- Home
- โบราณ
โบราณ
ความลงตัวของบ้านพื้นถิ่นกับสไตล์อินดัสเทรียล กลางธรรมชาติในบาหลี
นอกจากตั้งใจจะสร้าง บ้านพักในบาหลี เพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดแล้ว เฟอร์นิเจอร์และงานศิลปะที่สะสมไว้หลายชิ้นจากแอฟริกา ยุโรป และเอเชียยังกลายเป็นโจทย์
Family and Function Comes First บนพื้นฐานของความรักและเข้าใจ
เมื่อถึงเวลาสร้างครอบครัว คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในใจใครหลายคนที่มีบ้านเดิมอยู่แล้วคงหนีไม่พ้นว่าจะขยายพื้นที่ที่มีหรือย้ายไปอยู่ที่อื่น สำหรับ คุณนัย – นัยนารถ โอปนายิกุล และ คุณยอด ตันติอนุนานนท์ เจ้าของบ้านหลังนี้ขอเลือกสร้างพื้นที่เล็กๆ ของครอบครัวในที่ดินของบ้านเดิม โดยก่อนหน้านี้เมื่อทั้งสองแต่งงานกันแล้วก็ย้ายไปอยู่คอนโดมิเนียมที่ไม่ไกลจากบ้านเก่า แต่พอเวลาผ่านไปสักพักและทั้งสองมีลูกน้อย จึงได้ทราบความต้องการที่แท้จริงว่า “บ้านที่ทำให้รู้สึกไม่เบื่อเร็ว” เป็นคำตอบที่ใช่ บ้านสีเทาสไตล์โมเดิร์นขนาดสามชั้นหลังนี้แฝงด้วยกลิ่นอายความคลาสสิก ตั้งอยู่ใจกลางเมืองย่านทองหล่อ แต่ยังคงความเป็นชุมชนเดิมที่สงบเงียบและเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ บ้านนี้ปลูกสร้างใหม่บนสนามหญ้าหน้าบ้านเดิมของคุณนัยแวดล้อมด้วยบ้านคุณพ่อคุณแม่ และบ้านคุณตาคุณยายที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน ชั้นล่างเป็นส่วนแพนทรี่ขนาดใหญ่และโต๊ะรับประทานอาหารชุดสวย ห้องรับแขก และห้องเด็กที่ออกแบบเผื่อไว้สำหรับลูกในอนาคต หรือให้คุณพ่อคุณแม่มาพักผ่อนได้ ส่วนชั้นสองเป็นห้องนอนใหญ่และห้องนอนของ น้องเร – เรวิณฬ์ ส่วนชั้นสามเรียกว่าเป็นชั้นเอนเตอร์เทนเมนต์ เพราะเป็นที่รวมความสุขของทุกคนอย่างห้องเก็บไวน์ โฮมเธียเตอร์ ห้องเด็กที่เต็มไปด้วยของเล่น และห้องทำงานแบบส่วนตัว มีระเบียงด้านนอกที่สามารถปรับเป็นพื้นที่สำหรับปาร์ตี้ได้อย่างสบาย เจ้าของบ้านเลือกรูปแบบบ้านจากบริษัทรับสร้างบ้าน เพราะเชื่อในมาตรฐานของงานก่อสร้าง โดยเลือกขนาดที่ใช่ ลิสต์รายการห้องและการใช้งานที่อยากได้ แล้วเลือกแบบบ้านที่เหมาะกับจำนวนห้องและปรับขนาดของห้องให้สะดวกกับการใช้งานยิ่งขึ้น คุณยอดเล่าว่า “ผมเลือกแบบบ้านจากฟังก์ชันที่เราอยากได้ แล้วมาปรับขนาดของห้องต่างๆ ให้เป็นอย่างที่เราต้องการ ผมชอบบ้านทรงกล่องๆ เหลี่ยมๆแบบไม่มีหลังคา ตอนอยู่คอนโดเราตกแต่งต่างออกไป เป็นแบบมีสีสันหน่อยด้วยวัยที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้รู้ความชอบของตัวเองจริงๆ มาลงตัวที่สไตล์โมเดิร์นผสมคลาสสิก ดูขรึมแต่เรียบง่าย เน้นใช้งานได้นานและไม่รู้สึกเบื่อเร็ว” เจ้าของบ้านได้พูดคุยกับ คุณเล็ก – […]
A Place Called Forever
