© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านอิฐบล็อก สไตล์โมเดิร์นดีไซน์เรียบง่ายอยู่สบาย เด่นด้วยการออกแบบพื้นที่ในบ้านเเละหลังบ้านเชื่อมโยงถึงกันแบบเปิดโล่ง ทั้งเเสงเเละลมจึงสามารถพัดผ่านเข้ามาสู่ตัวบ้านได้เต็มที่ ไม่ปิดล้อมจนดูน่าร้อนอบอ้าว เหมาะอย่างยิ่งกับบ้านพักอาศัยที่อยู่ในเขตร้อน Maracana House คือบ้านพักกึ่งสตูดิโอ ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของนครเซาเปาโล ประเทศบราซิล ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบโดย Terra e Tuma โดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุธรรมดา ๆ ที่เราคุ้นเคยอย่าง คอนกรีต กระจก และอิฐบล็อก โดยมีโจทย์มาจากความต้องการความเรียบง่าย ซึ่งเเสดงให้เห็นว่าต้นทุนที่ต่ำของการเลือกใช้วัสดุ ไม่ใช่อุปสรรคในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมดี ๆ ที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย เเต่สิ่งที่ท้าทายกว่านั้นคือความสมดุลระหว่างคุณภาพกับความต้องการ ขั้นตอนการก่อสร้างและตกแต่งจึงสำคัญ ในการช่วยให้งานออกแบบบ้านหลังนี้มีเอกลักษณ์ บ้านอิฐบล็อก เห็นได้จากฟาซาดด้านหน้าเมื่อมองเข้ามาที่ตัวบ้าน จะพบว่าฝั่งหนึ่งกรุด้วยกระจกใสสูงตั้งเเต่พื้นจรดเพดาน เเละอีกด้านเป็นอิฐบล็อกแบบปิดทึบเพื่อความเป็นส่วนตัว ป้องกันสายตาจากผู้คนที่เดินผ่านไปมา โดยมีการติดตั้งภาพกราฟิกลายขาว-ดำขนาดใหญ่เต็มผนัง ผลงานของ Alexandre Mancini ที่อิงมาจาก The Dot and the Line : A Romance in Lower Mathematics ตกแต่งล้อไปกับลายของผนังอิฐบล็อก ช่วยสร้างบรรยากาศสนุก ๆ ให้บ้านสีเทามีดีไซน์ไม่เรียบนิ่งจนเกินไป โดยมีประตูทางเข้าอยู่ด้านหลังฟาซาดลายกราฟิกนี้เอง […]
บ้านกึ่งสตูดิโอ ของคู่รักงานไม้ ในจังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ทั้งคู่ได้ตัดสินใจสร้างบ้านเป็นของตนเอง จึงวางใจให้สถาปนิกจากสำนักงานออกแบบ masaru takahashi เป็นผู้สานฝันให้บ้านใหม่นี้ มีฟังก์ชันเป็นทั้งที่พักอาศัยเเละพื้นที่ทำงานคราฟต์ที่พวกเขาหลงรัก โดยเริ่มจากการหาทำเลดี ๆ ที่ถูกใจผ่านเว็บไซต์ จนมาพบกับที่ดินอันเงียบสงบใกล้ ๆ กับป่าไผ่ ซึ่งได้ทั้งวิวป่าไผ่และทุ่งนา กลายเป็นทิวทัศน์ที่ช่วยเสริมให้ บ้านกึ่งสตูดิโอ หลังนี้ ดูโดดเด่นสวยงามท่ามกลางธรรมชาติ แต่ที่ดินนี้ก็มีข้อจำกัดเรื่องปัญหาการเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติดินถล่ม อีกทั้งยังติดกฎระเบียบทางสถาปัตยกรรมมากมาย เช่น กฎหมายภูมิทัศน์เมืองเกียวโต ซึ่งได้กลายมาเป็นความท้าทายในการออกแบบครั้งนี้อย่างยิ่ง