

รีโนเวตบ้านชั้นเดียว ให้กลายเป็นบ้านสองชั้น ทำได้จริงหรือไม่? ไม่อยากรื้อบ้านทั้งหลังแต่อยากขยายขึ้นไปชั้นสอง ถ้าตอบตรงๆ ก็คงจะต้องตอบว่า ทำได้จริง! และทำไม่ได้! เพราะมีเงื่อนไขขั้นตอนในแง่ของโครงสร้างและกฏหมายอยู่ค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นบ้านและสวนจึงอยากขอแจกแจงให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจว่า รีโนเวตบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ทำได้หรือไม่? ถ้าทำได้จริง ทำได้เพราะอะไร? และถ้าทำไม่ได้ มีหลักการและเรื่องที่ควรคำนึงอย่างไร? เพื่อจะได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจสร้างบ้านหรือต่อเติมต่อไปนะครับ กรณีตอบว่าทำไม่ได้ กรณีออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสอง ทำไม่ได้เพราะ เพราะว่าการออกแบบบ้านนั้นไม่นิยมเผื่อโครงสร้างมากกว่าที่จะสร้าง เหตุผลก็คือในการขออนุญาตนั้นจะต้องทำในครั้งเดียว หากการคำนวญโครงสร้างนั้นมีการเผื่อชั้นสองชั้นสาม การขออนุญาตก็จะต้องขอไปในทันที ซึ่งเขาไม่ทำกันเนื่องจากมีความยุ่งยากเกินไป กรณีตั้งใจออกแบบให้ชั้นสองมีโครงสร้างอยู่ในพิกัดเสาเดิม ทำไม่ได้ถ้าหากไม่ใช้โครงสร้างเบาเช่น โครงสร้างไม้ หรือ โครงสร้างเหล็ก เพราะไม่ได้ออกแบบรอรับการต่อเติมไว้ อาจก่อความเสียหายกับโครงสร้างเดิมได้ อีกทั้งยังจำเป็นต้องขออนุญาตใหม่อีกด้วย กรณีตอบว่าทำได้ ในกรณีที่ทำได้นั้น สามารถเลือกออกแบบได้หลายวิธี วิธีที่ 1 ออกแบบโดยใช้ฐานรากใหม่ วิธีนี้จะใช้การลงเข็มและทำฐานรากเพื่อทำโครงสร้างของชั้นสองใหม่ ข้อเสียคือจะไม่ได้อยู่ในแนวพิกัดเสาเดิม แต่สามารถออกแบบให้แนวเสาใหม่เข้ามาอยู่ชิดกับแนวเสาเดิมได้ จากนั้นจึงออกแบบให้ชั้นหนึ่งกับชั้นสองต่อเชื่อมเป็นอาคารเดียวกัน*ต้องปรึกษาวิศวกรและสถาปนิกตั้งแต่เริ่มต้น วิธีที่ 2 ออกแบบโครงสร้างชั้นสองด้วยโครงสร้างเบา วิธีนี้คือการรื้อโครงสร้างหลังคาออกมาก่อนแล้วจึงต่อเติมชั้นสองโดยเลือกใช้โครงสร้างเบา ทั้งนี้โครงสร้างเดิมต้องได้รับการพิจารณาจากวิศวกรเสียก่อนว่า สามารถรับแรงได้จริง และปลอดภัย หากเป็นกรณีที่ออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสองอยู่แล้ว อาจพิจารณาเลือกใช้โครงสร้างแบบ “ผนังรับน้ำหนัก” จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด […]
บ้านสวนริมน้ำ ฝันที่เป็นจริงของผู้ชื่นชอบการนั่งมองน้ำท่ามกลางแมกไม้เงียบสงบ บนผืนดิน 12 ไร่ที่ออกแบบบ้านให้กลมกลืนไปกับระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ จนกลายเป็นที่ชื่นชอบของสัตว์เลี้ยง และเป็นที่พักอาศัยของสัตว์ในธรรมชาติ Design Directory : สถาปนิก : EKAR Architects ด้วยวัตถุดิบตั้งต้นของบ้านหลังนี้ไม่ได้อยู่ที่สไตล์บ้าน แต่เป็นขนาด งบประมาณ และโจทย์การอยู่อาศัยผ่านเรื่องราวของครอบครัวที่ค่อยๆ เผยออกมาจากการพูดคุยพบปะกันแต่ละครั้ง ทำให้เจ้าของ บ้านตัดสินใจให้ คุณหนึ่ง – เอกภาพ ดวงแก้ว แห่ง EKAR Architects