8 อาคารที่มีการออกแบบ ฟาซาด façade โดดเด่น ชวนสะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น
ถ้าหากหน้าต่างอาคารเปรียบเสมือนดวงตา ฟาซาด (façade) หรือ “Face of a Building” ที่หมายถึงเปลือกอาคาร ซึ่งทำหน้าที่กรุผิว หรือคอยห่อหุ้มปิดผิวภายนอก คงเปรียบได้กับใบหน้า (หรือหน้ากาก) อันเป็นด่านแรกที่ชวนให้อาคารน่ามอง โดดเด่น และเป็นที่พูดถึง
room รวมเอา 8 อาคารที่มีการออกแบบ façade โดดเด่น ชวนสะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น และเต็มเปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจ สำหรับผู้ที่มองหาไอเดียสดใหม่เพื่อนำไปประยุกต์ใช้อย่างถูกวิธี
อ่านต่อ ความหมายของคำว่า ฟาซาด: [ARCHIVOCAB] – FAÇADE
เจ้าของ คุณโตโต้ – เปรมนนทร์ เลิศพรเจริญ
ออกแบบสถาปัตยกรรม Hypothesis
ภาพ ศุภกร
อ่านต่อ: IR-ON Hotel
Bed One Block
จากสภาพเดิมของโฮสเทล Bed One Block ที่มีลักษณะภายนอกเช่นเดียวกับตึกแถวเก่าที่อยู่ข้างเคียง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้อาคารขนาดพื้นที่เพียง 1 คูหา กว้าง 4 เมตร ซึ่งมาพร้อมคอนเซ็ปต์ใหม่จากเจ้าของอาคาร ที่ต้องการอาคารตอบโจทย์ต่างไปจากเดิมให้เกิดการน่าจดจำ
สถาปนิก ‘A Millimetre’ จึงได้ทำฟาซาดจากโครงสร้างเหล็กสีขาวสะอาดตาชวนมอง ซึ่งเป็นลูกเล่นที่เกิดจากการทดลองใช้วัสดุ และเป็นวิธีการเดียวกันกับการออกแบบฟาซาดให้กับ Bed Station Hostel โฮสเทลหลังเดิมของเจ้าของโครงการซึ่งตั้งอยู่ในซอยเดียวกันเพียงไม่กี่ก้าว
ออกแบบสถาปัตยกรรม A MILLIMETRE
ออกแบบกราฟิก Studio Dialogue
ภาพ ศุภกร, Jirayu Rattanawong
อ่านต่อ: BED ONE BLOCK HOSTEL
MAIIAM Contemporary Art Museum
ฟาซาดกระจกยาวตลอดแนวด้านหน้า ทั้งโดดเด่นสะดุดตา และยังสะท้อนเงาของธรรมชาติที่อยู่รอบๆ จนกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันที่ MAIIAM Contemporary Art Museum เกิดจากความพยายามของสถาปนิกจาก all(zone) ในการคิดหาวัสดุกรุผนังส่วนหน้า บนโจทย์ที่ว่าต้องสะดุดตา แต่ไม่ให้แปลกประหลาดจนเกินไป
เมื่อเริ่มลงมือรีเสิร์ชหาตัววัสดุ ช่าง และวิธีการติดตั้ง กระทั่งไปพบว่าแผ่นกระจกแบบนี้ซื้อได้ที่ร้านสังฆภัณฑ์เท่านั้น และเป็นการซื้อขายแบบพื้นบ้านที่ไม่มีสเป็ค ไม่มีสต็อก และต้องไปลุยแหล่งหากันเอาเอง จึงเป็นเรื่องท้าทายที่ไม่สามารถคาดคะเนได้เลยว่าจะต้องซื้อมากเท่าไหร่จึงจะเพียงพอสำหรับพื้นที่ 400 ตารางเมตร ไหนจะเป็นเรื่องของการติดตั้งที่ปรับเปลี่ยนจากการใช้กาวอีพ็อกซี่ ที่มีความเหนียวและแห้งเร็ว แถมยังเช็ดออกไม่ได้ ทำให้ทุกรอยต่อจะมีคราบกาวเป็นของแถม มาเป็นการใช้กาวที่ใช้ในการก่อสร้างสมัยใหม่ ซึ่งดีตรงที่ไม่แห้งเร็วเกินไป บาง และเช็ดคราบกาวออกได้ กลายเป็นข้อดีที่ทำให้กระจกฟาซาดใสเกินจริงกว่าที่เคยเห็น ทุกคนจึงคาดไม่ถึงว่าเป็นวัสดุเดียวกันกับที่ใช้ตามกำแพงวัดนั่นเอง
ออกแบบสถาปัตยกรรม all(zone)
ภาพ ศุภกร
อ่านต่อ: MAIIAM Contemporary Art Museum
Tip Ubon Rice Factory
จากโรงงานแปรรูปข้าวทั่วไปที่สามารถพบเห็นได้ในจังหวัดนครปฐม คุณแบงค์ –นพศักดิ์ จิวราช และ คุณบอส – ณรงค์ฤทธิ์จิวราช ผู้บริหารรุ่นใหม่ของ Tip Ubon Rice Factory เห็นพ้องต้องกันว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนการ “แต่งตัว” ให้โรงงานเสียใหม่ จึงวางใจให้สถาปนิกรุ่นใหม่แต่ฝีมือไม่ธรรมดาจาก Archive Studio มาช่วยเปลี่ยนพื้นที่ออฟฟิศของโรงงานธรรมดาแห่งนี้ด้วยงานดีไซน์สไตล์โมเดิร์น เพื่อให้ตัวอาคารมีคาแร็คเตอร์จัดจ้าท้าทายสายตาและมีภาพลักษณ์ชวนจดจำ
