การสร้างบ้าน – บ้านและสวน

สร้างบ้านชิดที่ดินด้านไหนดีที่สุด

การสร้างบ้าน สักหลังถือเป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องทิศทางการวางตำแหน่งในการสร้างบ้านนั้นมีความสำคัญมาก ครั้งนี้เรามาดูตัวอย่าง 6 ไอเดียในการสร้างบ้านชิดที่ดินด้านไหนจะได้ผลลัพธ์ที่ดี เพื่อให้ได้บ้านที่อยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบายที่สุดกัน การสร้างบ้าน 1. หากข้างบ้านเป็นตึกสูง มีความพลุกพล่าน ไม่น่ามอง แนะนำให้ทำบ้านชิดด้านนั้นและวางแปลนให้เป็นส่วนบริการ ที่จอดรถ หรือโถงบันได เพื่อบล็อกมุมมอง และสร้างความเป็นส่วนตัวให้ในบริเวณบ้าน 2. วางบ้านชิดที่ดินด้านที่โดนแดดแรง คือด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ เพื่อให้เหลือที่ว่างด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือซึ่งโดนแดดน้อย แล้ววางแปลนด้านนี้เป็นส่วนพักผ่อนที่ต้องการมุมมองที่ดี 3. สร้างบ้านชิดด้านหน้าบล็อกความวุ่นวายจากถนน สร้างพื้นที่เปิดโล่งและเป็นส่วนตัวไว้หลังบ้าน 4. สร้างบ้านชิดด้านหลังจะเห็นตัวบ้านชัดเจน เหมาะกับบ้านที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี แต่กรณีนี้จะต้องทำถนนตามเข้าไปด้วย ซึ่งต้องใช้งบประมาณและเสียพื้นที่จัดสวน 5. โดนล้อมด้วยตึกหรือต้องการความเป็นส่วนตัวสูง ทำได้ด้วยการสร้างขอบเขตโดยรอบ จึงนิยมสร้างบ้านเกือบทุกด้านให้ชิดขอบเขตที่ดินมากที่สุด โดยทำผนังทึบรอบบ้าน เพื่อให้เหลือพื้นที่สำหรับเปิดคอร์ตในบ้านที่เป็นส่วนตัว 6. สร้างบ้านชิดด้านซ้ายหรือด้านขวา เพื่อเหลือที่ว่างอีกด้านที่เข้าถึงจากถนนหน้าบ้านได้ง่าย เหมาะกับการวางแผนต่อเติมในอนาคต    การสร้างบ้าน ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การสร้างบ้าน ที่ควรรู้อีกมากมาย  ซึ่งนำเสนอใน 100 เรื่องต้องรู้ในการสร้างบ้านและจัดสวน ตีพิมพ์ลงในนิตยสารบ้านและสวน ฉบับเดือนกรกฎาคม 2564  มีหลากหลายหมวด เช่น นักออกแบบและผู้รับเหมา งานโครงสร้าง การตรวจหน้างาน วัสดุก่อสร้าง พรรณไม้ในสวน การดูแลสวน เรียกได้ว่าจบครบในเล่มเดียวสำหรับคนรักบ้านตัวจริง […]

กฎหมายอาคาร

กฎหมายอาคาร(แบบเข้าใจง่าย) สำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้าน