เป็นผู้ร้อยเรียงเข้าด้วยกัน และออกแบบชีวิตของทั้งครอบครัวไว้ใน บ้านสวนริมน้ำ หลังนี้ บ้าน สวน (ริม) น้ำ โจทย์ใหญ่ของครอบครัวซึ่งประกอบด้วยคุณพ่อ คุณแม่ อากง และลูกชายอีกสามคน กับการใช้ชีวิตในบ้านหลังใหม่ คือการมีพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคนที่จะได้ใช้ชีวิตในรูปแบบของตัวเอง โดยที่ยังคงความอบอุ่นสนิทสนมเอาไว้เหมือนครั้งยังอยู่ร่วมกันในบ้านเดิม ผนวกเข้ากับฮวงจุ้ย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแกนหลักในการออกแบบ นำมาสู่ตำแหน่งหลักของบ้านที่หันหน้าออกสู่ผืนน้ำ ไล่เรียงขึ้นไปตามทรงของหลังคาบ้าน ซึ่งเปรียบเสมือนภูเขาที่อิงอยู่ด้านหลัง ที่มาของ บ้านสวนริมน้ำ นั้นเริ่มต้นจากคำเรียบๆ ของคุณพ่อ “ผมชอบนั่งมองน้ำ” เนื่องจากภายใต้เหตุผลต่างๆ ตลอดชีวิตการทำงานหลายปี […]
บ้านโมเดิร์นทรงจั่วหลังนี้ สร้างขึ้นบนที่ดินเดิมในย่านวิภาวดีจากการตัดสินใจ “ไม่รีโนเวต” เพื่อให้การใช้งานบ้านหลังใหม่นั้นตอบโจทย์ของครอบครัวที่มีถึง 3 ช่วงวัยได้ชัดเจนขึ้น ความพิเศษของบ้านหลังนี้คือการที่ผังบ้านมีความพยายามที่จะเชื่อมโยงพื้นที่ของทุก ๆ คนเข้าหากัน และสร้างให้เกิดบรรยากาศอบอุ่นของครอบครัว DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: INCHAN Atelier เราเริ่มต้นด้วยที่มาของบ้านซึ่งคุณเปี่ยม – มนต์เทพ มะเปี่ยม และคุณหนู-พรรณพิมพ์ พุทธรักษา มะเปี่ยม เจ้าของบ้านหลังนี้เล่าให้เราฟัง “สิบปีก่อนเราเคยอยู่คอนโดฯ เราสองคนทำงานที่ม.เกษตร และคุ้นชินพื้นที่แถบนี้มาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย พอมีลูกเราก็เริ่มมองหาบ้านชั้นเดียวสำหรับสิบขวบปีแรกของลูกชาย และญาติก็แนะนำบ้านและที่ดินตรงนี้ให้” คุณเปี่ยมเล่าว่าเดิมเป็นบ้านขนาด 80 ตารางเมตร ที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่มากนัก พื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้านจึงเป็น Common Area เสียเป็นส่วนใหญ่ และนั่นจึงเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของบ้านที่ส่งผ่านมายังบ้านหลังใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จซึ่งออกแบบโดย INchan atelier “พื้นที่กลางบ้านสำหรับทุกคน” “Common Area คือส่วนสำคัญของบ้านหลังนี้ จะเห็นว่าเข้ามาในบ้าน สิ่งแรกที่พบก็คือโต๊ะกินข้าว ไม่ว่าจะนั่งทำงาน หรือทานอาหารร่วมกันเราก็มักจะรวมตัวกันอยุ่ตรงนี้ และโต๊ะกินข้าวนี้เองที่จะเชื่อมโยงกับครัวของคุณยาย เพราะบ้านเราทำอาหารกินกันสามมื้อ เรียกว่าคุณยายใช้ครัวแทบจะตลอดเวลา พื้นที่ส่วนใหญ่จึงหนีไม่พ้นโต๊ะกลางตรงนี้และห้องครัว แต่ก็มีส่วนห้องนั่งเล่นที่เป็นทีวีกับโซฟาอยู่หลังพาร์ทิชั่นไปทางที่ติดกับสวนครับ” ชั้นล่างของบ้านหลังนี้ จากการใช้งานแล้วแทบจะรวมกันเป็นห้องเดียวโดยมีโต๊ะทานข้าวเป็นศูนย์ […]
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : [email protected]
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
[email protected]