จุดเริ่มต้นของ บ้านสไตล์อังกฤษ หลังนี้อาจจะแปลกไปจากบ้านทั่วไป เพราะเจ้าของบ้านเลือกกำหนดตำแหน่งและขนาดของครัวเป็นอย่างแรก ยิ่งไปกว่านั้นคือ ตำแหน่งของครัวอยู่ค่อนไปทางด้านหน้าบ้านเสียด้วย คุณเปียทิพย์ เชฟฟิลด์ เจ้าของบ้านฝ่ายหญิงให้ความกระจ่างว่า “ได้ประสบการณ์มาจากบ้านหลังแรกค่ะ เพราะไม่ใช่แบบที่เราอยากได้เลย เราฟังและเชื่อคนอื่นมากเกินไป คิดเอาว่าคงจะดีถ้าเป็นอย่างที่ใครเขาว่ากัน แต่คนเหล่านั้นไม่ได้เป็นคนอยู่ พอเราเข้าไปอยู่จริงก็ไม่ได้ประโยชน์ใช้สอยอย่างที่ต้องการ ไปเน้นทำประตูบานใหญ่ๆ ทำหน้าบ้านแบบคนไทย ทำให้เสียพื้นที่ในบ้านไปเปล่าๆ หรือเน้นทำห้องรับแขกใหญ่ๆ แต่ความจริงเราไม่ได้รับแขกที่จะต้องนั่งกันแบบเป็นทางการ นี่ไม่ใช่วิถีชีวิตของเรา อีกอย่างเป็นคนชอบทำอาหาร แต่ครัวของบ้านเก่าทำให้รู้สึกไม่สะดวกเลย พอจะสร้างบ้านใหม่จึงขอคิดเรื่องครัวเป็นอันดับแรก” คุณเปียทิพย์มีประสบการณ์เรื่องบ้านค่อนข้างมาก เพราะงานของเธอคือการหาบ้านเช่าให้ชาวต่างชาติที่มาอยู่เชียงใหม่ อีกทั้งช่วงหนึ่งต้องไปอยู่บ้านสามีที่อังกฤษ ได้เห็นสไตล์การตกแต่งบ้านและสวนที่ตรงกับความต้องการ จึงตั้งใจอยากมีบ้านแบบนั้นบ้าง แล้วความฝันก็เป็นจริงเมื่อได้กลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ หากมองจากด้านหน้า ตัวบ้านจะดูทึบหน่อย แต่เมื่อเข้าไปภายในกลับพบว่าโล่งและสว่าง เพราะแวดล้อมด้วยพื้นที่ว่างซึ่งทำให้รู้สึกน่าสบาย อีกทั้งยังวางตำแหน่งของประตู หน้าต่าง และช่องแสงได้ถูกที่ถูกจังหวะ โดยให้หันไปยังด้านหลังบ้านและเน้นขนาดที่ใหญ่ เพื่อให้มองเห็นสวนและทุ่งนาอย่างที่เจ้าของบ้านชอบ ทุกพื้นที่ในบ้านจึงได้แสงสว่างที่เหมาะสม บ้านนี้มีประตูทางเข้าหลักอยู่ตรงกลางพอดี และตรงกับโถงประตูซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหาร จึงเหมือนแกนกลางที่แบ่งให้ด้านหนึ่งเป็นครัวเปิดตามที่คุณเปียทิพย์บอกว่าเป็นพื้นที่ของเธอ และอีกด้านเป็นบาร์เครื่องดื่มซึ่งเป็นพื้นที่ของ คุณปีเตอร์ เชฟฟิลด์ สามี ถัดไปเป็นห้องนอนแขกและโถงบันไดขึ้นชั้นบนโดยไม่มีห้องรับแขกดังเหตุผลที่เจ้าของบ้านบอกไปข้างต้นนั่นเอง ชั้นบนวางแปลนคล้ายกันคือ จากบันไดไปสู่ห้องโถงใหญ่เน้นให้มีช่องแสงและหน้าต่างเต็มพื้นที่ของผนังเพื่อความโปร่ง โดยใช้เป็นพื้นที่ส่วนรวมของ 3 คนพ่อแม่ลูก กล่าวคือเป็นทั้งส่วนนั่งเล่น ทำงาน […]
บ้านทรงสี่เหลี่ยมหลังคาจั่ว จุดเริ่มต้นของความพอดี
บ้านชั้นเดียว สีขาว หลังนี้ตั้งอยู่ในละแวกเส้นทางแม่ริม – โป่งแยง จังหวัดเชียงใหม่ ในอดีตเคยเป็นหมู่บ้านจัดสรรเก่า แต่ปัจจุบันมีต้นไม้ขึ้นครึ้มจนปิดบังภาพเดิมของหมู่บ้านนี้ไปเกือบหมด คุณทองมา – จำเนียร ทองมา ศิลปินและประติมากรฝีมือเยี่ยม ผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ เล่าถึงที่มาของบ้านให้ฟังว่า “ผมเจอที่ดินตรงนี้ ก็เพราะเพื่อนชวนให้มาตกแต่งห้องของเขา ซึ่งก็อยู่ข้างบ้านผมนี่เอง ผมเห็นที่ดินแล้วชอบ เพื่อนก็ชวนให้มาอยู่เป็นเพื่อนบ้านกัน ผมใช้เวลาตัดสินใจไม่นาน เพราะที่นี่มีสิ่งที่ผมชอบหลายอย่าง เช่น เป็นที่ที่อยู่กลางธรรมชาติ มีป่าและลำธารที่ได้ยินเสียงน้ำไหลรินตลอดเวลา อาจเป็นเพราะว่าผมทำงานที่ค่อนข้างดิบ ๆ จึงอยากอยู่แบบธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานของผมได้ดี ” บ้านชั้นเดียว สีขาว ไม่เกิน 4 เดือน บ้านชั้นเดียว หลังนี้ก็สร้างเสร็จ จากเดิมที่ที่ดินผืนนี้เต็มไปด้วยหญ้าสูงท่วมศีรษะ มีต้นไม้ขึ้นรกชัฏ ก็เปลี่ยนสภาพเป็นที่ดินพร้อมปลูกที่อยู่อาศัยเหมือนเมื่อครั้งเป็นที่ดินจัดสรรตอนแรกเริ่มโครงการ บนพื้นที่ 1 ไร่ คุณทองมาได้วางแผนล่วงหน้าแล้วว่า จะทำเป็นสตูดิโอทำงานศิลปะและส่วนพักอาศัย ซึ่งทั้งสองส่วนนี้กินพื้นที่ประมาณเท่ากัน ด้านริมถนนเป็นส่วนสตูดิโอ ส่วนด้านหลังติดลำธารเล็กๆเป็นบ้านพัก โดยทุกหลังสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวสีขาว หลังคาจั่ว ดูสงบและสบายส่วนที่เป็นบ้านพัก วางแปลนเป็นรูปตัวแอล ( L ) […]