ใครว่าเรื่อง กฎหมายอาคาร เป็นเรื่องยากเกินเข้าใจ และไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าของบ้านที่ต้องรู้เพราะมีสถาปนิกเป็นผู้ออกแบบบ้านและคำนึงถึงข้อกฎหมายต่างๆ ให้แล้ว ความคิดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง หนังสือ สร้างและต่อเติมบ้านอย่างรู้กฎหมาย เหตุที่บอกว่าการรู้ กฎหมายอาคาร เป็นเรื่องจำเป็นนั้น เมื่อเราได้แบบบ้านจากสถาปนิก ขั้นตอนต่อมาคือการยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างต่อสำนักงานเขต เมื่อผ่านการอนุญาตก่อสร้างจึงเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาสร้างบ้านที่จะต้องก่อสร้างตามแบบที่สถาปนิกออกแบบไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้มักจะมีความผิดเพี้ยนจากที่ออกแบบไว้ ทั้งมาจากการพยายามลดต้นทุนก่อสร้างของผู้รับเหมา ร่นระยะเวลาให้เร็วขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ตัวเจ้าของบ้านเองต้องตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและควรรู้ข้อกฎหมายก่อสร้างหากมีกรณีที่ผู้รับเหมาสร้างบ้านไม่ตรงแบบที่วางไว้ ซึ่งหากบ้านที่กำลังสร้างอยู่นี้กลายเป็นบ้านที่ผิดกฎหมายอาคาร จะเกิดปัญหายืดยาวตามมาอย่างแน่นอน 10 ข้อกฎหมายเบื้องต้นสำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้านต้องรู้มีอะไรบ้าง ไปดูกัน •ดาวน์โหลดกฎหมายควบคุมอาคารฉบับเต็มได้ที่นี้ •กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร 1 | สร้างบ้านชิดรั้วบ้านได้แต่ผนังบ้านรั้วต้องปิดทึบ กรณีแรกที่เหมือนจะเป็นปัญหากับเพื่อนบ้านอยู่เสมอคือการที่มีบ้านอีกหลังใดหลังนึงต่อเติมหรือสร้างบ้านจนมาชิดรั้วบ้านเรา ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่จะสร้างบ้านแบบนี้ เจ้าของบ้านต้องได้รับการยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ผนังบ้านจะต้องไม่มีหน้าต่าง ช่องลม ช่องแสงใดๆ เป็นเด็ดขาด แน่นอนว่ากรณีนี้ย่อมเกิดปัญหาวุ่นวายทีหลังเพราะเป็นธรรมดาว่าเพื่อนบ้านย่อมไม่ปรารถนาเช่นนั้น ซึ่งหากไม่อยากให้เรื่องยืดยาว ให้เว้นระยะห่างตัวบ้านจากรั้วบ้านหรือแนวดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตรแต่ยังคงต้องเป็นผนังทึบเช่นเดิม และอย่าลืมติดตั้งรางน้ำฝนให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันน้ำไหลลงฝั่งเพื่อนบ้านที่จะเป็นเหตุให้วิวาทกันภายหลังหลังด้วย 2 | ผนังบ้านที่มีประตูหน้าต่างต้องมีระยะห่างจากแนวรั้วอย่างน้อย 2 เมตร ในกรณีที่ผนังบ้านมีประตูหน้าต่าง ให้รู้ไว้เลยว่าตัวบ้านชั้น 1 และชั้น 2 จะต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 2 เมตร หากเป็นบ้าน 3 […]

ราคาบ้าน

จะสร้างบ้านต้องใช้เงินเท่าไหร่?

การสร้างบ้านสักหนึ่งหลัง เรื่องเงินเป็นเรื่องสำคัญยิ่งนัก และเรื่องเงินก็เป็นปัจจัยต้นๆ ที่เป็นเสมือนตัวกำหนดรูปแบบและขนาดของบ้านเราได้

