ว่านกระแจะจันทน์
เปราะเถื่อน/เปราะป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaempferia marginata Carey ex Roscoe
วงศ์: Zingiberaceae
ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี
ลำต้น: ใต้ดินเป็นเหง้ารูปทรงกลมเรียงต่อกัน สีเขียวอมน้ำตาลแดง เมื่อแก่มีสีดำ เนื้อในสีขาว มีรากสะสมอาหารเป็นตุ้มคล้ายกระชาย
ใบ: เดี่ยวเรียงสลับ รูปทรงกลม มี 2 ใบแผ่แนบกับพื้นดิน แผ่นใบหนา ผิวใบเรียบ ขอบใบสีม่วงแดง เมื่อขยี้มีกลิ่นหอม
ดอก: ช่อดอกผลิหลังออกใบที่ปลายลำต้นเทียม ใบประดับรูปใบหอก สีขาวอมเขียวอ่อน ดอกสีขาวแต้มสีม่วง
ดิน: ดินร่วน
น้ำ: ปานกลาง ในฤดูหนาวควรงดให้น้ำ เพื่อป้องกันหัวเน่า
แสงแดด: รำไร
ขยายพันธุ์: แยกเหง้า
การใช้งานและอื่นๆ : นิยมปลูกไว้กับบ้านเรือน ร้านค้า เพื่อเป็นเสน่ห์มหานิยม ♦หากพกติดตัวเพื่อติดต่อกิจการงานช่วยให้มีวาจาเป็นเสน่ห์ ♦ใช้เป็นส่วนผสมในการทำวัตถุมงคล เช่น ผงอิทธิเจ ♦โบราณนำเหง้ามาฝนผสมกับแป้งทาหน้า เพื่อรักษาผดผื่นและโรคผิวหนัง ♦ ชาวอีสานนำเหง้ามาตำพอก แก้แมลงกัดต่อย หรือผสมกับใบหนามใหญ่ ต้มน้ำดื่มแก้อัมพาต ♦ปัจจุบันสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้ศึกษาวิจัยพบว่า มีสารไดเทอร์ปีน (Diterpene) ที่มีสรรพคุณป้องกันเชื้อมาลาเรีย เชื้อรา และเนื้องอก