© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
สถาปนิกภาคอีสาน ทั้ง 5 บริษัทนี้ มีผลงานการออกแบบที่สวยงาม เจ้าของบ้านแถบภาคอีสาน ที่กำลังมองหาสถาปนิกฝีมือดี ลองเก็บเข้าลิสต์ไว้
รวมรายชื่อสถาปนิก สไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล ผู้ออกแบบบ้านสวย ทันสมัย อยู่สบาย ที่เหมาะกับภูมิอากาศร้อนชื้นอย่างบ้านเรา
มาดู รวมรายชื่อสถาปนิกสายรีโนเวตบ้าน ในบ้านและสวน room Designer Directory เป็นไอเดียสำหรับผู้กำลังมองหาผู้มาเนรมิตบ้านเก่าให้กลายเป็นบ้านสวย
ครั้งแรกของการเชื่อมโยง 5 เครือข่ายในแวดวงสถาปนิก ใน งานสถาปนิก'66 ปีนี้มาแบบแซ่บนัวครบเครื่อง ในคอนเซ็ปต์ “ตำถาด Time of Togetherness”
งานสถาปนิก 66 งานสถาปนิก 66 ความยิ่งใหญ่ของมหกรรมทางสถาปัตยกรรม จัดในวันที่ 25-30 เมษายน 2566 นี้ ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ในยุคเมตาเวิร์ส ใครปรับตัวก่อน ย่อมได้เปรียบ เช่นเดียวกับ dwp บริษัทด้านการออกแบบชั้นนำระดับสากล
บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณบี วิทยถาวรวงศ์ โดดเด่นด้วยโครงไม้ที่ล้อมรัดพื้นผิวทั้งหมดที่ด้านบนของบ้านและดูคล้ายโครงฝาปะกนในบ้านไทยพื้นถิ่นดั้งเดิม ด้วยความที่เป็นสถาปนิกและมีความชื่นชอบสถาปัตยกรรมในแบบไทยประยุกต์อยู่เดิม เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำบ้านและออฟฟิศของตัวเอง การตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น DESIGNER DIRECTORY :ออกแบบ : Beautbureau เจ้าของ : คุณบี วิทยถาวรวงศ์ ก่อนจะมาเป็นบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้หลังนี้ คุณบีเล่าให้ฟังว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นบ้านเดิมที่คุณบีอาศัยอยู่มาตั้งแต่เด็ก จึงมีความคุ้นชินและผูกพันกับบ้านเดิม ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาเมื่อเรียนจบทางด้านสถาปัตยกรรมกลับมาจากต่างประเทศ จึงมีโครงการที่จะสร้างออฟฟิศของตัวเอง บนพื้นที่ของบ้านเดิมที่ทางครอบครัวได้รื้อทิ้งไปแล้ว และได้ขยายโครงการออกมาเป็นบ้านที่่แบ่งออกเป็น 3 ยูนิตอยู่อาศัย และพื้นที่ส่วนกลางที่มีทั้งห้องนั่งเล่น ชาน ระเบียง และสวน สลับจัดวางอยู่บนผังแบบ 9 Square Grid ซึ่งเป็นแบบฝึกหัดที่นักเรียนสถาปัตยกรรมทั่วไปอาจเคยประสบพบเจอเมื่อแรกเรียน “พอเราวางออฟฟิศของเราเป็นก้อนอาคารทางด้านหน้าแล้ว และอีกสามส่วนที่จะกลายเป็นห้องนอนสามห้องแล้ว เราก็เลยเลือกที่จะใช้สวนเข้ามาคั่นกลางระหว่างแต่ละพื้นที่ ชั้นบนก็จะมีชาน คือถึงแม้ว่าจะเป็นครอบครัวเดียวกัน แต่ทุกคนก็น่าจะต้องการพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันก็มีชานและพื้นที่นั่งเล่นที่สามารถใช้เวลาร่วมกันได้ ซึ่งในการออกแบบตรงนี้ก็เหมือนเป็นความชอบของเราด้วย เพราะเราชอบที่จะทอนให้ Mass ของอาคารเป็นพื้นที่ย่อยๆไม่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่จนเกินไป เมื่อทำแบบนี้แล้ว การสอดแทรกพื้นที่ว่างให้มีแสงธรรมชาติ ต้นไม้ใบหญ้า และลมพัดผ่านก็จะเกิดขึ้นได้ด้วย” “ถ้าพูดว่าเป็นบ้านของมนุษย์สักคนหนึ่ง โดยเฉพาะคนที่ออกแบบเองได้แล้ว เราว่ามันก็เหมือนกับเป็นแพ็กเกจบางอย่างที่บรรจุความทรงจำหรือ […]
คุยกับ นพดล ตันพิวัฒน์ ซีอีโอคนที่ 6 ของ Design 103 International Limited กับการก้าวสู่ปีที่ 52 พร้อมบทพิสูจน์ว่าแค่ออกแบบสวย ไม่ใช่ความยืนยงขององค์กร
party / space / design สตูดิโอออกแบบที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบพื้นที่ธุรกิจร้านอาหารและคาเฟ่ ที่สร้างประสบการณ์ใหม่เหนือความคาดหมายให้แก่ผู้ใช้งาน
ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director แห่ง Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ
งานประชุมนานาชาติทางสถาปัตยกรรม และแสดงเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ก่อสร้างแห่งปี ที่จัดเป็นประจำทุกปีโดยสภาสถาปนิก ร่วมกับ บริษัท อารยะ เอ็กซ์โป จำกัด เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในวิชาชีพไปพร้อม ๆ กับการนำเสนอเทคโนโลยีด้านก่อสร้างและนวัตกรรมสำหรับคนรักบ้าน โดยในปีนี้มาใน Concept ที่พิเศษหน่อยในชื่อว่า “สถาปนิกปันสุข” เพื่อตอบรับกับสถานการณ์ยุค COVID-19 เพราะฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ที่อยู่ในวงการออกแบบ หรือเป็นผู้ที่สนใจงานออกแบบ ขอบอกว่า ห้ามพลาดเป็นอันขาด!! อย่างที่ได้เกริ่นไปว่า งาน ACT FORUM ’20 Design + Built ได้ขนเอานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ตอบรับกับยุค New Normal มาอย่างครบครัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของการอยู่อาศัยไม่ว่าจะในสถานการณ์เช่นใด และนี่ก็คือส่วนหนึ่งของ New Normal Technologies ที่เราคัดมาเล่าให้คุณฟังก่อนจะไปพบได้อีกมากมายในงานปลายปีนี้ นวัตกรรมเพื่อความสะอาด (Hygiene) บอกลาเชื้อแบคทีเรียด้วย กระเบื้อง HEALTHY TILES จาก DURAGRES CERGRES เพราะกระเบื้องนี้สามารถต้านแบคทีเรียได้ถึง 99% เลยทีเดียว ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.actforumexpo.com/virtual/product/anti-bacteria-tiles-series […]
บ้านโมเดิร์น ที่ภายนอกเรียบนิ่ง แต่ซ่อนความโปร่งสบายไว้ภายใน สถาปนิกออกแบบให้มีคอร์ตใจกลางบ้านเพื่อรับลมและแสงสว่าง พร้อมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อาศัย ด้วยการเพิ่มการมองเห็นระหว่างกันจากห้องหนึ่งไปสู่ห้องหนึ่ง