บทความโดย บ้านและสวน - Page 125 of 127

ตีกรอบ

สวนสไตล์โมเดิร์นมักเป็นตัวเลือกต้นๆสำหรับผู้ต้องการจัดสวนแต่มีเวลาไม่มากนัก ด้วยรูปแบบที่ตอบโจทย์หลายด้าน ทั้งการใช้พรรณไม้น้อยชนิดดูแลง่าย การนำฮาร์ดสเคปเข้ามาเป็นองค์ประกอบหลัก

สมหวังดังใจ

“อยู่บ้านหลังนี้มานานหลายปีแล้วครับ หลังน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา ผมตั้งใจปรับปรุงบ้านใหม่ ก็คิดจะปรับปรุงสวนไปพร้อมกันเลย สวนเดิมเป็นสวนบาหลี

ร่วมสมัย เรียบง่าย ได้ใจ

กระแสวัฒนธรรมต่างถิ่นและความเจริญที่เริ่มหลั่งไหลเข้ามายังประเทศพม่า ทำให้ความเงียบสงบและชีวิตช้าๆเริ่มหมุนเร็วขึ้น

ซ่อนฮวงจุ้ยในบ้านสวนขนาดเล็ก

สวนแห่งนี้จึงไม่ใช่เพียงแค่องค์ประกอบที่ประดับให้บ้านดูสวยงาม แต่เป็นสถานที่ที่ทุกคนในบ้านจะมาเดินเล่นและทำกิจกรรมร่วมกัน

สวน “HARMONY OF DIFFERENT TONES”สวนผสมของสิ่งที่แตกต่าง

          ในอดีตเรามักมองว่า “สวน” มีข้อจำกัดในการออกไปใช้งาน บ้างก็มองว่าสวนเป็นสิ่งสวยงาม จัดสวนเพียงเพื่อไว้ชื่นชมอย่างเดียว จนทำให้สวนเป็น“พื้นที่นอกบ้าน” ที่แบ่งแยกออกจาก “พื้นที่ในบ้าน” อย่างชัดเจน แต่วันนี้มุมมองการจัดสวนเริ่มเปลี่ยนไป ทุกคนคิดถึงสวนเสมือนเป็นห้องอีกห้องหนึ่งของบ้าน  และพยายามจัดสวนให้ต่อเนื่องกับพื้นที่ใช้สอยที่อยู่ภายในบ้าน สวนโชว์นี้จึงนำเสนอแนวคิดการจัดสวนที่แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ภายนอกหรือสวนกับพื้นที่ภายในบ้านต่างก็มีความหมายต่อการใช้ชีวิตของเราไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เราสามารถจัดทั้งสองส่วนนี้ให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ ห้องต่างๆ ภายในบ้านมีการให้คำจำกัดความใหม่ เพื่อต้องการสื่อให้เห็นว่า ไม่ว่าจะจัดสวนให้เป็นห้องอีกห้องของบ้าน หรือจัดห้องในบ้านให้เป็นสวน ก็ล้วนแต่สามารถทำได้ทั้งสิ้น               นอกจากนัยในความหมาย “HARMONY OF DIFFERENT TONES” แล้ว สวนโชว์นี้ยังนำเสนอรูปแบบการจัดสวนจากวัสดุเหลือใช้ หรือวัสดุเหลือทิ้งที่ไม่มีใครให้ความสำคัญ นำมาดัดแปลงเป็นองค์ประกอบตกแต่งสวนให้มีบรรยากาศสวยงาม เป็นแนวคิดที่เข้ากับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนเมืองทั้งหลายที่กำลังมองหาไอเดีย “พอเพียง” มาหยิบใส่ให้สวนที่บ้านของตน สายสุนีย์,วรัปศร ชัยพฤกษ์, สิทธิศักดิ์

