- Home
- คอร์ตยาร์ด
คอร์ตยาร์ด
Lasalle House ออกแบบบ้านแคบให้น่าอยู่ เติมเต็มไลฟ์สไตล์ของนักซ่อมเครื่องดนตรี
ออกแบบบ้านแคบให้น่าอยู่ บนที่ดินแค่ 37 ตารางวา หรือ 17X8 เมตร ในย่านลาซาล หลังนี้ ได้รับการออกแบบโดยสตูดิโอ VILAA ที่มาพร้อมโจทย์ด้านฟังก์ชันและการสร้างบรรยากาศที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์เจ้าของบ้าน เหมาะสำหรับการใช้ชีวิตที่ยืดหยุ่นและสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีได้แม้ในพื้นที่จำกัด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: STUDIO VILAA ตัวบ้านมีรูปทรงโมเดิร์นเรียบง่ายทรงกล่องสีขาว 2 ชั้น มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 180 ตารางเมตร กับวางตำแหน่งพื้นที่อยู่อาศัยตามฟังก์ชัน โดยชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่พับลิคเชื่อมต่อกันระหว่างห้องนั่งเล่น พื้นที่รับประทานอาหารและครัวในลักษณะโอเพ่นแปลน สามารถรองรับกลุ่มเพื่อน ๆ นักดนตรีที่มักแวะเวียนมาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ เนื่องจากตั้งอยู่ติดกับถนนใหญ่ แต่ยังต้องการความเป็นส่วนตัว จึงออกแบบให้มีพื้นที่คอร์ตขนาดเล็กตรงกลางบ้าน โดยอยู่ตรงตำแหน่งหลังแนวรั้วที่สร้างจากอิฐลอนวัสดุธรรมดาแบบบ้านสมัยก่อน เพื่อสร้างความรู้สึกแตกต่างจากฟอร์มของบ้านสีขาวที่เรียบคลีน การออกแบบให้มีพื้นที่คอร์ตเป็นอีกวิธีหนึ่งทีช่วยเพิ่มความโปร่งให้บ้านแล้ว แถมยังช่วยให้พื้นที่ภายในได้รับแสงจากมุมที่เป็นส่วนตัว โดยที่หน้าต่างและช่องเปิดของบ้านออกแบบให้หันเข้าหาคอร์ตพอดี มีไม้ยืนต้นคอยสร้างร่มเงาและลดความร้อนจากแสงแดดในทิศตะวันตกที่กระทบกับบ้านในช่วงบ่าย แถมยังช่วยเสริมความเป็นส่วนตัวให้กับห้องนอน ตัวบ้านดูแปลกตาตัดขอบชั้นบนด้วยแนวโค้งขนาดใหญ่ ทำให้บ้านมีความนุ่มนวล ไม่เป็นรูปทรงกล่องแข็งกระด้างเกินไป แถมยังเสริมมิติของแสงเงาที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาของวัน เมื่อก้าวเข้าสู่ภายในจะพบว่าได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ฝั่ง คือส่วนพื้นที่นั่งเล่น และส่วนรับประทานอาหารกับครัวที่จัดแบบโอเพ่นแปลน โดยไม่มีผนังกั้นระหว่างพื้นที่ดังกล่าว การใช้พื้นที่แบบนี้ช่วยให้บ้านดูโล่งและใช้งานได้หลากหลาย ในส่วนของครัวมีเพียงแพนทรี่เล็ก ๆ และโต๊ะรับประทานอาหารที่เพียงพอต่อการใช้งาน ส่วนพื้นที่ด้านข้างบ้านได้ขยับผนังไปชนขอบ Setback เพื่อให้ได้พื้นที่ที่เยอะขึ้น […]
Nhanh Lan Rung House รีโนเวทบ้าน สู่ความอิสระ ปลอดโปร่ง แม้อยู่ในตึกแถว
