ต้นไผ่ แต่งสวนสวย และการดูแล - บ้านและสวน

ต้นไผ่ แต่งสวน ดูแลอย่างไรให้สวยและไม่รก

ต้นไผ่ 10 พันธุ์ที่นิยมใช้ตกแต่งสวนสวย เพื่อสร้างบรรยากาศสวนญี่ปุ่น หรือใช้เป็นแนวรั้วบังสายตาและแรงลม

ต้นไผ่
ไผ่เงิน

1.ไผ่เงิน

มีถิ่นกำเนิดในไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thyrsostachys siamensis Gamble วงศ์ : POACEAE เป็นจำพวกไผ่ขนาดเล็ก ลำต้นสีเขียว ข้อปล้องชัดเจน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก ปลาย สีเขียวสลับแถบขาว ออกดอกเป็นช่อแบบช่อดอกย่อย กลีบดอกแข็งเรียงตัวแน่น การปลูกเลี้ยงได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำมาก ชอบแดดจัด

ต้นไผ่
ไผ่เลี่ยง
ต้นไผ่
ไผ่เลี้ยง

2.ไผ่เลี้ยง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa multiplex (Lour.) Raeusch. ex Schult. วงศ์ : Poaceae หรือ Gramineae ลำต้นลำกลมและเกลี้ยง สีเขียวเป็นมันและมีขนสีขาวนวลอยู่ตามข้อ ใบแคบเล็ก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบแตกออกบริเวณกลางลำ ทำให้ดูเป็นพุ่มอยู่ส่วนยอดของต้น มีใบดกมาก          การใช้งานและอื่นๆ : ระยะปลูก 60 เซนติเมตร ปลูกตัดแต่งคู่กับรั้วไม้ไผ่ เสริมบรรยากาศแบบธรรมชาติได้ดี เป็นไผ่ที่ไม่มีหนาม จึงเหมาะกับการจัดสวน

ต้นไผ่
ไผ่เหลืองสีทอง

3.ไผ่เหลืองสีทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa vulgaris Schrad วงศ์ : POACEAE ลำต้นสีเหลืองทรงกระบอกกลวง ผิวเรียบ ใบเดี่ยว รูปใบหอก ปลายแหลม แผ่นใบสีเขียว มีกาบสีเหลืองหุ้มบริเวณข้อก้านใบ ดอก ออกดอกเป็นช่อ ที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว ขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดปานกลางถึงแดดจัด ทนแล้งได้ดี การใช้ประโยชน์ นิยมปลูกประดับสวน ปลูกประดับตามแนวรั้ว หน่อรับประทานได้ เนื้อไม้ใช้ทำอุปกรณ์เครื่องใช้ หรือที่อยู่อาศัย

ต้นไผ่
ไผ่หยก

4.ไผ่หยก

ต้นไผ่
ไผ่ดำอินโด

5.ไผ่ดำอินโด

มีถิ่นกำเนิดในไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa vulgaris Schrad. วงศ์ : POACEAE ลำต้นเป็นปล้องยาว มีผิวค่อนข้างเกลี้ยงสีเขียวอมม่วง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบเป็นเดี่ยว ปลายแหลม ผิวใบสาก สีเขียว ออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกแข็งเรียงตัวแน่น การใช้ประโยชน์ นิยมปลูกประดับตามแนวรั้ว

ต้นไผ่
ไผ่ด่างกาญจนา

6.ไผ่ด่างกาญจนา

7.ไผ่ฟิลิปปินส์ด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaena surculosa ‘Florida Beauty’ วงศ์ : Asparagaceae ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในวงศ์เดียวกันกับไผ่ แต่ด้วยที่มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายไผ่จึงได้ชื่อนำหน้าว่าไผ่ ไผ่ฟิลิปปินส์ด่างเป็นประเภทไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี ลำต้นแตกเป็นกอ รูปทรงแผ่เตี้ย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีถึงรูปไข่ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน มีจุดสีเขียวอมเหลืองกระจายทั่วไป ก้านใบสั้น มีดอกออกเป็นช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง ใช้ได้ทั้งกิ่งแก่และกึ่งแก่กึ่งอ่อน การใช้งานและอื่นๆ: สีใบสว่างสดใส มีทั้งด่างเหลืองและขาว ปลูกคลุมดินในพื้นที่ที่มีแสงน้อย ใช้เป็นไม้กระถางแขวนหรือประดับบนโต๊ะได้

