© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
วิธีก่อสร้าง รั้ว ให้แข็งแรง ทนทาน และใช้งานได้ยาวนานมีปัจจัยหลักๆ คือ สภาพดินและระดับดิน ในเบื้องต้นมีปัจจัยและชนิดของโครงสร้างรั้วต่างๆ ดังนี้ 1. ระดับความสูงดินสองฝั่งเท่ากัน กรณีที่ระดับดินของเราและเพื่อนบ้านสูงเท่ากัน และทำเป็นรั้วร่วมโดยแชร์ค่าใช้จ่ายกัน โดยสร้างทับแนวเขตที่ดิน สามารถใช้เสาเข็มต้นเดียวกันในฐานรากแต่ละอันได้ เป็นวิธีที่ประหยัดที่สุดและ รั้ว มีความสมดุลเพราะแรงดันของดินทั้งสองฝั่งเท่ากัน 2. ระดับดินแตกต่างกันไม่เกิน 60 เซนติเมตร ถ้าระดับดินแตกต่างกันไม่เกิน 60 เซนติเมตร หรือกรณีทำโครงสร้างรั้วอยู่ในเขตที่ดินของเรา โครงสร้างเช่นนี้ไม่สมดุลเหมือนกรณีแรก จึงต้องออกแบบเป็นฐานรากแบบตีนเป็ด (ยื่นเข้ามาในที่ดินของเราเพียงฝั่งเดียว) 3. ระดับดินแตกต่างกันมากกว่า 70 เซนติเมตร ถ้าระดับดินแตกต่างกันมากกว่า 70 เซนติเมตรขึ้นไป จำเป็นต้องใช้ฐานรากพิเศษ โดยเพิ่มคานดึงรั้งที่เรียกว่า “คานสเตย์” เพื่อไม่ให้กำแพงเอนล้มไปด้านที่ระดับดินต่ำกว่า อีกทั้งต้องออกแบบกำแพงกันดินทลายออกสู่ภายนอกด้วย สาเหตุและการแก้ไขกำแพง รั้ว เอียง 1. ก่อสร้างผิดวิธี หากการก่อสร้างไม่เหมาะสมกับสภาพที่ดินนั้นๆ เช่น การสร้างรั้วรอบที่ดินซึ่งมีระดับความสูง-ต่ำต่างกับที่ดินข้างเคียงมาก ถ้าช่างนำแบบก่อสร้างสำหรับรั้วทั่วไป (รั้วสำหรับที่ดินสองฝั่งสูงเท่ากัน) มาใช้งาน ก็จะทำให้รั้วเกิดอาการเอียงหรือแบะออกอย่างแน่นอน การแก้ไข ควรทำคานดึงรั้งที่เรียกว่า […]
รั้วเมทัลชีท สามารถทำได้เองในราคาที่ย่อมเยา บ้านและสวน จึงอยากพาท่านผู้อ่านไปดูขั้นตอนการติดตั้งรั้วเมทัลชีทด้วยตัวเองกัน ทำไมต้องเลือก รั้วเมทัลชีท ข้อดี น้ำหนักเบา เพราะส่วนใหญ่เป็นโลหะรีดลอน ก่อสร้างได้ง่าย เพียงแค่ยิงสกรูยึดติดกับแปโลหะที่ยึดติดกับเสาปูนสำเร็จอีกทีก็เรียบร้อย มีความทนทานกว่ารั้วไม้และไม้ไผ่ ราคาย่อมเยากว่ารั้วทึบประเภทอื่นๆ(ไม่รวมถึงรั้วลวดหนาม) เป็นมิตรกว่ารั้วลวดหนาม ข้อเสีย บุบได้ง่ายหากมีแรงมากระทำกับรั่ว อาจขึ้นสนิมบ้าง แต่ไม่ทำความเสียหายใดๆกับตัวรั้ว อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำ รั้วเมทัลชีท ด้วยตัวเอง เสาปูน แบบมีฐาน หรือที่เรียกว่า เสาตีนช้าง สำหรับความยาวนั้นให้เลือกเอาตามต้องการ แล้วบวกเพิ่มไป 1 เมตรเผื่อฝั่งดิน เช่นต้องการให้พ้นหัวที่ 1.8 เมตร ก็ซื้อเสา 4″ ความยาว 2.8 เมตรเป็นต้น แผ่นเมทัลชีท แน่นอนที่สุดที่เมื่อต้องการทำรั้วเมทัลชีทแล้วจะไม่มีเมทัลชีทได้อย่างไร เลือกความยาวให้พอดีกับความสูงรั้วโดยให้ร้านตัดมาให้เลย แปเหล็ก ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างเสากับแผ่นเมทัลชีทโดยยิงสกรูติดแปเข้ากับเสาแล้วยิงสกรูติดแผ่นเมทัลชีทติดกับแปอีกทีเป็นอันเสร็จ ขั้นตอนการทำรั้วเมทัลชีตด้วยตัวเอง เราสามารถกำหนดแนวติดตั้ง รั้วเมทัลชีท ได้โดยดู หมุดเขตที่ดิน แล้วปักเอ็นเพื่อกำหนดแนว โดยทั่วไปแล้วจะกำหนดให้เสาแต่ละต้นห่างกัน 2.5 เมตร อาจเฉลี่ยความห่างได้ตามความสวยงาม ทำการขุดดินในจุดที่กำหนดไว้เพื่อตั้งเสา ความลึกประมาณ 1 เมตร […]
