีย์ สุทธิสาร บ้านน่าอยู่ ไม่แปลกที่ธรรมชาติแห่งขุนเขาและกลิ่นหอมของดอกไม้ป่า รวมถึงสายลมอันบริสุทธิ์สดชื่นรอบๆเขาใหญ่จะกลายเป็นเหตุผลสำคัญของการบอกลาชีวิตในกรุงเทพฯ แต่เหนืออื่นใดก็คงเป็นเพราะ คุณแนน – สุรีย์ สุทธิสาร ภรรยาคนสวยเป็นคนพื้นถิ่นแถวนี้ ทำให้ คุณปั๊บ – ปวริศร์ สุทธิสาร ตัดสินใจมาสร้างครอบครัวและบ้านพักอาศัยหลังใหม่อยู่ที่เขาใหญ่เป็นการถาวร ระยะเวลาร่วม 8 ปีของการได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติสวยๆ เหล่านี้ ยังทำให้คุณปั๊บเกิดแนวคิดที่จะแบ่งปันความสุขด้วยการสร้างโครงการบ้าน 1.618 ขึ้นบนพื้นที่กว่า 42 ไร่ ที่ระดับความสูงประมาณ 430 เมตร ซึ่งมีขุนเขาสูงโอบล้อมรอบทิศทาง แถมด้วยช่องลมธรรมชาติที่รับลมได้ตลอดทั้งปี สำหรับแนวคิดการออกแบบมีจุดเริ่มต้นจากอัตราส่วน 1.618 ที่เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีคิดค้นขึ้นจากสัดส่วนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และกลายเป็นอัตราส่วนมหัศจรรย์ให้วงการศิลปะและสถาปัตยกรรมนำไปประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดโมนาลิซา วิหารพาร์เธนอน หรือโลโก้ของแบรนด์ Apple กระทั่งมาเป็นอัตราส่วนในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมของบ้านหลังนี้ให้ลงตัวและงดงาม     “ผมอยากสร้างบ้านที่เข้ากับสภาพแวดล้อมของเขาใหญ่ให้มากที่สุด ไม่ใช่เอาบ้านจากประเทศไหนๆมาตั้งอยู่ที่เขาใหญ่เฉยๆ เพราะด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกมาก ผมจึงให้ความสำคัญกับหลังคาเป็นอันดับแรก […]

บ้านคือศูนย์รวมใจ

เชื่อว่าคนไทยคงคุ้นชินกับภาพความอบอุ่นของการดูแลบุพการี หรือการกลับไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง บรรยากาศของการทำอาหารรับประทานร่วมกัน การนั่งล้อมวงถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ รวมไปถึงการได้เห็นลูกหลานวิ่งเล่นด้วยกันท่ามกลางเสียงหัวเราะสนุกสนาน ก็ช่วยสร้างความสุขได้เป็นอย่างดี การออกแบบบ้านหลังนี้จึงเกิดจากความตั้งใจให้เป็นสถานที่รวมความรัก ความปรารถนาดี และความห่วงใยระหว่างคนในครอบครัว ทีมงาน “บ้านและสวน” มุ่งหน้าไปยังย่านบางบอน ลึกเข้าไปในซอยที่ห่างจากถนนใหญ่มีบ้านสีขาวสองชั้นรูปทรงร่วมสมัย โอบล้อมด้วยสนามหญ้าเขียวขจี อีกทั้งบริบทที่แวดล้อมบ้านหลังนี้ยังคงเป็นชุมชนที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างบดบังทัศนียภาพของธรรมชาติ บรรยากาศจึงเงียบสงบและมีความร่มรื่น เมื่อเห็นบ้านแสนสวยหลังนี้แล้วก็ชวนให้นึกถึงสุภาพสตรี ด้วยรูปทรงที่ให้ความรู้สึกเรียบร้อย อบอุ่น สง่า ดูร่วมสมัย แต่ให้ความพิเศษส่วนตัวแบบที่หลีกหนีจากความวุ่นวายภายนอกได้ นั่นทำให้เรานึกสงสัยถึงที่มาที่ไป คุณวรพจน์ เตชะอำนวยสุข สถาปนิกผู้ออกแบบจึงเล่าถึงความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากได้บ้านเพื่อเป็นสถานที่รวมตัวของครอบครัว โดยได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมโคโลเนียลในช่วงรัชกาลที่ 5 และบ้านเรือนไทยที่ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น “โจทย์หลักคือการปลูกบ้านหลังใหม่เป็นบ้านของคุณยาย และก็เป็นบ้านที่รวมญาติๆ ได้ด้วย ลองมานั่งคิดเรื่องการออกแบบพื้นที่ทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวและการใช้พื้นที่ส่วนรวม เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างตอบโจทย์ เลยนึกไปถึงลักษณะของบ้านเรือนไทยที่มีเอกลักษณ์คือใต้ถุนสูง มีด้านล่างเป็นลานอเนกประสงค์ มีชานพักเป็นพื้นที่รวมคนและนำไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้” สถาปนิกได้ออกแบบการเข้าสู่ตัวบ้านผ่านพื้นที่เล็กๆ แล้วค่อยนำพาไปสู่การเปิดเผยพื้นที่เปิดโล่งด้านในได้อย่างต่อเนื่อง มีจุดนำสายตาระหว่างทางจนกระทั่งมาสู่สนามหญ้าสีเขียวที่อยู่ภายใน ซึ่งชวนให้รู้สึกได้ว่าเป็นสถานที่พิเศษเฉพาะบุคคลอันเป็นที่รักเท่านั้น “เพื่อให้บ้านเป็นศูนย์รวมของญาติๆ ตามที่ตั้งใจ พื้นที่สีเขียวของบ้านนี้จึงทำหน้าที่เป็นสนามหญ้าสำหรับให้เด็กๆ ได้มาวิ่งเล่นกัน การวางตัวบ้านในลักษณะโอบล้อมแบบนี้ต้องคำนึงทิศทางแดดและลมประกอบด้วย เพราะต้องการให้บ้านมีพื้นที่สีเขียวที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ตอนเช้าจะได้แสงอ่อนๆจากทิศตะวันออก พอถึงช่วงบ่ายตัวบ้านจะบังแดดไว้ ทำให้สนามหญ้ากลายเป็นสวนยามบ่ายของครอบครัวได้ด้วย” บริเวณชั้นล่างของบ้านออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม เว้นเพียงห้องผู้สูงอายุที่มีบริเวณส่วนตัวให้สามารถสัมผัสพื้นหญ้าสีเขียวและเข้าถึงครัวได้ง่าย ขณะที่ชั้นบนทั้งหมดเป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนตัว แบ่งเป็นห้องนอนใหญ่ […]

