จังหวัดเชียงใหม่ – บ้านและสวน

บ้านเชียงใหม่ รีโนเวทแต่พอดี น้อยแต่มาก ลงตัว แบบล้านนามินิมัล

ด้วยองค์ประกอบคุ้นตาของบ้านโมเดิร์นในจังหวัดเชียงใหม่ บ้านปูนสีขาว วงกบไม้ และผนังอิฐแดง แต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนมือ สู่เจ้าของคนใหม่ การใช้งานใหม่ การออกแบบรีโนเวทอย่างเข้าใจ จึงทำให้บ้านหลังนี้ สำเร็จออกมาสวยงามลงตัว แต่ยังเปี่ยมเสน่ห์กลิ่นอายบ้านโมเดิร์นไทย ๆ แบบชาวเจียงใหม่เจ้า แสนจะลงตัว จากความต้องการมีบ้านพักอาศัยที่อยู่ใกล้ที่ทำงาน ขนาดกะทัดรัด และสามารถดูแลได้ด้วยตัวเอง คุณหมอเดือน (นันทิสา โชติรสนิรมิต) จึงเริ่มตระเวนมองหาบ้านที่ขายในละแวกที่ต้องการ และได้มาพบกับบ้านเก่าที่ติดป้ายขายในซอยวัดอุโมงค์ ที่อยู่ไม่ไกลจากสถาบันวิจัยในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานที่ทำงาน และติดต่อ Studio Mai Mai ให้มาช่วยประเมินความเป็นไปได้ในการรีโนเวทบ้านให้ได้ดั่งใจ #เก็บส่วนดีเดิมเพิ่มเติมส่วนใหม่หลังจากสถาปนิกจาก Studio Mai Mai สำรวจบ้านจึงพบว่า ตัวบ้านมีความทรุดโทรมตามกาลเวลา (คาดว่ามีอายุราว 30 ปี) มีลักษณะเป็นบ้านสองชั้นเป็นโครงปูนผสมไม้ มีหลังคาเป็นเป็นเพิงหมาแหงนลาดลงมาด้านหลังซ้อนกันสองระดับทำให้เกิดช่องแสงระหว่างหลังคากลางบ้าน เมื่อเห็นว่าตัวบ้านมีโครงสร้าง รูปทรง และสัดส่วนที่สวยงามอยู่แล้ว สถาปนิกและเจ้าของบ้านจึงตัดสินใจยึดโครงสร้างเดิมไว้ และปรับเปลี่ยนเท่าที่จำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการการใช้สอยใหม่ #การใช้สอยใหม่ที่เข้ากับวิถีชีวิตเจ้าของบ้านมีโจทย์ในการทำบ้านใหม่ที่ต้องปรับจากแบบบ้านเดิมคือ อยากให้มีห้องเอนกประสงค์ใกล้ทางเข้าบ้านที่มีห้องนํ้าในตัวแยกขาดจากตัวบ้านหลัก อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องปรับจากแบบบ้านเดิมคือ ชั้นสอง เปลี่ยนจากสามห้องนอนหนึ่งห้องนํ้า ให้เป็นสองห้องนอนใหญ่ที่มีห้องนํ้าในตัว เนื่องจากใกล้บ้านมีที่จอดรถให้เช่าจึงสามารถตัดที่จอดรถหน้าบ้านนำมาใช้ทำสวนหย่อมขนาดเล็กได้ ทำให้บ้านมีสวนทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านที่จะช่วยเพิ่มความร่มรื่นและสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย #สว่างกว่าสบายกว่าจากจุดเด่นตรงช่องแสงระหว่างหลังคาของบ้านเดิม […]

