- Page 2 of 2

TROW HOUSE แก้ปัญหาที่ดินหน้าแคบ ด้วยบ้านทรงสามเหลี่ยม

"TROW HOUSE" มาจากการผสมคำระหว่าง Triangle และ Narrow คือเป็น บ้านหน้าแคบ ที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่มีหน้ากว้างเพียง 5.5 เมตร เลยออกแบบบ้านรูปทรงสามเหลี่ยม

FAN WORKING BEIJING ร้านขายและพื้นที่เวิร์คชอป “พัด”

ร้านขายพัดพร้อมพื้นที่เวิร์กชอปแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนเฉียนเหมิน ถนนที่ถูกขนานนามว่าถนนสายวัฒนธรรมในกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่นี่ต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมพัดจีนที่มีมาอย่างยาวนานให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญ จึงวางใจให้สถาปนิกจาก Golucci Interior Architects เข้ามา รีโนเวตตึกแถว ขนาด 2 ชั้นให้ดูเรียบง่าย สวยงาม และใช้งานได้จริงเหมือนกับ “พัด” ถนนเฉียนเหมินเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นย่านที่มีบ้านแบบหูตง หรือบ้านแบบดั้งเดิมของจีนที่เก่าแก่ที่สุดในปักกิ่ง ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้แวะเวียนมาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย โดยปัจจุบันพื้นที่ย่านนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกาลเวลาที่เปลี่ยนไป กลายเป็นพื้นที่ผสมผสานระหว่างความเก่ากับความใหม่ รวมไปถึงการ รีโนเวตตึกแถว เป็นร้านพัดแห่งนี้เช่นกัน พัดพกพานี้นับเป็นสิงประดิษฐ์เก่าแก่ที่มีถิ่นกำเนิดจากทั้งจีนและญี่ปุ่น อาจพูดได้ว่าต่างคนต่างเป็นแรงบันดาลซึ่งกันและกันก็คงไม่ผิดนัก ผู้ออกแบบจึงนำประวัติศาสตร์นี้มาประยุกต์ลงไปในการออกแบบสเปซ โดยแทรกกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นลงไปในอาคารเก่าแบบสถาปัตยกรรมจีน ผ่านการตกแต่งภายใน จากลักษณะของพื้นที่อาคารขนาดสองชั้นที่ไม่ได้มีพื้นที่เต็มตลอดทั้งตึก จึงแบ่งโปรแกรมออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ชั้นล่างที่มีขนาดเพียงหนึ่งคูหาเป็นส่วนของหน้าร้าน แล้วชั้นบนเป็นพื้นที่เวิร์กชอปให้บุคคลทั่วไปที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้การทำพัดแบบดั้งเดิมด้วยมือของคุณเอง สำหรับการตกแต่งภายในนอกจากความสวยงามแล้ว ยังออกแบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วย พื้นหินขัดเข้าคู่กับผนังสีขาวโพลน เสริมด้วยตู้เครื่องมือไม้สีอ่อนที่ใช้งานได้จริงพร้อมเป็นตัวแบ่งสเปซภายในไปในตัว ช่วยสะท้อนอัตลักษณ์ของพัดที่ว่าเรียบง่ายแต่ใช้งานได้จริง  ออกแบบ: Golucci International Design 古魯奇建築諮詢公司 ภาพ: : Lulu Xi เรียบเรียง: Woofverine QISHER COURTYARD รีโนเวตบ้านจีนโบราณ […]