บ้านต่างวัยแต่ใจเดียวกัน

แม้จะไม่มีข้อมูลทางสถิติมายืนยัน แต่เรามั่นใจว่าเวลาและประสบการณ์ทำให้การเลือกบ้านในฝันของแต่ละช่วงอายุนั้นต่างกันออกไปในวัยรุ่นอาจต้องการเพียงพื้นที่ที่เป็นส่วนตัว ขณะที่วัยผู้ใหญ่ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มต้นสร้างตัวและครอบครัวคงมีช่วงเวลาหนึ่งที่คิดว่าจะเลือกอยู่บ้านเดิมของพ่อแม่หรือย้ายออกไปหาบ้านใหม่ ส่วนวัยบั้นปลายก็คงต้องการแค่ความสะดวกสบาย ความสบายกายและใจ รวมถึงได้อยู่บ้านพร้อมหน้ากับครอบครัว คงเป็นความโชคดีของครอบครัว อารักษ์เวชกุล เพราะเจ้าของบ้านหลังนี้ค้นหาความต้องการของตัวเองพบตั้งแต่เริ่มต้น คุณพบ – ศีลวัตรและ คุณจอย – ลลิตา อารักษ์เวชกุล สองสถาปนิกที่มีโอกาสสร้างบ้านที่ใช่สำหรับครอบครัวเล็กๆผังของบ้านทั้ง 3 หลังจัดวางเป็นรูปตัวแอล (L) ตัวบ้านออกแบบเป็นสไตล์โมเดิร์นที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นด้วยวัสดุอย่างปูนเปลือยและไม้ธรรมชาติ ประกอบด้วยบ้านหลังแรกซึ่งเดิมทีอย่อูาศัยกัน 4 คน ได้แก่คุณพบ คุณพ่อ คุณแม่ และน้องชาย โดยอยู่ตำแหน่งตรงกลางที่ดิน คุณพบเล่าว่า เขาได้รับโจทย์จากคุณพ่อให้ออกแบบบ้านนี้ตั้งแต่ตอนเรียนจบใหม่ๆ ถือเป็นผลงานออกแบบชิ้นแรกที่ตั้งใจทำอย่างเต็มที่   กระทั่งเมื่อคุณพบแต่งงานกับคุณจอยจึงได้ออกแบบบ้านหลังที่สองเพื่อให้เป็นบ้านของน้องชายแยกออกมาต่อมาเมื่อน้องชายแต่งงานจึงแยกบ้านออกไป ส่วนหลังที่สามเป็นของคุณแม่คุณจอย ซึ่งย้ายมาอยู่ด้วยกันเพื่อจะได้ใกล้ชิดหลาน ทั้งครอบครัวจึงซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อให้ได้อยู่ติดกัน จุดเด่นของบ้านหลังนี้คือแม้จะปลูกสร้างในพื้นที่เดียวกัน แต่ก็ไม่ได้ใช้พื้นที่ร่วมกันทั้งหมดเพื่อให้ทุกคนยังคงมีความเป็นส่วนตัวด้วย ทว่าก็ยังเว้นที่ไว้สำหรับพื้นที่ส่วนกลาง และมีพื้นที่ระหว่างกันในบ้านแต่ละหลัง คุณพบและคุณจอยเล่าว่า “เราชอบทำเลย่านพัฒนาการ เพราะยังโล่งและไปไหนมาไหนสะดวก ไม่เคยคิดจะไปอยู่ที่อื่นโครงการที่อยู่นี้ก็เงียบๆ เล็กๆ มีกรรมการหมู่บ้านที่ดี ที่สำคัญคือเราได้ออกแบบเอง เป็นบ้านที่อยู่สบาย มีการระบายอากาศที่ดี” บ้านที่ดีก็คือบ้านที่อยู่สบาย คุณพบวางผังของบ้านแต่ละหลังไม่ให้บดบังทิศทางลมซึ่งกันและกัน เว้นพื้นที่ตรงกลางของบ้านเป็นคอร์ตขนาด 4 × 8 […]