รีโนเวทบ้าน ขนาดกะทัดรัด ตอบโจทย์สมาชิกในบ้านทั้ง 4 คน แบบครบทุกฟังก์ชัน ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง แม้อยู่ในบ้านตึกแถว โปรเจ็กต์ รีโนเวทบ้าน พักอาศัย ในเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ให้ตอบโจทย์สมาชิกในบ้าน น้องแมว และคุณยายที่แวะมาเยี่ยมเยือนนอนพักกับลูกหลานในบางครั้งคราว ภายใต้บริบทของความเป็นบ้านตึกแถวที่มีความแคบลึก และทำเลที่ต้องหันหน้ารับแดดบ่ายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จากปัญหาความร้อน และพื้นที่คับแคบดังกล่าว จึงนำมาสู่การออกแบบเพื่อแก้ไขช่วยปรับเปลี่ยนบ้านให้น่าอยู่ มีพื้นที่เพียงพอต่อการใช้งาน ทั้งยังต้องระบายอากาศ และรับแสงสว่างได้อย่างดี T H I A architecture จึงพยายามกำหนดทิศทางการออกแบบบ้านร่วมกับเจ้าของ เพื่อให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านในฝันอย่างที่ต้องการ เริ่มตั้งแต่หน้าบ้านที่แบ่งความต่างของแพตเทิร์นเปลือกอาคารเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกแบ่งเป็นส่วนของประตูบ้านที่กรุด้านหลังโครงเหล็กสีขาวด้วยแผงเหล็กเจาะรู สำหรับพรางสายตาจากคนที่เดินผ่านไปมา แต่ยังยอมให้แสงและอากาศไหลผ่านเข้ามาด้านในได้ ส่วนข้างบนเป็นโครงสร้างระแนงเหล็กแนวตั้งที่ยึดกับโครงสร้างเดิม ออกแบบให้สูงจรดหลังคา มีประโยชน์เพื่อให้ไม้เลื้อยมีที่ยึดเกาะกลายเป็นฟาซาดธรรมชาติที่ทั้งสวยงาม บดบังสายตา ป้องกันแสงแดด และความร้อนได้ในอนาคต จากพื้นที่ระหว่างประตูเหล็กหน้าบ้านก่อนเข้าถึงพื้นที่ด้านใน ผู้ออกแบบได้เว้นช่องว่าง หรือลานเล็ก ๆ ไว้ให้แสงและอากาศสามารถไหลเวียนเข้าสู่พื้นที่ชั้น 1 ซึ่งประกอบด้วยส่วนนั่งเล่น ครัว และพื้นที่รับประทานอาหาร ก่อนคั่นพื้นที่ส่วนนี้กับห้องนอนคุณยายที่อยู่หลังบ้าน ด้วยคอร์ตยาร์ดที่เจาะเป็นช่อง […]
ATELIER KAMPOT รีโนเวทตึกแถว กัมพูชา สไตล์โคโลเนียลทรุดโทรม สู่ช็อปเฮ้าส์ร่วมสมัย
โปรเจ็กต์ รีโนเวทตึกแถว กับการคงเอกลักษณ์อาคารโคโลเนียลในประเทศกัมพูชา สู่พื้นที่ร้านอาหารและบ้านพักอาศัย รีโนเวทตึกแถว สไตล์โคโลเนียล ซึ่งตั้งอยู่ในย่านการค้าเก่าแก่ริมแม่น้ำในเมืองกำปอต ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชา จากที่เคยปิดร้างและมีสภาพทรุดโทรมให้กลายเป็นช็อปเฮ้าส์ เปิดทำธุรกิจร้านอาหารที่ชั้นล่าง และทำพื้นที่พักอาศัยที่ชั้นบน ออกแบบและรีโนเวตโดย Bloom Architecture สะท้อนถึงแนวคิดการให้คุณค่าต่อสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ และอีกด้านหนึ่งยังถือเป็นเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี เล่าย้อนไปที่นี่เคยเป็นร้านค้าดำเนินกิจการของครอบครัวของเจ้าของมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อความเจริญของเมืองท่าเริ่มลดความสำคัญลง อาคารแห่งนี้ได้ทิ้งร้างมานานหลายปี