© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
W–O–W (Wonder of Weaving) “ผ้าเอ๊าต์ดอร์” คอลเล็กชั่นแรกที่มีกระบวนการผลิตทั้งหมดเกิดขึ้นในประเทศไทยจาก “ความร่วมมือ” ระหว่างแบรนด์ผู้ผลิตสิ่งทอ HOMEWORK FABRIC กับทีมออกแบบจาก Thinkk Studio
ใครที่เมื่อยล้าจากการเดินชมงาน บ้านและสวนแฟร์ Midyear 2018 ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในธีม “Internet of Home” room ขอชวนมานอนยืดแข้งนั่งยืดขา บนชานร่วมสมัยที่ตระเตรียมเอาไว้รับรองที่ room x CAFES ใจกลาง Hall 100 (โซน EH 100) ส่วนหนึ่งของพื้นที่แห่งการร่วมมือสร้างสรรค์ระหว่าง room กับแบรนด์ผู้ผลิตวัสดุอย่าง SHERA
สำหรับใครที่เดินชมงาน บ้านและสวนแฟร์ Midyear 2018 จนเหนื่อย เมื่อย ล้า room อยากชวนคุณมานั่งพักในพื้นที่ที่เราตระเตรียมเอาไว้ให้บริเวณ Hall 100 (โซน EH 100)
จากนักฟุตบอลยุวชนชุดแชมป์โลก เด็กหลังห้องที่เกือบรีไทร์ กลายมาเป็นหนึ่งสถาปนิกที่โดดเด่นในวงการออกแบบไทย จูน เซกิโน่ แห่ง Junsekino Architect and Design ที่ขอแข่งกันช้าในโลกยุคดิจิตอล
“ผมอยากให้คนที่เข้ามาในพื้นที่นี้ได้ลดอัตตาของตัวเอง ได้อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับปัจจุบันผ่านงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่แตะผืนดินอย่างแผ่วเบา” บทสนทนาช่วงจังหวะหนึ่งของเรากับ คุณบั๊ม-ประกิจ กัณหา สถาปนิกผู้ออกแบบ “บ้านมะขาม” ที่บางน้ำผึ้ง ย่านบางกระเจ้า เกิดขึ้นเมื่อประมาณสองเดือนที่แล้ว แต่ความรู้สึกราวกับว่าเหมือนเราเพิ่งนั่งคุยกันไปเมื่อวาน ด้วยท่วงท่าที่สบาย ๆ กับการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ทำให้เราสามารถนั่งสัมภาษณ์และพูดคุยกับคุณบั๊มถึงแนวคิดในการทำงานของเขาจนกินเวลาเป็นชั่วโมง ๆ ท่ามกลางสายลมพัดเอื่อย แสงแดดที่ค่อย ๆ อาบไล้ไล่เข้ามา พร้อมกับท่าทีกระตือรือร้นของเขาที่จะพาเราเดินไปดูดีเทลต่าง ๆ ที่เขาออกแบบด้วยความภูมิใจ หนึ่งในคีย์เวิร์ดที่เรารู้สึกว่าคุณบั๊มต่างจากสถาปนิกคนอื่น คือการออกแบบที่เริ่มจากสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เป็นหลัก การอ่อนน้อมถ่อมตนและให้เกียรติธรรมชาติ ก่อนที่จะคำนึงว่างานที่จะออกแบบนั้นจะสวยแค่ไหน จะหน้าตาเป็นอย่างไร เขามักจะเลือกวางแผนก่อนเสมอว่าจะทำอย่างไรถึงจะเบียดเบียนต้นไม้ ใบหญ้า ทางน้ำเดิม วิถีชีวิตเดิมๆ เรื่อยไปจนถึงวัสดุที่เลือกมาใช้ก็ต้องทำลายธรรมชาติให้น้อยที่สุด ถึงแม้ว่าครั้งนั้นมันจะเป็นครั้งสุดท้ายที่เราจะได้มีโอกาสสัมภาษณ์ พูดคุยกับคุณบั๊ม แต่เราก็เชื่อว่าแนวคิดและความตั้งใจที่เขาพยายามสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติจะยังคงอยู่ และไม่ว่าเมื่อใดที่เรานึกถึง แค่ก้าวไปในสเปซนั้น ๆ ที่คุณบั๊มทิ้งไว้ เราก็จะสามารถรับรู้ได้ถึงสารเหล่านั้นอย่างแน่นอน คุณบั๊มเป็นสถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอมิติ ขึ้นในปี 2553 ด้วยความเชื่อที่ว่า สถาปัตยกรรมสามารถเข้าไปแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้ งานออกแบบของพวกเขาจึงสะท้อนไปถึงการพยายามศึกษาและออกแบบสถาปัตยกรรมโดยคำถึงถึงมิติต่างๆ ในการรับรู้ของมนุษย์ รวมถึงบริบททางสภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม […]
เบื่อไหมกับรูปแบบชีวิตในเมืองที่ต้องเร่งรีบและดูเหมือนว่าอะไรรอบ ๆ ตัวก็เร็วไปเสียทั้งหมด จนไม่มีเวลาให้หยุดคิด หรือตกผลึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ถ้าคุณกำลังรู้สึกอย่างนั้นอยู่ละก็ เราอยากชวนคุณให้ลองมาพักผ่อน หย่อนกาย เดินทอดน่อง ใช้ชีวิตแบบสโลไลฟ์ที่ บางกระเจ้า ปอดสีเขียวเสี้ยวสุดท้ายใกล้กรุงเทพฯ
