© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านไทยโมเดิร์นหลังนี้ออกแบบให้มีหลังคาจั่วเชิดสูง มีชายคายื่นยาวขึ้นเพื่อช่วยเรื่องป้องกันแดด พร้อมแก้ไขข้อจำกัดของแปลนบ้านรูปตัว U ด้วยการเปิดพื้นที่กลางบ้านเป็นคอร์ตโล่งรับลม แทรกด้วยสระว่ายน้ำและต้นไม้ใหญ่เพื่อสร้างความร่มรื่นแก่ผู้อาศัย
นอกจากตั้งใจจะสร้าง บ้านพักในบาหลี เพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดแล้ว เฟอร์นิเจอร์และงานศิลปะที่สะสมไว้หลายชิ้นจากแอฟริกา ยุโรป และเอเชียยังกลายเป็นโจทย์
ในสมัยก่อนอาจพูดได้ว่าห้องพระเป็นห้องที่สำคัญห้องหนึ่งของบ้านชาวพุทธ แต่ในปัจจุบันเนื่องด้วยวิถีชีวิตและข้อขำกัดของพื้นที่ ทำให้หลายๆบ้านลดความสำคัญของห้องพระลง อาจเลยเพียงหิ้งพระไว้กราบไว้บูชา ไม่ได้ตั้งโต๊ะหมู่ใหญ่โตเหมือนในอดีต เมื่อเวลาผ่านไปทางเลือกใหม่ของชาวพุทธก็คือการตั้ง หิ้งพระติดผนัง
ห้องพระ หิ้งพระ และ โต๊ะหมู่บูชา พระในบ้าน ล้วนแต่เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญคู่บ้านชาวพุทธ เราบูชาพระในบ้านมาตั้งแต่อดีตตามขนบทำเนียมที่ทำสืบทอดกันมา หิ้งพระ เรือนไทยสมัยก่อนจะมี หอพระ หิ้งพระ เป็นส่วนประกอบตั้งอยู่ในตำแหน่งใกล้กับหอนอนของเจ้าของบ้าน อยู่ในทิศที่มีลมพัดผ่านเย็นสบายอย่างทิศเหนือและทิศตะวันออก แดดไม่ร้อน และเป็นตำแหน่งที่ไม่มีคนพลุกผ่านเพื่อให้เกิดความเงียบสงบในการไหว้พระสวดมนต์ ปัจจุบัน หอพระ ในบ้านถูกเปลี่ยนเป็นห้องหับที่เป็นสัดส่วน เรียกกันตามยุคสมัยว่า ห้องพระ ยิ่งบ้านหลังไหนที่เจ้าของบ้านให้ความสำคัญด้วยแล้ว ขนาดของห้องพระก็จะถูกใส่ใจเป็นพิเศษ ตกแต่งอย่างสวยงาม รวมถึงองค์พระบูชาในบ้านก็เช่นกัน การจัดหิ้งพระจึงมักจะจัดแบบโต๊ะหมู่บูชา เริ่มตั้งแต่หมู่ 3 หมู่4 หมู่ 5 หมู่ 7 หมู่9 หมู่12 โต๊ะหมู่บูชาก็มีทั้งแบบโต๊ะลอยตัวที่หาซื้อได้ตามร้านบูชาสังฆภัณฑ์ทั่วไป ข้อดีคือสามารถเคลื่อนย้ายทำความสะอาดได้ง่าย อีกแบบคือแบบบิลต์อินที่มัณฑนากรออกแบบให้ตามความเหมาะกับขนาดของห้อง ข้อดีคือสามารถออกแบบให้มีตู้ลิ้นชักสำหรับเก็บอุปกรณ์อื่นๆสำหรับบูชาพระได้ จำพวกหนังสือสวดมนต์ ธูป เทียน เป็นต้น ห้องพระ ที่ดีคือพื้นที่ที่ใช้งานได้ทุกวัน แต่สำหรับบ้านที่มีพื้นที่ขนาดไม่กว้างขวาง หรือเป็นครอบครัวสมัยใหม่ด้วยแล้ว หิ้งพระเหมือนจะเป็นคำตอบที่เหมาะสมซึ่งมักจะสร้างเป็นหิ้งพระติดผนัง เรียบน้อย ทันสมัย แต่ก็สื่อถึงการเป็นชาวพุทธได้อย่างแยบยล ตำแหน่งสำหรับวางหิ้งพระมักอยู่ในโถงชั้นบนของบ้าน ตำแหน่งของห้องพระในบ้านควรอยู่ในบริเวณที่เงียบสงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ร้อนอบอ้าวจนทำให้เสียสมาธิ […]
หากลองคิดแบบนอกกรอบและมองเรื่องหลักความสบาย เราก็อาจปรับเปลี่ยนกฎความเชื่อได้บ้างตามรูปแบบบ้านที่พัฒนาให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เช่น มีคนเคยบอกว่า ห้องพระ ไม่ควรอยู่ใกล้ห้องนั่งเล่น แต่ในความเป็นจริง เราสามารถจัดให้อยู่ในพื้นที่ใกล้กันได้ โดยใช้ประตูกั้นให้ดูเป็นสัดส่วน
ชมตัวอย่างการตกแต่ง ห้องพระ ที่ใช้งานได้สะดวกภายใต้บรรยากาศที่สงบและอบอุ่น เพื่อให้เป็นพื้นที่ที่ทุกคนในครอบครัวจะใช้เป็นมุมเจริญสติภาวนาและพักผ่อนได้ในทุกวัน