โรงงานแปรรูปข้าวแห่งนี้ดีไซน์โฉบเฉี่ยวด้วยการออกแบบ facade ที่นอกจากการบิดองศาของเปลือกอาคารแล้ว สถาปนิกจาก Archive Studio ยังได้เจาะช่องเปิดในผนังด้านที่ถูกบิดนั้น เพื่อช่วยลดความรู้สึกเทอะทะและสร้างมุมมองที่ดูไม่ทึบตัน พร้อมกรุอะลูมิเนียมคอมโพสิตลงบนโครงเหล็ก เป็นรอยต่อระหว่างแผ่นที่ช่วยสร้างแพตเทิร์นให้อาคารได้ในตัว
นอกจากนี้ฟาซาดนี้ทำหน้าที่ช่วยบังแดด ไปจนถึงการกำหนดฟังก์ชันการใช้งานของห้องต่าง ๆ เรียกได้ว่าทั้งความสวยงามและประโยชน์ใช้สอยต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างกลมกลืน
ออกแบบสถาปัตยกรรม Archive Studio
ภาพ ศุภกร
อ่านต่อ: Tip Ubon Rice Factory
PK79 House
ฟาซาดอะลูมิเนียมมีข้อดีคือ น้ําหนักเบา ใช้งานได้นาน ทําความสะอาดง่าย ทั้งยังช่วยรักษาความปลอดภัยให้ตัวบ้านได้ระดับหน่ึง ด้วยเหตุนี้บ้านสไตล์โมเดิร์น ที่สะดุดตาตั้งแต่แรกเห็นจากฝีมือของสถาปนิก คุณอยุทธ์ มหาโสม จึงถูกออกแบบขึ้นโดยใช้ อะลูมิเนียม เข้ามาสร้างความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยให้กับบ้านหลังนี้ โดยที่ยังคงให้มุมมองที่สวยงาม
บ้านหลังนี้โดดเด่นด้วยฟาซาดอะลูมิเนียมสีดําแบบบานเฟี้ยมล้อมรอบทั้งบ้าน สามารถเปิด-ปิดให้ความเป็นส่วนตัวไปพร้อมๆกับความปลอดภัยเวลาไม่อยู่บ้าน กอปรกับระแนงสีขาวทำจากอะลูมิเนียม ดัดแปลงจากเหล็กดัดแบบเดิม ๆ ให้ดูทันสมัยเหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์น สามารถเลื่อนเปิดเมื่อต้องการเห็นวิวอย่างเต็มที่ และเลื่อนปิดได้เพื่อความปลอดภัยได้เช่นกัน
เจ้าของ คุณพิษณุ กุศลวงศ์ และคุณวาณี ชาติเศรษฐกานต์
ออกแบบ คุณอยุทธ์ มหาโสม
ภาพ ดํารง, นันทิยา
อ่านต่อ: PK79 House
HUAMARK 09
คุณนนท์–อินทนนท์ จันทร์ทิพย์ สถาปนิกแห่ง INCHAN Atelier ผู้เป็นทั้งผู้ออกแบบและเจ้าของบ้านหัวหมาก09 หลังนี้ เลือกจะหยิบยกบ้านของตัวเองมาเป็นงานทดลองเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เคยร่ำเรียนมา คลุกเคล้ากับประสบการณ์ด้านการออกแบบ จนได้งานสถาปัตยกรรมที่เล่าเรื่องราวของตัวเอง พร้อมเผยเสน่ห์แห่งสัจวัสดุที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา
ด้วยความหลงใหลในการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาของงานสถาปัตยกรรม ทำให้คุณนนท์เลือก “ซีเมนส์บล็อก” มาเป็นวัสดุหลักในงานก่อสร้าง โดยตระเวนไปหาซื้อตามโรงงานที่สามารถผสมเนื้อหิน ซีเมนต์ ทราย ได้ในสัดส่วนที่พอเหมาะเหมือนกับบล็อกช่องลมที่เราเคยพบเห็น แล้วจึงนำซีเมนต์บล็อกนี้มาเป็นวัสดุหลักในการทำฟาซาดที่โดดเด่นไม่ซ้ำใคร
นอกจากสีสันที่จะเปลี่ยนไปตามฤดูกาลและคราบที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติบนผนังซีเมนต์แล้ว วัสดุนี้ยังสัมพันธ์ต่อเนื่องไปกับระบบการก่อ ซึ่งเป็นที่มาของความสูงอาคารที่ได้รับการกำหนดด้วยจำนวนซีเมนต์บล็อก 15 บล็อก หรือเท่ากับความสูง 3 เมตร โดยมีคานเป็นโครงสร้างที่ช่วยกำหนดรูปด้านของอาคารไปในตัว
เจ้าของ คุณอินทนนท์ – คุณธริศราย์ จันทร์ทิพย์
ออกแบบ INCHAN Atelier
ภาพ นันทิยา
อ่านต่อ: HUAMARK 09