ภาพ : คุณอุดร สังข์วรรณะ

8.ไผ่ซางหม่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrocalamus sericeus จัดเป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำสีเขียว ไม่มีหนามและไม่ค่อยมีแขนง  มีคราบของแป้งสีขาวหรือวงขาวต่าง ๆ หรือสีขาวหม่น ไผ่ซางหม่นเป็นไผ่ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตภาคเหนือ ซึ่งในปัจจุบันก็ได้กระจายปลูกไปในหลายพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาค

ไผ่น้ำเต้า

9.ไผ่น้ำเต้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa vulgaris Schrad. ex Wendland ‘Wami McClure’ วงศ์ : Poaceae (Gramineae) เป็นประเภทไผ่ขนาดเล็ก อายุหลายปี ทรงพุ่มแตกกอแน่น ลำต้นปล้องด้านล่างโป่งพองออกคล้ายน้ำเต้า เนื้อลำหนา ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบหรือรูปใบหอก กิ่งก้านมาก กาบหุ้มลำต้นมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบยอดกาบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม เมื่อต้นสมบูรณ์จะออกดอกช่วงฤดูหนาว การใช้งานและอื่นๆ : นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงา เชื่อกันว่า ใครปลูกไผ่น้ำเต้าไว้หน้าบ้านจะเก็บเงินได้มากมาย

ภาพ : freepik

10.ไผ่โมโซ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Phyllostachys heterocycla (Carr.) Mitford cv. Pubescens เป็นไผ่ลำเดี่ยวชนิดหนึ่ง MoSo เป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง ไผ่ลำเดี่ยวชนิด Phyllostschys edulis แต่ปัจจุบันมีคนส่วนใหญ่ใช้คำว่า MoSo แทนคำว่าไผ่ลำเดี่ยวทุกชนิด และคำว่า edulis หมายถึง กินได้ (กินหน่อได้) และไผ่ชนิดนี้ เป็นหน่อไม้ที่ชาวจีนนิยมกิน และใช้ลำไผ่มากที่สุด

การดูแลกอไผ่ที่ปลูกประดับ

ข้อดีของการปลูกไผ่ประดับสวน  คือ ไม่ต้องดูแลรักษามากนัก โดยเฉพาะเรื่องโรคและแมลง ส่วนมากเน้นการตัดแต่งกอ  โดยลิดกิ่งด้านล่างที่ต่ำกว่า 1.50 – 2 เมตรออก ช่วยให้กอไผ่โปร่งและสวยงาม ส่วนการตัดสางกอไม่ให้กอแน่นจนเกินไป  ควรตัดแต่งลำให้ชิดดินเพื่อไม่ให้แตกแขนงอีก และช่วยป้องกันการสะสมของใบแห้งไม่ให้เป็นแหล่งของโรคแมลงศัตรู การตัดแด่งกอและการสางกอควรเริ่มทำหลังฤดูฝนหรือช่วงที่ไผ่ทิ้งใบ สำหรับไผ่ประดับในสวนที่ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ควรตัดสางช่วงเดือนมกราคม จนถึงเดือนมีนาคม เพราะเป็นช่วงที่ผ่สะสมอาหารไว้ที่เหง้ามากที่สุด โดยการตัดลำที่อยู่กลางกอออก การตัดแบบนี้เมื่อทำไปนาน ๆ จะทำให้กอไผ่มีรูปร่างคล้ายเกือกม้า  จนเรียกกันว่า การตัดสางแบบรูปเกือกม้า ส่วนการดัดสางอีกแบบหนึ่ง คือ การตัดสางแบบกระจายตามแนวรัศมีวงกลม โดยเหลือลำแกไว้ อย่างน้อยกอละ 3 -5 ลำ ให้กระจายอย่างสม่ำเสมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง

ต้นไผ่ ที่นิยมปลูกและแต่งสวนในเมืองไทย

ต้นไผ่กวนอิม กับความเชื่อตำแหน่งจัดวางในบ้าน

ติดตามไอเดียบ้านและสวนเพิ่มเติมได้ทาง : บ้านและสวน Baanlaesuan.com