ฉนวน – บ้านและสวน

ทำไม ฉนวนใยหิน ROCKWOOL ถึงใช้ดี ปลอดภัย ช่วยประหยัดพลังงาน

ฉนวนกันความร้อน วัสดุที่หลายบ้านถามหา เพื่อแก้ปัญหายอดฮิตในประเทศไทยอย่างความร้อน วันนี้ บ้านและสวน มีความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ ฉนวนใยหิน ROCKWOOL มาแชร์ให้ทุกคนอ่านกัน ว่าทำไม ถึงเป็นวัสดุที่ดี น่าใช้กันความร้อน และยังช่วยกันเสียงรบกวน ได้อีกด้วย  ฉนวนใยหิน หรือ ROCKWOOL คืออะไร ? ดีอย่างไร ? ฉนวนใยหิน หรือ ROCKWOOL คือ ฉนวนกันความร้อน ผลิตจากการหลอมหินภูเขาไฟด้วยอุณหภูมิสูงและปั่นเป็นเส้นใย จากนั้นนำไปขึ้นรูปได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งฉนวนใยหินแบบแผ่น ฉนวนใยหินแบบท่อ และฉนวนใยหินแบบม้วน หรือฉนวนใยหินเสริมขดลวด  ด้วยคุณสมบัติของ ‘หิน’ วัสดุตั้งต้นของ ฉนวนใยหิน ทำให้ ฉนวนกันความร้อน ชนิดนี้ แข็งแรง ทนทานมาก รับน้ำหนักได้ดี ยุบตัวยาก มีคุณสมบัติป้องกันความร้อนสูง นำความร้อนต่ำ สามารถใช้เป็น ฉนวนกันความร้อน กับงานหลังคา หรือ งานวางบนฝ้าเพดาน เพื่อลดความร้อนให้กับตัวบ้านและอาคาร เพื่อการประหยัดพลังงานได้  อีกทั้งยังสามารถ […]

รู้ต้นเหตุบ้านร้อน คุณสมบัติฉนวน และการเลือกที่ไม่ทำลายสุขภาพ

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ได้ศึกษาสาเหตุที่ความร้อนเข้ามาในบ้าน และคุณสมบัติของฉนวน เพื่อเป็นข้อพิจารณาใน การเลือกฉนวนกันความร้อน ความร้อนเข้ามาในบ้านได้อย่างไร ความร้อนเข้ามาในบ้านด้วยการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) เป็นการส่งผ่านพลังงานความร้อนซึ่งเกิดขึ้นจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ทำให้อากาศที่มีอุณหภูมิสูงจะเดินทางไปหาอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า (จากร้อนไปเย็น) เพื่อปรับสมดุลของอากาศ เช่น น้ำแข็งกับน้ำในแก้ว ซึ่งน้ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าจึงถ่ายเทความร้อนไปที่น้ำแข็งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ทำให้น้ำแข็งละลาย และหยุดถ่ายเทความร้อนเมื่อทั้งสองอย่างมีอุณหภูมิเท่ากัน เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ที่แผ่รังสีความร้อนปะทะกับอาคารซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ ความร้อนจึงพยายามเข้ามาในอาคารด้วยการเคลื่อนที่ได้ถึง 3 รูปแบบ คือ การนำความร้อน (Conduction) เป็นการส่งถ่ายอุณหภูมิผ่านตัวกลางโดยที่ตัวกลางอยู่กับที่ เช่น การนำความร้อนผ่านผนังบ้าน (ผนังเป็นตัวกลาง) แต่จะร้อนเร็วช้าหรือมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของอุณหภูมิ และคุณสมบัติการนำความร้อนของวัสดุ การพาความร้อน (Convection) เป็นการส่งถ่ายอุณหภูมิโดยที่ตัวกลางนั้นเคลื่อนที่ไปกับอุณหภูมิด้วย เช่น ลมเป็นตัวกลางที่พาความร้อนเข้ามาในอาคาร หรือ พาออกไปจากอาคารได้เช่นเดียวกัน การออกแบบอาคารที่ระบายอากาศได้ดี จะสามารถใช้ลมช่วยพาความร้อนออกไปจากอาคารได้รวดเร็ว ทำให้ห้องเย็นสบาย และไม่อับชื้น เห็นได้ชัดในบ้านไทยพื้นถิ่นที่นิยมยกพื้นสูง เพื่อให้ลมพาความร้อนออกจากใต้พื้นบ้าน การแผ่รังสีความร้อน (Radiation) เป็นการถ่ายเทอุณหภูมิที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ […]