The Neverland of Andra Matin ระหว่างพื้นที่กับการเดินทาง

  เมื่อเดินผ่านประตูรั้วด้านหน้าบ้านเข้าไปเราจะพบทางเดินไม้ลอยอยู่เหนือสระน้ำ ขนาบด้วยกำแพงดินที่มีมอสส์และเฟินแทรกอยู่เป็นระยะ ร่องไม้ที่ชั้นบนเว้นที่ว่างให้แสงสว่างลอดผ่านลงมาสะท้อนกับผืนน้ำดูระยิบระยับไปทั่วบริเวณ  ปลาคาร์พตัวเขื่องว่ายน้ำลอดจากมุมหนึ่งไปสู่อีกมุมหนึ่ง แดดจัดจ้าของประเทศอินโดนีเซียช่วยเติมเต็มความสดใสให้บ้านหลังนี้ได้อย่างเหลือเฟือ Mr. Andra Matinเจ้าของและผู้ออกแบบบ้าน AM House หลังนี้ยิ้มต้อนรับและผายมือเชิญเราเข้าสู่ภายในบ้าน  เขาพาเราเดินขึ้นไปบนชั้นสองของบ้านซึ่งจัดวางโต๊ะยาวขนาด 4 – 5 เมตร เพื่อใช้รับแขก จากตรงนี้เรามองเห็นอาคารคอนกรีตสมัยใหม่ที่เปิดโล่งและมีพื้นที่อเนกประสงค์คล้ายบ้านใต้ถุนสูงอันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตร แล้วบทสนทนาระหว่างเรากับคุณอันดราก็เริ่มขึ้น “ผมเริ่มก่อสร้างบ้านหลังนี้ในปีค.ศ. 2008 เริ่มจากโครงสร้างหลักคือกล่องปูนเปลือยยกสูงอย่างที่เห็นเมื่อบ้านค่อยๆก่อร่างขึ้นก็ทำให้ผมเห็นรายละเอียดที่ควรใส่เพิ่มลงไปจึงใช้เวลาก่อสร้างนานกว่าบ้านทั่วไปแต่การค่อยๆคิดและถักทอพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นบ้านที่ลงตัวกับผมและครอบครัวอย่างแท้จริงบ้านหลังนี้เสร็จสมบูรณ์ในปีค.ศ. 2013 ใช้เวลารวม 5 ปีพอดี” คุณอันดราเป็นเจ้าของสำนักงานออกแบบ Andramatin และถือเป็นสถาปนิกรุ่นบุกเบิกที่เปิดรับงานออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างอิสระในประเทศอินโดนีเซีย สิ่งที่เขาใส่ใจที่สุดก็คืองานออกแบบที่สอดรับกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศนี้ บริษัทของเขาจึงเป็นผู้นำด้านงานออกแบบสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล ดังจะเห็นได้ว่าบ้านหลังนี้แทบไม่ใช้เครื่องปรับอากาศเลย มีเพียงสองจุดเท่านั้นคือห้องน้ำที่ชั้นใต้ดินซึ่งต้องใช้เครื่องกำจัดความชื้นและในห้องนอนชั้นบน นอกเหนือจากนั้นล้วนพึ่งพาพลังจากธรรมชาติทั้งสิ้น และอีกเรื่องหนึ่งที่คุณอันดราสนใจก็คือการออกแบบพื้นที่ “ผมสนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่มากกว่ารูปทรง” คุณอันดราอธิบายหลักการออกแบบพื้นที่ซึ่งใช้กับทุกงานออกแบบของเขาแม้แต่กับบ้านหลังนี้ “ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ (Spatial Relationship) ต้องมองไปถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นมากกว่าการมองแบบเป็นห้องสี่เหลี่ยม เพราะในความเป็นจริงกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะนั่งนอนเดินหรือยืนต่างก็มีพื้นที่ ‘ระหว่างกัน’ทั้งสิ้นเมื่อคิดได้ดังนี้รูปทรงก็จะออกมาต่างอย่างที่ควรจะเป็นสามารถออกแบบร่วมกับเรื่องภูมิอากาศและการอยู่อาศัยได้อย่างเหมาะสม” คำอธิบายข้างต้นพอทำให้เข้าใจได้ว่าทำไมบ้านหลังนี้จึงมีรูปทรงแปลกตาและชวนให้แปลกใจทุกครั้งที่ก้าวผ่านจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง “ผมชอบการเดินทางบ้านของผมก็เลยให้ความรู้สึกของการเดินทาง” การเปลี่ยนผ่านแต่ละพื้นที่ของบ้าน AM House เปรียบได้กับการผจญภัยย่อมๆ ทั้งทางเข้าที่เดินทะลุขึ้นมายังเนินดินก่อนเข้าสู่พื้นที่รับแขกที่ลัดขึ้นบันไดเวียนสู่สวนดาดฟ้าได้ หากเดินจากพื้นลาดอีกด้านหนึ่งก็จะแยกออกไปยังเรือนเล็กของคุณอันดรา แล้ววนกลับเข้ามาที่ห้องของลูกๆ ห้องทำงานชั้นล่างยังมีประตูซ่อนอยู่หลังชั้นหนังสือเพื่อออกไปยังห้องละหมาดและห้องน้ำได้อีกด้วย […]