Co-housing Space บ้านที่แชร์พื้นที่ร่วมกันกับธรรมชาติ
ท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผา เรากำลังมุ่งหน้าไปทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย อุณหภูมิในรถเช่าไม่เย็นพอที่จะลดความอบอ้าวของสภาพอากาศด้านนอก หรืออาจเป็นใจของเราเองก็ได้ที่ร้อนขึ้นจากสภาพการจราจรเบื้องหน้า หนึ่งชั่วโมงครึ่งผ่านไปกับระยะทางไม่ไกลนักจากย่านกลางเมือง เราเลี้ยวเข้าซอยเล็กๆ ผ่านประตูโครงการที่เหมือนประตูบ้านหลังใหญ่มากกว่าเป็นโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งเปิดให้เห็นต้นไม้ใหญ่ ดูคล้ายเป็นหมู่บ้านโมเดิร์นกลางป่า และช่วยเปลี่ยนความรู้สึกร้อนในใจให้เย็นลงได้แบบฉับพลัน “Tanah Teduh” เป็นโครงการบ้านจัดสรรที่ทำให้เรานึกถึงบ้านแบบ Co-housing Space หรือกลุ่มสังคมขนาดเล็กที่ทุกบ้านรู้จักกัน มีพื้นที่หน้าบ้านหรือหลังบ้านร่วมกัน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้ด้วยการออกแบบที่ดี บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ซึ่งเดิมเป็นสวนผลไม้ เจ้าของโครงการพยายามเก็บต้นไม้ใหญ่ไว้ให้ได้มากที่สุด โดยใช้วิธีสร้างบ้านหลบต้นไม้ อาคารทุกหลังเน้นการออกแบบเปิดรับแสงธรรมชาติ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าและทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รู้สึกใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมสีเขียวให้มากที่สุด แนวคิดดังกล่าวทำให้บ้าน 20 หลังในโครงการนี้มีพื้นที่ที่เปิดรับธรรมชาติและดูเป็นสัดส่วน แม้จะไม่มีรั้วกั้นบ้านแต่ละหลัง แต่ต้นไม้และการออกแบบสถาปัตยกรรมก็ช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวได้ไม่ยาก โครงการนี้ออกแบบโดย 10 สถาปนิกระดับแนวหน้าของอินโดนีเซีย บ้านแต่ละหลังมีหน้าตาไม่เหมือนกัน ราวกับเป็นลายเซ็นที่สถาปนิกกำกับไว้ผ่านรายละเอียดงานออกแบบที่ปรากฏ เราตั้งใจมาเยือนบ้านหลังหนึ่งที่ Mr. Andra Martin สถาปนิกผู้เป็นไดเร็กเตอร์ของโครงการนี้ออกแบบเอาไว้ แต่ต้องพบกับความผิดหวังเล็กน้อย เพราะเจ้าของยังไม่ได้มาอยู่บ้านหลังดังกล่าวจริงๆ ทว่า the show must go on เราเริ่มต้นถ่ายบ้าน แต่เหมือนฟ้าลิขิต น้องในทีมรีบวิ่งมาบอกเราอย่างตื่นเต้นว่า “พี่ๆ บ้านด้านหลังนี้เจ้าของบ้านเป็นคนไทยและสวยมาก” แน่นอนว่าใจของเราพุ่งไปถึงบ้านหลังนั้นก่อนขาจะก้าวไปทันเสียอีก […]
รวม 5 แบบบ้านลาวสวยในกลิ่นอายโบราณ
หลายครั้งที่เว็บไซต์บ้านและสวนได้รวบรวมบ้านสวยๆมาให้ชมกัน และครั้งนี้ก็เช่นกัน แต่พิเศษตรงบ้านที่เรารวบรวมมาในครั้งนี้ ไม่ใช่บ้านไทย แต่เป็น “บ้านลาว” บ้านสวยในประเทศเพื่อนบ้านของเรานี่เอง