ข้อควรคิดวิธีเลือกผู้รับเหมา ไม่ให้โดนหลอก

ได้เห็นข่าว ผู้รับเหมาสร้างบ้าน ทิ้งงานอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่ผู้ว่าจ้างนั่นเป็นดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง แต่ก็ยังไม่วายต้องเจอปัญหานี้ เห็นทีว่าควรบรรจุเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้านเลยก็ว่าได้ ด้วยการประกอบอาชีพ ผู้รับเหมาสร้างบ้าน นั้น ไม่ได้มีใบรับรองหรือใบอนุญาตใดๆ เป็นเครื่องหมายการันตีในความสามารถ ความรับผิดชอบ และที่สำคัญคือความซื่อสัตย์ นอกเสียจากจะเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนนิติบุคคลและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร •รู้ไว้..ก่อนผิด กฎหมายบ้าน •ก่อสร้างบ้าน แล้วเดือดร้อนข้างบ้าน ผู้ว่าจ้าง หรือผู้รับเหมา ต้องรับผิดชอบ บางครั้งการคัดเลือกผู้เหมารายย่อยสำหรับสร้างบ้านที่นับว่าเป็นโปรเจ็คขนาดเล็ก หรือบางทีเจ้าของบ้านก็มีแบบบ้านที่ได้รับการรับรองโดยสถาปนิกที่มีใบอนุญาตแล้วนั้น เจ้าของบ้านอาจจะใช้วิจารณญาณของตัวเองในการคัดกรองคัดเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้าน แต่ก่อนจะเลือกผู้รับเหมาลองมาพิจารณาเป็นข้อๆ ป้องกันปัญหาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ 1 มีคนใกล้ตัวไว้ใจได้แนะนำให้ ว่ากันว่าการตลาดที่ดีที่สุดคือการบอกต่อ คนในยุค4.0 ต่างให้ความเชื่อใจสินค้าที่ผ่านการรีวิวของคนมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่การบอกต่อหรือแนะนำผู้รับเหมานั้นไม่ได้ง่ายเหมือนอย่างการรีวิวสินค้าทั่วไป เพราะต้องผ่านด่านหินสร้างผลงานที่น่าเชื่อถือมีคุณภาพอย่างแท้จริง การคัดเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้าน คงไม่ต้องถึงขั้นให้คนมีชื่อเสียงมารีวิวในสิ่งที่สร้างมา แต่หากผลงานการสร้างบ้านที่ผ่านมาได้รับการยอมรับจากลูกค้าเดิมที่เป็นบุคคลที่เราน่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ ก็สมควรรับพิจารณาไว้เพราะการเข้าไปนั่งอยู่ในใจลูกค้าจนกล้าบอกต่อนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว 2 มีที่ตั้งเป็นหลักแหล่งแน่นอน แน่นอนว่าจะให้ใครมาสร้างบ้านให้เรานั้น เขาต้องมีที่อยู่ที่แน่นอนหรือมีสำนักงานที่ตั้งที่ชัดเจน ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งข้อพิจารณาสำคัญ การจัดตั้งสำนักงานรับเหมาก่อสร้างอาจจะทำให้เรารู้สึกเชื่อมั่นเชื่อถือได้มากกว่าผู้รับเหมารายย่อยที่ไม่มีอยู่ชัดเจน แต่ก็ต้องพิจารณาในตัวที่ตั้งสำนักงานด้วยว่าสภาวะแวดล้อมนั้นมีความมั่นคงในแง่ธุรกิจมากแค่ไหน หรือเป็นสำนักงานรับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนพานิชย์ถูกต้องตามกฎหมายเป็นบริษัทจำกัด หรือเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือไม่ 3 ผลงานดีมีจริงโชว์ได้ หากไม่มีคนรู้จักแนะนำให้ ผู้รับเหมาที่ซื่อสัตย์งานดีต้องรีวิวผลงานตัวเองได้ ซึ่งไม่มีเวทีหรือช่องทางไหนจะบอกเล่าได้ดีเท่ากับสถานที่จริง ฉะนั้น […]

ข้างบ้านเดือดร้อน

ก่อสร้างบ้าน แล้ว ข้างบ้านเดือดร้อน ผู้ว่าจ้าง หรือผู้รับเหมา ต้องรับผิดชอบ

ในขณะการ ก่อสร้างบ้าน เศษอิฐ หิน ปูน กระเด็นไป ทำให้ข้างบ้านได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ผู้ว่าจ้างหรือผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย ?

9 ปัญหายอดฮิต เกี่ยวกับ กฎหมายการสร้างบ้าน

“บ้านและสวน” จะมาไขข้อข้องใจ 9 ปัญหายอดฮิตเกี่ยวกับกฎหมายการสร้างบ้านซึ่งหลายคนสงสัยและมักเข้าใจผิด มีอะไรบ้างมาดูกัน

ข้อแตกต่างระหว่าง “บ้านไม้” กับ “บ้านปูน”

เพื่อให้ทุกคนได้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนของบ้านทั้ง 2 แบบที่แตกต่างกัน เราจึงได้คัดเลือกข้อดีข้อเสียของทั้งบ้านไม้และบ้านปูนมาฝากดังนี้