© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
แก้วกาญจนา หรืออโกลนีมา (Aglaonema) เป็นไม้ใบอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกเลี้ยงในเมืองไทยมานาน แต่เดิมมีเพียงใบเขียวด่างขาว ด่างเทา
คุณจิ๋ว-ปราโมทย์ โรจน์เรืองแสง เกิดและเติบโตอยู่กับต้นไม้มาตลอด 65 ปี แม้จะไม่ได้รํ่าเรียนมาทางด้านพฤกษศาสตร์โดยตรง แต่ด้วยความรักความสนใจทําให้เขามุ่งมั่นศึกษาหาความรู้และจริงจังกับการเพาะเลี้ยงต้นไม้จนกลายเป็นนักสะสมไม้ด่างมานานกว่า 40 ปี และคุณพ่อเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทย อีกทั้งความชอบผสมพันธุ์ไม้ใหม่ๆ ยังทําให้เขาสามารถผสมพันธุ์อโกลนีมาซึ่งเคยได้ชื่อว่า “เขียวหมื่นปี”มาตลอด ให้กลายเป็นอโกลนีมาสีแดงได้เป็นคนแรกของโลกเมื่อ 20 ปีก่อน และขายต้นพันธุ์ทั้ง 3 ต้นให้ชาวต่างชาติได้ในราคา 1 ล้านบาทในยุคนั้น ปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของสวนอัญมณีซึ่งปลูกต้นไม้ไว้หลากหลายชนิดพันธุ์โดยเฉพาะไม้ด่างเกือบทุกประเภท มีลูกค้าประจําทั้งในประเทศและต่างประเทศ แน่นอนว่าเขาย่อมเห็นการเปลี่ยนแปลงของตลาดต้นไม้มาหลายช่วงเลยทีเดียว อยู่กับต้นไม้ตั้งแต่เกิด “คุณพ่อผมขายต้นไม้ประดับมาตั้งแต่ผมยังไม่เกิด ตลาดต้นไม้ยุคแรกนั้นอยู่ที่วังสราญรมย์ พอปีพ.ศ.2500 ก็ย้ายมาอยู่ตรงคลองหลอดแถวสนามหลวง ตอนนั้นผมเคยไปช่วยคุณพ่อขายด้วย ไม้ประดับที่นิยมกันในช่วงนั้นส่วนใหญ่เป็นไม้นํา เข้าอย่างบอนสี โกสน หน้าวัวตัดดอก กล้วยไม้คัทลียา พอคุณพ่อวางมือก็มาถึงยุคผมที่ไปขายในตลาดนัดจตุจักร ผมไปเจอบอนไซเข้าก็รู้สึกชอบ เมื่อก่อนถือว่าเป็นไม้แปลก ก็เลยลองทํา ขายดู” คุณจิ๋วบอกว่าเขาชอบคลุกอยู่กับการขายต้นไม้มากกว่าไปเรียนด้านอาชีวะก่อสร้างที่สมัครเรียนไปตามเพื่อน แต่ไม่เคยชอบสิ่งที่เรียนเลย ถึงขั้นเกเรเสียด้วยซํ้า เขากลับมีหัวในเรื่องการเลือกบอนไซนําเข้าจากจีนและญี่ปุ่น โดยอาศัยอ่านหนังสือบอนไซญี่ปุ่นและเข้าป่าไปขุดตอต้นตะโก มะสัง และข่อย มาทําเป็นบอนไซเองตามตําราที่ได้อ่าน จนกระทั่งตั้งชมรมบอนไซและส่งบอนไซเข้าประกวดตามงานต่างๆ “ผมทําบอนไซอยู่ 10 ปีแต่ตลาดบอนไซยังไม่กว้างพอ ระหว่างนั้นผมไปเจอรองเท้านารีจากกลุ่มคนขายไม้ป่า ก็รู้สึกชอบเพราะเป็นไม้ที่แปลกดี เลยลองทําลูกผสมและทํา […]
บ้านและสวนมาคุยกับกับคุณจิ๋ว-ปราโมทย์ โรจน์เรืองแสง แห่งสวนอัญมณี ผู้สะสมไม้ด่างมากว่า 40 ปีด้วยใจรัก ถึงการเลือก ซื้อไม้ด่าง ที่เป็นไม้ใบอย่างฟิโลเดนดรอน มอสเตอร่า และลิ้นมังกร เพื่อใช้เป็นต้นพันธุ์ว่าเราเลือกซื้ออย่างไรกัน