© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
รู้หรือไม่ว่าในปัจจุบัน เทคโนโลยี 3D Printing ไม่ได้ใช้พิมพ์แค่เพียงสิ่งของเท่านั้น แต่สามารถพิมพ์บ้านหลังขนาดย่อมๆ ทั้งหลังได้แล้ว! ในงาน สถาปนิก’65 ซึ่งจัดขึ้นที่ อิมแพค เมืองทองธานี วันที่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2565 บริเวณ SCG Pavilion ทาง CPAC Green Solution ผู้นำด้านนวัตกรรมสำหรับโลกยุคใหม่ทั้งด้านการอยู่อาศัยและการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่น่าสนใจมากมายให้ผู้เข้าชมได้มาสัมผัส ทั้งในกระบวนการก่อสร้าง ระหว่างการก่อสร้าง และหลังการก่อสร้าง CPAC 3D Printing Solution ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของงาน โดยนำเสนอนวัตกรรมก่อสร้างยุคใหม่ที่รวดเร็ว และใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีการขึ้นรูปปูนซีเมนต์ด้วยเครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติขนาดใหญ่ เอกสิทธิ์เฉพาะของเอสซีจี สามารถขึ้นรูปผนัง ชิ้นส่วนอาคาร รวมถึงชิ้นงานตกแต่ง โดยจุดเด่นของนวัตกรรมนี้ คือรูปทรงที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ด้วยเส้นสายที่โค้งอย่างเป็นอิสระแบบ Freeform สามารถพิมพ์ได้ทั้งที่หน้างานและผลิตจากโรงงาน CPAC 3D Printing […]
Hot Wire Extensions แบรนด์ของนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรง Fabio Hendry นำเสนอคอลเล็กชั่นเฟอร์นิเจอร์ ที่เกิดจากการรีไซเคิลผงพลาสติกไนลอนเหลือทิ้งในกระบวนการพิมพ์สามมิติ การออกแบบที่ผสานนวัตกรรมเข้ากับหัตถกรรม นำไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ไม่รู้จบอันเกิดขึ้นจากการคิดค้นวัสดุ และกระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ พร้อม ๆ กับแนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จุดเริ่มต้น Hot Wire Extensions ให้ความสำคัญกับการออกแบบเพื่อความยั่งยืน และมุ่งมั่นผสมผสานนวัตกรรมวัสดุ และการทดลองทางวิศวกรรมเข้ากับงานออกแบบ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ จุดเริ่มต้นของคอลเล็กชั่นนี้มาจากความพยายามในการสร้างกระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณผงไนลอนเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพิมพ์แบบสามมิติ โดยผงไนลอน (Nylon) หรือผงพลาสติกพอลิเอไมด์ (Polyamide, PA) นั้นคือวัตถุดิบหลักของกระบวนการพิมพ์สามมิติแบบ SLS ซึ่งเป็นการยิงแสงเลเซอร์พลังงานสูง ไปยังผงวัสดุให้เกิดการหลอมเหลวแล้วยึดติดกันเป็นเนื้อเดียวเพื่อขึ้นรูปชิ้นงาน ซึ่งผงไนลอนเหล่านี้ สามารถนำมาใช้ใหม่ได้เพียง 20-50% เท่านั้น และยังไม่ได้รับการรีไซเคิลอย่างจริงจังในอุตสาหกรรมหลักที่ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติแบบ SLS กระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ ด้วยแรงบันดาลใจจากการเติบโตของเถาวัลย์ที่พันรัดรอบต้นไม้ Hendry สร้างสรรค์กระบวนการผลิตใหม่ โดยใช้วิธีการขึ้นรูปทรงของชิ้นงานด้วยลวดนิโครม (Nichrome) และติดตั้งในภาชนะที่ประกอบด้วยส่วนผสมของผงไนลอนเหลือทิ้ง และทรายซิลิกาบริสุทธิ์ เมื่อส่งผ่านกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด ความร้อนจะหลอมไนลอนโดยรอบ ทำให้ส่วนผสมแข็งตัวไปตามแนวโครงลวดเกิดเป็นรูปทรงใหม่ ทรายทำหน้าที่เป็นทั้งวัสดุฟิลเลอร์ตัวนำความร้อน และป้องกันไม่ให้ผงไนลอนหลุดออกจากลวด โดยความหนาของชิ้นงานจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้า คอลเล็กชั่น หลากหลายคอลเล็กชั่นที่นำเสนอประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ทั้งเฟอร์นิเจอร์ […]
เปิดความหมายของ "เมคเกอร์" พร้อมพบนวัตกรรมจากสองมือที่นำพาโลกสู่ยุคสมัยใหม่เชื่อมต่อกับภูมิปัญญาได้อย่างสมบูรณ์