YEN.CNX คาเฟ่เชียงใหม่ เสิร์ฟขนมหวานเย็นสไตล์ไทย ในโรงงานคัดใบยาสูบเก่า

ใครเป็นคอขนม ลองแวะไปเยือนคาเฟ่ชื่อสั้น เรียกง่าย อย่าง “เยน คาเฟ่” หรือ Yen.CNX คาเฟ่ขนมหวาน ซึ่งมีไฮไลต์เด่นอยู่ที่เมนูน้ำแข็งไสเย็นชื่นใจ จัดเต็มท็อปปิ้งหลากหลาย แถมมีไอศกรีมอร่อย ๆ ที่นำมามิกซ์กับขนมไทยได้อย่างน่ารับประทาน นอกจากนี้ต้องขอบอกว่าที่ตั้งของคาเฟ่ไม่ธรรมดา เพราะตั้งอยู่ในโรงคัดใบยาสูบเก่ากลางเมืองเชียงใหม่ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio จากเสน่ห์ที่ลงตัวของสถานที่ตั้ง และจุดเด่นของเมนูขนมหวาน ที่เราคุ้นเคยบนความแปลกใหม่ ทีมออกแบบจาก pommballstudio จึงเลือกนำความเก่าและใหม่มาใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบคาเฟ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงงานคัดใบยาสูบ โดยยังคงตัวอาคารรูปแบบแฟคทอรี่เอาไว้ แล้วต่อเติมฟาซาดหน้าร้านที่อยู่ติดกับถนนให้ดูน่าดึงดูดใจ ภายใต้หน้าตาที่ดูคล้ายบ้านไทยชั้นเดียว ในขั้นตอนการปรับปรุงพื้นที่อาคาร ทีมออกแบบต้องทำการเปลี่ยนผนังที่เคยทึบให้กลายเป็นช่องกระจก เพื่อเปิดรับแสงและเพิ่มความปลอดโปร่ง เด่นด้วยชายคาที่มุงหลังคาสังกะสี วัสดุดั้งเดิมที่ช่วยฉายภาพบ้านไทยยุคเก่าอย่างที่เราคุ้นตา ส่วนวัสดุอย่าง ไม้ ที่เห็นนั้น ล้วนเป็นไม้เก่าที่เก็บสะสมอยู่ภายในโกดังของเจ้าของ โดยมีขนาดและชนิดของไม้ที่แตกต่างกัน ไม่เพียงแค่นำไม้มาใช้ในส่วนของชานที่นั่งหน้าร้าน แต่ยังนำมาต่อเป็นที่นั่งใต้ร่มไม้ตรงโซนที่นั่งเอ๊าต์ดอร์ด้วย เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกนั่งตามอัธยาศัย ส่วนการออกแบบพื้นที่ภายใน ยังคงหยิบสังกะสีมาใช้ออกแบบในส่วนของเคาน์เตอร์ และผนังหลังเคาน์เตอร์ให้มีลวดลายเหมือนยอดภูเขาน้ำแข็ง ติดโลโก้ที่นำอักษรตัววาย(y)ซึ่งเป็นย่อชื่อร้าน มาเรียงต่อกันคล้ายรูปเกล็ดหิมะ โดยในความมันวาวของพื้นผิวสังกะสีสื่อได้ถึงความเย็น ขณะเดียวกันก็เป็นวัสดุแบบเก่าที่ผสมผสานเข้ากับวัสดุสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว อย่างแผ่นลามิเนต Formica ซึ่งมีผิวมันวาวและลวดลายคล้ายคลื่นน้ำ โดยนำมาติดตั้งบนผนังด้านข้างและหลังที่นั่ง เมื่อกระทบกับแสงไฟจะเกิดรีเฟล็กซ์เป็นเท็กซ์เจอร์ที่มีมิติขึ้น อีกส่วนที่อดกล่าวถึงไม่ได้ […]

chiangmaiurbanfarm

พลังประชาชนที่เปลี่ยน “กองขยะ” สู่ “สวนผักคนเมืองเชียงใหม่”

อยากให้ทุกคนนั่งไทม์แมชชีนไปเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว ตอนนั้นนอกจากจังหวัดเชียงใหม่จะต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 แล้วยังมีฝุ่น pm2.5 อยู่เช่นกัน กลุ่มสถาปนิกใจบ้าน สตูดิโอและภาคีอื่นๆได้สำรวจพื้นที่สีเขียวและพื้นที่รกร้างต่างๆในเมือง จนมาพบกับกองขยะร้างที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์จนกลายมาเป็นสวนผักคนเมืองเชียงใหม่ในที่สุด แปลงผักบางส่วนเปิดให้คนมาเรียนรู้ พักผ่อนหย่อนใจ และเก็บผักไปปรุงอาหารได้ฟรี เริ่มจาก 3 ครอบครัว ซึ่งปลูกและเก็บไปแบ่งปัน 19 ครอบครัว     ช่วงที่ล็อกดาวน์ ผู้คนเริ่มเผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านอาหาร ใจบ้าน สตูดิโอเข้าไปคุยกับพี่น้องผู้ที่อยู่ในบริเวณชุมชนริมคลองแม่ข่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงานและเป็นคนชายขอบของสังคมว่าเขาจะสามารถดำรงชีวิตอย่างไรในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้แล้วก็พบว่าพวกเขาส่วนใหญ่เริ่มตกงานมาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางมาที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ รายจ่ายครึ่งหนึ่งของเงินเดือนคือค่าอาหารเลี้ยงชีพ เมื่อรายได้ต่อวันไม่มี หลายครอบครัวที่ต้องดูแลผู้สูงอายุและเด็กจึงกลายเป็นภาระหน้าที่ซึ่งลำบากมาก ทางออกคือครอบครัวเหล่านี้ต้องปลูกผักบริเวณพื้นที่ริมคลองแม่ข่าที่มีสภาพน้ำเน่าเสียและไม่เอื้อต่อการบริโภค หลังจากนั้นจึงเริ่มคุยกับเครือข่ายต่างๆมาเริ่มบุกเบิกที่ดินตรงนี้เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลูกผักสร้างอาหารให้คนในชุมชน บ้ารึเปล่า…นี่มันกองขยะ พื้นที่ขนาด 2.5 ไร่นี้เดิมเป็นกองขยะ 5 พันตันที่ถูกทิ้งมานานร่วม20 ปี ซึ่งรวบรวมมาจากช่วงที่เชียงใหม่ประสบภัยน้ำท่วมโดยมีเทศบาลเมืองเชียงใหม่เป็นเจ้าของ หลังจากที่พูดคุยกันอยู่หลายครั้ง ใจบ้าน สตูดิโอและภาคีที่เกี่ยวข้องได้รับความอนุเคราะห์ในการใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับสวนผักคนเมืองเชียงใหม่ในที่สุด “หลังจากได้ที่ดินมาแล้ว งานต่อไปคือการระดมทุน ระดมกล้าไม้ ระดมเมล็ด หรืออุปกรณ์การเกษตร เมื่อเริ่มต้นทำก็ขุดดินไปเจอยางรถยนต์ กรมเจ้าท่าจึงนำดินมาช่วยถมให้ ส่วนภาคเอกชนหลายที่ก็บริจากถ่านไบโอชาร์ในการบำบัดดินและขุดน้ำบาดาล ถ้าสรุปความรู้สึกสั้นๆจะสรุปได้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่มั่นคง แต่ด้วยพลังของประชาชนสามารถสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นได้ มันคือโอกาสท่ามกลางวิกฤต” คุณตี๋-ศุภวุฒิ บุญมหาธนากรผู้ก่อตั้งใจบ้าน […]