CASA SANTORINI ต่อเติมบ้านบนเนินเขาเป็นบ้านพักตากอากาศวิวธรรมชาติเต็มตา

บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ชานเมืองระหว่างชายฝั่งทะเลและตัวเมือง ทำให้แวดล้อมไปด้วยทัศนียภาพที่สวยงามและมีความเป็นธรรมชาติสูง เหมาะแก่การสร้างบ้านพักตากอากาศสักหลัง ดังเช่นบ้าน CASA SANTORINI หลังนี้ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาทำให้ได้วิวธรรมชาติแบบสุดลูกหูลูกตา โดยทำการจากการรีโนเวตบ้านขนาดกะทัดรัดให้เอื้อต่อการพักผ่อนมากยิ่งขึ้น เริ่มจากการปรับปรุงห้องนอนและห้องน้ำใหม่ รื้อห้องครัวเดิมออก โดยวางฟังก์ชันในแนวขวางกับแกนบ้านเดิม แต่ยังคงกลิ่นอายของบ้านเก่าที่มีอายุกว่า 10 ปีไว้ ส่วนที่ต่อเติมเลือกใช้โครงสร้างเหล็กกรุด้วยแผ่นเมทัลชีทด้านนอกและกรุไม้ด้านใน ด้วยความที่ตั้งอยู่กลางทุ่ง ประกอบกับไม่มีเขตที่ดินหรือกำแพงล้อมตัวบ้านไว้ กลายมาเป็นความท้าทายของผู้ออกแบบในการสร้างควาสมดุลระหว่างตัวสถาปัตยกรรมและแนวป่าด้านหลังที่เป็นเหมือนเบ๊กกราวนด์ของบ้านที่มีความคอนทราสต์กันอยู่ นำไปสู่การวางตัวอาคารไว้บริเวณจุดสูงสุดของเนินหญ้า แต่ให้ระดับพื้นใหม่ต่อเนื่องไปกับระดับพื้นบ้านเดิมเพื่อให้ดูกลมกลืนไปกับเนินหญ้ามากที่สุด และดูต่อเนื่องไปกับผืนดิน ส่วนที่ต่อเติมขึ้นใหม่วางตัวตั้งฉากกับบ้านเดิม จนได้บ้านรูปทรงตัวแอล (L) ที่เชื่อมตัวเก่ากับส่วนใหญ่เข้าหากัน โดยบริเวณบ้านเก่าใช้เป็นพื้นที่ส่วนครัว ส่วนต่อเติมให้เป็นพื้นที่นั่งเล่นและห้องนอนที่เชื่อมไปกับเทอเรซขนาดใหญ่ได้วิวความเขียวชอุ่มแบบเต็มตา โดยเลือกใช้โครงสร้างคอนกรีตร่วมกับเฟรมเหล็กเพื่อให้ได้ความลาดเอียงและรูปทรงที่ดูโฉบเฉี่ยว ดูทันสมัย ทั้งยังเหมาะกับพื้นทียกลอยจากพื้นเล็กน้อยเพื่อกันความชื้นจากพื้นดินโดยตรง ซึ่งวัสดุที่ตอบสนองต่อโครงสร้างมีได้แก่ เหล็ก กระจก และแผ่นฟีนอลิก รวมไปถึงเหมาะกับสถาพอากาศและการดูแลรักษาในอนาคตอีกด้วย ภาพสุดท้ายของบ้านหลังนี้ ภายนอกต้องการคุมด้วยสีดำเพื่อขับให้บริบทโดยรอบที่เป็นทิวทัศน์ของธรรมชาติดูเด่น คอนทราสต์ออกมาในแนวนอน ตัดกับต้นไม้ที่เรียงตัวกันเป็นเส้นตั้ง ออกแบบ: LOI Arquitectura ภาพ: Obra Linda เรียบเรียง: BRL บ้านชั้นเดียวบนเนิน ชมวิวเพลินทั้งวัน ร่มรื่นแบบสวนเมืองร้อนในกลิ่นอายของสวนชนบทฝรั่งเศส

Modular-Boxes กล่องต่อกล่อง สถาปัตยกรรมที่เกิดมาเพื่อการ “ประท้วง”

Modular-Boxes เป็นงานออกแบบที่เกิดขึ้นในการชุมนุมประท้วงต่อการการเพิกเฉยต่อปัญหา climate change ของรัฐบาลอังกฤษโดย Extinction Rebellion ออกแบบโดยหนึ่งในพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมนั่นก็คือ Architect’s Climate Action Network (ACAN) โดยใช้งานออกแบบเดิมของ Studio Bark ที่ชื่อว่า U-Build System เป็นฐานคิดสำคัญ จุดเด่นของเจ้ากล่อง Modular Boxes เหล่านี้ก็คือ มันมีขนาดและน้ำหนักที่ง่ายต่อการขนย้าย ผู้ชุมนุมสามารถขนย้ายสิ่งเหล่านี้เข้ามาในพื้นที่ได้โดยง่าย ไม้อัดที่ประกอบขึ้นเป็นกล่องเหล่านี้เป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นมิตรต่อสายตาผู้คนรอบข้าง คุณสามารถขนมันเข้าสู่ที่ชุมนุมได้โดยไม่สร้างความรู้สึกคุกคามต่อคนบนท้องถนน และแน่นอนที่สุดคือมันแข็งแรงอย่างเหลือเชื่อ ด้วยโครงสร้างแบบกล่อง ประกอบกับความสะดวกของการเชื่อมต่อโครงสร้างไม้ และขนาดที่ใหญ่คล้ายอิฐขนาดยักษ์ (ชม Diagram การประกอบใน comment) ผู้ชุมนุมสามารถประกอบกันเข้าเป็นเวทีเตี้ย เวทีสูง สำหรับปราศัย กำแพง ที่นั่งพัก พื้นที่รวมตัว หรือแม้แต่หอคอยที่จะใช้เป็นหมุดสายตาได้อย่างรวดเร็ว สามารถเสริมความแข็งแรงได้ด้วยการเพิ่มโครงสร้างและร้อยเข้าไประหว่างรูบนกล่องแต่ละใบ ทั้งกล่องที่เหลืออยู่อาจนำมาเป็นที่นั่งในการปักหลักชุมนุมได้อีกทาง นอกจากนี้ยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้เพราะสามารถรื้อถอนได้อย่างรวดเร็ว และผู้ชุมนุมก็ช่วยกันถือออกไปคนละกล่องก่อนจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เอากล่องกลับบ้านไปคนละใบ รอใช้ต่อในงานต่อไปลด Carbon Footprint ได้มากมาย ในยุคที่การชุมนุมเกิดขึ้นรายวันเช่นนี้ เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องประท้วง […]