ก่อนได้รับการฟื้นคืนชีวิตชีวาอีกครั้งในฐานะที่กลายเป็นร้านอาหารและบ้านพักอาศัย เพื่ออนุรักษ์สถาปัตยกรรมเก่าแก่ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก และรักษาความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่กัมพูชาเคยเป็นเมืองอาณานิคมฝรั่งเศส จากการรู้คุณค่าดังกล่าวสถาปนิกจึงมุ่งเน้นที่การรักษาลักษณะดั้งเดิมของอาคารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขั้นตอนของการนำพาอาคารเก่าข้ามเวลาสู่ยุคสมัยใหม่ สถาปนิกเน้นแผนการปรับปรุงอาคารโดยยังคงลักษณะดั้งเดิมของอาคารไว้ เริ่มจากภายนอกที่คงเก็บช่องเปิดโค้งขนาดใหญ่ที่ระเบียงชั้นสอง ลายปูนปั้นวิจิตรบรรจง ร่องรอยและคราบสีเก่าบนผิวอาคาร เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านของวันเวลาจากอดีตถึงปัจจุบัน ผสมกับไม้รีไซเคิลที่รื้อถอนจากตัวบ้านบางส่วน แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ส่วนหน้าต่างของบ้านเป็นการสั่งทำขึ้นมาใหม่ แสดงถึงการเข้ากันได้ระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ได้อย่างลงตัว พื้นที่ภายในมีขนาดพื้นที่ใช้สอย 319 ตารางเมตร แม้รูปลักษณ์ของอาคารจะเป็นอาคารพาณิชย์สไตล์โคโลเนียล แต่ฟังก์ชันภายในกลับบรรจุด้วยความสะดวกสบายเข้ากับวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบัน ชั้นล่างเปิดโล่งมีที่นั่งให้เลือกหลากหลาย จัดวางโต๊ะและเก้าอี้ไม้หลายรูปทรงสำหรับเป็นพื้นที่รับประทานอาหาร ฝ้าเพดานดูสูงโปร่งเผยให้เห็นคานไม้ ผนังอิฐโชว์ลายเผยให้เห็นเท็กซ์เจอร์วัสดุดั้งเดิม ประดับตกแต่งบรรยากาศด้วยภาพศิลปะแอ๊บสแตร็กต์สีสันสดใส ส่วนพื้นเป็นกระเบื้องลายโบราณที่โดดเด่นเป็นเอกลัษณ์และนิยมใช้กันในสมัยก่อน รับแสงและอากาศให้ไหลเวียนถ่ายเทได้ดี ผ่านการออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดซึ่งมีบันไดวนโลหะขนาดใหญ่สีขาวทอดผ่านลานตรงกลางนี้ สูงขึ้นไปจนถึงห้องนั่งเล่นส่วนตัวที่อยู่ชั้นบนสุด ซึ่งเป็นพื้นที่พักอาศัยของเจ้าของบ้าน โดยบันไดวนนี้มีความสำคัญต่อการออกแบบอย่างมาก ใช้ในการนำพาแสงธรรมชาติให้ส่องลงมาถึงระดับพื้นที่ใช้งานชั้นล่าง และช่วยระบายอากาศตามธรรมชาติ ทำให้ภายในอาคารเย็นสบายแม้ในช่วงฤดูร้อนที่ร้อนระอุ […]
บ้านโมเดิร์น ที่มีคอร์ตยาร์ด และมีรั้วเป็นอาร์ตแกลเลอรี่
บ้านโมเดิร์น มีคอร์ตยาร์ด หลังนี้มีส่วนผสม 3 อย่าง ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัย คอร์ตยาร์ดกลางบ้าน และอาร์ตแกลเลอรี่ในบ้าน
DHY HOUSE เท่อย่าง บ้านคอนกรีต อยู่สบายอย่าง บ้านทรอปิคัล