บ้านดิน บ้านเชียงใหม่

บ้านหลังน้อย บนดอยที่มีวิวภูเขาโอบล้อม 360 องศา

บ้าน 3 หลัง 3 สไตล์ของศิลปินหนุ่ม ซึ่งน่าจะเป็นบ้านในฝันของใครหลายคน ทั้ง บ้านไม้ใต้ถุนสูง ที่ดัดแปลงจากเรือนยุ้งข้าวบรรยากาศน่าสบาย บ้านปูนเปลือยหลังคาสูง เเละบ้านดินสีสันสดใส มองเห็นทิวทัศน์ธรรมชาติได้โดยรอบ พร้อมการตกแต่งด้วยงานศิลปะสไตล์พื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บ้านทั้ง 3 หลัง ที่ตกแต่งได้สวยน่ารักเหมือนกระท่อมกลางป่านี้  คือบ้านของ คุณซัน – ณชนก เสียมไหม ศิลปินที่ฝากฝีมือเพ้นต์รูปสวย ๆ ตามสถานที่ต่าง ๆ ในเชียงใหม่ ที่สามารถสัมผัสกับวิวภูเขาได้รอบทิศทางแบบ 360 องศา เเถมด้วยวิวสวนผลไม้และดอกไม้ที่ชาวดอยปลูกไว้สำหรับตัดขาย ในฤดูที่ดอกไม้ออกดอกพร้อมกัน บอกได้คำเดียวว่า “สวย…ลืมโลก”  บ้านไม้ใต้ถุนสูง “พี่เป็นคนใต้ แต่ที่ชอบอยู่เชียงใหม่เพราะที่นี่มีทั้งธรรมชาติและความเป็นเมืองผสมกัน เวลามาที่บ้านนี้เราจะอยู่ท่ามกลางต้นไม้ ภูเขา เหมือนโดนตัดขาดจากภายนอกเลยนะ สัญญาณโทรศัพท์ก็ไม่ดี อินเทอร์เน็ตนี่ไม่ต้องพูดถึง เพราะขนาดโทรทัศน์ยังดูได้ไม่ครบทุกช่องเลย แต่บางครั้งถ้าเกิดอยากเฮฮากับเพื่อนบ้าง ขับรถแค่ 15-20 นาที ก็สามารถไปนั่งจิบกาแฟที่ร้านสวย ๆ ในตัวเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว” คุณซันเล่าเหตุผลที่เลือกมาตั้งรกรากที่นี่ให้เราฟังอย่างอารมณ์ดี ทีมงานได้ฟังก็เห็นด้วยแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ บ้านหลังน้อย 3 หลังที่สร้างบนเนินเขาเอียง […]

รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้น

รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้นให้เป็นบ้านอาร์ตๆ ในบรรยากาศแบบโอเรียนทัล

ทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้นที่รีโนเวตมาจากบาร์เก่าในย่านตัวเมืองเชียงใหม่ โดยผสมผสานอารยธรรมเอเชียทั้งไทยและญี่ปุ่นเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน การจัดวางแปลนเน้นให้เหมาะกับการใช้งานจริง พร้อมตกแต่งด้วยงานศิลปะที่มีกลิ่นอายความเป็นตะวันออก รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้น เจ้าของ-ตกแต่ง : Mr. Miguel Angel Arregui Maison รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้น ในย่านตัวเมืองเชียงใหม่ซึ่งเต็มไปด้วยร้านอาหารและผับกึ่งบาร์ บ้านทาวน์เฮ้าส์สามชั้นหลังนี้แฝงตัวอย่างเงียบๆ แวดล้อมด้วยสวนจัดเองที่สร้างความร่มรื่น จนทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างภายในกับภายนอกบ้านได้อย่างชัดเจน Mr. Miguel Angel Arregui Maison มัณฑนากรและศิลปินชาวสเปนทำสัญญาเช่าบ้านหลังนี้นาน 5 ปี เขาตกหลุมรักเมืองเชียงใหม่ จึงตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ที่นี่สักระยะหนึ่ง หนุ่มคนนี้มีผลงานออกแบบโรงแรมระดับโลกหลายแห่ง ทั้งในสเปน สิงคโปร์ และอินเดีย ผลงานของเขามักผสมผสานสไตล์โอเรียนทัลด้วยแทบทุกครั้ง ยิ่งกับบ้านของเขาเองเรายิ่งได้เห็นการตกแต่งที่มีกลิ่นอายแบบตะวันออกได้อย่างชัดเจน เจ้าของบ้านเล่าให้ฟังว่าบ้านหลังนี้เคยเป็นบาร์และก็ไม่ได้มีสวน มีแต่พื้นที่จอดรถด้านหน้า เขาใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการปรับปรุงบ้านใหม่ทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสังเกตได้ตั้งแต่ประตูทางเข้าบ้านซึ่งใช้บานเลื่อนไม้ไผ่ ให้อารมณ์เรียบนิ่งแบบญี่ปุ่น ถัดเข้ามาเป็นชานไม้แบบบ้านไทย โดยปูพื้นไม้ระแนงเว้นร่องเต็มพื้นที่จอดรถเดิมในระดับเท่ากับพื้นของบ้านชั้นล่าง ขณะที่ชานหลังบ้านเองก็ปูพื้นไม้ระแนงเช่นกันทำเป็นมุมนั่งเล่นเล็กๆ และยังนำแผงรั้วไม้ไผ่กั้นพื้นที่รอบบ้าน เพื่อจัดเป็นมุมสวนย่อมๆ สร้างบรรยากาศอันสดชื่นน่าสบาย ส่วนใช้สอยภายในบ้านแต่ละชั้นจะมีพื้นที่ประมาณ 80 ตารางเมตร […]