สวนในฝัน

          คนรักธรรมชาติทุกคนย่อมมีสวนในฝัน เช่นเดียวกับ คุณสันติพงษ์คงรักษ์ และเขายังมีความสามารถสรรค์สร้างฝันให้กลายเป็นจริง ดังภาพที่เราเห็นตรงหน้านี้ เจ้าของบ้านเป็นผู้ออกแบบจัดสวนและลงมือทำ จนเกิดเป็นสวนป่ากลิ่นอายฝรั่งเศสโอบล้อมบ้านในพื้นที่กว่า 50 ตารางวาตามสไตล์ที่ชื่นชอบ           ด้วยพื้นฐานการร่ำเรียนมาทางศิลปะประกอบกับพรสวรรค์ทางด้านนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย คุณสันติพงษ์เคยทำงานที่นิตยสารแพรวในตำแหน่งครีเอทีฟไดเร็คเตอร์ สไตลิสต์ และนักเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับบ้าน เจ้าของคอลัมน์ “101 Ideas” ที่เน้นการออกแบบจัดดอกไม้ นอกจากนี้ก็ยังมีผลงานในนิตยสาร room, WE และ InStyle ปัจจุบันเขาเป็นออร์แกไนเซอร์งานอีเว้นต์ต่างๆ เวดดิ้งแพลนเนอร์ รับจัดอาหารนอกสถานที่ และรับออกแบบจัดสวน ขณะเดียวกันก็ไม่ทิ้งงานหลัก นั่นคือการตกแต่งสถานที่ด้วยดอกไม้ เราจึงเห็นเขาจัดดอกไม้ในงานฉลองประจำปีที่ห้างเซ็นทรัลชิดลม เสมอ           คุณสันติพงษ์เริ่มต้นเล่าถึงสวนของเขาว่า “บ้านหลังนี้อยู่ในหมู่บ้านจัดสรร มีพื้นที่ไม่มากนักสำหรับสวน ข้างตัวบ้านด้านหน้ามีที่จอดรถได้คันหนึ่ง และมีลานเล็กต่อเนื่องกับประตูใหญ่ซึ่งใช้จอดรถได้อีกคัน ผมมีโครงเหล็กของศาลาที่เคยใช้ในงานจัดดอกไม้ตกแต่งสถานที่ เลยมาลงตัวที่ลานนี้ โดยวางคลุมแล้วปลูกไม้เลื้อยและแขวนไม้ที่มีเถาห้อยย้อย โดยเฉพาะมอสส์สเปน กำจัดความร้อนของลานคอนกรีตและได้ใช้พื้นที่ส่วนล่าง”       […]

ความสุขที่แท้จริง

          ผมมีโอกาสได้อ่านเรื่อง “101 Things to Do Before You Die” เป็นหนังสือแนะนำ 101 สิ่งควรทำก่อนที่คุณจะตาย (ประมาณว่าเกิดมาทั้งทีคุณจะพลาดกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นเหล่านี้ได้อย่างไร) พออ่านจบแล้วก็รู้สึกว่าหากมีใครสักคนทำสิ่งเหล่านี้มาหมดแล้ว คงจะเป็นคนที่น่าอิจฉาที่สุด หรือไม่ก็เป็นคนที่น่าสงสารที่สุดในโลก เพราะบางอย่างที่ในหนังสือนี้แนะนำเป็นสิ่งที่เราไม่คิดว่าจะต้องทำหรือไม่คิดจะทำเลยด้วยซ้ำ เช่น การสัก หรือการกระโดดบันจี้จั๊มป์           ทว่าเมื่อลองมานั่งคิดดูดีๆ บางครั้งสิ่งที่เราอยากทำและยังไม่ได้ทำในชีวิตนี้อาจมีไม่มากถึง 101 สิ่งอย่างที่หนังสือว่ามาก็ได้ บางทีสิ่งที่เราต้องการจะทำอาจเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ สักอย่างหรือสองอย่างที่คนอื่นมองไม่เห็นความสำคัญ แต่นั่นละ ใครจะไปรู้ความต้องการของเราดีเท่ากับตัวเราเองล่ะ           คุณแอนเดรีย – กุลกนิษฐ์ ทังสุนันทน์ ก็เป็นผู้หนึ่งที่เคยคิดทบทวนว่าในชีวิตนี้เธออยากทำอะไรบ้าง และหนึ่งสิ่งจากหลายสิ่งก็คือ การมีบ้านพักหลังเล็กๆ ที่แสนอบอุ่นท่ามกลางหุบเขา ซึ่งเธอก็ไม่รีรอที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ           “โวคบัลลังก์เมฆ” คือชื่ออาณาจักรแห่งความสุขของคุณแอนเดรียตั้งอยู่ที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา […]

