ข้อมูลการดูแลสัตว์เลี้ยง จากทีมผู้เชี่ยวชาญ บ้านและสวน Pets
ชิวาวา

ชิวาวา (Chihuahua) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ชิวาวา แม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับต้นกำเนิดของชิวาวา หลายคนเชื่อว่า ประเทศเม็กซิโก ในยุคที่ชนเผ่ามายาและชนเผ่า Toltec ถือครองดินแดน เป็นต้นกำเนิดเริ่มแรกของ สุนัขพันธุ์ ชิวาวา (Chihuahua) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก โดยมีสีและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย ชิวาวา ถูกจำแนกออกเป็น 2 สายพันธุ์ตามความแตกต่าง คือ พันธุ์ขนสั้นและขนยาว ดวงตาที่กลมโต ปลายหูค่อนข้างแหลมตั้งขึ้น และร่างกายขนาดเล็กเป็นคุณสมบัติหลักของชิวาวา ความฉลาดเป็นอย่างมากของพวกมันก็เป็นอีกหนึ่งในคุณสมบัติที่เป็นที่ชื่นชอบในสายพันธุ์นี้ ลักษณะทางกายภาพ โดยทั่วไปแล้วความสูงของชิวาวาไม่ได้ถูกกำหนดเอาไว้ มีเพียงน้ำหนักและคำอธิบายสัดส่วนโดยรวมของพวกมันที่ถูกระบุไว้ ส่งผลทำให้พวกมันมีความสูงที่แตกต่างกันมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ โดยทั่วไปแล้วชิวาวาจะมีความสูงอยู่ระหว่าง 6-10 นิ้ว แต่อย่างไรก็ตามชิวาวาบางตัวสามารถสูงได้ถึง 12-15 นิ้ว (30 ถึง 38 ซม.) จากมาตรฐานสายพันธุ์ของทั้งอังกฤษและอเมริกาได้ระบุไว้ว่าชิวาวาต้องหนักไม่เกิน 6 ปอนด์เพื่อความสอดคล้องกัน อย่างไรก็ตามมาตรฐานของอังกฤษระบุว่าชิวาวาควรมีน้ำหนัก 2-4 ปอนด์และถ้าหากสุนัขทั้งสองตัวดีพอ ๆ กันควรเลือกตัวที่มีขนาดเล็กกว่า มาตรฐานของ Fédération Cynologique Internationale (FCI) มีความต้องการให้สุนัขในอุดมคติมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง […]

บูล เทอร์เรีย (Bull Terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ บูล เทอร์เรีย เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีนักสำรวจชื่อ James Hinks ได้ทำการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์บูลด็อก (Bulldog) กับสุนัขพันธุ์โอลด์ อิงลิช เทอร์เรีย (Old English Terrier) ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 ได้มีการนำสุนัขที่ทำการผสมระหว่าง 2 สายพันธุ์ มาผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์ไวท์ บูล เทอร์เรีย (White Bull Terrier) จึงได้สุนัขที่มีขนสีขาวล้วนทั้งตัว ซึ่งสุนัขที่ได้ทำการผสม 3 สายพันธุ์ ได้ถูกตั้งชื่อพันธุ์เป็นพันธุ์ ไวท์ คาวาเลียร์ (White Cavalier) เป็นสุนัขที่ได้รับความนิยมอย่างมากของชนชั้นสูง และทำให้สุนัขเป็นที่สนใจจนถึงปัจจุบัน ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 สุนัขพันธุ์บูล เทอร์เรีย ถูกนำมาเลี้ยงในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก และได้รับความนิยมเป็นอย่างกว้างขวางในเวลาไม่นาน หลังจากนั้นสมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์สุนัข ในปี ค.ศ. 1885 […]

โรคไข้หัดแมว หรือ โรคลำไส้อักเสบติดต่อในแมว (Feline Distemper)

