ขานาง - บ้านและสวน Plants Library
ขานาง

ขานาง

ขานาง เป็นไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เหมาะปลูกในพื้นที่กว้าง ให้ร่มเงาได้ดี ทนแล้ง ชอบดินที่มีหินปูนอยู่มาก

ขานาง

ขานาง / ขางนาง / คะนาง / ค่านาง / โคต / ช้างเผือกหลวง / เปลือย / เปื๋อยคะนาง / เปื๋อยค่างไห้ / เปื๋อยนาง /ลิงล้อ / แลนไห้  / Burma Lance-wood / Moulmein Lance-wood

ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalium tomentosum (Vent.) Benth.

วงศ์ : Flacourtiaceae

ประเภท :  ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร  เรือนยอดรูปไข่

ลำต้น : ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบสีเทา

ใบ : ออกเวียนสลับ รูปไข่กลับ ปลายใบติ่งแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนมีขนสาก ด้านล่างมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ขอบใบหยักฟันเลื่อย แผ่นใบหนา ก้านใบยาว มีขน

ดอก : ช่อดอกแบบเชิงลด ออกตาซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 20-25 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ เชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนปกคลุม เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3-5 มิลลิเมตร ออกดอกช่วงฤดูร้อน

ผล : เป็นผลแห้ง ขนาด 3-5 มิลลิเมตร มีขนปกคลุม เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

อัตราการเจริญเติบโต :  โตช้า

ดิน : ดินร่วน

แสงแดด : ตลอดวัน

น้ำ : ปานกลาง

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

การใช้งานและอื่น ๆ : เหมาะปลูกในพื้นที่กว้าง ระยะปลูก 5-8 เมตร ให้ร่มเงาได้ดี ทนแล้ง ชอบดินที่มีหินปูนอยู่มาก

เกร็ดน่ารู้ :  ถิ่นกำเนิดทางตะวันออกของอินเดียถึงตะวันตกของมาเลเซีย ในไทยพบตามป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ชื่อระบุชนิด tomentosum แปลว่า ขนหนา ซึ่งสื่อถึงขนที่ปกคลุมบนใบนั่นเอง  เป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพฤกษ์ ลำต้นแข็ง และเหนียว ใช้ทำเครื่องเรือน เสา และด้ามเครื่องมือทำการเกษตร

ติดตามหนังสือใหม่ได้ทาง : สำนักพิมพ์บ้านและสวน