บ้านคอนกรีต ของนักออกแบบแฟชั่นชาวบ้านเวียดนาม ที่แอบซ่อนพื้นที่ชีวิตไว้หลังผนังคอนกรีต กับบ้านที่เปิดต้อนรับลมและสวนเขียวขจี ความพิเศษของ บ้านคอนกรีต หลังนี้ คือการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนหลัก คือมีร้านกาแฟอยู่ในส่วนหน้าบ้านซึ่งเปิดเป็นแบบ Private coffee shop ก่อนจะคั่นแบ่งด้วยผนังคอนกรีตสูงตระหง่าน มีช่องประตูไม้เล็ก ๆ พาเดินเข้าสู่พื้นที่ของบ้านพักที่ปิดล้อมมิดชิด ก่อนจะค่อย ๆ เผยให้พบกับพื้นที่ชีวิตที่ส่งเสริมการระบายอากาศตามธรรมชาติ พร้อมพื้นที่สีเขียวเล็ก ๆ ที่แซมด้วยร่มเงาของต้นไม้ ช่วยในเรื่องการไหลเวียนของอากาศ ทำให้มั่นใจได้ว่าพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดของบ้านจะเย็นสบาย แม้ในวันที่มีอากาศร้อนที่สุด เป็นงานออกแบบที่ตอบรับโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ไปพร้อมกับบ้านดีไซน์โมเดิร์นทันสมัยแปลกตาด้วยรูปทรงแบบเรขาคณิต แต่กลับส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยแนวคิดตามวิถีทรอปิคัล ผลงานออกแบบโดย AHL Architects ที่มีแรงบันดาลใจการดีไซน์มาจากรูปทรงของ Japanese knot bag หรือถุงผ้าแบบคล้องมือสไตล์ญี่ปุ่น เน้นแนวคิดการปรับตัวทางสถาปัตยกรรมเพื่อให้บ้านโมเดิร์นยุคใหม่ เข้ากับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการใช้ชีวิต โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ มาช่วย อาทิ การวางตำแหน่งของบ้านเพื่อรับลม ออกแบบระเบียงให้มีขนาดกว้าง ใช้ระแนง กำแพงขนาดหนาเพื่อกันความร้อน และการปลูกต้นไม้เพื่อสร้างร่มเงา ผสานกับองค์ประกอบของวัสดุที่มาจากธรรมชาติอย่างไม้เพื่อให้บ้านมีความอบอุ่น แนวคิดเรื่องพื้นที่กันชนได้รับการถ่ายทอดผ่านการออกแบบพื้นที่ระเบียงบ้านทั้งลึกและมีขนาดใหญ่ เป็นวิธีที่สถาปนิกเล่าว่า เขาได้หยิบยกมาจากภูมิปัญญาการสร้างบ้านดั้งเดิมของเวียดนาม ก่อนที่จะมีเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมเข้ามาใช้งานในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งลักษณะพิเศษของบ้านพื้นถิ่นของเวียดนามเหนือ กับการสร้างบ้านส่วนใหญ่ให้มีระเบียงขนาดกว้างคอยทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องเข้ามาถึงภายในโดยตรง […]
บ้านโมเดิร์นมีคอร์ตกลาง เป็นพระเอก แก้ปัญหาสภาพแวดล้อมรอบบ้านไม่สวยงาม
ชม บ้านโมเดิร์นมีคอร์ตยาร์ด เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมรอบบ้านที่ไม่เจริญหูเจิญตานัก และยังช่วยให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของเวลาภายนอก
ARIOSA APARTMENTS เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ในเวียดนาม เสิร์ฟการพักผ่อนเหมือนอยู่บ้านส่วนตัว
เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ หน้าแคบ กับแนวคิดที่รับรองว่าถูกใจคนเมือง กับการแทรกพื้นที่สีเขียวและความเป็นส่วนตัวเอาไว้ด้านใน บนทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม โดย เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ แห่งนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาดจำกัด 210 ตารางเมตร โดยมีหน้ากว้างแค่ 5 เมตร ยาว 42 เมตร จากที่ตั้งดังกล่าวทำให้ต้องเจอกับปัญหาอย่างบ้านตึกแถวในเขตเมืองที่คับคั่ง ที่ส่วนใหญ่มักขาดช่องแสง และการระบายอากาศที่ดี แต่กลับไม่ใช่ปัญหาของที่นี่แม้แต่น้อย ด้วยการแก้ปัญหาและออกแบบโดยทีมจาก K.A Studio เพราะภาษาการออกแบบของที่นี่ได้รับการออกแบบให้รับมือต่อการระบายอากาศ และช่วยประหยัดพลังงานไปในตัว ด้วยการผลักด้านหน้าของอาคาร หรือเฉลียงขนาดใหญ่ออกไปด้านนอก ขณะที่ห้องพักส่วนตัวถูกผลักให้หลบอยู่ด้านใน เพื่อลดการปะทะกับความร้อนและมลภาวะ ริมระเบียงของทุกห้องได้รับการดีไซน์ให้คล้ายกับเป็นบ้านไม้หลังน้อย ๆ เรียงสับหว่างกันในแต่ละชั้นจนกลายเป็นฟาซาด หรือเปลือกอาคารให้แก่อพาร์ตเมนต์แห่งนี้ดูน่ารักอบอุ่น บ่งบอกถึงการพักผ่อนที่แสนสงบของที่นี่ว่าไม่ต่างจากบ้านจริง ๆ โดยแผงไม้ระแนงที่เห็นจะทำหน้าที่ช่วยกรองแสง ร่วมกับแหล่าต้นไม้ที่ปลูกประดับอยู่ด้านหน้าของทุกห้องเพื่อลดปริมาณฝุ่น ควัน และเสียงจากถนนที่พลุกพล่าน รวมถึงหลีกเลี่ยงแสงแดดจากทิศตะวันตกโดยตรง นับเป็นรายละเอียดที่ช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ให้แก่ผู้อยู่อาศัยได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และเพิ่มสุนทรียภาพด้วยการที่ผู้เข้าพักสามารถเดินออกมาชมวิวความเขียวขจีของต้นไม้เก่าแก่ขนาดใหญ่ริมถนน ที่มุ่งตรงไปยัง The Independence Palace ซึ่งเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในนครโฮจิมินห์ได้ด้วย การออกแบบที่ช่วยสร้างสภาวะน่าสบาย จะเห็นว่ามีการนำเสนอวิธีแก้ปัญหาอาคารทึบด้วยการเพิ่มพื้นที่คอร์ตยาร์ดตรงกลางอาคาร 2 ตำแหน่ง เพื่อให้อากาศหมุนเวียดถ่ายเทได้ดี อีกทั้งยังจะได้ใกล้ชิดกับสวนในทุกห้อง […]
CASCADING HOUSE บ้านคอนกรีต หล่อพร้อมสวน 3 ระดับ
บ้านคอนกรีต ดีไซน์โมเดิร์นในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย กับการออกแบบบ้านเพื่อเอาชนะความลาดชันของที่ดิน พร้อมการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการอยู่อาศัย ด้วยแทรกพื้นที่สวนสำหรับพักผ่อนและนำพาแสง-ลมเข้าสู่บ้าน บ้านคอนกรีต กับการออกแบบบ้านตามระดับความลาดชันของที่ดิน ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับถนนหน้าบ้านลงไปถึง 5 เมตร ขณะที่ที่ดินของบ้านก็มีความแตกต่างกันถึง 3 เมตร แทนที่จะทำให้ตัวเองโดดเด่นจากไซต์ บ้านหลังนี้กลับเน้นการออกแบบให้กลมกลืนไปกับภูมิประเทศของไซต์ ด้วยการจัดเรียงพื้นที่ใช้งานของบ้านให้มีลักษณะแบบลดหลั่นกัน