คาเฟ่น่ารัก ๆ ย่านสาทรจุดนัดพบระหว่างความอร่อยกับงานคราฟต์ เอาใจบรรดาคอกาแฟและเหล่าเซรามิกเลิฟเวอร์ทั้งหลาย กับการรีโนเวทบ้านเก่าที่ผสานกลิ่นอายความเป็นยุโรปอายุกว่า 30 ปี ของครอบครัว คุณแหวน - พิราอร อำนวยพรสกุล เจ้าของแบรนด์ A Clay Ceramic ให้กลายพื้นที่สร้างสรรค์และแหล่งแฮ้งเอ้าต์ใหม่ใจกลางเมือง ซึ่งประกอบด้วย 3 โซน คือ คาเฟ่ สตูดิโอ-พื้นที่เวิร์กชอปสำหรับทำเซรามิก และอาร์ตแกลเลอรี่ใช้จัดแสดงงานศิลปะของคุณแหวนและเพื่อน ๆ ศิลปิน
Clarion Hotel & Congress Trondheim สถาปัตยกรรมสีทองอร่าม จุดเชื่อมของเมืองกับอ่าวในเมือง Trondheim ประเทศนอร์เวย์
กลายเป็นเรื่องชินตาไปเสียแล้วเมื่อเรานึกถึงภาพของอพาร์ทเมนท์ทั่วไป ที่คลาคล่ำไปด้วยเครื่องอัดอากาศ หรือกระทั่งราวตากผ้าที่เกลื่อนกลาดไปด้วยชุดหลากสีริมระเบียง แต่สำหรับ HACHI เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ในซอยลาดพร้าว 3 แห่งนี้คือภาพจำที่ต่างออกไปจากสิ่งที่เราคุ้นเคยเมื่อเทียบกับรูปแบบอาคารในลักษณะเดียวกัน
คุยเรื่องนิทรรศการที่มีแต่ตึก “The Cement City : Moçambique Modern - Through the lens of : BEER SINGNOI” กับ เบียร์ - วีระพล สิงห์น้อย
บริบทร่วมสมัยของย่านฝั่งธนฯ ขับเน้นให้ บ้านหลังเล็ก เส้นสายเฉียบเรียบดูโดดเด่นเป็นพิเศษ ประตูรั้วเหล็กฉีกสีขาวโปร่ง เป็นเหมือนเลเยอร์บางๆ ที่ช่วยกรองสายตาผู้คนที่ผ่านไปมา โดยไม่ทำให้พื้นที่ด้านหน้าดูอึดอัดจนเกินไป แม้ตัวบ้านจะดูเรียบง่าย แต่กว่าจะออกมาเหมาะเจาะลงตัวทั้งรูปลักษณ์ และการใช้งาน ย่อมผ่านการคิดออกแบบมาอย่างลงลึกในทุกดีเทล เมื่อสองปีก่อน คุณปิยะบุตร ซุ่นทรัพย์ วางแผนสร้างเรือนหอหลังใหม่บนที่ดินขนาด 47 ตารางวาในซอยเล็กๆ บนถนนจรัญสนิทวงศ์ จึงปรึกษาเพื่อนสถาปนิกอย่าง คุณกาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ จาก Physicalist ผู้รับหน้าที่ถ่ายทอดทุกความละเอียดความต้องการให้ บ้านหลังเล็ก หลังนี้กลายเป็นรูปธรรมอย่างสมบูรณ์ “ตอนแรกเจ้าของบ้านทำโมเดลสามมิติมาเรียบร้อยเพื่อให้ดูรูปแบบที่อยากได้ แต่ด้วยความที่ที่ดินแปลงนี้มีขนาดค่อนข้างเล็ก และเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู แบบร่างเบื้องต้นเลยมีหลายจุดที่ผิดกฎหมายควบคุมอาคาร จึงต้องนำฟังก์ชั่นที่ต้องการทั้งหมดมาจัดวางใหม่” เมื่อโจทย์หลักคือการจัดสรรสเปซภายในให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในพื้นที่จำกัด โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย สถาปนิกจึงเริ่มต้นจากการกำหนด “แนวผนังทึบ” ที่เว้นระยะจากแนวเขตที่ดินรูปสี่เหลี่ยมคางหมูโดยรอบด้านละ 50 เซนติเมตร* เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ใช้สอยภายใน บ้านหลังเล็ก ให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในกรณีนี้ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 บ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร ให้ก่อสร้างผนังทึบห่างจากแนวเขตที่ดินอย่างน้อย 50 […]
คุยกับคุณวิเชียร อัศววรฤทธิ์ และคุณเจรัลดีน ตัน 2 ผู้บริหารผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในวงการวัสดุปิดผิวภายในแห่ง W+G ซึ่งมุ่งหวังให้ SPAC3 ที่พวกเขาร่วมกันก่อตั้งขึ้นเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการมาเลือกวัสดุตกแต่งโดยทั่วไป