เนื่องจากที่ตั้งของบ้านอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน ซึ่งมีความสูงของพื้นที่ฝั่งหนึ่งมากถึง 1.7 เมตร จากฝั่งถนน และอีกฝั่งก็มีสภาพพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม ผู้ออกแบบจึงแก้ปัญหาด้วยการออกแบบผนังให้มีความหนา 250 มิลลิเมตร เพื่อเป็นกำแพงกันดินในฝั่งดังกล่าว ซึ่งมีธรณีสัญฐานเป็นดินและทราย ขณะเดียวกันก็พลิกข้อกำจัดของพื้นที่ให้เป็นโอกาสด้วยการผสานตัวอาคารให้เป็นหนี่งเดียวกับป่าไผ่ เริ่มจากการวางผังอาคารขนาด 3 ชั้น ที่หันทิศทางหน้าบ้านไปทางป่าไผ่ เพื่อมอบวิวดี ๆ สำหรับต้อนรับเมื่อเจ้าของเปิดประตูเข้าบ้าน พื้นที่ชั้น 1 กำหนดให้เป็นสตูดิโอทำงานไม้ เน้นช่องเปิดที่ให้แสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในให้มากที่สุด และมองเห็นป่าไผ่ขณะทำงานได้อย่างเต็มตา ในชั้นนี้กั้นห้องแบบผนังหนาพิเศษ สำหรับการทำงานไม้ที่มักมีเสียงดังรบกวน โดยวางห้องไว้ตำแหน่งในสุด ส่วนของโถงทางเข้าและโถงบันไดมีช่องเปิดเพียงเล็กน้อย เพื่อควบคุมปริมาณแสงสำหรับเป็นพื้นที่แกลเลอรี่จัดแสดงผลงาน […]
Casa Joao de Barro บ้านชั้นเดียว ท่ามกลางวิวขุนเขา โอบล้อมคอร์ตยาร์ตที่มีสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ไว้ตรงกลาง สร้างขึ้นสำหรับพักผ่อนกับครอบครัว ไม่ว่าฤดูกาลไหนบรรยากาศก็ดีทุกช่วงเวลา บ้านชั้นเดียว แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ Itatiba ประเทศบราซิล มีจุดเริ่มต้นมาจากสองสามีภรรยาที่ต้องการสร้างบ้านและสำนักงานของพวกเขาให้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ สามารถใช้เวลาว่างกับลูก ๆ ได้อย่างเต็มที่ หรือหากต้องการจัดปาร์ตี้พักผ่อนกับหมู่ญาติมิตรและเพื่อนฝูงก็ให้ความรู้สึกที่เป็นส่วนตัวสูง ที่สำคัญยังสร้างขึ้นจากวัสดุที่ราคาไม่เเพง เเต่ผ่านการคิดเเละออกแบบมาอย่างดี เพื่อเติมเต็มการพักผ่อนเเละอยู่อาศัยได้อย่างเต็มอิ่ม จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว Terra e Tuma Arquitetos Associados บริษัทสถาปนิกสัญชาติบราซิลได้คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างฟังก์ชันการใช้งานกับสภาพภูมิทัศน์รอบ ๆ ด้วยการใช้ประโยชน์จากมุมมองของวิวที่มีความเป็นส่วนตัวและความลาดชันของพื้นที่มาเป็นตัวกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรม เเล้วก่อสร้างด้วยวัสดุที่เรียบง่ายผ่านขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก เช่น คอนกรีต เหล็ก กระจก เเละโดยเฉพาะ “อิฐบล็อก” วัสดุราคาไม่เเพงที่เราคุ้นเคย เเต่สามารถนำมาสร้างสรรค์ให้มีดีเทลน่าสนใจได้ เนื่องจากลักษณะของที่ตั้งที่อยู่ต่ำกว่าถนน ทันทีที่ก้าวลงมาตามบันไดขั้นเล็ก ๆ จะพบกับตัวบ้านรูปตัวยู (U) สร้างโอบล้อมสระว่ายน้ำไว้ตรงกลาง นอกจากคอร์ตยาร์ดนี้จะใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนอเนกประสงค์ของครอบครัวในฤดูร้อนแล้ว ฤดูหนาวที่ผิวน้ำนิ่งสงบจนดูราวกับกระจกยังช่วยสะท้อนภาพเงาของตัวบ้านและวิวท้องฟ้าหน้าหนาวได้อย่างสวยงาม ข้อดีของการออกแบบให้มีสระว่ายน้ำเป็นเสมือนคอร์ตกลางบ้าน ไม่เพียงเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อน เเต่ยังช่วยพัดพาลมที่เย็นสบาย เเละนำเเสงเข้าสู่พื้นที่ใช้งานภายในได้อย่างทั่วถึง ผ่านช่องเปิดกระจกขนาดใหญ่ของมุมนั่งเล่น เพื่อรับวิวสระว่ายน้ำด้านหน้า และวิวภูเขาด้านหลังได้จากทั้งสองฝั่ง […]
บ้านชั้นเดียวที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเรือนไทย พร้อมออกแบบให้คำนึงถึงการใช้งานสำหรับผู้สูงอายุ โดยทำทางเดินที่เชื่อมต่อเนื่องกันได้ทั้งหลัง มีทางลาด มีพื้นที่รองรับหลานๆ และเพื่อนสนิทที่มาเยี่ยมเยือน เน้นความเรียบง่ายถ่อมตัวให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติโดยรอบ บ้านชั้นเดียวผสานธรรมชาติ DESIGNER DIRECTORY: ออกแบบ : สถาปนิกชุมชนและสิ่งเเวดล้อม อาศรมศิลป์ / สถาปนิกที่ปรึกษา : คุณธีรพล นิยม / สถาปนิกโครงการ : คุณวิศรา ผดุงสัตย / เจ้าของ : คุณธนรัตน์ ธนพุทธิ บ้านชั้นเดียวผสานธรรมชาติ บ้านสำหรับการใช้ชีวิตสบาย ๆ หลังวัยเกษียณ ท่ามกลางความเป็นเมืองที่วุ่นวาย กลับมีบ้านชั้นเดียวที่ซ่อนตัวอยู่หลังกำแพงรั้วและร่มเงาไม้โอบล้อมบ้านพักของ ท่านทูตธนรัตน์ ธนพุทธิ ซึ่งเกษียณจากเอกอัครราชทูตแล้วกลับมายังแผ่นดินเกิด ออกแบบโดย สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ หากมองจากภายนอกรั้วจะเห็นเพียงยอดหลังคาจั่วที่มีต้นไม้ปกคลุม ภายในบริเวณบ้านมีไอเย็นชุ่มชื้นจากพรรณไม้เขตเมืองร้อนชื้นที่ดูกลมกลืนกับบ้านขนาดย่อม เรียบง่าย ถ่อมตัว มีลักษณะความเป็นไทยแฝงอยู่ในองค์ประกอบสถาปัตยกรรม เป็นบ้านที่ออกแบบสำหรับการใช้ชีวิตสบายๆ หลังวัยเกษียณ “ การออกแบบคำนึงถึงการใช้งานสำหรับผู้สูงอายุ จึงทำเป็นบ้านชั้นเดียวที่เดินเชื่อมต่อเนื่องกันได้ทั้งหลัง มีทางลาด มีพื้นที่รองรับหลาน ๆ และเพื่อนสนิทที่มาเยี่ยมเยือน เน้นความเรียบง่ายถ่อมตัวให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติโดยรอบ […]
ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงบและเต็มไปด้วยความร่มรื่นของพรรณไม้เขียวขจี แทบไม่น่าเชื่อเลยว่าทำเลที่ตั้งของ แบบบ้านตู้คอนเทนเนอร์ หลังนี้จะอยู่ในย่านใจกลางเมืองอย่างทองหล่อ
