© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
กะเพรา เหมือนกัน แต่มีกลิ่นฉุนต่างกัน เพราะเราคุ้นเคยกับเมนูยอดฮิตอย่างผัดกะเพราเป็นอย่างดี และคงมีในใจแล้วว่ากะเพราไหนคือที่หนึ่งในใจ กะเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum tenuiflorum L. วงศ์: Lamiaceae นิยมปลูกปลูกเป็นผักสวนครัว หลังปลูกอายุ 70 วัน ก็เก็บส่วนยอดและใบมาทำอาหารได้ ยิ่งเด็ดก็ยิ่งแตกยอดใหม่ทดแทน เมื่อออกดอกควรตัดช่อดอกที่แก่ออกบ้างเพื่อช่วยยืดอายุของต้น เนื่องจากกะเพรามีกลิ่นและรสที่รุนแรง จึงนิยมใช้ปรุงแต่งกลิ่นและดับคาวในอาหารจานเนื้อ น้ำมันหอมระเหยใช้หยดในอ่างอาบน้ำมีกลิ่นหอมทำให้สดชื่น คลายเครียด ทั้งยังช่วยกระตุ้นต่อมน้ำลายเรียกน้ำย่อย ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้ไล่แมลง ในแง่คุณค่าทางอาหาร มีเบต้าแคโรทีนสูง เสริมด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ผักกินใบ สามารถปลูกได้ในดินทุกประเภท มีกลิ่นหอม เป็นไม้ล้มลุกที่นิยมใช้ปรุงเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกะเพราขาว หรือ กะเพราแดง และกะเพราป่า โตเร็ว เลี้ยงง่าย ชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี เพียงโรยเมล็ดทิ้งไว้ 7-10 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกเป็นต้นเล็กๆ หากขึ้นเบียดกันแน่นควรถอนแยกออกมา เพื่อให้ต้นเป็นพุ่มจึงควรหมั่นเด็ดมาปรุงอาหาร เพราะโดยธรรมชาติเมื่อโตเต็มที่จะเริ่มผลิดอก ติดเมล็ด ทำให้ต้นแก่โทรมเร็ว ก้านกะเพราที่เหลือจากการใช้นำมาปักชำได้ แต่ไม่งามเท่ากับเพาะเมล็ด ความฉุนของกะเพรา ใบกะเพราแต่ละพันธุ์มีความฉุนต่างกัน ที่นิยมนำมาทำอาหารมีอยู่ […]
ใครเคยกินหรือซื้อผักเหล่านี้ แต่ยังสับสนกับชื่อของเขาอยู่หรือไม่ ด้วยลักษณะที่มีความคล้ายกัน บางครั้งจำภาพของแมงลัก แต่กลับบอกชื่อว่ากะเพรา วันนี้เราจะพาไปแยก 5 ผักที่อยู่ในตระกูลเดียวกันที่เรามักจะจำชื่อสลับกันอยู่บ่อยครั้ง