© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ไม่ใช่แค่ “ป่า” ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ “เมือง” ก็ต้องการความหลากหลายเช่นเดียวกัน ยิ่งเมืองขยายตัวมากเท่าไร นั่นหมายถึงพื้นที่ธรรมชาติลดน้อยลงส่งผลต่อระบบนิเวศของเมืองและสุขภาวะของเหล่าคนเมือง ที่ผ่านมาทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนจึงพยายามเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้นทั้งในรูปแบบสวนสาธารณะ พื้นที่ส่วนกลางในหมู่บ้าน หรือแม้กระทั่งปลูกต้นไม้ในอาคารเพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้คน ขณะเดียวกันก็เป็นประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความร้อนของเมือง ลดมลภาวะ และสร้างคุณภาพอากาศที่ดี ครั้งนี้บ้านและสวน ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงชวนไปสำรวจความหลากหลายทางธรรมชาติในเมืองผ่าน 3 สวนสาธารณะแปลงใหญ่ อย่าง สวนป่าเบญจกิติ สวนวชิรเบญจทัศหรือสวนรถไฟ และสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ใจกลางคุ้งบางกะเจ้า เพื่อเปิดมุมมองของสวนสาธารณะที่เป็นมากกว่าสถานที่ท่องเที่ยว ที่ออกกำลังกาย หรือที่พักผ่อนหย่อนใจของคนเมือง แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพ อุดมทั้งพรรณพืช สรรพสัตว์ ไปจนถึงจุลินทรีย์ ที่อยู่ร่วมกันอย่างสมดุล คุณสุรีย์พร เกิดแก่นแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มงานพื้นที่เฉพาะและพื้นที่พัฒนาพิเศษบอกว่า แม้พื้นที่สีเขียวหรือสวนสาธารณะจะมีประโยชน์ในภาพรวมที่เหมือนกัน แต่รูปแบบและวัตถุประสงค์ของแต่ละส่วนมีลักษณะและองค์ประกอบที่ต่างกัน ทำให้พรรณพืช พันธุ์สัตว์ของแต่ละสวนก็มีความต่างกันด้วยเช่นกัน ซึ่งเราจะเห็นได้จากการสำรวจ 3 สวนสาธารณะนี้ “สวนรถไฟ” แก้มลิงของเมือง จะมีกี่คนที่จำได้ว่า 20 กว่าปีก่อนที่จะมาเป็น สวนวชิรเบญจทัศ หรือที่เราคุ้นกันในชื่อ สวนรถไฟ ที่แห่งนี้เคยเป็นสนามกอล์ฟโล่งเตียนมาก่อน ที่ดินจำนวน […]
สวน 15 นาที โครงการนำร่องพัฒนาพื้นที่สาธารณะเชื่อมกิจกรรมของชุมชน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สวนทุ่งน้ำ (wetland) คืออะไร สำคัญยังไงกับระบบนิเวศของเมืองและธรรมชาติ โดย ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ นักนิเวศวิทยา และผู้เขียนหนังสือ Homo Gaia
ขณะนี้มีข่าวว่ากทม.กำลังมีโครงการปรับปรุงสองฝั่งคลองช่องนนทรีจากถนนสุรวงศ์ถึงถนนพระรามสาม เป็นระยะทาง 4.5 กิโลเมตร โครงการพาดผ่านสามเขตคือ บางรัก สาธร ยานาวา โดยจะทำเป็นสวนสาธารณะเลียบริมคลองไปตลอดทั้งสองฝั่ง ใช้งบประมาณ 980 ล้านบาท แบ่งการทำงานเป็นห้าช่วง ในช่วงแรกนี้เริ่มจากถนนสาธรถึง ซอยนราธิวาสฯ 7 ระยะทาง 200 เมตร แล้วเสร็จต้นปี 2565 ที่เหลือค่อยๆของบและค่อยๆทำไปจนเสร็จ คลิป : สวนสาธารณะคลองช่องนนทรี โครงการ สวนสาธารณะคลองช่องนนทรี เป็นโครงการที่ดีครับ เมื่อแล้วเสร็จจะทำให้บริเวณย่านธุรกิจกลางเมืองอย่างนั้นสวยงามร่มรื่น ข้อสำคัญคือ มีการออกแบบชายตลิ่งให้ลดหลั่นเป็นชั้นเชิงลงไปสู่คลอง ทำลายตลิ่งชันขอบคอนกรีตสูงทิ้ง ขอบเขื่อนแบบนั้นทำให้คลองดูเป็นท่อระบายน้ำมามากต่อมากแล้ว มีสถาปนิกเก่งๆให้ความเห็นเกี่ยวกับการออกแบบชายฝั่งคลองเอาไว้หลายท่าน