กวักมรกต
กวักมรกต มีข้อดีคือทนต่อสภาพแวดล้อม ทนแล้งได้ดี แข็งแรง และเลี้ยงง่าย ซ้ำยังขยายพันธุ์ได้เร็วอีกด้วย สามารถนำมาใช้งานได้ทั้งเป็นไม้ประดับกระถางในอาคารที่มีแสงน้อยมากโดยไม่เหี่ยวเฉา หรือจะตัดก้านปักแจกันแทนดอกไม้ และเมื่อทิ้งไว้เป็นเวลานานก็จะมีรากงอกออกมาก็สามารถนำไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้อีกด้วย
กวักมรกต
ชื่อวิทยาศาสตร์: Zamioculcas zamiifolia (G.Lodd.) Engl.
วงศ์: Araceae
ประเภท: ไม้อวบน้ำ
ลำต้น: ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินมีสีน้ำตาลอ่อน
ใบ: ลักษณะใบสีเขียวเป็นมัน มีใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่โคนมน และปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบ หนา และอวบน้ำ ใบมีหลายสีทั้งใบดำ ใบด่าง
ดอก: มีดอกออกเป็นช่อ คล้ายดอกหน้าวัว สีเหลืองนวลแกมเขียวอ่อน
ดิน: ดินร่วน
แสงแดด: ร่มหรือร่มรำไร และแสงแดดตลอดวัน
น้ำ: ปานกลาง
การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหัว ชำต้น และชำใบ
การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกประดับสวน และตกแต่งภายในบ้านและห้องต่างๆ
เกร็ดน่ารู้:
– ต้นกวักมรกต เป็นไม้ประดับมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าไหร่นัก จนกระทั่งในราวปี ค.ศ.1996 เนิร์สเซอรี่ในเนเธอร์แลนด์เริ่มนำมาขยายพันธุ์เพื่อการค้าในปริมาณมากและเริ่มส่งขายจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก
– แต่กวักมรกตอาจมีอันตรายต่อคนโดยเฉพาะเด็ก และรวมถึงสัตว์เลี้ยง หากกินเข้าไปจะมีอาการระคายเคืองในปาก ปากบวม อาเจียน น้ำลายไหลมากเกินไป รวมไปถึงหายใจลำบาก ซึ่งในกวักมรกตจะมีแคลเซียมออกซาเลต (Calcium Oxalate) ลักษณะเป็นผลึก เกิดจากการรวมตัวกันระหว่างกรดออกซาลิก (oxalic acid) กับแคลเซียม (calcium) จนกลายเป็นผลึกขนาดเล็กที่มีทั้งการอยู่เดี่ยวๆ และรวมกันเป็นกลุ่มภายในเนื้อเยื่อของพืช
____________________________________________________________________________________________
บทความที่เกี่ยวข้อง
ล่ำซำ
ติดตามหนังสือจากสำนักพิมพ์บ้านและสวนเพิ่มเติมได้ทาง : สำนักพิมพ์บ้านและสวน