เพาะเมล็ด – บ้านและสวน

รวมไอเดียจัดสวนแบบประหยัดและใช้งบน้อยลงกว่าที่ต้องจ่าย

ช่วงนี้จะจับจ่ายใช้สอยเงินก็อาจต้องคิดแล้วคิดอีก อะไรประหยัดได้ต้องประหยัด แต่ครั้นจะปล่อยให้สวนรกไม่สวยงามก็ดูใช่เรื่อง อย่างไรเสียคนเราก็ยังต้องการพื้นที่สวนสำหรับพักผ่อนหย่อนใจได้ออกไปสัมผัสธรรมชาติกันบ้าง เราจึงขอรวบรวมไอเดียทั้งการจัดสวนและดูแลสวนแบบที่ไม่ต้องเสียเงินหรือประหยัดเงินในกระเป๋าคุณไปได้มากทีเดียว จะมีไอเดียจัดสวนแบบประหยัดอะไรบ้าง มาดูกัน ดินเราเองก็มีไม่ต้องซื้อ เงินก้อนใหญ่สําหรับการจัดสวนส่วนหนึ่งหมดไปกับการซื้อดินจากที่อื่นมาถมปรับระดับพื้นที่ หากสวนมีขนาดเล็กหรือเป็นพื้นที่ที่จัดสรรเอาไว้แล้วก็อาจเสียเงินในส่วนนี้ไม่มาก เพราะส่วนใหญ่จะได้ระดับอยู่แล้วและไม่มีความจําเป็นต้องปรับระดับเพิ่ม แต่หากคุณมีพื้นที่ขนาดใหญ่ รับรองว่างบบานปลายแน่นอน ดังนั้นจึงควรสํารวจพื้นที่แล้วใช้วิธีวางผังสวนให้มีระดับสูงตํ่าตามการใช้งานจริง แล้วตักดินในพื้นที่ไปถมในส่วนที่ต้องการ โดยกําหนดระยะความสูงของพื้นที่สวน ส่วนมากจะอ้างอิงจากระดับถนนและพื้นที่สาธารณะด้านข้าง ซึ่งมักออกแบบให้พื้นที่ของเรามีระดับสูงกว่าพื้นที่สาธารณะอีกเล็กน้อยตั้งแต่ 0.15-1 เมตร จากนั้นขุดดินในบริเวณที่สูงกว่าระดับที่เราต้องการเพื่อมาถมให้สูงขึ้นจากเดิม หากพื้นที่มีความชันมากอาจต้องปรับระดับให้มีลักษณะเป็นขั้นบันได คือมีพื้นที่ที่ได้ระดับแบบสมํ่าเสมอเป็นช่วงๆ เพื่อไม่ให้ระดับความสูงต่าของพื้นที่ชันเกินไปจนอาจมีปัญหา ํ เรื่องการกัดเซาะ ดินไม่อยู่ตัวและถล่มได้ แต่หากระดับพื้นที่ของเราไม่มีบริเวณที่สูงกว่า อาจเลือกใช้การขุดบ่อและนําดินมาถมในบริเวณที่ต้องการใช้งาน ก็จะช่วยประหยัดค่าดินที่ต้องถมเพิ่มไปได้มาก อีกทั้งยังทําให้มีทิศทางระบายนํ้าที่ชัดเจนและมีบ่อนํ้าสําหรับใช้ประโยชน์ได้ ทําปุ๋ยใช้เอง อย่าเพิ่งมองข้ามข้อนี้ไป เพราะทุกวันเราสามารถทำปุ๋ยหมักที่ช่วยบำรุงดินและเพิ่มสารอาหารให้ต้นไม้ในสวนได้แบบคนขี้เกียจที่ไม่ต้องทำอะไรเลย โดยขอยกตัวอย่างสูตรและวิธีการทำปุ๋ยหมักมา2 แบบ คือปุ๋ยหมักจากเศษอาหารที่เหลือจากการกินในทุกวันทําได้โดยเตรียมถังพลาสติกเจาะรูรอบถังเพื่อระบายอากาศ จากนั้นก็นําเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคมาใส่ถังทุกวัน แล้วใช้ไม้คลุกเคล้าส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง หากแห้งเกินไปให้พรมนํ้าไปด้วยแล้วปิดฝา หนึ่งเดือนต่อมาให้ลดการพรมนํ้าจนปุ๋ยแห้งสนิท ทิ้งไว้จนปุ๋ยหมักภายในกลายเป็นสีดําคลํ้าและเปื่อยยุ่ยจนมีขนาดเล็กลง นํ้าหนักเบา และไม่มีกลิ่นเหม็นเป็นอันใช้ได้ ปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้หรือกิ่งไม้ที่ร่วงหรือทิ้งจากการตัดแต่งทําได้โดยเตรียมตะกร้าพลาสติกสําหรับทิ้งเศษใบไม้หรือกิ่งไม้ขนาดเล็ก ทุก 10 วัน นําสายยางมาเสียบลงไปในกองเศษใบไม้แนวดิ่งให้ลึกลงไปประมาณ 2 ใน 3 ของขนาดความสูงตะกร้าเพื่อเติมนํ้าด้านใน […]