บ้านไม้ บ้านเชียงใหม่

บ้านไม้ยกพื้นสูงที่เปรียบดั่งงานศิลป์บนเนินเขา

บ้านไม้ยกพื้นสูงที่อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นภูเขาโล่ง เปิดรับลมได้ทุกทาง ที่ขาดไม่ได้ก็คืองานศิลปะของเจ้าของบ้านและของเพื่อนๆซึ่งประดับประดาอยู่ทั่วบ้าน ทำให้บ้านหลังนี้เปรียบได้กับงานศิลป์ขนาดย่อมที่ตั้งอยู่บนเนินเขา เจ้าของ – ออกแบบ : รองศาสตราจารย์เกศ ชวนะลิขิกร   มีคนเคยบอกไว้ว่าการชมงานศิลปะนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนว่าจะจินตนาการสิ่งที่ตัวเองเห็นออกมาเป็นอย่างไร เฉกเช่นประติมากรรมชิ้นใหญ่บนเนินเขาในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่หลังนี้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ด้านศิลปะของ รองศาสตราจารย์เกศ ชวนะลิขิกร ศิลปินแนวแอ๊บสแตร็คท์และอาจารย์ของนักศึกษาสาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงตัวผู้เขียนเองด้วย “ผมได้บ้านหลังนี้มาอย่างน่าประหลาดใจ เหมือนพรหมลิขิตที่จู่ๆวันหนึ่งก็มีพ่อค้าเจ้าของเขียงหมูในตลาดเดินเข้ามาบอกขายที่ดินขนาดสามไร่ในราคาถูกมาก จึงตกลงซื้อไว้ ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะทำอะไร แต่ก็บังเอิญอีกที่ได้ซื้อยุ้งข้าวเก่าของชาวบ้านในเวลาต่อมา ซึ่งไม้เก่าทั้งหมดมีคุณภาพดีมากๆ เลยรื้อแล้วมาประกอบร่างใหม่เป็นบ้านหน้าตาอย่างที่เห็นครับ” นอกจากฝีแปรงที่ฝากร่องรอยบนผืนผ้าใบอย่างอิสระเสรีประกอบกับงานศิลปะจัดวางในผลงานศิลปะหลายต่อหลายชิ้นของอาจารย์เกศแล้ว บ้านหลังนี้ก็เป็นงานศิลป์อีกชิ้นหนึ่งที่ท่านลงมือออกแบบด้วยตัวเอง “ผมวาดภาพบ้านจากความรู้สึกว่าตัวเองอยากอยู่อย่างไร ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นต้นไม้และภูเขา จึงได้ภาพบ้านที่เปิดโล่ง รับลมได้ทุกทาง มีห้องนอนพอให้ซุกหัวนอนกับที่ทำงานเล็กๆน้อยๆ ส่วนครัวจะแยกออกมาจากตัวบ้าน แต่ก็มีฟังก์ชันครบถ้วน เผื่อให้ภรรยามาใช้เวลามาพักผ่อนที่นี่ โดยมีทั้งครัวฝรั่งซึ่งมีเตาอบและเตาแก๊สใช้งานได้สะดวกกับครัวไทยด้านหลังที่ทำเตาอั้งโล่ไว้นอกบ้าน เผื่อไว้สำหรับทำบาร์บีคิวปิ้งย่าง เวลามีเพื่อนๆศิลปินหรือลูกศิษย์ลูกหามาเยี่ยมเยียน แต่ตัวผมเองใช้แค่เตาไมโครเวฟสำหรับอุ่นอาหารก็พอแล้ว ชั้นบนของห้องครัวเป็นห้องน้ำ ผมทำระเบียงทางเดินเชื่อมกับห้องนอน ชอบอารมณ์ที่เดินออกมารับลมนอกบ้าน รู้สึกเหมือนบ้านไทยโบราณที่จะแยกส่วนครัวและห้องน้ำไว้ด้านนอกเป็นสัดเป็นส่วน  “สำหรับเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านก็ซื้อต่อจากชาวบ้าน เป็นของเก่าจริงๆและมีไม่มาก อย่างห้องนอนมีเพียงฟูกกับหมอนก็นอนได้แล้ว แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คืองานศิลปะของตัวเองและของเพื่อนๆซึ่งประดับประดาอยู่ทั่วบ้าน อีกสักพักผมจะทำแกลเลอรี่ในบริเวณใกล้ๆบ้านนี่แหละ ไว้สำหรับติดงานศิลปะเอาไว้ดูเองบ้างอวดเพื่อนๆบ้าง สนุกดี” น้ำเสียงเรียบๆไร้โทนสูงต่ำซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของอาจารย์ศิลปินท่านนี้เอ่ยจบลงพร้อมด้วยรอยยิ้มใจดี บรรยากาศน่าสบายของบ้านหลังนี้ชวนให้ปลดปล่อยพันธนาการจากภาระอันหนักอึ้ง และเปิดรับความอบอุ่นของขุนเขากับเสียงเพรียกของต้นไม้ใบหญ้าได้อย่างเต็มที่ […]

บ้านไม้ บ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง

บ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูงที่อยู่ติดกับทุ่งนาและมีภูเขาเป็นฉากหลัง

บ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ในเชียงใหม่ เด่นด้วยการใช้ไม้เก่าเป็นวัสดุหลัก เพื่อให้ตัวบ้านดูกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นทุ่งนาเเละภูเขา