“โรคไข้หัดแมว” คือโรคอะไร ?? มีความเกี่ยวข้องกับโรคไข้หัดสุนัขหรือไม่ ?? ติดต่ออย่างไร ?? ก่อโรคในมนุษย์ได้หรือไม่ ?? แล้วจะมีวิธีการที่จะป้องกันแมวสุดที่รักของเราจากโรคนี้ได้หรือไม่ อย่างไร ??? ในโอกาสนี้ หมอก็จะขออนุญาตนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ “โรคไข้หัดแมว” มาสรุปสั้นๆ ให้ทุกท่านได้รู้จักกันครับ โรคไข้หัดแมว คืออะไร ?? “โรคไข้หัดแมว” หรือ “feline distemper” นั้น มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในวงการสัตวแพทย์อยู่หลายชื่อ โดยคุณหมอสัตวแพทย์บางท่านอาจจะเรียกว่า “โรคลำไส้อักเสบติดต่อในแมว (feline infectious enteritis)” หรือ “โรคติดเชื้อพาร์โวไวรัสในแมว (feline parvovirus infection)” หรือบางท่านก็อาจจะขนานโรคนี้ว่า “โรคแพนลิวโคพีเนียในแมว (feline panleukopenia)” ซึ่งคำว่า “แพนลิวโคพีเนีย” นี้ เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่แปลว่าเม็ดเลือดขาวต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากแมวที่ติดโรคดังกล่าวนี้ มักมีจำนวนเม็ดเลือดขาวทุกชนิดลดต่ำลงอย่างมาก (ซึ่งจะได้มีการกล่าวถึงรายละเอียดของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำต่อไปหลังจากนี้) “โรคไข้หัดแมว” เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม “Carnivore protoparvovirus 1” โดยพบว่าร้อยละ 95 ของแมวที่ป่วยด้วยโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อพาร์โวไวรัสในแมว […]

บอร์เดอร์ คอลลี่ (Border Collie) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขสายพันธุ์ บอร์เดอร์ คอลลี่ (Border Collie) มีเชื้อสายที่สืบทอดมายาวนานเกือบเท่ากับมนุษยชาติ เมื่อหลายศตวรรษก่อน ในภูมิประเทศระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่รู้จักกันในนาม Anglo-Scottish border มีคนเลี้ยงแกะจำนวนมากใช้ “สุนัขต้อนแกะ” เพื่อเฝ้ายามและคอยฟังเสียงฝูงสัตว์ของพวกเขา โดยพวกมันมีเชื้อสายโดยตรงของคอลลี่ที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองซึ่งมักพบในเกาะอังกฤษ อย่างไรก็ตามชื่อคอลลี่ (Collie) ปรากฏครั้งแรกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาจากภาษา Celtic (ภาษาที่คนอินโด-ยุโรปใช้) แปลว่า “มีประโยชน์” สายพันธุ์แท้เกือบทั้งหมดของคอลลี่ได้ถูกบันทึกไว้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากสุนัขพันธุ์ Old Hemp ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของคคอลลี่ โดย Old Hemp เป็นสุนัขสามสีที่เกิดใน Northumberland ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 Old Hemp กลายเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นหนึ่งในสุนัขที่ฉลาดที่สุดและเป็นสุนัขไล่ต้อนที่มีการตอบสนองได้ดีจนเป็นที่ยอมรับมาถึงปัจจุบัน Old Hemp  มีความแข็งแรงและมีพละกำลัง สามารถโต้ตอบได้ดีกว่าสุนัขเลี้ยงแกะสายพันธุ์อื่น ๆ ในยุคนั้น ภายหลัง Adam Telfer เจ้าของ Old Hemp ได้นำมันมาเป็นต้นแบบในการขยายพันธุ์ ในปีค.ศ. 1915 มีชายคนหนึ่งชื่อ James […]