CHING CHAIR สตูลไม้ไผ่ ชูเนื้อแท้ความงามของธรรมชาติ

ในไต้หวันผู้คนมองว่าไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่ยังคงมีบทบาทต่อวิถีชีวิต ไม่ว่าจะใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ และวัสดุก่อสร้าง นั่นจึงทำให้สองดีไซเนอร์ Ta-Chih Lin และ Yi-Fan Hsieh เลือกนำไม้ไผ่มาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้ไม้ไผ่ ของพวกเขาในชื่อ “Ching Chair” โดยให้ความสำคัญกับความเป็นวัสดุดั้งเดิม ผ่านทางความรู้สึกทั้งการสัมผัสและการมองเห็น โดยกระบวนการออกแบบ เก้าอี้ไม้ไผ่ ครั้งนี้ ล้วนตั้งต้นมาจากคุณสมบัติของไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่ใช้งานได้แบบอรรถประโยชน์ และมีความยืดหยุ่นสูง   เริ่มจากการเลือกลำไม้ไผ่ที่มีความสมบูรณ์เพียงต้นเดียวมาตัดและแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ตามแบบที่ได้ดีไซน์ไว้ โดยดีไซเนอร์ได้สร้างแม่พิมพ์หลายชิ้นสำหรับแต่ละส่วน เพื่อให้ไม้ไผ่สามารถทำเก้าอี้ได้ง่ายและแม่นยำ พร้อมกันนั้นยังได้รักษาผิวไม้ไผ่ด้วยวิธีการพิเศษ เพื่อช่วยกักเก็บคลอโรฟิลล์ไว้ที่ผิวไม้ไผ่ให้ยังคงสีสันเขียวสดดูสวยงามแบบไม่มีวันซีดจาง ขณะที่ส่วนที่ยากที่สุดของการผลิตเก้าอี้ก็คือการดัดชิ้นไม้ไผ่ด้วยความร้อน ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงานเป็นเวลาหลายปี จนได้เคล็บลับที่ไม่ทำให้ผิวไม้ไหม้ ก่อนจะเชื่อมต่อแต่ละส่วนเข้าด้วยกันด้วย Joint ไม้ไผ่ ตรงส่วนขาของเก้าอี้แต่ละข้างซึ่งถูกคิดมาอย่างดี โดยไม่มีวัสดุใดเข้ามาช่วยผสานเลย อีกทั้งยังได้ประกอบชิ้นส่วนไปตามทิศทางของเส้นใยไม้ไผ่ในแนวตั้ง เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้เก้าอี้ไม้ไผ่มีความแข็งแรงมากเพียงพอ สำหรับรองรับน้ำหนักของคนนั่งได้ นอกจากข้อดีในแง่ของการหยิบวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นซึ่งเราต่างคุ้นเคยกันอย่างดี มาใช้เป็นวัตถุดิบในงานออกแบบแล้ว ในอีกแง่หนึ่งไม้ไผ่ยังถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในกระบวนการผลิต และกระบวนการย่อยสลาย เก้าอี้ดีไซน์เรียบง่ายชิ้นนี้จึงสามารถบอกเล่าคุณสมบัติของไม้ไผ่ออกมาได้อย่างครบถ้วนด้วยตัวของมันเอง ออกแบบ : Ta-Chih Lin & Yi-Fan Hsieh  ภาพ : […]