รั้วที่สร้างตามแนวเขตที่ดินมักมี 2 ปัญหา คือ การสร้างล้ำเขตที่ดิน และสร้างรั้วสูงเกินไป ดังนั้นก่อนสร้างรั้วบ้านตัวเองหรือเมื่อเพื่อนบ้านสร้างรั้ว จึงควรดูไม่ให้ผิดกฎหมายทั้งเพื่อความปลอดภัยและเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง 1.รั้วที่ดิน รั้วบ้าน ต้องไม่ล้ำเขตที่ดิน รั้วที่ดิน รั้วบ้าน ต้องไม่ล้ำเขตที่ดิน เขตที่ดินในที่นี้คือทั้งใต้ดินและบนอากาศ ดังนั้นทั้งโครงสร้างฐานราก และส่วนต่างๆของรั้วต้องไม่เกินเขตที่ดิน จึงนิยมทำฐานรากรั้วด้วยฐานรากตีนเป็ด และการตั้งเสารั้วไม่เอียงล้ำแนวที่ดิน หากพบเห็นรีบแจ้งและเจรจากับเจ้าของที่ดิน แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินในพื้นที่นั้นๆ สำหรับกรณีการทำรั้วร่วมกันกับเพื่อนบ้าน จะใช้ฐานรากปกติโดยวางโครงสร้างรั้วไว้กึ่งกลางเส้นแบ่งที่ดิน โดยรับผิดชอบค่าก่อสร้างและการดูแลรักษาร่วมกัน 2.กฎหมายเรื่อง รั้วที่ดินรั้วบ้าน รั้วที่ดินรั้วบ้าน หรือกำแพงที่สร้างติดกับถนนหรือทางสาธารณะ รั้วนั้นจะสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร โดยวัดจากระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ แต่ถ้าสูงเกินกว่า 3 เมตร ต้องเว้นระยะห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่าความสูงของรั้ว รั้วหรือกำแพงหัวมุมถนน รั้วหรือกำแพงที่อยู่มุมถนนสาธารณะ ซึ่งถนนกว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป และมีมุมหักน้อยกว่า 135 องศา ต้องปาดมุมให้มีระยะไม่น้อยกว่า 4 เมตร และทำมุมกับแนวถนนสาธารณะเป็นมุมเท่าๆ กัน ดังนั้นหากใครจะซื้อที่ดินหัวมุมถนนลักษณะดังกล่าว จะต้องเสียที่ดินส่วนมุมนั้นไป 3.สร้างรั้วต้องขออนุญาต รั้วถือเป็นสิ่งปลูกสร้าง กรณีสร้างรั้วติดกับถนนหรือที่ดินสาธารณะ ต้องทำการขออนุญาต […]
รังวัดที่ดินแล้วไม่ตรง หลักหมุดหาย หรือหมุดเคลื่อน ต้องทำอย่างไร? มาดูขั้นตอนการ รังวัดที่ดิน ปัญหาที่พบได้บ่อย และวีธีแก้ไขกัน การ รังวัดที่ดิน สำหรับท่านที่มีที่ดินอยู่ในมือ อาจจะคิดว่าทำแค่ครั้งเดียวแล้วก็จบไป ได้ขนาดพร้อมโฉนดมาแล้วก็วางใจได้ แต่เชื่อหรือไม่ว่านานวันไปที่ดินอาจมีการเปลี่ยนแปลง “หลักเขตที่ดิน” อาจหายหรือมีการย้ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะที่ดินเปล่า และนั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราต้องเข้าใจเกี่ยวกับการรังวัด และดูแลที่ดินของเราให้ไม่เปลี่ยนแปลงหรือขาดหายไปอย่างไม่ตั้งใจ เมื่อใดที่ควรมีการ รังวัดที่ดิน ตามปกติแล้วเจ้าของที่ดินมันจะทำเรื่องของให้มีการ รังวัดที่ดิน เมื่อจะทำการซื้อขายที่ดิน หรือทำการแบ่งที่ดินเพื่อแยกโฉนดออกจากหรือ หรือเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินนั้นๆมีขนาดและขอบเขตตรงตามโฉนดที่ถืออยู่ในมือหรือไม่ โดยขอให้เจ้าหน้ากรมที่ดินมาตรวจสอบ แต่บ่อยครั้งที่เจ้าของที่ดินอาจขอให้มีการตรวจสอบทุก 10 ปี เพื่อป้องกันการคลาดเคลื่อนของที่ดินและการอ้างปรปักษ์ได้ ซึ่งทุกครั้งที่มีการของให้มีการรังวัดที่ดินนั้นจะต้องมีขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการรังวัด ค่าใช้จ่ายในการจัดการโฉนดและพิสูจน์สอบสวน *การครอบครองปรปักษ์ “มาตรา 1382 ว่าด้วยการเข้าครองของทรัพย์สินของผู้อื่นหรือครอบครองปรปักษ์ โดยการจะเข้าครอบครองที่ดินของผู้อื่นได้นั้น ผู้ที่เข้าครอบครองปรปักษ์จะเข้ามาใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของนั้นอย่างเหมาะสมกับปราศจากการข่มขู่ การใช้กำลัง การหลอกลวงและไม่มีใครหวงห้ามกีดกันในแสดงความเป็นเจ้าของหรือฟ้องร้องขับไล่ รวมไปถึงครอบครองโดยไม่ได้หลบซ่อนเร้น ปิดบัง หรืออำพรางใด ๆ ประกอบกับระยะเวลาที่ได้เข้ามาครอบครองที่ดินของผู้อื่นติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 10 ปี แล้วจึงสามารถจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเนื่องจากการครอบครองปรปักษ์ได้” อ่านต่อ ครอบครองปรปักษ์ เรื่องต้องรู้ก่อนที่ดินกลายเป็นของคนอื่น ขั้นตอนการ รังวัดที่ดิน และสิ่งที่ควรรู้ ในการขอยื่นเรื่องเพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินมาทำการรังวัดที่ดินของเรานั้น […]
แม้จะใช้ระบบเมตริกเป็นหลัก แต่สำหรับโฉนดที่ดิน เรายังคงใช้มาตราวัดไทยอย่าง งาน ไร่ วา เหมือนเดิม เรามีเคล็ดลับในการ แปลงหน่วยที่ดิน มาฝากกัน การ แปลงหน่วยที่ดิน นั้นเป็นเรื่องที่หลายๆท่านต้องพบเจอ เพราะแม้ว่าปัจจุบันไทยเราจะใช้ระบบเมตริกซ์เป็นหลัก แต่ฉโนดที่ดินนั้นก็ยังคงใช้มาตราวัดแบบไทย อย่าง งาน ไร่ วา อยู่ดังเช่นที่เคยใช้มาโดยตลอด จากความคุ้มชินระบบเมตริกซ์อย่างเมตร พอเจอหน่วยแบบไทยบางครั้งก็ออกอาการงงกันได้ แต่ไม่เป็นไร เพราะบ้านและสวนจะมาบอกเคล็ดลับง่ายๆในการแปลงหน่วยเหล่านี้ให้เข้าใจง่ายๆ กัน เปรียบเทียบหน่วยวัดต่างๆ งาน ไร่ วา เมตร และกิโลเมตร 1 ไร่ = 4 งาน1 งาน = 100 ตารางวา1 วา = 2 เมตร 1 ไร่= 400 ตารางวา= 1600 ตารางเมตร 1 ไร่= 400 ตารางวา= 4 […]
รั้วด้านที่ติดกับเพื่อนบ้านเตี้ย ไม่สวย อยากต่อเติมให้สูงกว่าเดิม ต้องขออนุญาตหรือไม่? ไปหาคำตอบกัน อยาก ต่อเติมรั้ว เพราะเพิ่งซื้อที่ดินและจะเข้าไปปลูกบ้านใหม่ แต่รั้วด้านที่ติดกับบ้านข้างๆ สร้างกำแพงรั้วอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งค่อนข้างเตี้ยและไม่ค่อยสวย เลยอยากต่อเติมรั้วใหม่ โดยทำให้สูงขึ้นเพื่อความเป็นส่วนตัว สามารถต่อเติมรั้วได้สูงเท่าไหร่? ต้องขออนุญาตเพื่อนบ้านหรือไม่? จากปัญหานี้ หากอยาก ต่อเติมรั้ว แน่นอนว่าต้องคุยกับเพื่อนบ้านให้เข้าใจกันก่อนว่ารั้วเดิมนั้นสร้างอยู่ กึ่งกลางระหว่างแนวเขตที่ดินของทั้งสองบ้านหรือไม่ โดยดูจากหมุดโฉนด ถ้าหมุดหายก็อาจต้องให้เจ้าหน้าที่เข้ามาดูให้ หรือจะลองถามเพื่อนบ้านดูก่อนก็ได้ทั้งนี้ถ้ารั้วเดิมสร้างอยู่กึ่งกลางระหว่างแนวเขตที่ดิน รั้วนั้นก็จะถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของทั้งสองบ้านที่จะต้องช่วยกันสร้าง ดูแลและจ่ายค่าซ่อมแซมรั้วคนละครึ่ง แต่ถ้าต้องการต่อเติมรั้วเดิมก็ต้องพูดคุยกับเพื่อนบ้านก่อนว่าอนุญาตให้ทำได้ไหม อาจต้องมีแบบคร่าวๆ ไปให้เขาดูด้วย นอกจากนี้ก็ควรดูว่าถ้าต่อเติมรั้วเพิ่มอาจทำให้เกิดปัญหากับเพื่อนบ้านหรือไม่ ควรคิดให้ครอบคลุมทั้งปัญหาใหญ่ๆ อย่างต่อเติมแล้วโครงสร้างเดิม จะทรุดเสียหายไหม และปัญหาที่ดูเหมือนเล็กน้อยอย่างรั้วสูงทำให้หญ้าเหลือง เพราะแดดส่องไม่ถึง ซึ่งคงต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้รั้วโปร่งพอให้แสงผ่านได้ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติ การต่อเติมหรือซ่อมแซมรั้วเดิมเราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองหมด เพราะเป็นคนมาทีหลัง ซึ่งรั้วเดิมนั้นเพื่อนบ้านเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายไปแล้ว หรือเป็นไปตามแต่จะตกลงกัน แต่ถ้าเพื่อนบ้านไม่ยอมให้ต่อเติม อีกวิธีหนึ่งก็คือสร้างรั้วใหม่ร่นเข้ามาในเขตที่ดินของเรา โดยรั้วใหม่และฐานรากของรั้วต้องไม่ล้ำเกินไปในแนวเขต ที่ดินเพื่อนบ้าน ทั้งนี้เราอาจเสียพื้นที่ใช้งานที่ดินบริเวณช่องรอยต่อระหว่างรั้วเดิม กับรั้วใหม่ ข้อดีคือเราสามารถทำรั้วลักษณะใดก็ได้ แต่กรรมสิทธิ์ในเขตที่ดินของเรายังอิงตามหมุดโฉนดเดิม เพื่อนบ้านจะทุบรั้วเดิมแล้วมาใช้ประโยชน์จากที่ดินรอยต่อตรงนี้ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ตามกฎหมายแล้วไม่ควรสร้างรั้วสูงเกิน 3 เมตร นับจาก ทางเท้าหรือถนนสาธารณะ […]
วิธีตรวจสอบ ราคาประเมินที่ดิน ค้นหาแปลงที่ดิน และตรวจสอบขนาดที่ดินจากเลขโฉนด รวมถึงข้อมูลอื่นเพิ่มเติมอื่นๆ แบบง่ายๆ
มาดูข้อมูลของ เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ทีควรรู้ไว้ คราวนี้ใครจะมาหลอกขายที่ดินของคุณ เพื่อขายในราคาสูงเกินจริงล่ะก็ รับรอง! ไม่ได้แอ้มเงินคุณแน่นอนค่ะ
มีประเด็นหนึ่งที่พูดถึงต่อเนื่องจากเรื่องที่ดินตาบอด คือเรื่อง "ภาระจำยอม" ซึ่งดิฉันเห็นว่าน่าสนใจจึงนำมาเล่าสู่กันฟังในครั้งนี้ค่ะ
ที่ดินตาบอด ใครมีที่ดินที่ไม่มีทางออกไปสู่เส้นทางสาธารณะ หรือที่เรียกว่า ที่ดินตาบอด ต้องอ่านค่ะ เพราะจริงๆ แล้วมีกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ ไปดูกัน
รั้วไทรเกาหลี ไม้ยอดฮิตอีกหนึ่งต้นที่นิยมนำมาปลูกเป็น รั้วต้นไม้ และมีข้อที่ผู้จะปลูกไทรเกาหลีทำรั้วต้องรู้อะไรบ้าง ไปไขข้อสงสัยพร้อมๆกัน
บ้านติดริมคลองมีแนวเขื่อนกั้นน้ำของทางกทม.เรียบร้อย แต่ปัญหาคือเขื่อนนั้นไม่สามารถป้องกัน การกัดเซาะของดินหลังแนวเขื่อน ทําให้น้ำยังกัดเซาะ จนเรือนริมน้ำหายไปแล้วหนึ่งหลัง