ต้นบุหงาลลิษา ไม้ดอกหอมชนิดใหม่ของโลก - บ้านและสวน

ต้นบุหงาลลิษา ไม้หอมชนิดใหม่ของโลก

ต้นบุหงาลลิษา นักวิจัย มช. พบพืชดอกหอมชนิดใหม่จากจังหวัดนราธิวาส ตั้งชื่อจาก ลิซ่า Blackpink ศิลปินคนไทยซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของนักศึกษา ป.เอก ที่ร่วมทีมวิจัย

ต้นบุหงาลลิษา
ดอกบุหงาลลิษา

ต้นบุหงาลลิษา ที่นักวิจัยสังกัดภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผศ. ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู น.ส.อานิสรา ดำทองดี นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์ และนายอับดุลรอแม บากา นักวิจัยสังกัดกลุ่มวิจัยอิสระ PDiT : Plant Diversity in Thailand พร้อมผู้ร่วมวิจัยอีกหลายคน ร่วมกันศึกษาตัวอย่างพืชดอกหอมวงศ์กระดังงา (Annonaceae) ใน จ.นราธิวาสบุหงาลลิษานักวิจัยสังกัดภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผศ. ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู น.ส.อานิสรา ดำทองดี นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์ และนายอับดุลรอแม บากา นักวิจัยสังกัดกลุ่มวิจัยอิสระ PDiT : Plant Diversity in Thailand พร้อมผู้ร่วมวิจัยอีกหลายคน ร่วมกันศึกษาตัวอย่างพืชดอกหอมวงศ์กระดังงา (Annonaceae) ใน จ.นราธิวาส

พบว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกจำนวน 1 ชนิด คือ บุหงาลลิษา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Friesodielsia lalisae Damth., Baka & Chaowasku โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ ลลิษา มโนบาล หรือลิซ่า ศิลปินชื่อดังชาวไทยวง Blackpink ซึ่งความมุ่งมั่นของลิซ่านั้นเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาระดับปริญญาเอกของ น.ส.อานิสรา

“บุหงาลลิษา” มีลักษณะเด่น คือ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีกลิ่นหอมแรง กลีบดอกหนา สีเหลือง กลีบชั้นนอกเรียวยาว กลีบชั้นในประกบกันไม่บานออก มีความยาวประมาณครึ่งหนึ่งของกลีบชั้นนอก

ผศ. ดร.ธนวัฒน์กล่าวว่า จากการสำรวจพบบุหงาลลิษาเพียง 2 ต้นในป่าทุติยภูมิใกล้สวนยางและสวนผลไม้ในอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ถูกตัดไป 1 ต้น ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องช่วยกันอนุรักษ์และขยายพันธุ์บุหงาลลิษา ก่อนที่จะเหลือเพียงชื่อ “บุหงาลลิษาสามารถพัฒนาเป็นไม้ดอกหอมเพื่อเลื้อยพันซุ้มได้ และควรศึกษาต่อยอดเพื่อหาสารสำคัญและฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่อาจนำไปสู่การค้นพบยาใหม่ ๆ ต่อไปในอนาคต”

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยอนุกรมวิธานและวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของพรรณไม้วงศ์กระดังงาในประเทศไทยที่หายากและยังไม่เป็นที่รู้จัก เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)


บทความที่เกี่ยวข้อง

พรรณไม้ดอกหอมที่หายาก

20 ต้นไม้ฟอกอากาศ ปลูกในบ้านก็ได้ ตกแต่งออฟฟิศก็สวย