โอบล้อมด้วยแสงใน บ้านไทย สไตล์มินิมัล

นับเป็นโชคดีของเราที่วันนี้อากาศดี ไม่ร้อนจัดและแสงแดดไม่แรงจนเกินไป เหมาะแก่การถ่ายภาพบ้านเป็นอย่างยิ่ง บ้านที่เรามาเยือนในครั้งนี้เป็นเรือนหอ บ้านไทย สไตล์มินิมัลของ คุณจุ๊บ – ศศธร ภาสภิญโญ และ คุณรินทร์ – ภัทรกานต์ เศรษฐชยั ตั้งอยู่ในย่านพัฒนาการ บนพื้นที่ 100 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินเดิมของครอบครัวคุณจุ๊บ บ้านที่มีไอเดียในการจัดการกับแสงสว่างได้อย่างน่าสนใจ   “เริ่มแรกเราอยากได้บ้านไทยสไตล์มินิมัล กล่าวคือมีโถงทางเดินอยู่ตรงกลางบ้านเหมือนบ้านไทย แต่การตกแต่งต้องดูเรียบ มีแฝงอารมณ์แบบญี่ปุ่นนิดๆ และเปิดรับแสงธรรมชาติได้รอบบ้านโดยที่ต้องไม่เพิ่มความร้อนให้บ้านด้วย เราสองคนชื่นชอบการอ่านหนังสือและมักเก็บภาพสไตล์การตกแต่งบ้านไว้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบ้านของเรา” คุณจุ๊บเกริ่นนำให้เราฟัง การหาไอเดียจากหนังสือประกอบกับเคยเรียนด้านสถาปัตยกรรม จึงสเก็ตช์ภาพบ้านแบบคร่าวๆ พร้อมบอกความต้องการหลักให้ คุณวิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ สถาปนิกนำไปออกแบบต่อ ใน บ้านไทย หลังนี้ จากที่จอดรถ ผู้ออกแบบทำทางเดินรอบบ่อปลาคาร์พ ก่อนจะนำเข้าไปสู่ตัวบ้าน การออกแบบดังกล่าวสร้างบรรยากาศแห่งการเชื้อเชิญ เปรียบเสมือนการต้อนรับจากเจ้าของบ้าน รอบบริเวณบ้านยังปลูกต้นไม้นานาพรรณดูร่มรื่น สร้างความรู้สึกสดชื่นได้ดีก่อนเข้าไปสู่ภายในบ้าน ซึ่งสิ่งแรกที่พบคือโถงนั่งเล่นแบบดับเบิลสเปซที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย สะท้อนบุคลิกของเจ้าของบ้านทั้งสองที่ชื่นชอบความสบายและเป็นกันเอง ผู้ออกแบบใช้โถงบันไดกลางบ้านเป็นจุดเชื่อมโยงทุกพื้นที่ใช้งานตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ผนังที่ขนาบโถงนี้ทั้งสองด้านเป็นปูนเปลือย ดูเท่และทันสมัยแบบที่เจ้าของบ้านชื่นชอบผสมผสานกับการเลือกใช้ไม้และไม้วีเนียร์ เป็นการเพิ่มรายละเอียดที่ดูสะอาดตา โถงบันไดนี้ยังแบ่งบ้านเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วยส่วนรับแขก ส่วนรับประทานอาหาร […]

