ปัญหาของห้องน้ำ
อ่านเพิ่มเติม : ซ่อมท่อประปา
อ่านเพิ่มเติม : ส้วมราดน้ำไม่ค่อยลง พอฝนตกจะมีอาการแย่ลงอีก ต้องทำอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม : ยาแนวมีปัญหา…แก้อย่างไรดี
อ่านเพิ่มเติม : ซ่อมท่อประปา
อ่านเพิ่มเติม : ส้วมราดน้ำไม่ค่อยลง พอฝนตกจะมีอาการแย่ลงอีก ต้องทำอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม : ยาแนวมีปัญหา…แก้อย่างไรดี
No related posts.
ไม่มีใครต้องการให้อัคคีภัยเกิดขึ้น เจ้าของบ้านทุกคนจึงควรทำความเข้าใจสาเหตุของเภทภัยให้ทันท่วงที เพื่อป้องกันการสูญเสียให้ดีที่สุด บ้านและสวน คุยกับ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร และอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถึงกรณีของเหตุ ไฟไหม้บ้าน และถล่มของบ้าน 3 ชั้นในหมู่บ้านกฤษดานคร 31 กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564 เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุการถล่มของอาคาร และการป้องกันอัคคีภัยร้ายแรงที่เจ้าของบ้านทุกคนสามารถทำได้ Q : กรณีเพลิงไหม้จนถึงขั้นทำให้อาคารถล่ม เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง A : หลักการของสาเหตุที่ทำให้อาคารวิบัติได้ ในเชิงวิศวกรรมมีทั้งหมดเพียง 4 ข้อเท่านั้น ซึ่งเป็นหลักการสากลเลยนะครับ ถ้าเกิดการพังทลาย วิศวกรจะมองแค่ 4 ข้อเท่านั้น ข้อแรก ออกแบบและคำนวณถูกต้องหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าเกิดเราอยากรู้ว่าออกแบบถูกหรือไม่นั้น เราก็ต้องเอาแบบมาดู เอารายการคำนวณมาดู เพื่อจะดูได้ว่า ในแบบมีการออกแบบอย่างไร มีการต่อเติมไปจากแบบเดิมบ้างหรือไม่ และการคำนวณโครงสร้างถูกต้อง อาคารแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ ข้อที่ 2 การใช้วัสดุและการก่อสร้างว่าทำตามแบบตามมาตรฐานหรือไม่ ไม่ใช่ตามแบบเสา 40 x […]
ระบบน้ำในบ้าน พักอาศัยนั้นมีด้วยกัน 2 ระบบ คือ ระบบน้ำดีและระบบน้ำทิ้ง ระบบน้ำดีเป็นการต่อท่อประปาจากมิเตอร์หน้าบ้านเข้ามาใช้ภายในบ้าน
รั้วด้านที่ติดกับเพื่อนบ้านเตี้ย ไม่สวย อยากต่อเติมให้สูงกว่าเดิม ต้องขออนุญาตหรือไม่? ไปหาคำตอบกัน อยาก ต่อเติมรั้ว เพราะเพิ่งซื้อที่ดินและจะเข้าไปปลูกบ้านใหม่ แต่รั้วด้านที่ติดกับบ้านข้างๆ สร้างกำแพงรั้วอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งค่อนข้างเตี้ยและไม่ค่อยสวย เลยอยากต่อเติมรั้วใหม่ โดยทำให้สูงขึ้นเพื่อความเป็นส่วนตัว สามารถต่อเติมรั้วได้สูงเท่าไหร่? ต้องขออนุญาตเพื่อนบ้านหรือไม่? จากปัญหานี้ หากอยาก ต่อเติมรั้ว แน่นอนว่าต้องคุยกับเพื่อนบ้านให้เข้าใจกันก่อนว่ารั้วเดิมนั้นสร้างอยู่ กึ่งกลางระหว่างแนวเขตที่ดินของทั้งสองบ้านหรือไม่ โดยดูจากหมุดโฉนด ถ้าหมุดหายก็อาจต้องให้เจ้าหน้าที่เข้ามาดูให้ หรือจะลองถามเพื่อนบ้านดูก่อนก็ได้ทั้งนี้ถ้ารั้วเดิมสร้างอยู่กึ่งกลางระหว่างแนวเขตที่ดิน รั้วนั้นก็จะถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของทั้งสองบ้านที่จะต้องช่วยกันสร้าง ดูแลและจ่ายค่าซ่อมแซมรั้วคนละครึ่ง แต่ถ้าต้องการต่อเติมรั้วเดิมก็ต้องพูดคุยกับเพื่อนบ้านก่อนว่าอนุญาตให้ทำได้ไหม อาจต้องมีแบบคร่าวๆ ไปให้เขาดูด้วย นอกจากนี้ก็ควรดูว่าถ้าต่อเติมรั้วเพิ่มอาจทำให้เกิดปัญหากับเพื่อนบ้านหรือไม่ ควรคิดให้ครอบคลุมทั้งปัญหาใหญ่ๆ อย่างต่อเติมแล้วโครงสร้างเดิม จะทรุดเสียหายไหม และปัญหาที่ดูเหมือนเล็กน้อยอย่างรั้วสูงทำให้หญ้าเหลือง เพราะแดดส่องไม่ถึง ซึ่งคงต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้รั้วโปร่งพอให้แสงผ่านได้ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติ การต่อเติมหรือซ่อมแซมรั้วเดิมเราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองหมด เพราะเป็นคนมาทีหลัง ซึ่งรั้วเดิมนั้นเพื่อนบ้านเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายไปแล้ว หรือเป็นไปตามแต่จะตกลงกัน แต่ถ้าเพื่อนบ้านไม่ยอมให้ต่อเติม อีกวิธีหนึ่งก็คือสร้างรั้วใหม่ร่นเข้ามาในเขตที่ดินของเรา โดยรั้วใหม่และฐานรากของรั้วต้องไม่ล้ำเกินไปในแนวเขต ที่ดินเพื่อนบ้าน ทั้งนี้เราอาจเสียพื้นที่ใช้งานที่ดินบริเวณช่องรอยต่อระหว่างรั้วเดิม กับรั้วใหม่ ข้อดีคือเราสามารถทำรั้วลักษณะใดก็ได้ แต่กรรมสิทธิ์ในเขตที่ดินของเรายังอิงตามหมุดโฉนดเดิม เพื่อนบ้านจะทุบรั้วเดิมแล้วมาใช้ประโยชน์จากที่ดินรอยต่อตรงนี้ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ตามกฎหมายแล้วไม่ควรสร้างรั้วสูงเกิน 3 เมตร นับจาก ทางเท้าหรือถนนสาธารณะ […]
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : [email protected]
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
[email protected]