บ้านชั้นเดียวกลางทุ่ง บ้านชั้นเดียว บ้านกลางทุ่ง

บ้านชั้นเดียวกลางทุ่งที่เปิดรับธรรมชาติอย่างเต็มที่

บ้านชั้นเดียวที่ใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาแบบเพิงหมาแหงน เพื่อลดความยุ่งยากในการก่อสร้าง ออกแบบบ้านให้เปิดโล่งเพื่อรับแสงแดดในตอนกลางวัน รับแสงจันทร์ในตอนกลางคืน ทำให้ได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น  บ้านชั้นเดียวกลางทุ่ง เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า คุณทวยเทพ พัฑฒนะ ตกปากรับคำเพื่อนสนิทว่าจะมาออกแบบโรงแรมขนาดเล็กๆซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเชียงใหม่ให้ เป็นเหตุให้เขาต้องเดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่บ่อยๆ และเพราะหลายครั้งที่เพื่อนคนนั้นได้เชิญให้มานอนพักที่บ้านในอำเภอแม่ออน ซึ่งอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ออกไปประมาณ 30 กิโลเมตร ก็ทำให้เขาเริ่มตกหลุมรักอำเภอแห่งนี้อย่างเต็มหัวใจ “เพื่อนที่ว่านี้ก็คือ คุณสุกัญญา โชติสุกานต์ เจ้าของบ้านที่เคยลงใน ‘บ้านและสวน’ ฉบับเดือนกันยายน 2551 (คลิกชมบ้านคุณสุกัญญา) เขาชวนให้มาซื้อที่ดินติดกัน แต่ตอนนั้นไม่ได้ตัดสินใจว่าจะซื้อ เพราะว่ามีสำนักงานสถาปนิกและงานออกแบบทั้งหมดก็อยู่ที่กรุงเทพฯ ไม่รู้จะซื้อไว้ทำไม แต่พอได้มาออกแบบโรงแรมที่เชียงใหม่ และมานอนพักที่บ้านของเขาก็ชักจะติดใจ เลยคิดว่าวันข้างหน้าอาจจะได้มาอยู่จริงๆก็ได้ จึงซื้อที่ดินแล้วก็สร้างบ้านเลยครับ เป็นการเตรียมตัวก่อนเกษียณ” ในระหว่างที่ก่อสร้างบ้าน คุณทวยเทพไม่ค่อยมีเวลามาดูแลเองมากนัก ตัวบ้านจึงออกแบบไว้ค่อนข้างเรียบ เป็นบ้านชั้นเดียวที่ใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาแบบเพิงหมาแหงน เพื่อลดความยุ่งยากในการก่อสร้าง นอกจากนี้ก็ยกตัวบ้านสูงด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก คือ ระดับพื้นดินที่สร้างบ้านมีความลาดเอียงไม่เท่ากัน หากจะถมที่ก็ต้องใช้ดินมากพอสมควร อีกประการ คือ เพื่อความปลอดภัยจากปัญหาเรื่องปลวก จากโรงรถจะมีสะพานไม้ปูเป็นทางเดินไปสู่ชานไม้ขนาดปานกลางซึ่งอยู่ติดกับตัวบ้าน เมื่อเข้าไปภายในก็จะพบห้องที่ค่อนข้างโปร่ง เพราะมีเพดานสูง และด้านปลายสุดของห้องทำเป็นผนังและประตูบานเลื่อนกระจกใสเปิดมุมมองเห็นวิวภายนอกซึ่งเป็นบ่อน้ำรูปสี่เหลี่ยมล้อรับกับตัวบ้านและผืนทุ่งนากว้างไกลไปสิ้นสุดที่แนวเทือกเขา ในห้องโล่งนี้เป็นส่วนของครัวขนาดเล็กรูปตัวแอล (L) ตั้งชิดผนังติดกับประตูทางเข้าบ้าน […]

บ้านปูนเปลือยชั้นเดียว

บ้านปูนเปลือยชั้นเดียวกลางหุบเขาที่ดูแลรักษาง่าย ใช้งบไม่มาก

บ้านปูนเปลือยชั้นเดียว กลางหุบเขาในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างด้วยงบประมาณไม่มาก ดูแลรักษาง่าย แต่สามารถมองเห็นวิวผืนป่า ลำน้ำสายเล็ก และนาขั้นบันไดได้สวยงามตลอดทั้งปี เจ้าของ-ตกแต่ง : พลตำรวจโทพนมศักดิ์ ทั่งทอง บ้านปูนเปลือยชั้นเดียว เสน่ห์ของพื้นที่กลางหุบเขาในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่คือความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าซึ่งกลายเป็นฉากหลังอันงดงาม นอกจากนี้ก็ยังมีลำน้ำสายเล็กไหลผ่านตลอดทั้งปี รวมถึงนาขั้นบันไดและพืชผักที่ชาวบ้านในพื้นที่เพาะปลูกตามฤดูกาล ภาพเหล่านี้กลายเป็นทัศนียภาพที่น่าหลงใหลซึ่งปรากฏอยู่ตรงหน้าบ้านหลังเล็กของ พลตำรวจโทพนมศักดิ์ ทั่งทอง   ภาพของตัวบ้านภายนอกมีลักษณะเป็นบ้านคอนกรีตเปลือยที่ดูเรียบง่าย หากมองจากด้านหน้าก็จะคิดว่านี่เป็นบ้านยกพื้นสูง มองเห็นใต้ถุนบ้าน แต่ที่จริงแล้วเป็นบ้านชั้นเดียวตั้งอยู่บนไหล่เขาที่เอียงเกือบ 45องศา คุณพนมศักดิ์บอกว่ามาเที่ยวเชียงใหม่หลายครั้งรู้สึกชอบที่นี่ จึงบอกให้คนรู้จักช่วยหาที่ดินให้ “ผมไปดูที่มาหลายแห่ง แต่ชอบที่นี่ที่สุด เพราะค่อนข้างสงบ เป็นส่วนตัวดี และอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก ขับรถใช้เวลาประมาณ 30นาทีก็ถึง หลังจากซื้อที่ดินได้ไม่นานก็ปลูกบ้านเลย ผมอยากได้บ้านที่อยู่ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนมาก ไม่ต้องใหญ่โต และดูแลรักษาง่ายด้วย “ผมเป็นคนออกแบบบ้านหลังนี้เอง โดยเขียนแบบคร่าวๆเอาพอเข้าใจ แล้วก็คุยกับช่างเลยว่าอยากได้แบบไหน บางทีก็จะถามเขาว่าอย่างนี้ทำได้ไหม “เนื่องจากตำแหน่งของบ้านสามารถมองเห็นวิวได้สวยงามมาก ผมก็ให้ไอเดียกว้างๆว่าอยากทำเป็นมุขยื่นออกมาสองข้าง บ้านนี้จึงมีส่วนชมวิวอยู่หน้าห้องนอนทั้งสองห้องซึ่งแยกอยู่คนละด้านของตัวบ้าน นอกจากนี้ก็เลือกใช้ประตูบานเลื่อนกระจกใสเกือบทั้งหลัง เพื่อทำให้บ้านดูโล่งและกว้างที่สุด” เมื่อเดินขึ้นบันไดที่อยู่ติดกับลานจอดรถซึ่งอยู่ด้านหน้าห้องนอนเล็ก ก็จะพบชานพักเป็นลานกว้างพอที่จะจัดมุมนั่งเล่นได้ ประตูทางเข้าบ้านตั้งอยู่ในตำแหน่งกลางบ้านพอดี เข้าไปจะพบส่วนอเนกประสงค์ ประกอบด้วยมุมนั่งเล่นและเคาน์เตอร์ต่างระดับซึ่งเป็นทั้งส่วนเตรียมอาหารและรับประทานอาหาร ตั้งอยู่คนละด้าน โดยถัดจากมุมนั่งเล่นก็เป็นห้องนอนใหญ่ […]