คือท่านไม่เห็นด้วยกับการทำคลองให้ดูเป็นท่อระบายน้ำโสโครก แต่ก็ยังมีการสร้างขอบเขื่อนแบบนี้กันขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ เข้าใจว่าเพราะเขตที่ดินบังคับ แต่คลองที่ไม่มีปัญหาเรื่องเขตที่ดินเช่นคลองสาทร คลองบางกอกน้อย และที่อื่นๆสามารถทำตลิ่งลดหลั่นแบบนี้ได้ ดีกว่าไปสร้างถนนคร่อมคลอง คร่อมแม่น้ำอย่างที่เคยทำกันมา อีกเรื่องที่อยากเสนอไอเดียคือ จัดให้มีซุ้มขายของตลอดระยะทางเอาตรงที่พอมีพื้นที่ เช่น ตรงลานอเนกประสงค์ หรือลานเล็กที่ทำไว้ป็นระยะๆตลอดเส้นทาง ของที่น่าจะขายที่สุดน่าจะเป็นอาหาร นอกจากนั้นก็เป็นร้านขายหนังสือและอะไรอื่นๆตามความเหมาะสม เพราะย่านนั้นเป็นย่านคนทำงาน ตอนกลางวันคนทำงานต้องออกมาหาอาหารรับประทานกัน ส่วนใหญ่ก็เป็นร้านในตรอกซอกซอยแถวนั้น ถ้าเราทำเป็นซุ้มเล็กๆ สวยๆ ขายอาหารฟาสต์ฟู้ดที่นั่งกินง่ายๆเร็วๆไม่แพง […]
ศาลาในสวน จากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง ที่เปิดให้เด็ก ๆ ในชุมชนได้มาพักผ่อนและเรียนรู้กลางทุ่งดอกไม้แห่งนี้ ตั้งอยู่ในเมืองเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก ที่นี่เกิดขึ้นจากความต้องการของ Michelle Kalach ผู้ก่อตั้งโครงการ ซึ่งต้องการให้ ศาลาในสวน แห่งนี้ เป็นสถานที่พักผ่อนและเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ ในชุมชนเมือง โดยเฉพาะการปลูกฝังให้พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นพัฒนาการทางสังคมไปพร้อมกัน ภายในพื้นที่ตั้งของโครงการ ผู้ออกแบบจาก Vertebral ได้จำลองบรรยากาศให้เหมือนเนินเขาขนาดย่อมตามธรรมชาติ โดดเด่นด้วยพาวิเลียน หรือศาลาอเนกประสงค์ที่สร้างจากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง เพราะสำหรับบริษัทแล้ว สิ่งสำคัญในการออกแบบก็คือการสร้างอาคารจากวัสดุรีไซเคิลร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยนำมาผ่านกระบวนการคิดและก่อสร้างในกระบวนการใหม่ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้แก่โครงการนี้โดยเฉพาะ ตัวอาคารทำจากไม้ที่นำกลับมาใช้งานใหม่ มีท่อนเหล็กทำหน้าที่เป็นเสา เชื่อมเข้ากับผนังบรรจุหินที่ได้จากการขุดไซต์ก่อสร้าง โครงถักทั้งหมดถูกประกอบขึ้นโดยอาสาสมัครจากชุมชนท้องถิ่น ที่นี่จึงสามารถสร้างเสร็จได้อย่างรวดเร็วจากแรงกำลังของจิตอาสาทั้งหลาย นอกจากผู้ใช้งานจะเป็นกลุ่มเด็ก ๆ แล้ว ที่นี่ยังเปิดต้อนรับกลุ่มผู้ใช้งานอื่น ๆ เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นสถานที่เพื่อรับใช้ชาวชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากส่วนของศาลา พื้นที่สวนรอบ ๆ ยังส่งเสริมแนวคิดชุมชนแบบพอเพียง เพราะนอกจากพืชผักที่ปลูกไว้จะช่วยสร้างภูมิทัศน์อันสวยงามแล้ว ยังสามารถเก็บนำไปจำหน่ายได้อีกด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมการศึกษาเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนในชุมชน ขณะที่น้ำที่นำมาใช้รดต้นไม้ภายในสวนนั้น ส่วนหนึ่งมาจากหลังคาของศาลา ซึ่งไหลผ่านรางระบายน้ำมาตามท่อก่อนลงมายังบ่อเก็บน้ำ แล้วถูกสูบขึ้นมาใช้รดต้นไม้ด้วยพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องสูบน้ำ ซึ่งมีกำลังไฟมาจากแผงโซลาร์เซลล์ El […]