9 หลักการออกแบบบ้านแบบ โฮมออฟฟิศ

ปัจจุบันอาคารประเภทโฮมออฟฟิศได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะคนเราต้องการใช้พื้นที่ให้คุ้มค่าและประหยัดเวลาในการเดินทางไปทำงาน ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานประเภทออฟฟิศนั่งโต๊ะ

อาหารเช้าสไตล์พล ตัณฑเสถียร

ไหนๆฉบับนี้เราก็ไปเก็บภาพบ้านกึ่งสตูดิโอกึ่งออฟฟิศของเซเลปเชฟอย่างคุณพล ตัณฑเสถียรกันแล้ว จะไม่ให้โชว์ฝีมือ

คอนโดมิเนียม ที่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้าน

ผังห้อง คอนโดมิเนียม โครงการนี้ออกแบบให้มีหน้ากว้าง ดังนั้นทุกห้องจึงสามารถเปิดหน้าต่างออกเห็นวิวกรุงเทพฯฝั่งธนบุรีได้อย่างเต็มตา เมื่อบวกกับการออกแบบ

สว่างใสเพราะ เปิดรับแสง

          ด้วยรูปทรงของตัวบ้านที่ค่อนข้างยาว อีกทั้งยังตั้งอยู่บนไหล่เขา อันจะทำให้มุมมองส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่าตัวบ้านเกือบทุกด้าน พลอยทำให้เกิดภาพในลักษณะที่ว่าบ้านหลังนี้ดูมีขนาดใหญ่กว่าความเป็นจริง           รูปแปลนของบ้านหลังนี้ดูคล้ายกับตัวที ( T ) จัดวางในตำแหน่งตามแนวตะวัน ซึ่งน่าจะได้รับความร้อนของแสงแดดโดยตรง แต่เนื่องจากด้านหลังของบ้านเป็นพื้นที่เอียงชันและมีไม้ยืนต้นมากพอสมควร จึงมีส่วนช่วยกรองแสงแดดไม่ให้ส่องตรงเข้าสู่ตัวบ้านมากเกินไป ทั้งยังทำให้บ้านเย็นสบายตลอดทั้งวันอีกด้วย นอกจากนี้ ด้านหน้าของบ้านสามารถมองเห็นแนวภูเขาสูงตระหง่านเกือบรอบ ภูมิประเทศจึงมีส่วนในการกำหนดการวางผังตัวบ้านด้วยเช่นกัน เพราะมีภาพที่งดงามตั้งอยู่เบื้องหน้า เอื้ออำนวยให้ออกแบบบ้านในแนวยาวได้อย่างเหมาะเจาะ เมื่อจัดวางห้องต่างๆเรียงยาวต่อเนื่องกัน ทุกห้องจึงสามารถเปิดรับมุมมองสวยๆ ได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน            ตัวบ้านออกแบบในสไตล์โมเดิร์น มองเห็นเส้นตั้งและเส้นนอนอย่างชัดเจน หลังคามีลักษณะแบนราบ และเกือบครึ่งหนึ่งของตัวบ้านวางอยู่บนเนิน ซึ่งก็คือส่วนแรกของบ้านที่ประกอบด้วยส่วนรับแขกและส่วนรับประทานอาหาร บริเวณประตูทางเข้าหลักจะอยู่บนเนินพอดี ส่วนอีกกว่าครึ่งหนึ่งของบ้านมีลักษณะเป็นสองชั้น ชั้นล่างเป็นพื้นที่ของห้องครัว ห้องเก็บของ ส่วนชั้นบนเป็นห้องนอนมี 3 ห้องเรียงต่อกัน ยกเว้นห้องนอนใหญ่จะยื่นออกมาจากตัวบ้าน มีใต้ถุนเปิดโล่ง (ใช้เป็นที่จอดรถได้) ลักษณะคล้ายสะพาน           ภายในบ้านตกแต่งสไตล์อเมริกันคลาสสิกแบบโมเดิร์น […]

เรือนไทยใต้ถุนสูง ผสมผสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นกับความสบายได้อย่างลงตัว

เรือนไทยใต้ถุนสูง หลังนี้นำแนวคิดดังกล่าวมาเป็น แนวทางในการออกแบบที่สร้างภาวะน่าสบายควบคู่ไปกับการผสมผสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นได้อย่างลงตัว