รีโนเวตบ้านไม้ ใหม่สำหรับสมาชิกทั้งหมด 4 ครอบครัว ซึ่งเดิมทีพื้นที่ชั้น 1 หันหน้าไปทางทิศใต้จึงมักถูกเงาจากบ้านเรือนข้างเคียงบดบัง ทำให้แสงธรรมชาติไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่ในทิศเดียวกันนี้บนชั้น 2 กลับเปิดมุมมองให้เห็นท้องฟ้าอันแจ่มใสและแสงแดดที่สาดส่องเข้ามา จากศักยภาพดังกล่าวสถาปนิกจึงเลือกเปลี่ยนตำแหน่งนี้ให้กลายมาเป็นห้องนั่งเล่นแทน ชั้น 2 ของบ้านประกอบไปด้วยห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ครัว และระเบียงไม้สนที่ยื่นออกไป กลายเป็นพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ภายในบ้าน กลายเป็นลานกิจกรรมผืนใหญ่จุดศูนย์รวมของสมาชิกในครอบครัว พื้นที่ชั้นล่างที่เคยปิดทึบไม่สามารถระบายอากาศได้ ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นห้องนอนขนาดใหญ่โล่ง 1 ห้อง ซึ่งในอนาคตเมื่อลูก ๆ โตขึ้น สามารถแบ่งห้องออกเป็นห้องย่อย ๆ ได้ถึง 3 ห้อง ส่วนทรงและขนาดของหลังคาที่ดูไม่สมมาตรอย่างที่เห็นนั้น เกิดจากการต่อเติมพื้นที่ระเบียง โดยใช้เพิ่มตำแหน่งและขนาดของโครงสร้างตามวิธีการก่อสร้างสมัยใหม่ ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีท้องถิ่น ซึ่งมีเป้าหมายคือเวลาและงบประมาณที่มีจำกัด การต่อเติมที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปอย่างเรียบง่ายทั้งรูปร่างและสัดส่วนที่สอดคล้องกับฟังก์ชันการใช้งาน อย่าง ระเบียงที่ขยายออกไปบนชั้น 2 ที่สามารถช่วยบังแดดจากทางทิศใต้ ไม่ให้ความร้อนส่องกระทบลงมาถึงห้องนอนชั้นล่างได้นั่นเอง ออกแบบ: masaru takahashi architectural design office ออกแบบโครงสร้าง: Kensuke Noto ก่อสร้าง: บริษัท ฟุกุอิ […]
บ้านสีเทาเข้มที่ดูเหมือนกล่องปิดทึบหลังนี้เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาการสร้างบ้านในที่ดินหน้าแคบให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยเพียงพอสำหรับสมาชิกทุกคนในบ้าน โดยหมุนเวียนวัสดุของบ้านเก่ามาใช้อย่างคุ้มค่า จนกลายเป็นบ้านที่โปร่งและอยู่สบาย DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Wat Kuptawatin (วัฒน์ คุปตะวาทิน) เมื่อครอบครัวคุปตะวาทินซึ่งมีสมาชิก 5 คน ตัดสินใจย้ายจากบ้านไม้เดิมมาอยู่ในย่านอุดมสุข แต่ด้วยขนาดที่ดิน 60 ตารางวานี้มีหน้ากว้างประมาณ 10 เมตร คุณบาส – วัฒน์และคุณบุ๊ค – คณิต คุปตะวาทิน สองพี่น้องสถาปนิกจึงช่วยกันออกแบบบ้านหลังใหม่โดยมีโจทย์หลักคือ ทำให้มีพื้นที่ใช้สอยเพียงพอสำหรับทุกคน และแก้ปัญหาการสร้างบ้านในที่ดินหน้าแคบให้ได้ประโยชน์สูงสุด “บ้านเดิมเป็นเรือนหอของคุณพ่อคุณแม่ เป็นบ้านไม้หลังคาปั้นหยาอายุกว่า 30 ปี และมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับครอบครัว 5 คนที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จึงขายที่ดินตรงนั้นและเก็บไม้เก่ามาใช้กับการสร้างบ้านใหม่บางส่วน ทั้งเพื่อลดค่าใช้จ่าย และหมุนเวียนทรัพยากรมาใช้ให้คุ้มค่า ซึ่งถือเป็นการใช้ไม้หมุนเวียนครั้งที่ สาม เพราะไม้ที่สร้างบ้านเดิมก็เป็นการซื้อไม้เก่ามาสร้าง” คุณบาสเล่าถึงบ้านที่เคยเติบโตมาตั้งแต่เด็ก เป็นความทรงจำที่ยังคงต่อเนื่องเพียงแต่เปลี่ยนรูปทรงมาสู่บ้านหลังใหม่ บ้านสีเทาเข้มแนวตั้งที่ดูเหมือนกล่องปิดทึบ ในความเรียบมีมิติจากฟาซาดเหล็กเจาะรูพับเป็นลอนคล้ายผ้าม่านโปร่งผืนยาวพรางตาระหว่างภายนอกกับภายใน จึงยังมองทะลุออกมาจากภายในบ้านได้อย่างไม่อึดอัด “บ้าน 3 ชั้นหลังนี้มีพื้นที่ใช้สอย 350 ตารางเมตร มี 4 ห้องนอนสำหรับคุณพ่อคุณแม่และลูก […]
ฌ เฌอ เปิดโชว์รูมย่านฝั่งธนบุรี โดยปรับโฉมตึกเก่าให้กลายเป็นบ้านสไตล์มินิมัลในโทนสีที่แสนจะอบอุ่นสุดน่ารักตั้งแต่ประตูไม้ด้านหน้าไปจนถึงห้องนอนชั้นบน
บ้านชั้นเดียว กลางทุ่ง รูปทรงเรียบง่ายที่ผสมผสานด้วยฟังก์ชันเก๋ๆ โดยเชื่อมต่ออยู่ภายใต้หลังคาจั่วเดียวกัน ท่ามกลางธรรมชาติอันสงบเงียบในจังหวัดปทุมธานี
บ้านอยู่สบาย Tile Roof House คือบ้านที่ใช้ความลาดเอียงของหลังคาทรงจั่ว ซึ่งพบได้บ่อยในบ้านพื้นถิ่นดั้งเดิมของเวียดนาม เป็นจุดเริ่มต้นทางความคิดในการออกแบบ บ้านอยู่สบาย ในสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อน เพื่อให้บ้านสอดรับไปกับสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ตามพื้นที่ตั้งอย่างกรุงโฮจิมินห์ อันประกอบด้วยสองฤดูกาล คือ ฤดูฝนกับฤดูร้อน “K59atelier” ทีมสถาปนิกท้องถิ่น ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับการอยู่อาศัยหลังนี้ซึ่งบรรจุความต้องการของครอบครัวที่ประกอบด้วยสมาชิกสามรุ่นเอาไว้ จึงออกแบบหลังคากระเบื้องดินเผาผืนใหญ่ครอบทับพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดเอาไว้อย่างมีนัย หนึ่งเพื่อทำให้บ้านดูกลมกลืนบริบท และสองเพื่อให้บ้านปรับตัวตามสภาพอากาศ และทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ส่องปะทะตัวอาคารในแต่ละช่วงเวลาของวัน โดยหลังคากระเบื้องขนาดใหญ่จะครอบคลุมพื้นที่ทึบหนาสำหรับพักผ่อนนอนหลับทางด้านทิศตะวันออก และพื้นที่โปร่งเบาสำหรับนั่งเล่นทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งการเลือกใช้รูปแบบหลังคาที่มีความลาดชันสูงนี้ ประกอบกับการเลือกใช้ประตูและหน้าต่างไม้ระแนง ยังช่วยให้แสงลอดผ่านและเกิดลมไหลเวียนเข้าออกได้ดี มีอากาศถ่ายเททั่วถึงทั้งบ้านอีกด้วย ออกแบบ: K59 atelier ทีมออกแบบ: Phan Lâm Nhật Nam, Trần Cẩm Linh, Nguyễn Phương Thảo, Võ Ngọc Thanh Tuấn ภาพ: K59 atelier