ที่นี่ได้รับการออกแบบมาให้สำหรับคู่รักหนุ่มสาวที่มีลูกเล็ก ๆ 2 คน พร้อมโจทย์ที่อยากให้บ้านมีความเรียบง่าย มีพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะกับการใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย หลังจากศึกษาไซต์เรียบร้อยแล้ว สถาปนิกจาก Tamara Wibowo Architects ได้แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วยพื้นที่ต้อนรับ และโรงรถซึ่งถูกวางไว้ที่ระดับสูงสุดของไซต์ แล้วจึงค่อยเป็นพื้นที่นั่งเล่น และรับประทานอาหารที่วางอยู่ตรงกลาง และระดับต่ำสุดคือ ตำแหน่งห้องนอน 4 ห้อง ที่จัดเป็น 2 ระดับ มวลอาคารทั้ง 3 ระดับจึงดูลดหลั่นกันลงมาตามไซต์ เรียกง่าย ๆ คือความสูงของมวลห้องนอนจึงเท่ากับมวลพื้นที่พักผ่อนของบ้านนั่นเอง แม้จะเป็นโครงสร้างคอนกรีตหนาหนัก แต่ก็ไม่ลืมออกแบบพื้นที่สีเขียวไว้ด้วย เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้หย่อนใจ และพักสายตาไปกับสวนที่แทรกอยู่ระหว่างมวลอาคารทั้ง 3 ระดับ เช่น […]
สวนสไตล์โมเดิร์นไชนีส บนพื้นที่คอร์ตยาร์ดที่ถูกล้อมรอบด้วยอาคาร
ความเชื่อในแบบฉบับของคนจีนมักถูกถ่ายทอดจากนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรมในสิ่งต่าง ๆ ให้เราเห็นอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นภาษา อาหาร วัฒนธรรม เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย รวมไปถึงรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมและการจัดสวนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะสามารถบ่งบอกได้อย่างชัดเจน สวนสไตล์โมเดิร์นไชนีส สวนสไตล์จีนที่ออกแบบตามหลักฮวงจุ้ย ของศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน การจัดการกับต้นไม้ และพื้นที่สวนที่อยู่ติดกับบ้านหรือพื้นที่สวนคอร์ตยาร์ด หลังจากที่ได้รับการจัดสรรมรดกที่ดินจากรุ่นคุณพ่อที่อยากให้ครอบครัวพี่น้องอยู่ในระแวกเดียวกันแล้ว คุณสุพัตรา – คุณธวัช พิทักษ์ธีระธรรม จึงได้เริ่มต้นสร้างบ้านหลังนี้ขึ้น “ในตอนแรกเรามีไอเดียในการตกแต่งภายในบ้านให้เป็นสไตล์โมเดิร์นไชนีส แต่พื้นที่สวนรอบนอกเรายังนึกไม่ออกว่าจะให้ออกมาเป็นแบบไหนดี เลยปรึกษาทาง คุณดอส – ปณัฐ สุมาลย์โรจน์ จาก บริษัทเพอโกล่าร์ จํากัด ให้ช่วยออกแบบบริเวณสวน โดยมีโจทย์เริ่มต้นว่าอยากได้ สวนสไตล์โมเดิร์นไชนีส ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งในระหว่างนั้นงานตกแต่งภายในบ้านก็ยังสร้างไม่เสร็จดี เลยไม่แน่ใจว่าทางนักจัดสวนจะเห็นภาพเดียวกับเราไหม สวนจะเข้ากับบ้านหรือเปล่า แต่ปรากฏว่าพอเขาดีไซน์ออกมากลับเข้ากันได้ดี ถูกใจ ใช้ได้ เหมือนเขาอ่านใจเราได้ว่าชอบแบบไหน อยากได้แบบไหน