บ้านล้านนาประยุกต์ริมน้ำ งามสง่าท่ามกลางธรรมชาติที่โอบล้อม

บ้านล้านนาประยุกต์ งามสง่าริมแม่น้ำปิง

จากบ้านล้านนาริมน้ำหลังงามที่ประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี ทำให้พื้นและโครงสร้างไม้เสียหาย จึงมีการปรับปรุงใหม่ให้สวยงามน่าอยู่ยิ่งขึ้น พร้อมต่อเติมพื้นที่ใช้สอยเพิ่ม โดยประยุกต์สไตล์ล้านนาให้ดูไม่ล้าสมัย และยังใช้งานได้อย่างสะดวกสบายเข้ากับวิถีชีวิตในปัจจุบัน

เจ้าของ - ออกแบบ : อาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร

บ้านล้านนาประยุกต์ริมน้ำ

ชื่อเสียงของ  อาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ประจำปี 2547 เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงการออกแบบของภาคเหนือ เพราะนอกจากจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในงานสถาปัตยกรรมแบบล้านนาได้ดีแล้ว อาจารย์ยังเป็นแบบอย่างที่ดีในการประยุกต์สไตล์ล้านนาให้ดูไม่ล้าสมัย และยังใช้งานได้อย่างสะดวกสบายเข้ากับวิถีชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ บ้านล้านนาประยุกต์ริมน้ำ หลังนี้นั่นเอง

เรือนยุ้งข้าว
ก่อนเข้าสู่ขอบเขตของตัวบ้านจะพบเรือนยุ้งข้าวตั้งเด่นอยู่บริเวณลานปูอิฐโล่งๆภายใต้ร่มไม้ใหญ่ที่ดูร่มรื่น “เรือนยุ้งข้าวหลังนี้มีสัดส่วนที่งดงามจนแทบ
ไม่ต้องดัดแปลงเลย แสดงให้เห็นว่าคนทำามีความคิดล้ำเลิศ เป็นสัจจะที่เด่นในแบบล้านนา ผมใช้เป็นห้องอ่านหนังสือ”
บริเวณด้านหลังบ้าน เจ้าของบ้านต่อเติมเรือนหลังใหม่โดยมีห้องนอนใหญ่อยู่ชั้นบนมีการใช้บานเฟี้ยมกระจกใสให้บรรยากาศที่ดูโปร่งกว่าเรือนล้านนาสมัยก่อน ส่วนหลังคาอาจารย์จุลทัศน์เลือกใช้กระเบื้องดินขอแทนการใช้แป้นเกล็ดด้วยเหตุผลว่าต้องการช่วยลดโลกร้อน เพราะไม่ต้องตัดไม้มาทำาแป้นเกล็ด

บ้านล้านนาริมน้ำ


แม้จะปลูกสร้างมานานถึง
15 ปีแล้ว แต่อาจารย์จุลทัศน์ได้ปรับปรุงบ้านให้สวยงามน่าอยู่เสมอมา โดยได้แปลงโฉมบ้านและต่อเติมพื้นที่ใช้สอยเพิ่ม
“บ้านจะน่าอยู่ได้ก็ต้องมีการดูแลปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ บ้านของผมเองก็ต้องปรับปรุงเป็นพิเศษ เนื่องจากทุกปีจะมีน้ำท่วม ทำให้พื้นและโครงสร้างไม้เสียหาย ที่โดนหนักสุดเห็นจะเป็นเมื่อปี
2548 จึงได้โอกาสปรับปรุงครั้งใหญ่ ใช้เวลาทำานาน 3 ปี ที่ช้าเพราะเปลี่ยนโครงสร้างส่วนล่าง จากเดิมที่เป็นไม้ก็ทำเป็นคันเขื่อนตรงส่วนที่เป็นใต้ถุน เพื่อป้องกันเรื่องน้ำโดยเฉพาะ หากไม่ซ่อมเกรงว่าจะเสียหายมากขึ้นเรื่อย ๆ และการซ่อมแซมก็จะยากกว่าเดิมด้วยครับ”

บ้านล้านนาริมน้ำ
เดิมขอบชานมาสิ้นสุดแค่ขอบบน แต่หลังจากที่รื้อศาลาหลังเก่าออกไป อาจารย์จุลทัศน์ได้ต่อเติมส่วนขอบล่างเป็นบ่อน้ำรูปยาวตลอดแนวชานดูสัมพันธ์กับแม่น้ำปิง ทั้งยังเพิ่มความงดงามให้ บ้านล้านนาประยุกต์ริมน้ำ หลังนี้
โถงบ้าน
โถงโล่งซึ่งเชื่อมต่อระหว่างเรือนด้านทิศตะวันออกกับตะวันตก ผนังทั้งสองด้านจะกั้นไม่สุดถึงเพดานด้านหนึ่งเป็นช่องโล่งสำหรับระบายอากาศ ส่วนอีกด้านเป็นด้านนอก จึงทำาเป็นลูกกรงเรียบๆ ช่วยในเรื่องความปลอดภัย
ผนังริมสุดของห้องรับแขกกรุกระจกใสเปิดมุมมองไปเห็นแม่น้ำปิงได้อย่างใกล้ชิด โดยวางโต๊ะไม้ขาเหล็กรูปทรงทันสมัยใช้เป็นโต๊ะทำางานได้
ห้องรับแขกดัดแปลงจากห้องนอนเก่าวางโซฟาเบดตัวใหญ่ในแนวเฉียง โดยมีโต๊ะกลางเป็นขอนไม้ที่ตัดแต่งเรียบร้อยแล้ว “เดิมห้องนี้มีประตูเพราะเป็นห้องนอน พอเปลี่ยนมาเป็นห้องรับแขก ผมต้องการให้ห้องเปิดโล่งที่สุด จึงเอาประตูออกไปส่วนหนึ่ง”
มุมนั่งเล่น
มุมนั่งเล่นภายในห้องรับประทานอาหารตีไม้ระแนงเป็นตารางแนวเฉียงเพื่ออำพรางแสงช่วยลดความแรงของแสงแดดในช่วงบ่ายที่จะส่องผ่านบานเปิดกระจกใสที่อยู่หลังระแนงนี้
ห้องรับประทานอาหารสไตล์ล้านนา
ภายในห้องรับประทานอาหารแบบเป็นทางการ อาจารย์จุลทัศน์นำผ้าม่านมาตกแต่งเพื่ออำาพรางโครงสร้างเสาขนาดใหญ่ได้อย่างสวยงาม ทั้งยังช่วยให้บรรยากาศในห้องดูนุ่มนวลยิ่งขึ้น
ห้องนั่งเล่น
ห้องนั่งเล่นชั้นล่าง ผนังส่วนหนึ่งเป็นประตูกระจกใส ในช่วงบ่ายจะมีแสงแดดส่องเข้ามาช่วยเพิ่มความสว่างโดยผ่านกอไผ่ธรรมชาติ แสงสว่างจึงนุ่มนวลขึ้น


นอกจากการปรับปรุงส่วนโครงสร้างแล้ว อาจารย์จุลทัศน์ยังได้เปลี่ยนผังการใช้งานด้วย จากแปลนเดิมที่มีลักษณะเป็นรูปตัวยู (U) มีทางเข้าอยู่ตรงกลาง โดย
ปีกทางด้านตะวันตกเคยเป็นห้องรับแขกก็เปลี่ยนเป็นห้องรับประทานอาหารขนาดใหญ่แบบเป็นทางการแทน ส่วนปีกด้านทิศตะวันออกเคยเป็นห้องนอนก็เปลี่ยนเป็นห้องรับแขก พร้อมมุมรับประทานอาหารเล็ก ๆ กลางชานบ้านเคยมีศาลาตั้งอยู่ริมบ่อน้ำก็รื้อออกไปเพื่อเปิดพื้นที่ให้โล่งยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มบ่อน้ำรูปยาวขนานกับแนวแม่น้ำปิง นอกจากนี้ยังได้สร้างเรือนสองชั้นด้านหลังบ้านเดิม โดยจัดเป็นห้องนอนใหญ่และห้องนอนเล็กการแปลงโฉมครั้งใหญ่นี้ทำให้รูปลักษณ์ความเป็นล้านนาของบ้านดูทันสมัยมากขึ้น ซึ่งอาจารย์จุลทัศน์ได้ให้แง่คิดไว้ว่า