ปริ่มสุขในพื้นที่จำกัด

  บ้านที่ดีควรเป็นบ้านที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ บ้านหลังนี้ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบให้สัมพันธ์กับอากาศร้อนชื้นของเมืองไทย เบื้องหลังประตูตะแกรงเหล็กสีดำคือบ้านสไตล์โมเดิร์นของ คุณเอ – จิรสีห์ และ คุณสุพินดา เตชาชาญ ซึ่งสร้างบ้านเกือบเต็มพื้นที่ ทำให้บ้านดูใหญ่และโอ่โถง ทั้งที่ขนาดที่ดินไม่ได้ใหญ่มาก เมื่อก้าวเข้าไปภายในบ้านเราสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นที่ฟุ้งกระจายไปทั่วบ้าน พร้อมกับสายลมอ่อนๆ ที่พัดเข้ามาตลอดเวลา “เดิมทีที่ดินตรงนี้เป็นสนามหญ้าของบ้านคุณแม่คุณเอ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 65 ตารางวา และคุณเอต้องการใช้เป็นเรือนหอครับ” คุณรักศักดิ์ สุคนธะตามร์ สถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน และยังเป็นเพื่อนสนิทของคุณเอด้วย เกริ่นนำให้เราฟัง “โจทย์แรกที่ผมได้รับก็คือคุณเอเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ชอบอยู่ในพื้นที่อับๆอยากได้บ้านที่โปร่งโล่ง และต้องการพักผ่อนสบายๆ ในบ้านที่ให้อารมณ์กึ่งๆรีสอร์ต เพราะเป็นคนชอบอยู่บ้าน และต้องมีมุมสำหรับปาร์ตี้สังสรรค์กันทุกเดือน” คุณรักศักดิ์เท้าความถึงวันแรกๆ ของการพูดคุยกับคุณเอ นับจากวันนั้นเขาและทีมงานก็กลับมาทำการบ้าน โดยพิจารณาจากความต้องการของเจ้าของบ้านและข้อจำกัดของพื้นที่ จนได้แนวคิดหลักในการออกแบบ “เรามองว่าจะต้องเป็นบ้านที่อยู่สบาย ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า ประหยัดพลังงาน ที่สำคัญรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด” ตัวอาคารใช้โครงสร้างเหล็กกรุกระจกใส ซึ่งตอบโจทย์ความชื่นชอบบ้านสไตล์โมเดิร์นของเจ้าของบ้าน นอกจากนี้ยังทำประตูเชื่อมระหว่างบ้านคุณเอกับบ้านคุณแม่ จุดเด่นที่น่าสนใจของบ้านนี้คือโครงสร้างเหล็กและประตูบานสูงชะลูดบริเวณทางเข้าบ้าน ซึ่งเปิดได้ทั้งหมด 4 ช่องทาง ทำให้เกิดทางระบายอากาศภายในบ้านระหว่างทิศเหนือกับทิศใต้ หลายท่านอาจสงสัยว่าการเลือกใช้กระจกจะเหมาะกับสภาพอากาศของบ้านเราจริงหรือ คุณรักศักดิ์ให้คำตอบว่า “หากเลือกวางตำแหน่งบ้านในทิศทางที่ถูกต้อง เน้นการรับแสงธรรมชาติเลี่ยงแดดจัด ก็จะทำให้บ้านที่ใช้กระจกได้สัมผัสกับความร่มรื่น ผมและทีมงานจะคำนวณด้วยโปรแกรมทุกครั้งก่อนออกแบบ เพื่อหาทิศทางของกระแสลมที่พัดในแต่ละช่วงเวลาตลอดทั้งปี […]