LITTLE ISLAND สวนสาธารณะลอยน้ำกลางแม่น้ำฮัดสัน ที่ตั้งอยู่บนกระถางคอนกรีตยักษ์จำนวนกว่า 132 กระถางที่เชื่อมกันจนเกิดเป็นสวน พร้อมพันธุ์ไม้นานาพรรณ
ขณะนี้มีการดำเนินการสร้างสวนเบญจกิติ ณ บริเวณโรงงานยาสูบเดิม ถนนรัชดาภิเษก ติดกับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่กำลังปิดบูรณะอยู่ โดยเฟสแรกออกแบบเป็นสวนน้ำซึ่งแล้วเสร็จไปตั้งแต่ปี 2547 บนพื้นที่130 ไร่ ใครผ่านไปแถวนั้นคงจะเห็นกันแล้ว หลายคนคงเคยไปใช้บริการกันมาแล้วด้วยซ้ำ ผู้รับผิดชอบการสร้างสวนนี้คือกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ดำเนินการหลังจากได้รับการส่งมอบพื้นที่จากโรงงานยาสูบ ซึ่งย้ายไปอยู่ที่อื่น เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้มอบให้กรุงเทพมหานครรับไปดูแลบริหารจัดการต่อ สวนป่าบนพื้นที่ 259 ไร่ บนทำเลทอง สวนเบญจกิติ ส่วนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในขณะนี้มีพื้นที่ 259 ไร่ ตามแผนการคือจะออกแบบเป็นสวนป่า มีพรรณไม้ออกดอกทั่วสวน มีพิพิธภัณฑ์ หอสูงชมเมือง อาคารนันทนาการและกีฬา ในเฟสสองที่เป็นสวนป่านี้ใช้งบประมาณก่อสร้าง 652 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พื้นที่ทั้งหมดนี้ไม่ถึงกับใหญ่โตเป็นเมืองก็จริงแต่ก็ไม่เล็ก คะเนว่าน่าจะพอๆกับสวนลุมพินี ทำเลก็อยู่กลางเมืองขนาดนั้น มีรถไฟฟ้าผ่าน ด้านหน้าติดถนนรัชดาภิเษก ด้านหลังติดทางด่วน มีโลคัลโรด ออกจากทางด่วนมาเข้าสวนนี้ได้เลย เป็นทำเลทองที่นักลงทุนคงน้ำลายหกแต่ก็ต้องกลืนน้ำลายกลับไป เพราะเขานำมาทำสวนสาธารณะเสียแล้ว ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดี ความจริงการทำอะไรๆให้เป็นสาธารณะก็ดีทั้งนั้น เพราะชาวบ้านจะได้มาใช้ประโยชน์กันได้อย่างทั่วหน้าและเสมอภาคกัน ฝันกันเล่นกับสวนแบบมิกซ์ยูส สวนในความคิดของผม ถ้าพื้นที่ทั้งหมดนี้นำมาทำเป็นทั้งสวนป่า สวนน้ำ ย่านธุรกิจการค้า การบริการสาธารณะที่รวมอยู่ด้วยกันจะได้หรือไม่ โดยยำให้ทุกฟังก์ชันอยู่รวมกันบนพื้นที่นี้ เพราะทำเลดังกล่าวมีมูลค่าสูง […]
Pocket Park on Xinhua Road โปรเจ็กต์ที่เปลี่ยนถนนที่ขนาบไปด้วยบ้านจีนแบบโบราณ และต้นไม้ตลอดสองข้างทางที่เคยเสื่อมโทรมให้กลายเป็น สวนสาธารณะ ขนาดย่อมของเมือง
Copenhagen Islands หรือ หมู่เกาะเคลื่อนที่ได้ในชื่อ “Parkipelago” เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ Marshall Blecher สถาปนิกและนักสร้างเกาะชาวออสเตรเลีย และ Magnus Maarbjerg สถาปนิกแห่ง FOKSTROT โดยโมเดลต้นแบบตัวแรกที่เรียกว่า CPH-Ø1 นั้นมีขนาดพื้นที่เพียง 20 ตารางเมตรเท่านั้น มันถูกสร้างขึ้นจริงจากแผ่นไม้คล้ายกับแพที่ลอยน้ำและสามารถลากเพื่อเคลื่อนย้ายตำแหน่งด้วยเรือหนึ่งลำอย่างสะดวก
เส้นทางวิ่งวันนี้เป็นทางที่พาผมไปพบกับ สวนสาธารณะ แห่งหนึ่งชื่อว่า Ilsan Lake Park ขนาดกว้างขวางถึง 619 ไร่ สร้างขึ้นในปี 1996 มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย
จะดีแค่ไหน หากพื้นที่ทิ้งร้างไร้ประโยชน์อย่าง พื้นที่ใต้ทางด่วน ถูกเปลี่ยนให้เป็น พื้นที่สาธารณะ ที่สวยงามน่ามอง อีกทั้งเกิดประโยชน์แก่คนในชุมชนอีกด้วย
ต้นแบบ สวนลอยน้ำ สวนสาธารณะแห่งแรกในเมืองไทยที่เคลื่อนที่ได้ ผลงานการออกแบบของยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกแห่ง SHMA ส่วนหนึ่งของงาน Bangkok design week 2018