บ้านประหยัดพลังงานกลางสวนมะม่วง และมองเห็นวิวดอยสะเก็ดได้จากภายในบ้าน

ดึงวิวธรรมชาติสวยๆ เข้ามาสู่มุมพักผ่อนในบ้าน โดยคำนึงถึงแนวคิด บ้านประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประกอบกัน เพื่อนำพาไปสู่วิถีชีวิตอันยั่งยืนต่อไป

บ้านสไตล์อังกฤษ

A Place Called Forever

จุดเริ่มต้นของ บ้านสไตล์อังกฤษ หลังนี้อาจจะแปลกไปจากบ้านทั่วไป เพราะเจ้าของบ้านเลือกกำหนดตำแหน่งและขนาดของครัวเป็นอย่างแรก ยิ่งไปกว่านั้นคือ ตำแหน่งของครัวอยู่ค่อนไปทางด้านหน้าบ้านเสียด้วย คุณเปียทิพย์ เชฟฟิลด์ เจ้าของบ้านฝ่ายหญิงให้ความกระจ่างว่า “ได้ประสบการณ์มาจากบ้านหลังแรกค่ะ เพราะไม่ใช่แบบที่เราอยากได้เลย เราฟังและเชื่อคนอื่นมากเกินไป คิดเอาว่าคงจะดีถ้าเป็นอย่างที่ใครเขาว่ากัน แต่คนเหล่านั้นไม่ได้เป็นคนอยู่ พอเราเข้าไปอยู่จริงก็ไม่ได้ประโยชน์ใช้สอยอย่างที่ต้องการ ไปเน้นทำประตูบานใหญ่ๆ ทำหน้าบ้านแบบคนไทย ทำให้เสียพื้นที่ในบ้านไปเปล่าๆ หรือเน้นทำห้องรับแขกใหญ่ๆ แต่ความจริงเราไม่ได้รับแขกที่จะต้องนั่งกันแบบเป็นทางการ นี่ไม่ใช่วิถีชีวิตของเรา อีกอย่างเป็นคนชอบทำอาหาร แต่ครัวของบ้านเก่าทำให้รู้สึกไม่สะดวกเลย พอจะสร้างบ้านใหม่จึงขอคิดเรื่องครัวเป็นอันดับแรก” คุณเปียทิพย์มีประสบการณ์เรื่องบ้านค่อนข้างมาก เพราะงานของเธอคือการหาบ้านเช่าให้ชาวต่างชาติที่มาอยู่เชียงใหม่ อีกทั้งช่วงหนึ่งต้องไปอยู่บ้านสามีที่อังกฤษ ได้เห็นสไตล์การตกแต่งบ้านและสวนที่ตรงกับความต้องการ จึงตั้งใจอยากมีบ้านแบบนั้นบ้าง แล้วความฝันก็เป็นจริงเมื่อได้กลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ หากมองจากด้านหน้า ตัวบ้านจะดูทึบหน่อย แต่เมื่อเข้าไปภายในกลับพบว่าโล่งและสว่าง เพราะแวดล้อมด้วยพื้นที่ว่างซึ่งทำให้รู้สึกน่าสบาย อีกทั้งยังวางตำแหน่งของประตู หน้าต่าง และช่องแสงได้ถูกที่ถูกจังหวะ โดยให้หันไปยังด้านหลังบ้านและเน้นขนาดที่ใหญ่ เพื่อให้มองเห็นสวนและทุ่งนาอย่างที่เจ้าของบ้านชอบ ทุกพื้นที่ในบ้านจึงได้แสงสว่างที่เหมาะสม บ้านนี้มีประตูทางเข้าหลักอยู่ตรงกลางพอดี และตรงกับโถงประตูซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหาร จึงเหมือนแกนกลางที่แบ่งให้ด้านหนึ่งเป็นครัวเปิดตามที่คุณเปียทิพย์บอกว่าเป็นพื้นที่ของเธอ และอีกด้านเป็นบาร์เครื่องดื่มซึ่งเป็นพื้นที่ของ คุณปีเตอร์ เชฟฟิลด์ สามี ถัดไปเป็นห้องนอนแขกและโถงบันไดขึ้นชั้นบนโดยไม่มีห้องรับแขกดังเหตุผลที่เจ้าของบ้านบอกไปข้างต้นนั่นเอง ชั้นบนวางแปลนคล้ายกันคือ จากบันไดไปสู่ห้องโถงใหญ่เน้นให้มีช่องแสงและหน้าต่างเต็มพื้นที่ของผนังเพื่อความโปร่ง โดยใช้เป็นพื้นที่ส่วนรวมของ 3 คนพ่อแม่ลูก กล่าวคือเป็นทั้งส่วนนั่งเล่น ทำงาน […]