บ้านทรงกล่อง คอนกรีตหล่อในที่ ไร้หน้าต่าง มาพร้อมเเนวคิดการสร้างเเสงเงาให้เกิดขึ้น ดูราวกับถูกส่องด้วยไฟสปอร์ตไลท์จากพระอาทิตย์ ผ่านช่องเเสงสกายไลท์ด้านบน อาคาร คอนกรีตหล่อในที่ หน้าตาธรรมดา ๆ นี้ ตั้งอยู่ในจังหวัดนะโงะยะ ประเทศญี่ปุ่น เเต่เเทนที่จะดึงเเสงธรรมชาติให้เข้ามายังพื้นที่ภายในผ่านหน้าต่างอย่างบ้านหลังอื่น ๆ ทีมออกแบบจาก Tomoaki Uno Architects กลับเลือกที่จะออกแบบผนัง หรือฟาซาดอาคารทั้งหลัง ด้วยคอนกรีตสีเทาโชว์พื้นผิวดิบกระด้าง คอนกรีตหล่อในที่ หากมองจากภายนอก ที่นี่อาจเป็นเเค่อาคารหน้าตาธรรมดา ทว่าในความเป็นส่วนตัวเเละยากเกินคาดเดานั้น ทันทีที่เปิดประตูอะลูมิเนียมขนาดใหญ่ล้อไปกับผนังคอนกรีต ภายในกลับเเทรกไอเดียการออกแบบไว้ได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการทำให้พื้นที่ใช้งานเเต่ละส่วนให้ดูโดดเด่นราวกับถูกเเสงสปอร์ตไลท์ฉายส่องลงมาจากด้านบนตลอดเวลา! โดยเเสงที่ดูราวกับสปอร์ตไลท์ที่ว่านี้ มาจากหลุมหลังคาสกายไลท์ที่มีทั้งทรงกลมเเละสี่เหลี่ยม สำหรับทำหน้าที่นำพาเเสงธรรมชาติเเละอากาศจากภายนอกให้ไหลเวียนถ่ายเทลงมายังพื้นที่บ้านด้านล่าง ช่วยให้พื้นที่ใช้สอยหลักในอาคารขนาด 2 ชั้น ซึ่งชั้นบนเป็นห้องนอนส่วนตัว เเละชั้นล่างเป็นห้องนั่งเล่น ครัว เเละห้องน้ำ ไม่อุดอู้ หรืออับชื้นจนเกินไป เเถมยังสร้างมิติของเเสงเงาขณะตกกระทบกับโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ให้ทั้งเเสงสว่างเเละบรรยากาศของเงาสลัวดูลึกลับ ซึ่งจะค่อย ๆ ขยับองศาไปเรื่อย ๆ ตามทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะพื้นที่นั่งเล่นชั้นล่าง เนื่องจากเป็นบ้านที่ไม่มีหน้าต่าง จึงจำเป็นต้องเพิ่มระดับความสูงของเพดานให้มากถึงสองเท่าเพื่อให้ดูโปร่งสบายไม่อึดอัด ได้รับเเสงทั้งจากช่องบันไดเเละช่องเเสงทรงสี่เหลี่ยมที่ยาวต่อเนื่องลงมาจากชั้นบน ช่วยเพิ่มความสว่างอีกทาง ส่วนการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ก็สำคัญ […]
สังกะสี ไม้แดง ลวดตะแกรง และฉากเหล็ก เมื่อพูดถึงวัสดุเหล่านี้ขึ้นมา หลายคนคงนึกถึงบ้านพักชั่วคราวของคนงานในไซต์ก่อสร้าง แต่ด้วยฝีมือการออกแบบของ Shunri Nishizawa เขากลับสามารถนำวัสดุที่กล่าวถึงไปข้างต้น มาออกแบบเป็นบ้านดีไซน์สุดล้ำ ที่ก้าวผ่านนิยามที่เเสนธรรมดาเเบบที่เราเคยคุ้นชินไปได้ไกลหลายปีแสงเลยทีเดียว