แกลเลอรี่ – บ้านและสวน

บ้านแกลเลอรี่ลอยฟ้าที่ผสมผสานของเก่าเข้ากับสีสันใหม่ๆ

บ้านที่โดดเด่นด้วยฟาซาดกระเบื้องดินเผา ภายในนำของเก่ามาตกแต่งร่วมกับของใหม่ รวมถึงงานศิลปะที่สะสมไว้นำไปสู่การออกแบบเป็น บ้านแกลเลอรี่ลอยฟ้า

XXXYYY.OFFICIAL คาเฟ่ที่แทนสมการค่า X ด้วยดีไซน์ ค่า Y ด้วยกาแฟ

XXXYYY.OFFICIAL คาเฟ่ย่านแบริ่ง ที่อยู่ในรูปแบบของพื้นที่ทดลอง โดยมีแนวคิดคือการนำสองสิ่งมาจับคู่กับ เหมือนกับที่ X ชอบอยู่คู่กับ Y แล้วเกิดสิ่งสร้างสรรค์

ฮ่องเต้ กนต์ธร พิธีกรช่างประจำบ้านที่เริ่มวาดรูปตั้งแต่สองขวบ จวบจนมีนิทรรศการเป็นของตัวเอง

ฮ่องเต้ กนต์ธร ทำความรู้จักชายมากความสามารถที่เป็นทั้งศิลปิน นักออกแบบนิทรรศการ พิธีกร ภัณฑารักษ์ และอีกหลายบทบาท ผ่านงานศิลปะที่บอกเล่าเรื่องความเท่าเทียม

ART-LIFE HARMONY บ้านกึ่งแกลเลอรี่ ที่ตั้งใจออกแบบให้ทุกภาพมีความเสมอภาคกัน

“อยู่อย่างเป็นศิลปะ” คือนิยามการอยู่อาศัยในฝันของใครหลายคนในยุคนี้ หากแต่ความหมายของคำนี้ได้ถูกแปลภาพแตกต่างกันไปอย่างอิสระ ตามแต่การตีความจากประสบการณ์และรสนิยมของแต่ละบุคคล เช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรมที่แม้หลายชิ้นจะได้รับการพูดถึงว่าเป็นงานนอกกรอบ แต่จุดประสงค์ของผู้ใช้งานเองต่างหากที่เป็นปลายทางสำคัญ โดยมีวิธีการทางสถาปัตยกรรมเข้ามาช่วยส่งเสริมให้ปลายทางนั้นเป็นไปตามความตั้งใจ เช่นเดียวกันกับ บ้านกึ่งแกลเลอรี่ หลังนี้ Zimmermann Private Contemporary Art Collection คือตัวอย่างที่ดีของการใช้เนื้อหาจากผลงานศิลปะของเจ้าของ อย่าง คุณคริสตอฟ – คุณรานี ซิมเมอร์มานน์ ซึ่งเป็นนักสะสมผลงานศิลปะร่วมสมัย มาเป็นหัวใจสำคัญเพื่อสร้างพื้นที่สำหรับส่งเสริมงานศิลปะทุกชิ้นได้อย่างเท่าเทียม ตามที่ คุณศิริศักดิ์ ธรรมะศิริ สถาปนิกผู้ออกแบบที่นี่ได้กล่าวกับเราไว้ว่า “ไม่ได้คิดมาก่อนว่าจะทำอาคารให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือวงกลม แต่มีเจตนาคืออยากให้ภาพทุกภาพที่อยู่ในนี้มีความเสมอภาคกัน เพราะศิลปินแต่ละคนมีแพสชั่นและความตั้งใจเหมือนกัน แต่วิธีการอาจจะแตกต่างกัน ผมว่ามันไม่มีดัชนีชี้วัดว่ารูปนี้สวยกว่ารูปนี้เพราะอะไร” ความต้องการแรกของเจ้าของคือ ต้องการแกลเลอรี่มากกว่าบ้าน จึงเลือกส่วนพักอาศัยเป็นเรื่องรอง แล้วไปโฟกัสเรื่องการออกแบบสเปซสำหรับผลงานศิลปะ และเพราะงานศิลปะส่วนใหญ่เป็นงานร่วมสมัย สถาปนิกจึงนำความเป็นนามธรรมของงานศิลปะมาถ่ายทอดผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ไม่มีลำดับขั้น ไม่มีฟอร์ม หรือมิติซับซ้อน “ผมเลือกฝีแปรงของการ stroke งานแบบแอ๊บสแตร็กต์ที่เน้นความรู้สึกล้วน ๆ มาเป็นต้นแบบ โดยทดลองตัดแปะฟังก์ชันและความต้องการต่าง ๆ เข้าไปตามขอบเขตของที่ดิน แบ่งตามโปรแกรมได้ 2 อาคาร หลังหนึ่งใช้เป็นแกลเลอรี่เพื่อเปิดเป็นสาธารณะ อีกหลังเป็นที่พักอาศัยและแกลเลอรี่ส่วนตัวสำหรับเก็บภาพที่มีมูลค่าสูง” อาคารหลังแรกที่เปิดเป็นแกลเลอรี่สาธารณะ รูปลักษณ์การออกแบบเปรียบเหมือนการทดลองปาดฝีแปรงลงกระดาษในน้ำหนักที่หนาหนักและรุนแรง จนเกิดเป็นอาคารที่มีแต่ละด้านไม่เท่ากันเลย […]

30 แกลเลอรี่ลับๆในกรุงเทพฯ

แม้บางแห่งจะดูเหมือนเป็น แกลเลอรี่ ลับๆ ที่เหมาะสำหรับผู้ชื่นชอบการลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอยของเมืองหลวง แต่ทุกแห่งที่เลือกมารับประกันว่าเด็ด มีความสดใหม่

จัดสรรพื้นที่ บ้านหลังน้อย ให้คุ้มค่าและลงตัวที่สุด

ท่ามกลางอุณหภูมิที่เริ่มหนาวเย็นลงในช่วงปลายปี สีเหลืองอ่อนๆของ บ้านหลังน้อย ซึ่งออกแบบอย่างเรียบง่ายดูสงบกลมกลืนกับบริบทโดยรอบก็ค่อยๆเผยตัวตนให้เราได้เห็น

PATANA GALLERY เปิดประตูสู่ศิลปะ

อาคาร แกลเลอรี่ในมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เอื้อให้นักศึกษาด้านการออกแบบเกิดแรงบันดาลใจ และกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ให้สเปซได้ช่วยสร้างสรรค์ไอเดียสดใหม่

PROUD Complex เล็ก ๆ แต่ไม่ธรรมดา

โครงการ PROUD Complex โครงการนี้ถือเป็นแหล่งแฮงก์เอ๊าต์แห่งใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งรวบรวมทั้งร้านกาแฟและแกลเลอรี่มาไว้ในที่เดียว