ก่อนการเดินทางครั้งต่อไป

“เพราะชีวิตคือการเดินทาง” ประโยคนี้คงบ่งบอกตัวตนของ คุณโรเบิร์ต – เจษฎา โอวาทเวโรจน์ ได้ดี เขาคือเจ้าของบ้านสไตล์โมเดิร์นหลังนี้ และกรรมการผู้จัดการบริษัท Global Tour Chiangmai ผู้อนุญาตให้เราได้มาเยี่ยมชมบ้านสวยๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสนามบินเชียงใหม่เท่าไรนัก “ลูกสาวสองคนไปเรียนมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ จะกลับมาก็ช่วงปิดเทอม คนอยู่บ้านหลังนี้ส่วนใหญ่ก็เลยเป็นผม อะไรๆ ในบ้านจึงดูเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างที่เห็น” คุณโรเบิร์ตเกริ่นถึงบ้านหลังนี้ พร้อมพาเราเข้าไปนั่งพูดคุยที่เคาน์เตอร์บาร์กลางโถงรับแขก ด้วยหน้าที่การงานที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ เมื่อถึงเวลากลับมาคุณโรเบิร์ตจึงต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ก่อนออกเดินทางในครั้งต่อไป ด้วยเหตุนี้เองการออกแบบและตกแต่งบ้านหลังนี้จึงเน้นความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา แต่มีความสะดวกสบายอย่างลงตัว “ผมคิดคล้ายๆ เวลาผมไปพักโรงแรม ถ้าข้าวของกระจัดกระจายเกินไป ตอนจะออกเดินทางก็เก็บไม่ไหว กลับมาก็รกอีก คงพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ ก็ทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตั้งแต่แรกไปเลยจะดีกว่า” คุณโรเบิร์ตเล่าให้ฟังด้วยรอยยิ้ม ก่อนเอ่ยต่อไปว่า “พอกลับมาผมจะนั่งดูหนังที่โซฟารับแขก ทำอาหารกินเอง และออกกำลังกาย ผมว่าทั้งการพักผ่อนและเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการเดินทางเสมอเป็นสิ่งจำเป็นนะครับ” จริงอย่างที่คุณโรเบิร์ตกล่าว หากใครเคยเดินทางติดกันบ่อยๆ คงไม่แคล้วต้องล้มหมอนนอนเสื่อกันบ้างละ การออกแบบบ้านหลังนี้จึงให้ความใส่ใจกับสุขภาพเป็นอย่างมาก โดยมีทั้งฟิตเนสส่วนตัว สระว่ายน้ำ และสนามพัตต์กอล์ฟอยู่ภายในบริเวณบ้าน ตัวบ้านนั้นออกแบบเป็นรูปตัวแอล (L) โดยเป็นผนังทึบทางด้านถนนทั้งสองด้าน กันความวุ่นวายจากถนนออกไปเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว การออกแบบโครงสร้างทำควบคู่ไปกับการออกแบบรูปแบบสถาปัตยกรรมเกิดเป็นลักษณะประโยชน์นิยม (Functionalism) ที่งานสถาปัตยกรรมจะก่อร่างขึ้นมาเองจากความสมเหตุสมผลทางการใช้งานและความเหมาะสมของวัสดุและงานก่อสร้าง การใช้เหล็ก […]