ฉนวน

เทียบคุณสมบัติฉนวนกันความร้อน อะไรดีกว่ากัน

การติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน เป็นการลงทุนที่จะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ในระยะยาว ไปทำความรู้จักฉนวนแต่ละชนิดก่อนเลือกใช้กัน ดูเหมือนอุณหภูมิในฤดูร้อนของบ้านเราจะพุ่งสูงขึ้นทุกปี หลายคนจึงอาจกำลังหาวิธีทำให้บ้านเย็นสบายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้รอบบ้าน ติดตั้งกันสาดบังแดด หรือกระทั่งติดตั้งเครื่องปรับอากาศ อีกวิธีหนึ่งที่เราอยากแนะนำคือการติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งในบ้านเก่าและบ้านใหม่ ช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ดี จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว การติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ซึ่งจะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ในระยะยาว บ้านและสวน ขอพาไปทำความรู้จักกับ ฉนวนกันความร้อน ชนิดต่างๆ กันให้มากยิ่งขึ้น ก่อนเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบ้านของคุณ รูปแบบการติดตั้งฉนวนกันความร้อน ส่วนใหญ่แล้วฉนวนกันความร้อนมักติดตั้งบริเวณหลังคา เพื่อป้องกันความร้อนโดยตรงจากแสงแดด แต่ก็สามารถติดตั้งตรงผนังบ้านได้เช่นกัน เพื่อช่วยกันความร้อนจากผนัง เก็บความเย็นภายในบ้าน รวมถึงช่วยดูดซับเสียงรบกวนจากภายนอกด้วย ฉนวนมีทั้งแบบหน่วงให้ความร้อนผ่านไปช้าลง และแบบสะท้อนความร้อนออก โดยการติดตั้งบริเวณหลังคามีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับฉนวนแต่ละประเภท ดังนี้ ติดตั้งเหนือฝ้าเพดาน – ฉนวนที่ติดตั้งเหนือฝ้าจะช่วยหน่วงความร้อนเอาไว้ไม่ให้ลงมายังห้องด้านล่าง โดยพื้นที่ใต้หลังคาควรมีช่องระบายอากาศด้วย เพื่อถ่ายเทความร้อนออกสู่ด้านนอกไม่ให้สะสมใต้หลังคามากเกินไป ฉนวนที่ติดตั้งเหนือฝ้ามีหลายรูปแบบ มีทั้งแบบแผ่นและแบบม้วนเพื่อให้ง่ายต่อการวางเหนือฝ้า และบางชนิดก็ติดมาพร้อมกับแผ่นฝ้าในตัว ติดตั้งใต้แผ่นหลังคา – ฉนวนที่ติดตั้งใต้แผ่นหลังคาสามารถกันความร้อนได้ดีที่สุด เพราะช่วยป้องกันความร้อนจากด้านบนไม่ให้ลงมาสะสมอยู่บริเวณใต้หลังคาบ้าน ฉนวนบางชนิดที่ติดตั้งใต้แผ่นหลังคาจะมีข้อจำกัดคือ ต้องติดตั้งไปพร้อมๆ กับการก่อสร้างหลังคา แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถติดตั้งบริเวณช่องแป รวมทั้งมีแบบฉีดพ่น ซึ่งสามารถติดตั้งในภายหลังได้ ติดตั้งบนผิวหลังคา […]

7 วิธีป้องกันบ้านพังจาก ความร้อนและความชื้น

ความร้อนและความชื้น ทำให้บ้านพังได้! เช่น ผนังแตก ขึ้นรา อยู่อาศัยไม่สบายและสิ้นเปลืองพลังงาน มาดูวิธี กันร้อน กันชื้น ให้บ้านกัน    1. ใส่ฉนวนกันความร้อนที่หลังคา สามารถติดตั้งได้ 3 ตำแหน่ง คือ บนพื้นผิวหลังคา ใต้วัสดุมุงหลังคา และบนฝ้าเพดาน โดยแนะนำให้ป้องกันความร้อนตั้งแต่ชั้นหลังคา ก็จะลดความร้อนได้ดีกว่าการติดตั้งฉนวนเหนือฝ้าเพดาน เพราะความร้อนที่ผ่านหลังคาลงมาจะน้อยลงและมีโอกาสระบายออกทางช่องระบายอากาศก่อนลงมาถึงฝ้าเพดาน หรืออาจติดตั้งหลายตำแหน่งก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนได้ดียิ่งขึ้น กันร้อน กันชื้น 2. ป้องกันแดดและฝน หลังคาบ้านควรทำชายคายื่น 1-1.5 เมตร เพื่อป้องกัน ความร้อนและความชื้น จากแดดและฝน หากหลังคาไม่มีชายคา จะทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย เช่น ผนังแตก สีลอก ขึ้นรา น้ำซึม 3. ป้องกันน้ำฝนไหลย้อนและคราบน้ำ ลดความเสียหายจากน้ำฝนได้ด้วยการทำขอบคานเอียงเข้าจะช่วยลดการเกิดคราบน้ำที่ผนังได้ ยกระดับฝ้าชายคาให้สูงกว่าขอบคานป้องกันฝ้าเสียหายจากน้ำฝน และทำ “บัวหยดน้ำ” ป้องกันน้ำฝนไหลย้อนเข้าบ้าน 4. ป้องกันความชื้นจากดิน ถ้าจำเป็นต้องทำพื้นบ้านเตี้ยหรือติดดิน ควรปูแผ่นพลาสติกหรือวัสดุกันซึม หรือเทคอนกรีตรองพื้นก่อนทำพื้นบ้าน พร้อมทำระดับท้องรางระบายน้ำให้ต่ำเพื่อช่วยให้ระบายน้ำได้เร็ว (แต่ต้องไม่ต่ำกว่าทางระบายน้ำสาธารณะ) […]