โดยเฉพาะงานประติมากรรมรูปเหรียญที่ออกมาสวยงาม มีความหมายที่ดี แถมยังเข้ากันกับงานประติมากรรมภายในบ้านที่ตกแต่งด้วยเหรียญไว้เช่นกันอย่างไม่น่าเชื่อ” เมื่อก้าวเข้ามาสู่บริเวณหน้าบ้าน นักจัดสวนได้ออกแบบพื้นที่ให้มีกลิ่นอายของความโมเดิร์น เรียบ เท่ ด้วยพื้นสนามหญ้าตัดกับเส้นสายลายกราฟิกโทนสีขาว เทา ดำ ล้อไปกับแนวระดับของบ้านเชื่อมลงสู่พื้นถนนด้านล่าง ทำให้รู้สึกนิ่ง สุขุม และเย็นสบายตา […]
บ้านไม้อบอุ่น ชวนห้อยขาล้อมคอร์ตสีเขียว
บ้านไม้อบอุ่น อาจเป็นโจทย์ที่กว้าง ผลลัพธ์สุดท้ายอาจต่างจากบ้านทรงจั่วที่หลายคนคิดไว้แต่แรก และบ้านโมเดิร์นทรอปิคัลกลิ่นอายไทยๆ หลังนี้ ก็เช่นกัน ซึ่งสุดท้ายความสุขคือการกลิ้งตัวนั่งเล่นบนชานบ้านแห่งความสบายใจ เริ่มจากบ้านทรงจั่วสองชั้นที่เรียบง่าย ทำเลของบ้านหลังนี้อยู่ชานเมืองย่านฝั่งธนบุรี เป็นที่ดินเปล่าของครอบครัว เมื่อทางคุณอั๋นและคุณทิพ บุนนาค ต้องการสร้างบ้านใหม่ จึงมองหาสถาปนิกที่ชอบจากการติดตามผลงานที่ผ่านมา จนได้คุยกับ คุณจูน เซคิโนในตอนแรกคุณทิพย์อยากได้บ้านทรงจั่วสองชั้น ดูอบอุ่นเหมือนบ้านเก่าสมัยก่อน ไม่ได้มีความซับซ้อนหรือความต้องการอะไรมากนัก แต่หลังจากพูดคุยกันได้สักพัก คุณจูนก็เริ่มนำเสนอบ้านชั้นเดียวที่มีสวนคอร์ตยาร์ดตรงกลางให้ อยู่แบบพอดีในบ้านชั้นเดียวแสนอบอุ่น สถาปนิกมีเหตุผลในการออกแบบครั้งนี้ว่า พื้นที่จริงค่อนข้างใหญ่ และจากโจทย์การใช้งานของเจ้าของบ้านที่มีแค่สองคน จึงคิดว่าการทำบ้านชั้นเดียวน่าจะเพียงพอ ดังนั้นแนวคิดการใช้ชีวิตในบ้านแบบบ้านสมัยก่อน เช่น การนั่งเล่น การพักผ่อนหย่อนใจ จึงถูกตีความใหม่กลายเป็นชานบ้านขนาดใหญ่รับกับพื้นที่สวนสีเขียว ชานบ้านแบบลำลองด้านหลังอยู่ติดกับคลองขนาดเล็กที่กั้นหมู่บ้าน บริเวณนี้ทำชายคายื่นยาว รวมไปถึงการใช้วัสดุอย่างไม้ให้รับกับโครงบ้านสีขาว ทำให้รู้สึกเหมือนนั่งเล่นอยู่ในคาเฟ่แบบญี่ปุ่นหรือไต้หวันที่แฝงไว้ซึ่งความเรียบง่ายแบบมินิมัล สวนที่ต้นไม้ไม่ต้องเยอะ แต่ใช้งานได้จริง คอร์ตยาร์ดกลางบ้านทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์กลางของบ้าน ทุกห้องสามารถรับวิวความสดชื่นได้ โดยการวางผังการใช้งานเป็นรูปตัวแอล (L) ล้อมไว้ ตรงกลางปลูกต้นบุนนาคเป็นไม้ประธาน เนื่องจากเป็นนามสกุลของเจ้าของบ้าน ถือเป็นไม้มงคลน่าปลูกและให้ร่มเงาได้ดี บริเวณนี้ปลูกต้นไม้ไม่ต้องเยอะ เน้นดูแลง่าย พื้นปลูกสะระแหน่ประดับโดยรอบ สวนนี้ออกแบบโดย Kaizentopia และกลายเป็นจุดนั่งเล่นของบ้าน จะนั่งบนชาน หรือนั่งห้อยขาแบบศาลาริมคลองก็ได้ขณะที่สวนด้านหลังที่ติดคลอง ทำรั้วเป็นตะแกรงช่วยบังตาและกรองแดด มีชานบ้านรับสวนส่วนนี้เช่นกัน […]
บ้าน ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ที่ได้แรงบันดาลใจ มาจากไอรอนแมน