เกรทเดน (Great Dane) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ เกรทเดน (Great Dane) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นสุนัขล่าหมูป่า ชาวเยอรมนีได้ทำการพัฒนาสายพันธุ์จนเกรทเดนมีลักษณเหมือนกับสุนัขสายพันธุ์ไอริช วูล์ฟฮาวน์ด (Irish Wolfhounds) ในด้านของความสูงคล้ายกับมาสทิฟฟ์ (Mastiffs) ในด้านมวลกล้ามเนื้อและคล้ายกับเกรย์ฮาวน์ด Greyhounds ในด้านของความเร็ว สุนัขสายพันธุ์นี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ชื่อเริ่มแรกของพวกมันคือ English Docke หลังจากนั้นก็ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น German Boarhound เชื้อพระวงศ์ใช้เกรทเดน เพื่อการล่าหมูป่า กวาง และหมีรวมถึงช่วยในการอารักขาเจ้าหญิงจากการถูกลอบทำร้าย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้เพาะพันธุ์ชาวเยอรมนีพยายามที่จะเปลี่ยนชื่อพวกมันเป็น German Mastiff เพื่อให้ชื่อของสุนัขฟังดูหรูหราแทนที่จะฟังดูเหมือนกับเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่เอาไว้ใช้งาน เกรทเดน เป็นชื่อสุดท้ายที่มีการเรียกขานกันเมื่อนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสเดินทางไปที่ประเทศเดนมาร์กและได้เห็นเกรทเดน ในบันทึกเขาเรียกสุนัขตัวนั้นว่า Grand Danois ซึ่งหมายถึง Great Danish Dog ชื่อนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายแต่สุดท้ายมันก็ถูกเปลี่ยน เมื่อเวลาผ่านไปนิสัยก้าวร้าวที่ใช้ในการล่าหมูป่านั้น ถูกกำจัดออกจากสายพันธุ์ ทำให้เกรทเดนเป็นสุนัขตัวโตที่มีความอ่อนโยนอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ลักษณะทางกายภาพ จากคำอธิบายของ American Kennel Club เกรทเดนมีลักษณะที่ผสมผสานกันระหว่างความสง่างามและความแข็งแรงด้วยขนาดตัวที่ใหญ่ มีรูปร่างดีและเป็นหนึ่งในสายพันธุ์สุนัขใช้งานที่ใหญ่ที่สุด เกรทเดนเป็นสุนัขสายพันธุ์ขนสั้นที่มีรูปร่างแข็งแรง อัตราส่วนระหว่างความยาวและความสูงของขนาดตัวควรเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส […]

ค็อกเกอร์ สแปเนียล (Cocker Spaniel) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ค็อกเกอร์ สแปเนียล เป็นสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสเปน (Spain) มีการกล่าวถึงความเป็นมาของสายพันธุ์เป็นอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถระบุจุดเริ่มต้นของสายพันธุ์ได้ แต่มีข้อมูลที่ตรงกันคือ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สุนัขสายพันธุ์สแปเนียลมี 2 กลุ่ม คือกลุ่มสุนัขบ้าน (Home dog) และกลุ่มสุนัขนักล่า (Hunting dog) โดยค็อกเกอร์ สแปเนียล ถูกจัดเป็นสุนัขนักล่า เป็นสุนัขที่มีความคล่องแคล่วในการล่านก Woodcock ในปี ค.ศ. 1892 สุนัขพันธุ์ค็อกเกอร์ สแปเนียล ได้รับการขึ้นทะเบียนสายพันธุ์เป็นครั้งแรก จัดอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์อิสระ (Independent breed) และในต่อมาได้ถูกนำมาเลี้ยงในสหรัฐอเมริกา ทำให้สุนัขพันธุ์นี้เริ่มเป็นที่รู้จักขึ้น ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 สุนัขพันธุ์ค็อกเกอร์ สแปเนียล ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 (Post World War II) ในปี ค.ศ. 1946 สมาคม The American […]

