[ARCHIVOCAB] คาน ตง โครงสร้างที่ใช้รับน้ำหนักในงานสถาปัตยกรรม
คาน ตง

[ARCHIVOCAB] คาน – ตง โครงสร้างที่ใช้รับน้ำหนักในงานสถาปัตยกรรม

คาน ตง โครงสร้างที่ใช้รับน้ำหนักในงานสถาปัตยกรรมคืออะไร ส่วนไหนเรียกว่าตง ส่วนไหนเรียกว่าคาน เรามีคำตอบให้คลายความสงสัย คาน ตง คืออะไร

คาน (BEAM) คือ โครงสร้างที่ใช้รับน้ำหนักของบ้านแล้วถ่ายลงไปยังเสาอีกทีหนึ่ง สังเกตง่าย ๆ คือส่วนโครงสร้างที่อยู่ติดกับเสา คาน มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งคานไม้ คานคอนกรีต และคานเหล็ก ซึ่งคานเหล่านี้จะรัดรอบบ้าน และเชื่อมเสาทั้งหมดเข้าด้วยกัน คาน ตง คืออะไร

ตามมาตรฐานความลึกของคานจะมีขนาด 1 ใน 10 ของระยะช่วงเสา (Span) เช่น ถ้าระยะช่วงเสาคือ 4.00 เมตร คานจะมีความลึก 0.40 เมตร แต่ในปัจจุบันมีเทคนิคทางวิศวกรรมากมายที่ช่วยให้ออกแบบคานได้เล็กลง บางลงเพื่อความสวยงามแต่
ยังสามารถรับแรงได้ตามมาตรฐาน

ตง (JOIST) คือ โครงสร้างที่ใช้รับน้ำหนักพื้น สังเกตง่าย ๆ คือส่วนที่วางอยู่บนคาน หรือเชื่อมต่อกับคาน แบ่งเป็นตงไม้ และ ตงเหล็ก แต่สำหรับโครงสร้างคอนกรีตอาจไม่ต้องมีตง สามารถวางทับด้วยแผ่นพื้นสำเร็จรูปหรือเทคอนกรีตในที่เลยก็ได้

ระยะห่างในการวางตงนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดและวัสดุที่นำมาปูพื้น โดยปกติมีระยะอยู่ที่ 0.40-0.50 เมตร หากใช้วัสดุปูพื้นที่มีหน้าแคบควรตีตงถี่ หากหน้ากว้างสามารถตีตงห่างขึ้น เพื่อความมั่นคงแข็งแรง

ภาพปกจาก : YARDEN YENAKART │ AKART BISTRO & BAR │ COFFEE CRAFTSMAN
เจ้าของ : คุณเก๋ – ญาณี องค์วัฒนกุล และ คุณต้า – ศักดา บุญกิตติพร
ออกแบบ : คุณหนุ่ม – รังสรรค์ นราธัศจรรย์

อ่านต่อ : YARDEN YENAKART


คาน ตง บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน
ภาพจาก : THE TREASURE CHAMBER บ้าน . ช่างภาพ . นักสะสม
เจ้าของและออกแบบ : คุณณัฐพล วุฒิเพ็ชร์

คานเหล็ก ตงไม้ บ้านไทย

ภาพจาก : MODERN TROPICAL HOUSE – บ้านภูภัทรา
เจ้าของ : คุณนิรมล –นพ.วีระศักดิ์ ว่องไพฑูรย์
ออกแบบ : Spacetime Architects

อ่านต่อ : บ้านภูภัทรา


คาน ตง
ภาพจาก : Once Again Hostel
เจ้าของและออกแบบ : คุณมิก-ภัททกร ธนสารอักษร

อ่านต่อ : Once Again Hostel 

คาน ตง ตงไม้ คานเหล็ก
ภาพจาก : CAFÉ NOW BY PROPAGANDA
เจ้าของและออกแบบ : คุณสาธิต กาลวันตวานิช

อ่านต่อ : CAFÉ NOW BY PROPAGANDA 

คาน ตง ตกแต่งคาน


อ่านต่อ : baanlaesuan.com