วิธีปลูกเลี้ยงบอนไซและต้นไม้จิ๋วง่ายๆ เป็นงานอดิเรก - บ้านและสวน

วิธีปลูกเลี้ยงบอนไซและต้นไม้จิ๋วง่ายๆ เป็นงานอดิเรก

ต้นไม้จิ๋ว คือต้นไม้ที่มีการปลูกเลี้ยงในพื้นที่จำกัดให้มีขนาดย่อส่วนลงมา ในญี่ปุ่นนิยมเรียกไม้กระถางที่ปลูกแบบจำกัดขนาดทั้งหมดว่าบอนไซ ขณะที่บอนไซที่เราคุ้นเคยมักจะเป็นไม้ใหญ่ที่ปลูกเลี้ยงให้มีขนาดย่อส่วน

 

สำหรับ ต้นไม้จิ๋ว หรือบอนไซจิ๋วนั้นมีขนาดเล็กกว่าบอนไซที่ปลูกเลี้ยงกันทั่วไป มีขนาดความสูงตั้งแต่ 3-10 เซนติเมตร ปลูกเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็ก  เรามีโอกาสไปเยี่ยมเนิร์สเซอรี่ไม้จิ๋วของ อาจารย์ยุพดี (บัวขำ) เลื่อนฉวี ซึ่งปลูกเลี้ยงไม้จิ๋วเป็นงานอดิเรกมาร่วม 30 ปี ลองนำเทคนิคการเลือกต้นไม้และการปลูกเลี้ยงจากอาจารย์น้อยไปทำเป็นงานอดิเรกกันดู นอกจากจะสนุกสนานเพลิดเพลินแล้วยังสามารถสร้างรายได้เสริมได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

ต้นไม้จิ๋ว

อาจารย์ยุพดี (บัวขำ) เลื่อนฉวี สถาปนิกและนักจัดสวนผู้ปลูกเลี้ยงไม้จิ๋วเป็นงานอดิเรกมาร่วม 30 ปี

เริ่มแรกเราชอบต้นไม้เล็ก ๆ อยู่แล้ว เห็นว่าเมืองไทยไม่ค่อยมีใครเล่นเลยหันมาทำ และเตรียมไว้ใช้เวลาจัดสวนถาดด้วย ถ้าบอนไซใหญ่ ๆ แบบที่พวกผู้ชายเล่นกันเรายกไม่ไหว แต่ไม้เล็ก ๆ ไม่ต้องพึ่งคนมาช่วยยก สามารถทำเองได้ อาจารย์อยากให้คนหันมาเล่นกันเพราะมันเป็นไม้สำหรับผู้หญิง ไม่ต้องออกแรงมาก มีโต๊ะตัวเดียวก็วางได้ 50-60 ต้น”

ต้นไม้จิ๋ว
ภายในเนิร์สเซอรี่ไม้จิ๋วของอาจารย์น้อย มีแค่โต๊ะเล็กๆก็สามารถวางไม้จิ๋วได้จำนวนมาก ทั้งยังยกย้ายได้ง่ายด้วยตัวเอง

ต้นไม้จิ๋ว ต้นไม้จิ๋ว

เลือกต้นไม้มาทำไม้จิ๋ว

“ต้นอะไรก็ได้ที่ฟอร์มสวย พิจารณาจากขนาดของใบว่ามีสเกลเล็ก ไม้ที่ใช้ได้ดี เช่น ชาปัตตาเวีย ชาฮกเกี้ยน ไทรแคระ โมกแคระ เพรมน่า มะนาวเทศ ลิ้นมังกร ปริกน้ำค้าง หลิวใบ ข้าวตอกพระร่วง ชวนชม ไกร เข็มโบ เล็บครุฑฝอย เล็บครุฑใบผักชี เชอร์รี่แคระหรือยี่เข่งแคระ ไทรแคระ หมากผู้หมากเมีย มุจลินทร์ วาสนาแคระ สับปะรดสี เลือกชนิดที่ใบเล็กโดยธรรมชาติ และมีดอก  ต้นที่ใบใหญ่มาทำจะย่อส่วนลงมายาก เรียกว่า “รีดไม่ลง” คือทำใบให้เล็กลงไม่ได้ และเลือกที่ไม่ใช่ไม้ล้มลุก หลักการเลี้ยงไม้จิ๋ว คือ การจำกัดอาหาร จำกัดดินเพื่อให้ต้นแคระแกร็น พยายามให้ต้นไม้กินน้อย ๆ เพราะฉะนั้นดินต้องน้อย กระถางต้องเล็ก แต่ไม้บางอย่าง แม้ไม่มีดินเลยก็โตได้ เช่น ไทรบางชนิด”

นำไม้จิ๋วหลายชนิดมาจัดรวมกันในกระถางเป็นสวนถาดจจิ๋วขนาดน่ารัก

อ่านต่อวิธีการขยายพันธ์ุ