ร็อตไวเลอร์ (Rottweiler) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ร็อตไวเลอร์ เป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ และเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุด ดั้งเดิมเป็นสุนัขพันธุ์ Molussus ของชนเผ่ากรีกโบราณในอาณาจักร Molossians ในต่อมาชาวโรมันได้นำสุนัขพันธุ์ Molussus เข้ามายังประเทศเยอรมนี (Germany) หลังจากนั้นสุนัขพันธุ์ Molussus ได้ผสมพันธุ์กับสุนัขท้องถิ่น ทำให้เกิดเป็นสุนัขสายพันธุ์ใหม่ขึ้นที่ภาคใต้ของประเทศเยอรมนี (Southern Germany) เป็นช่วงที่ชาวโรมันเริ่มมีการสร้างหมู่บ้านด้วยการปูกระเบื้องหลังคาสีแดงขึ้นทั้งหมู่บ้าน จึงมีชื่อหมู่บ้านว่า das Rote Wil (The red tile) และเป็นแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อสุนัขสายพันธุ์ใหม่ขึ้นเป็นชื่อสุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ ในปีต่อมาคนขายเนื้อ (Butchers) และคนเลี้ยงวัว (Cattlemen) นำสุนัขพันธุ์นี้มาใช้งานเป็นสุนัขลากเกวียน (Drive cattle) ให้ลากของหนัก เช่น เนื้อสด หรือแบกเงินเข้าเมืองแทนวัว เพราะเป็นสุนัขที่แข็งแรง และเดินเร็วกว่าวัว เป็นสาเหตุทำให้สุนัขพันธุ์นี้เกือบสูญพันธุ์ ในปี ค.ศ. 1882 สุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ ได้มีการขึ้นแสดงโชว์สุนัขในประเทศเยอรมนีเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1901 ได้มีการปรับเปลี่ยนการใช้งานให้ลดลงของสุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ และสุนัขพันธุ์ลีออนเบอร์เกอร์ (Leonberger) ในปี ค.ศ. […]

ไอเดียจัดพื้นที่ทำงาน ให้เป็นพื้นที่ใช้งานร่วมกับสัตว์เลี้ยง

จากผลการวิจัย พบว่า การทำงานโดยมีสัตว์เลี้ยงมาอยู่ใกล้ ๆ จะช่วยลดความตึงเครียด เพิ่มอารมณ์ในเชิงบวก สร้างสมาธิ กระตุ้นประสิทธิภาพในการทำงาน แถมยังทำให้เกิดความคล่องแคล่วมากขึ้น พื้นที่ใช้งานร่วมกับสัตว์เลี้ยง วันนี้ บ้านและสวน Pets จึงมีไอเดียการจัดพื้นที่ทำงาน ให้เป็น พื้นที่ใช้งานร่วมกับสัตว์เลี้ยง มาเอาใจกลุ่มคนรักสัตว์เลี้ยง (Co-working space with pet) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยพลังแห่งความน่ารัก (The Power of Kawaii) ของสัตว์เลี้ยงมาฝากกันค่ะ 1.เพิ่มทางเดินให้สัตว์เลี้ยง ถึงแม้ว่าบริเวณโต๊ะทำงานจะเป็นมุมที่ต้องใช้สมาธิมากสักหน่อย แต่ก็บ่อยครั้งที่น้องแมวมักจะเข้ามาป้วนเปี้ยนปีนป่ายอยู่รอบ ๆ หรือ บางครั้งก็มานอนจองที่บริเวณคีย์บอร์ดและหน้าจอ เพื่อป้องกันการกระโดดไปมาและการปัดของตกลงพื้น การทำทางเดินเล็ก ๆ บนผนังบางส่วนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแยกพื้นที่ได้ชัดเจนมากขึ้น หรือ ทำให้น้องแมวมีพื้นที่มุมสูงไว้แอบงีบหลับได้อีกด้วย 2.พักก่อน นอนพักก่อน เวลาทำงาน หรือ นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่เรามักจะใช้เวลาค่อนข้างนาน ส่วนสัตว์เลี้ยงก็มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการงีบหลับ ซึ่งบริเวณใต้โต๊ะ หรือ ที่แคบตามมุมต่าง ๆ มักจะเป็นพื้นที่ที่เหล่าสัตว์เลี้ยงมักจะหนีมาแอบนอนหลับกันเป็นประจำ การทำพื้นที่ใต้โต๊ะให้เป็นพื้นที่ใช้งานร่วมกับสัตว์เลี้ยงจึงเป็นอีกไอเดียหนึ่งที่ช่วยให้เจ้านายกับสัตว์เลี้ยงได้ใช้เวลาใกล้ชิดกันมากขึ้น 3.โต๊ะอาหารในช่องลับ สำหรับสัตว์เลี้ยงควรมีชามอาหารและน้ำดื่มตั้งเตรียมไว้ให้พร้อม […]

โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (Gastric Dilatation and Volvulus : GDV)

Gastric Dilatation and Volvulus (GDV) หรือ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน จัดเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตต้องได้รับการรักษาในทันที โดยมักจะเกิดขึ้น ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง หลังจากการกินอาหารเข้าไปเป็นปริมาณมากใน 1 มื้อ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน คือ การที่กระเพาะอาหาร (Stomach) มีการขยายตัวคล้ายลูกโป่ง หรือเรียกว่า “Bloat” หรือ  Gastric Dilatation จากการมีปริมาณแก๊ส น้ำ และอาหารที่สัตว์กินสะสมอยู่มากกว่าปกติ และถ้าเกิดการบิดหมุนของกระเพาะอาหารที่มีอาหารและแก๊สขึ้น จะก่อให้เกิด โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (GDV)  ซึ่งสามารถเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือการระบายแก๊สออกจากกระเพาะอาหาร ซึ่งจะมีขั้นตอนกระบวนการนำแก๊สออกจากกระเพราะอาหารได้หลายวิธี เพราะในขณะที่กระเพาะอาหารเริ่มมีการพองขยายใหญ่ แรงดันในกระเพาะอาหารจะเริ่มสูงขึ้น และเมื่อกระเพาะอาหารมีการขยายตัวมากขึ้นและบิดหมุนไปมาภายในช่องท้อง เรียกว่า “Volvulus” โดยการบิดหมุนของกระเพาะอาหารบางส่วนจะมีทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งสามารถเกิดการบิดตัวของกระเพาะอาหารได้ตั้งแต่ 180-360 องศา การบิดส่วนใหญ่จะเป็นแบบ 180 องศาตามเข็มนาฬิกา การขยายตัวและบิดทำให้ไปกดเส้นเลือดหลักที่เดินทางเข้าสู่หัวใจ ทำให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ เลือดบริเวณช่องท้องไหลกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง การไหลเวียนของเลือดบริเวณช่องท้องลดลง […]

ชิบะ อินุ (Shiba Inu) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ชิบะ อินุ (柴犬 : Shiba Inu) เป็นสายพันธุ์สุนัขที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาสายพันธุ์ดั้งเดิมของญี่ปุ่นทั้ง 6 สายพันธุ์ มีความคล่องแคล่วว่องไวซึ่งเข้ากับภูมิประเทศที่เป็นภูเขาได้เป็นอย่างดี แต่เดิมชิบะอินุถูกพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้เหมาะกับการล่าสัตว์ โดยมีลักษณะที่คล้ายกับสุนัขพันธุ์อาคิตะ (Akita) แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า และเป็นหนึ่งในสุนัขสายพันธุ์เก่าแก่ไม่กี่สายพันธุ์ที่อยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้ ที่มาของชื่อ “อินุ” เป็นคำภาษาญี่ปุ่น แปลว่า สุนัข แต่ที่มาของคำว่า “ชิบะ” ที่เติมไว้ข้างหน้านั้นมีที่มาไม่ชัดเจน คำว่า ชิบะ หมายถึง “พุ่มไม้” ในภาษาญี่ปุ่นและหมายถึงชนิดของต้นไม้หรือไม้พุ่มที่ใบไม้เปลี่ยนสีเป็นสีแดงในฤดูใบไม้ร่วง จึงทำให้บางคนเชื่อว่าชิบะได้รับการตั้งชื่อตามความคิดเหล่านี้ ไม่ว่าจะเนื่องมาจากการเป็นสุนัขล่าสัตว์ที่ซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้หรือเพราะสีที่พบมากที่สุดของชิบะอินุมีสีแดงคล้ายกับพุ่มไม้ อย่างไรก็ตามในภาษาท้องถิ่นนากาโนะคำว่า ชิบะ ก็สามารถแปลว่า “เล็ก” ได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าสุนัขมีขนาดตัวที่เล็กจึงทำให้คำว่า ชิบะอินุ บางครั้งก็ถูกแปลความหมายว่าเป็น “สุนัขพุ่มไม้ตัวน้อย” ลักษณะทางกายภาพ ชิบะเป็นสุนัขรูปร่างกะทัดรัด มีกล้ามเนื้อที่ได้รับการพัฒนามาอย่างดี โดยเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เพศผู้สูงประมาณ 14 นิ้วครึ่งถึง 16 นิ้วครึ่ง (35–43 ซม.) โดยวัดจากส่วนที่สูงที่สุดของหลัง เพศเมียสูงประมาณ 13 นิ้วครึ่งถึง […]