“แมตทิโอลา” ไม้ดอกช่อสวยหลายสี

ไม้ดอกช่อสวยหลายชนิดนอกจากปลูกในกระถางและประดับแปลงแล้ว ยังเป็นไม้ตัดดอกปักแจกันประดับบ้านได้ดีด้วย โดยเฉพาะไม้ดอกเมืองหนาวที่มีช่อดอกสีสันสดใสอย่าง ลิซิแอนทัส(Lisianthus) คาร์เนชั่น(Carnation) แอสเตอร์(Aster) อคิลเลีย(Achillea) ไวท์เลซ(WhiteLace) ไฮยาซินท์(Hyacinth) และแมตทิโอลา(Matthiola) ซึ่งแต่ละชนิดมีอายุการปักแจกันได้นานนับสัปดาห์ทีเดียว ขอแนะนําให้รู้จักแมตทิ-โอลา หรือโฮรีสต็อก(HoaryStock) ไม้ดอกที่มีถิ่นกําเนิดทางตะวันตกและตอนใต้ของทวีปยุโรป ซึ่งมีบันทึกไว้ว่า ปลูกเป็นไม้ประดับและใช้เป็นไม้ตัดดอกมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่16 ปัจจุบันมีการนําเข้าดอกตัดช่อจากต่างประเทศ และเริ่มมีปลูกทางตอนเหนือของประเทศไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบอากาศเย็น แมตทิโอลามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าMatthiolaincana(L.)R.Br.&hybrid เป็นสมาชิกในวงศ์Brassicaceae เช่นเดียวกับพืชผักหลายชนิดที่คนไทยคุ้นเคยกันดี เช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักโขมจีน และหัวไชเท้า ส่วนไม้ประดับในวงศ์นี้ที่รู้จักกัน เช่น แคนดี้-ทัฟต์(Candytuft) อลิสซัม(SweetAlyssum) ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ดอกอายุ2ปีต้นเป็นพุ่มสูง30-80เซนติเมตร ใบรูปใบหอก ปลายใบแหลมหรือมน แผ่นใบบิดเป็นคลื่นและมีขนปกคลุม ช่อดอกแบบช่อกระจะออกที่ปลายยอด ชูพ้นใบ มีดอกจํานวนมาก กลีบดอกซ้อนกัน ดอกบานขนาด3-3.5เซนติ-เมตร มีกลิ่นหอม ปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์ให้มีหลายสี ได้แก่ สีขาว สีชมพูสีชมพูเข้ม สีม่วง และสองสีในดอกเดียวกัน ทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ออกดอกฤดูหนาว ผลเป็นฝัก แต่มักไม่ติดผล ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เรื่อง:อังกาบดอย ภาพ:อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม […]

ขั้นตอนการเพาะเมล็ดและ ปักชำกิ่งไม้เลื้อย

การเพาะเมล็ดและ ปักชำกิ่งไม้เลื้อย การขยายพันธุ์ที่นิยมทำกันทั้ง 2 แบบ ซึ่งทั้งสองวิธีมีปัจจัยที่ต่างกันไปอย่างปักชำก็จะได้ผลเร็วกว่าและเป็นวิธีที่ง่ายกว่า ทำได้ทีละหลายๆ กิ่งพร้อมกัน  

วิธีปลูกผักสลัดไร้สารเคมี

วิธีปลูกผักสลัดไร้สารเคมี โดยคุณตั้ม – กัมปนาท เนตรภักดี

คุณตั้ม - กัมปนาท เนตรภักดี หรือที่รู้จักกันในนาม พ่อมดชาวนา ผู้ที่เคยประสบปัญหาในการปลูกผักสลัด เช่นกัน แต่เขาไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น และนำความรู้ที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญด้าน การเกษตรมาปรับใช้จนประสบความสำเร็จ