“เรามักคิดกันเพียงว่า ถ้าทำาบ้านแบบล้านนาก็ต้องเป็นล้านนาแท้ ๆ แต่อย่าลืมว่า ในแวดวงออกแบบมีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา แม้จะจับบุคลิกแบบดั้งเดิมมาแต่พื้นที่ใช้งานต่าง ๆ ก็ต้องเปลี่ยนไปตามแนวโน้มใหม่ ๆที่เกิดขึ้น ซึ่งมีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย งานสถาปัตยกรรมในโลกนี้ก็เป็นเช่นนี้ทั้งนั้น และด้วยวิธีแบบนี้แหละที่จะช่วยให้สไตล์เดิมไม่ตาย ในเมื่อเรามีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น มีวัสดุที่ดีขึ้นมีแรงบันดาลใจใหม่ ๆเราก็สามารถหยิบยกสิ่งเหล่านั้นมาใช้กับบ้านได้ บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่แบบล้านนาดั้งเดิม แต่เป็นการทรานส์ฟอร์มหรือแปลงโฉมบ้านด้วยการใช้สิ่งใหม่ๆ นั่นเองครับ”

ห้องน้ำ
ห้องน้ำแขกออกแบบให้มีช่องแสงเพื่อนำแสงสว่างเข้ามา ทั้งยังได้เห็นวิวภายนอกด้วย ทำให้ห้องดูโล่ง แม้ว่าพื้นและผนังบางส่วนจะกรุกระเบื้องสีดำก็ตาม
ห้องน้ำ
ห้องน้ำนี้มีเพดานเตี้ยแต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้หลังคาพอลิคาร์บอเนต ก็ทำให้ดูโปร่งและสว่างขึ้น

ห้องนั่งเล่น
อีกมุมหนึ่งของห้องนั่งเล่นชั้นล่าง ซึ่งอาจดัดแปลงเป็นห้องนอนได้เมื่อมีแขกมาเยือน โดยจัดวางเก้าอี้ไม้ยาวแบบจีนโบราณพร้อมเบาะรองนั่งและหมอนอิง
ภาพบนผนังอาจารย์จุลทัศน์ซื้อจากงานแสดงศิลปะของนักศึกษา เพื่อสนับสนุน“ดาวที่เกิดใหม่” ในวงการศิลปะภาคเหนือ
ห้องนอน
ห้องนอนใหญ่ออกแบบให้มีความโปร่งโล่งโดยเฉพาะบริเวณหน้าบันหรือส่วนชายคาหน้าประตูที่จะออกไปยังระเบียงหลังห้อง แทนที่จะใช้ไม้ทึบหรือหลังคาทึบ อาจารย์จุลทัศน์เลือกกรุด้วยแผ่นพอลิคาร์บอเนตซึ่งรับแสงสว่างได้ดี เป็นการแปลงโฉมเรือนล้านนาให้ดูทันสมัยมากขึ้น
ห้องอาบน้ำ
ส่วนอาบน้ำออกแบบให้พื้นลดระดับลงไป เวลายืนอาบน้ำก็จะอยู่ในระดับต่ำกว่าสายตา ประกอบกับผนังระแนงรอบๆกรุแผ่นอะคริลิก ถึงแม้ว่าส่วนบนสุดของผนังจะเป็นระแนงโล่งก็ตาม แต่ก็ยังได้ความเป็นส่วนตัว อีกทั้งแสงยังผ่านเข้ามาได้ จึงช่วยฆ่าเชื้อโรคและทำให้ห้องแห้งเร็ว
มุมนั่งเล่น
ส่วนอเนกประสงค์หน้าห้องนอนใหญ่จัดวางเฟอร์นิเจอร์สำาหรับนั่งพักผ่อน พื้นปูแผ่นกระเบื้องดินเผาจากเชียงราย
ลานนั่งเล่น
ลานโล่งหน้าส่วนอเนกประสงค์วางเบาะเป็นมุมนั่งเล่นสบายๆอีกมุมหนึ่งได้ “มุมนี้จะมานั่งดูแม่น้ำก็ได้ ดูต้นไม้ก็ดี”

นี่คงเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการทำางานของสถาปนิกรุ่นใหญ่ที่ผสมผสานระหว่างแนวคิดที่มาจากรากเหง้าเดิมกับองค์ความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยต่อยอดให้งานสถาปัตยกรรมล้านนาได้เจริญงอกงามไม่หยุดนิ่ง  บ้านล้านนาประยุกต์ริมน้ำ


เรื่อง : อาทิตย์           

ภาพ : ฤทธิรงค์  จันทองสุข  

บ้านล้านนาประยุกต์ในอ้อมกอดธรรมชาติ

รวมบ้านไม้สไตล์ล้านนา อบอุ่น อยู่สบาย