เฟรนช์ บูลด็อก (French bulldog) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ French bulldog (เฟรนช์ บูลด็อก) เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก ต้นกำเนิดมาจากการผสมพันธุ์ของ English bulldog กับ Boston Terriers โดยการตั้งชื่อพันธุ์คำว่า French หมายถึงประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นแหล่งกำเนิดของเฟรนช์ บูลด็อกแต่เนื่องจากคนในสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ มักนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์เฟรนช์ บูลด็อกทำให้ในต่อมาถูกนิมยมเรียกสุนัขพันธุ์ เฟรนช์ บูลด็อกเป็น Frenchie (เฟรนช์ชี่) และมีชื่อเล่น คือ Clown dogs เพราะมีความขี้เล่นคล้ายตัวตลก หรือ Frog dogs เพราะตอนนั่งขาหลังของสุนัขจะกางออก   ลักษณะทางกายภาพ เฟรนช์ บูลด็อก เป็นสุนัขเนื้อแน่น มีความตื่นตัวอยู่เสมอแต่ไม่ใช่เพื่อการกีฬา จัดเป็นสุนัขที่มีกล้ามเนื้อเยอะ ขนปกคลุมตัวน้อย จมูกสั้น และกระดูกหนา ซึ่งลักษณะที่สังเกตได้ง่ายคือการมีหูแบบค้างคาว เพราะหูของเฟรนช์ บูลด็อกจะมีฐานหูกว้าง และใบหูใหญ่ หางสั้น พบลักษณะตรงหรือบิดเป็นเกลียว แต่จะไม่พบลักษณะหางงอภายใต้สมาคม The American Kennel Club (AKC) […]

โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ (Portosystemic shunts : PSS)

กายวิภาคปกติคือ เส้นเลือดดำ portal (portal vascular system) ซึ่งรับเลือดจากทางเดินอาหาร เช่น ม้าม ตับอ่อน และระบบทางเดินอาหาร ทั้งหมดจะมุ่งหน้าเข้าสู่ตับ เพื่อให้ตับทำหน้าที่ในการเผาผลาญสารอาหาร (Metabolize) และกำจัดสารพิษ (Detoxify) ก่อนจะระบายเลือดสู่เส้นเดือดดำ hepatic (hepatic vein) ซึ่งจะต่อกับเส้นเลือดดำ vena cava (รูปที่ 1 A) แต่หากเกิดการลัดเส้นทางเดินของหลอดเลือดจากทางเดินอาหารเข้าตับ จะทำให้ตับขาดการพัฒนาตัวตับเอง เป็นผลทำให้เกิดตับล้มเหลว (Failure of the liver) หรือเกิดตับฝ่อ (Hepatic atrophy) ซึ่งการเกิดตับฝ่อ คือการที่ตับไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนปกติ ความผิดปกตินี้ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ, โปรตีน, และสารอาหารที่ถูกดูดซึม จากลำไส้เข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดภายในร่างกายทันที หากมีการสะสมมากขึ้น จะก่อตัวเป็นสารพิษนำไปสู่การเกิดโรคสมองจากตับได้ (Hepatic encephalopathy) ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นที่ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ Portosystemic shunt (PSS) […]