PAA
- ที่อยู่ : 29/2 ซอยสุขุมวิท 67 (ศรีจันทร์) แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
- โทรศัพท์ : 0-2381 – 1969
ข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อ ปลั๊กแปลงขา ที่มีคุณภาพและตอบโจทย์การใช้งานควรเป็นอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินมาฝากกัน 1.หัวปลั๊กแปลง ใช้แปลงขา..ไม่ใช่แปลงแรงดันไฟฟ้า หัวปลั๊กแปลง มีหลากหลายรูปแบบ เช่น “หัวเดียว”เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการแปลงขาปลั๊กไฟ (กลมหรือแบน) แบบใดแบบหนึ่ง หรือ “ชุดหลายหัว” ที่มีหัวปลั๊กแปลงหลายรูปแบบอยู่ในตัวเดียวกัน เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศอยู่เป็นประจำ ทั้งประเทศในแถบเอเชียหรือยุโรป และพึงระลึกอยู่เสมอว่าหัวปลั๊กแปลง มีไว้เพื่อแปลงรูปแบบของขาปลั๊กเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแปลงแรงดันไฟฟ้า อย่าเข้าใจผิดเด็ดขาด! 2.วัสดุ..ต้องทนความร้อนและไม่ติดไฟง่าย วัสดุที่ใช้ทำปลั๊กแปลงขา ควรทำจากวัสดุคุณภาพสูง มีคุณสมบัติไม่ลามไฟ เช่น พลาสติก ABS หรือพอลิคาร์บอเนต (PC) ซึ่งทนความร้อนและแรงกระแทกได้ดีกว่าพลาสติก PVC ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเพลิงไหม้ กรณีเกิดความร้อนสูง ขณะใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น ใช้กับหม้อทอดไร้น้ำมัน หรือหม้ออบลมร้อนที่กินไฟมาก 3.ขาเต้ารับ..ควรทำจากทองเหลือง/ทองแดง ขาเต้ารับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรภายในหัวปลั๊ก ควรทำจากทองเหลืองหรือทองแดง เพราะนำไฟฟ้าได้ดีกว่าเหล็กชุบสีหรือโลหะอื่นๆ ไม่ทำให้เกิดความร้อนสะสม จึงช่วยลดปัญหาปลั๊กละลายหรือไหม้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ส่วนบ้านที่มีเด็กเล็ก อาจใช้รุ่นที่มีม่านนิรภัย (Safety Shutter) เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วมือแหย่รู 4.หัวปลั๊ก..ขากลมหรือขาแบน หลายท่านอาจไม่ซีเรียส เพราะคิดว่าถ้าเสียบหัวปลั๊กเข้ากับเต้ารับ แล้วใช้งานได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ความเป็นจริงแล้ว […]
หากคุณเป็นคนรักงานทำมือ โดยเฉพาะการ ทำงานไม้ “ลุยแหล่ง” ฉบับนี้ขอพาไปช็อปเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการทำงานไม้เองที่บ้านแบบง่าย ๆ
บ้านตัวอย่างงานบ้านและสวนแฟร์2022 นำเสนอบ้านในแนวคิด “Worthy Living การออกแบบบ้านที่มีคุณค่าในหลายมิติ” งานบ้านและสวนแฟร์ 2022 จัดในวันที่ 28 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน 2565 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานีซึ่ง บ้านตัวอย่างงานบ้านและสวนแฟร์2022 นี้ออกแบบโดย คุณป่อง-ปฐมา หรุ่นรักวิทย์ แห่ง CASE Studio สถาปนิกผู้ได้รับรางวัลศิลปินดีเด่นศิลปาธร ประจำปี 2553 สาขาสถาปัตยกรรม จากที่คุณป่องคลุกคลีกับการทำงานเพื่อชุมชนซึ่งมีขีดจำกัดทั้งด้านพื้นที่ งบประมาณ และการใช้ทรัพยากร บ้านที่ดีจึงต้องตอบโจทย์เหล่านั้น และอยู่สบาย จึงควรมีความยืดหยุ่นทั้งเรื่อง ค่าใช้จ่าย ขนาดพื้นที่ และการใช้งานที่เหมาะสมกับแต่ละครอบครัว แนวคิด “Worthy Living” เกิดจากการผ่านวิกฤตด้านโรคระบาดที่ส่งผลให้เราต้องปรับการใช้ชีวิต บ้านกลายเป็นทั้งที่ทำงาน พื้นที่สร้างรายได้ แหล่งผลิตอาหารในครัวเรือน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายจนเกิดพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลกที่แย่ลง และส่งผลกับมนุษย์มากขึ้น การออกแบบบ้านจึงควรมีคุณค่าในหลายมิติ ที่ไม่ได้สร้างเพื่อตอบสนองตัวเราเองฝ่ายเดียว “การออกแบบบ้านให้เป็นสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในตัวเองไม่ใช่การตอบสนองเฉพาะผู้อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ควรมีคุณค่าสำหรับพื้นที่ตั้งนั้นๆ ชุมชน และระบบนิเวศน์ของโลก เพื่อลดการเกิดปัญหาสภาพแวดล้อมในระยะยาว ซึ่งถ้าเราเริ่มคิดจากการออกแบบบ้านให้ดีต่อโลกแล้ว […]
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : [email protected]
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
[email protected]