บ้านของดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หลังนี้ มีทั้งผนังบังเกอร์ยักษ์ สระว่ายน้ำยกลอย ช่องเปิดไร้เสา ท้าทายการออกแบบโครงสร้างในหลายมิติ
REFRACTION HOUSE บ้านผนังบล็อกแก้ว ช่วยกันร้อนและกระจายแสงให้บ้านโปร่ง
โปรเจ็กต์การทดลองจาก RAD + ar กับการตั้งคำถามถึงวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างบ้าน ที่จำเป็นต้องหันหน้าเผชิญกับแสงแดดจากทิศตะวันออกและตะวันตก ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านออกมาสวยงามน่าอยู่ พร้อม ๆ กับการปกป้องพื้นที่ด้านในจากความร้อนของแสงแดด นำมาสู่การเลือกใช้ “บล็อกแก้ว” มาออกแบบเป็นองค์ประกอบของเปลือกอาคารขนาดใหญ่ จากปัญหาตำแหน่งที่ตั้งซึ่งขวางอยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก แน่นอนว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศอินโดนีเซีย ย่อมต้องเจอะเจอกับแสงแดดจัดจ้าและความร้อนตลอดทั้งวัน ไม่อำนวยต่อการเปิดรับแสงธรรมชาติโดยตรงสักเท่าไหร่นัก จึงต้องคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้การออกแบบผนังส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สามารถป้องกันแสงแดดและลดความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติของ บล็อกแก้ว ที่ช่วยหักเหแสง กันความร้อน กันเสียง และไม่ทำให้บ้านทึบ วัสดุชนิดนี้จึงกลายเป็นคำตอบเพื่อให้บรรลุถึงความยั่งยืน ด้วยการนำบล็อกแก้วมาออกแบบเป็นผนังทั้งส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สำหรับทำหน้ากันแสงแดดและลดความร้อนให้บ้าน โดยยังยอมให้แสงสว่างส่องลึกเข้าไปยังตัวบ้านด้านในได้ ทั้งนี้พื้นที่ระหว่างเปลือกอาคารบล็อกแก้วกับพื้นที่ใช้งานภายในบ้าน สถาปนิกได้ออกแบบให้มีระเบียงขนาดใหญ่คั่นอยู่ตรงกลางเพื่อใช้พักผ่อน โดยการเว้นสเปซดังกล่าวนี้ เผื่อไว้ในเวลากลางคืนที่ความร้อนจะถูกปล่อยออกมาจากบล็อกแก้ว จึงไม่กระทบกับการอยู่อาศัยมากนัก ขณะเดียวกันห้องต่าง ๆ ที่หันหน้าไปยังหน้าบ้าน ก็จะรับแสงสว่างได้อย่างเพียงพอในช่วงกลางวัน จนแทบไม่ต้องเปิดไฟใด ๆ เลย ขยับเข้ามายังพื้นที่ใช้งานด้านใน ออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง โอบล้อมด้วยผนังบล็อกแก้วทั้งสามด้าน สร้างความร่มรื่นด้วยการปลูกไม้ฟอร์มสวยอย่าง ต้นแปรงล้างขวด ซึ่งมีดอกสีแดง และกิ่งก้านห้อยระย้า ช่วยสร้างเส้นสายพลิ้วไหว ตัดกับความดิบกระด้างของวัสดุ และโครงสร้างของบ้านได้อย่างดี โดยที่แสงธรรมชาติจากคอร์ตยอร์ดยังส่องผ่านไปยังผนังบล็อกแก้ว ช่วยให้พื้นที่บ้านชั้นในดูสว่างขึ้นได้อีกทาง นับเป็นการออกแบบบ้านที่ทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมของที่ตั้งได้อย่างแยบยล […]