PM 2.5 กับการแก้ปัญหาภายในบ้าน : อยู่บ้าน Vs อยู่คอนโด แบบไหนเสี่ยงมากกว่า
ฝุ่น pm2.5

PM 2.5 กับการแก้ปัญหาภายในบ้าน : อยู่บ้าน Vs อยู่คอนโด แบบไหนเสี่ยงมากกว่า

เป็นที่น่าสงสัย ระหว่างการอาศัยอยู่บ้านเดี่ยวที่สูงเพียง 2 ชั้น กับการอาศัยอยู่บนห้องชุดหรือคอนโดมิเนียมที่มีความสูงมากกว่านั้น แบบไหนมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญฝุ่น PM 2.5 มากกว่ากัน

จากการวัดคุณภาพอากาศของหอคอย KU Tower คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ซึ่งวัดที่ความสูง 5 ระดับ คือ 10 เมตร  30 เมตร  50 เมตร 75 เมตร และ 110 เมตร โดยข้อมูลวันที่ 30 – 31 มกราคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่าความสูงประมาณ 30 เมตรขึ้นไป มีฝุ่นหนาแน่นมากกว่าระดับพื้นดิน โดยเฉพาะในช่วงค่ำถึงเช้า 19.00  – 7.00 น. จึงมีความเป็นไปได้ที่คนที่อยู่บนอาคารสูงประมาณชั้น 8-10 ขึ้นไปจะเสี่ยงกับฝุ่น PM 2.5 มากกว่าคนที่อยู่ชั้นล่างและบ้านบนพื้นดิน แต่ปรากฏการณ์ที่ฝุ่นจับตัวหนาแน่นในชั้นบรรยากาศระดับสูงเป็นสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่บ่อย และไม่ได้เกิดขึ้นตลอดวัน จึงไม่จำเป็นต้องกังวลเกินไป

ฝุ่น pm2.5
กราฟแสดงปริมาณฝุ่น pm 2.5 ที่ตรวจพบ
pm2.5
ระยะความสูงที่ตรวจจับความหนาแน่นของฝุ่น

ทั้งนี้อาจารย์ศักดา ประสานไทย เคยทำการทดลองวัดปริมาณฝุ่นในห้องฝุ่นคอนโดมิเนียมและให้ความเห็นว่า เนื่องจากเป็นบ้านพักอาศัยและห้องพักอาศัยในคอนโดมิเนียมไม่มีระบบเติมอากาศจากภายนอกเหมือนอาคารสาธารณะ แต่มักใช้การรั่วของอากาศตามช่องประตูหน้าต่าง หรือการเปิดประตูหน้าต่างในการใช้งานปกติช่วยนำอากาศใหม่เข้ามาเติมในห้องเพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งก็เป็นจุดที่ฝุ่นอันตรายไหลเข้ามาในบ้านได้ แต่อากาศภายในบ้านนิ่งกว่านอกบ้าน ทำให้ฝุ่นที่หลงเข้ามาตกลงบนพื้นได้เร็วด้วยเช่นกัน

ฉะนั้น หากอาศัยอยู่บนคอนโดมิเนียม หรืออาคารสูง วิธีหลีกเลี่ยงฝุ่น PM 2.5 ที่รวดเร็วและเห็นผลดีคือการเลือกใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีคุณภาพสามารถตรวจจับอนุภาคขนาดเล็กได้ และหลีกเลี่ยงการเปิดประตูหน้าต่างโดยไม่จำเป็น

 


10 วิธีดูแลตัวเองและเตรียมรับมือ สำหรับสถานการณ์ ฝุ่นละออง PM 2.5

7 ข้อสรุปเรื่องฝุ่น PM 2.5 จาก 2 เวทีเสวนาจากต้นเหตุสู่หนทางแก้ปัญหา

PM 2.5 กับการแก้ปัญหาในบ้าน : วิธีเลือกเครื่องฟอกอากาศ